ข่าวสารเผยแพร่

หนังสือราชการแจ้งประกาศผลภาพวาด ผลการประกวดภาพวาดจินตนาการ 13 ชิ้นงาน ผลงานภาพวาด

    ว 382 แจ้งผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ว 384 การคัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ฯ ผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์ ผลการคัดเลือกจากงานศิลปฯ

สพฐ.ได้ส่งเสริมให้นักเรียนไทยพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมผ่านการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถในเวทีระดับนานาชาติด้วย จากการที่ สพฐ.ได้ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ International Exhibition for Young Inventors 2018 (IEYI 2018) ซึ่งเป็นการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ระดับนานาชาติที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี พร้อมทั้งมอบรางวัลให้ผู้มีผลงานที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม 2561 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย มีประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดงและประกวด ผลงานสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน ไต้หวัน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย และอินเดีย ในส่วนของประเทศไทยได้ส่งทีมนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 9 ทีม รวม 15 คน ซึ่งผลปรากฏว่านักเรียนไทยสามารถคว้าเหรียญรางวัลจากการประกวดได้ครบทุกทีม รวมทั้งสิ้น 12 เหรียญรางวัล ได้แก่ 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 5 รางวัลพิเศษ Special Awards ด้วยความสำเร็จของคณะนักเรียนไทยในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ครั้งนี้ นอกจากความภาคภูมิใจที่ได้เกิดแก่ตนเอง โรงเรียนและประเทศไทยแล้ว ยังสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พัฒนาผลงานนวัตกรรมของตนเอง และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในภายภาคหน้า เพราะสังคมโลกกำลังเดินหน้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การเตรียมความพร้อมให้เด็กไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็จะทำให้เด็กไทยซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติสามารถก้าวทันโลกได้

สพฐ. ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์  โดยมีผลงาน จำนวน 9 ผลงาน ดังนี้ เครื่องปอกเปลือกเงาะ  โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 19 สพป. ชัยภูมิ เขต 1 อุปกรณ์ช่วยเทนมกระป๋องแบบเพิ่มแรงดัน  โรงเรียนคลองแดนวิทยา สพม. เขต 16 จังหวัดสงขลา ภาชนะไบโอมิวซิเลจคอมพาวด์ Mucilage Packaging Compound  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สพม. เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่ Nursery CAP For Rhizophora mucronata Poir.  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สพม. เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี แคปซูลข้าวสารดูดความชื้น  โรงเรียนปราจีนกัลยาณี สพม. เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องตรวจสุขภาพอัจฉริยะผ่านระบบเครือข่าย ไร้สาย Wireless Smart Health  โรงเรียนศึกษานารี สพม. เขต 1 กรุงเทพมหานคร ถุงกระดาษดูดซับเอทิลีนและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้  โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก สพม. เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก Open Up  โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร สพม. เขต 22 จังหวัดมุกดาหาร อุปกรณ์ช่วยสอดแผ่น Detector ในผู้ป่วยฉุกเฉิน  โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย สพม. เขต 1 กรุงเทพมหานคร ไปเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ เวทีระดับนานาชาติ ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI – 2018) จัดการแข่งขันโดย Foundation for Glocal Science Initiatives (FGSI) ระหว่างวันที่ 16 – 21 ตุลาคม 2561 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย    

ขยายเวลาการรับสมัครผลงานถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559 (โดยผู้ส่งผลงานทุกโรงเรียนต้องส่งเอกสารเค้าโครงทางไปรษณีย์เท่านั้น (จำนวน 3 ชุด) ถึง กลุ่มโครงการพิเศษ อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

ผู้ประดิษฐ์ นางสาวอรวรรณ ทัศนเบญจกุล นายปัณณวัฒน์ เพียรจัด ครูที่ปรึกษา /ผู้ประสานงาน : นายเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ หน่วยงาน /สถานที่ติดต่อ :  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต  11  (สุราษฎร์ธานี) โทรศัพท์มือถือ : 08 1894 3248 E-mail : lerm1956@hotmail.com รายละเอียดผลงาน : น้ำทิ้งจากการผลิตยางแผ่นดิบเป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นและทำให้สภาพน้ำเสียโดยพบว่าในการผลิตยางแผ่นดิบ เพียง 20 แผ่นต่อวัน จะมีน้ำเสีย 50 ลิตร เนื่องจากทุกขั้นตอนของการ                                      ผลิตยางแผ่นดิบ มีการใช้น้ำตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตถึงขั้นตอนในการล้างเครื่องมือ ในน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบ จะมีกรดอินทรีย์ กรดกำมะถัน เพื่อทำให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนและมีสารอินทรีย์ต่างๆอยู่                                          พบว่าสภาพกรดที่อยู่ในน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบ เหมาะที่จะนำมาเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย Acetobacter  xylinum เนื่องจาก Acetobacter  xylinum ต้องการสภาพที่เป็นกรดและมีแอมโมเนียมสูง                                              และใช้คาร์บอน เป็นแหล่งผลิตเซลลูโลสขึ้นมา ดังนั้นจึงได้คิดนำน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบ มาผลิต Gelatinous Bacterial Cellulose (GBC) เพื่อปรับปรุงประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนพลาสติก                                        ต่อไป  นอกจากนั้นน้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียลเซลลูโลสยังมีสภาพเป็นกรดสามารถนำมาทำยางแผ่นดิบได้  ดาวน์โหลด   –

