ผลิตภัณฑ์ GBC ที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบ

IMG_3904
ผู้ประดิษฐ์
นางสาวอรวรรณ ทัศนเบญจกุล
นายปัณณวัฒน์ เพียรจัด
ครูที่ปรึกษา /ผู้ประสานงาน : นายเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

หน่วยงาน /สถานที่ติดต่อ : 

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต  11  (สุราษฎร์ธานี)
โทรศัพท์มือถือ : 08 1894 3248
E-mail : lerm1956@hotmail.com
รายละเอียดผลงาน : น้ำทิ้งจากการผลิตยางแผ่นดิบเป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นและทำให้สภาพน้ำเสียโดยพบว่าในการผลิตยางแผ่นดิบ เพียง 20 แผ่นต่อวัน จะมีน้ำเสีย 50 ลิตร เนื่องจากทุกขั้นตอนของการ                                      ผลิตยางแผ่นดิบ มีการใช้น้ำตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตถึงขั้นตอนในการล้างเครื่องมือ ในน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบ จะมีกรดอินทรีย์ กรดกำมะถัน เพื่อทำให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนและมีสารอินทรีย์ต่างๆอยู่                                          พบว่าสภาพกรดที่อยู่ในน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบ เหมาะที่จะนำมาเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย Acetobacter  xylinum เนื่องจาก Acetobacter  xylinum ต้องการสภาพที่เป็นกรดและมีแอมโมเนียมสูง                                              และใช้คาร์บอน เป็นแหล่งผลิตเซลลูโลสขึ้นมา ดังนั้นจึงได้คิดนำน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นดิบ มาผลิต Gelatinous Bacterial Cellulose (GBC) เพื่อปรับปรุงประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนพลาสติก                                        ต่อไป  นอกจากนั้นน้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียลเซลลูโลสยังมีสภาพเป็นกรดสามารถนำมาทำยางแผ่นดิบได้
 ดาวน์โหลด   –