ผู้ประดิษฐ์ นางสาวโชษิตา ตอนปัญญา นางสาววรพรรณ บรรเจิดศิลป์ ครูที่ปรึกษา /ผู้ประสานงาน : นางรัชนี โสดถานา หน่วยงาน /สถานที่ติดต่อ :  โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต  41  (พิจิตร) โทรศัพท์มือถือ : 08 6936 6588 E-mail : ruch.chee.ppk@gmail.com รายละเอียดผลงาน :  ปัจจุบันมีการนำกุ้งมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู แต่การแกะเปลือกกุ้งก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการประกอบอาหาร ซึ่งผู้ประกอบอาหารต้องทำอาหารอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับความ                                     ต้องการของผู้บริโภค ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจัดทำสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เรื่อง “อุปกรณ์แกะเปลือกกุ้ง” ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  ดาวน์โหลด   –

ผู้ประดิษฐ์ เด็กหญิงชลธิญา   ภิญโญโชค เด็กหญิงเดือนฉาย   อิศรเสนา ณ อยุธยา ครูที่ปรึกษา /ผู้ประสานงาน : นางกัลยา   จุลเดชะ หน่วยงาน /สถานที่ติดต่อ :  โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทานุกูล)   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โทรศัพท์มือถือ : 08 6571 0170 E-mail : watsangworn@gmail.com รายละเอียดผลงาน : สิ่งประดิษฐ์ “เครื่องรีดและสะบัดน้ำออกจากร่ม” จัดทำขึ้นเพื่อรีดและสะบัดน้ำออกจากร่ม ทำให้ร่มแห้ง ประหยัดเวลาในการผึ่งร่ม โดยใช้ยางรีดน้ำที่ติดมากับร่ม และใช้กลไกขับเคลื่อนให้ตะกร้าปั่นหมุนให้                                      เกิดแรงเหวี่ยงภายในตะกร้าปั่น โดยมีครีบในตะกร้าเหวี่ยงไปสัมผัสกับผ้าร่ม โดยที่ร่มอยู่กับที่ ทำให้หยดน้ำที่ติดมากับร่มหลุดออกไป ผลจากการสร้างเครื่องสะบัดน้ำออกจากร่ม ที่สร้างขึ้นทำให้ผู้ใช้ลด                                            ปัญหาการหยิบร่มผิด การสูญหายของร่ม ไม่เสียพื้นที่ในการผึ่งร่ม สามารถเก็บร่มได้ไม่ต้องมาวางผึ่ง และปลูกฝังจิตสำนึกการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และช่วยลดภาวะโลกร้อนมีสภาพแวดล้อมที่ดีแก่สังคม  ดาวน์โหลด เล่มรายงาน

ผู้ประดิษฐ์ เด็กชายศุภวิชญ์  แผ่อำนาจคุณ เด็กชายปฏิพล  กันทรศานติ ครูที่ปรึกษา /ผู้ประสานงาน : นายไกรลาศ  รบชนะ หน่วยงาน /สถานที่ติดต่อ :  โรงเรียนบ้านแม่ปาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 โทรศัพท์มือถือ : 053-690134 , 080-6241640 E-mail : krilas12345@gmail.com รายละเอียดผลงาน : สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ล้วนมีจุดประสงค์ในการช่วยอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน อุปกรณ์ช่วยเก็บพริกของโรงเรียนบ้านแม่ปางที่ประดิษฐ์ขึ้น ก็ด้วยจุดประสงค์เดียวกัน ซึ่งสามารถลดจำนวนแรงงานและประหยัดเวลาในการเก็บพริกครั้งละมาก ๆ ผลการทดสอบเปรียบเทียบ การใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บ กับการเก็บด้วยมือแบบเดิม ๆ พบว่า อุปกรณ์ช่วยเก็บพริก สามารถช่วยให้การเก็บพริกสะดวกและรวดเร็วกว่าการเก็บด้วยมือ  ดาวน์โหลด เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

20/41
Skip to content