Category Archives: Uncategorized

ขยายเวลาการรับสมัครผลงานถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559 (โดยผู้ส่งผลงานทุกโรงเรียนต้องส่งเอกสารเค้าโครงทางไปรษณีย์เท่านั้น (จำนวน 3 ชุด) ถึง กลุ่มโครงการพิเศษ อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

 เรียบเรียง โดย อ.เสนีย์  ศรีมณี ครูโรงเรียนชุมชนบ้านบางโหนด สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4

  ประวัติพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ กองทัพอากาศ ได้เริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ โดยมุ่งหมายรวบรวมยุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ ทุกประเภทตามยุคตามสมัยเป็นลำดับ จัดแสดงเพื่อเป็นประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง เดิมจัดแสดงอยู่ที่ โรงเก็บเครื่องบินด้านทิศตะวันตกของสนามบินดอนเมือง แต่ยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม เมื่อรวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์ได้มากขึ้นจึงทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๐๒ ต่อมากองทัพอากาศ ได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่ เมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๑ แล้วเสร็จเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ และได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม เมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๕๑๒เป็นต้นมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวม อากาศยานที่ปลดประจำการแล้วไว้หลายแบบซึ่งหาดูได้ยาก บางแบบเคยเข้าร่วมปกป้องอธิปไตยจนนักบิน ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญมาแล้วหลายท่าน และกองทัพอากาศได้พยายามปรับปรุงและ พัฒนาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านประวัติของกองทัพอากาศต่อไป พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เลขที่ ๑๗๑ ถนนพหลโยธิน เขตดอนเมือง กรุงเทพ ฯ ๑๐๒๑๐ โทร. ๐- ๒๕๓๔- ๑๘๕๓, ๐- ๒๕๓๔- ๒๑๑๓ โทรสาร ๐- ๒๕๓๔- ๑๗๖๔ กำหนดเวลาเข้าชม เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ รถประจำทางที่ผ่าน รถธรรมดา ๓๔, ๓๙, ๑๑๔, ๓๕๖ รถปรับอากาศ ๓, ๒๑, ๒๒, ๒๔, ๒๕, ๓๔, ๓๙, ๑๑๔, ๓๕๖   อาคารหมายเลข ๑๐๐๙ (ห้องโถงกลาง) จัดแสดงประวัติกองทัพอากาศและกิจการบิน พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน องค์ผู้ทรงบังคับบัญชา แผนกการบินตั้งแต่สมัยเริ่มแรก  จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์ผู้ทรงเร่งทำนุบำรุง กรมอากาศยาน  จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช องค์ผู้ทรงริเริ่มสร้างกำลังทางอากาศ  จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ องค์ผู้ทรงทะนุบำรุงกำลังทางอากาศตั้งแต่เริ่มต้น ลานจอดเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์และแบบอื่นๆ จัดแสดงกลางแจ้ง   อาคารหมายเลข ๑๐๑๑ จัดแสดงพัสดุพิพิธภัณฑ์ (อาวุธยุทโธปกรณ์-อุปกรณ์ต่างๆ) อาคาร ๑๐๑๐ จัดแสดงอากาศยานหลังสงครามโลก จนถึงยุคไอพ่น ขอขอบคุณข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rtaf.mi.th/rtaf-travel/museum.htm   

 การจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อากาศยานเป็นการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต้นทุนต่ำ แต่ให้ความรู้มากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินกระดาษ เครื่องร่อน เครื่องบินพลังยาง หรือเครื่องบินบังคับวิทยุ เริ่มจากการสังเกตหลักการทางด้านพลศาสตร์ความรู้ทางฟิสิกส์ การเพิิ่มทักษะการศึกษาวิจัยด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ใคร ๆ แม้แต่เด็กระดับอนุบาลก็ทำได้ ดังจะเห็นได้จากการพับเครื่องบินกระดาษ ชาวญี่ปุ่นสามารถนำความรู้เหล่านี้มาใช้เป็นอาชีพจนได้รับชื่อเสียง เขียนหนังสือออกมาขายเป็นที่นิยมไปทั่วโลกด้วย

อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการการเรียนรู้ด้านการบินของมนุษย์ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่มนุษย์คนแรกสังเกตเห็นและตั้งคำถามเกี่ยวกับการบินของสิ่งมีชีวิตอื่นเช่น นก หรือแมลงตัวเล็กๆ ที่สามารถบินได้ เมื่อมนุษย์เงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้าแล้วตั้งคำถามว่ามีอะไรอยู่บนนั้นบ้าง จินตนาการของมนุษย์ได้เริ่มต้นสร้างสรรค์ถึงสิ่งที่สามารถล่องลอยหรือสิงสถิตย์อยู่บนท้องฟ้า เทพเจ้าหรือแม้แต่สัตว์ในเทพนิยายผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย ต่างมีความสามารถในการไปได้ในอากาศ มนุษย์เริ่มสร้างสมความเชื่อที่ว่า มนุษย์เองก็สามารถล่องลอยบนฟ้าหรือทำการบินได้เช่นเดียวกัน จินตนาการและความเชื่อนั่นเองเป็นแรงผลักดันให้เกิดการแสวงหาวิธีการในการบินของมนุษย์ ในตำนานของกรีกโบราณได้เล่าขานถึง แดดาลัสและอิคารัส (Daedalus and Icarus) สองพ่อลูกผู้สร้างปีกจากขนนกและขี้ผึ้ง ทั้งสองได้รับการบันทึกในเรื่องเล่าปรัมปราว่าเป็นมนุษย์คู่แรกที่ทำการบินด้วยปีกของตัวเอง แม้เรื่องดังกล่าวจะเป็นเพียงตำนานแต่ก็ได้พิสูจน์ถึงความเชื่อและสามารถกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจให้กับชนรุ่นหลัง ในเวลาต่อมา อาริสโตเติล (Aristotle, 384 B.C.) นักปรัชญาชาวกรีกได้ตั้งคำถามว่า อากาศคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง มนุษย์เราสามารถบินหรือเดินทางไปในสิ่งที่เราเรียกกันว่าอากาศได้หรือไม่ เขาพยายามคิดค้นหาคำตอบด้วยตนเองจนได้ข้อสรุปว่า อากาศนั้นมีมวล มีน้ำหนักและถือว่าเป็นของไหล  แนวคิดของอาริสโตเติลส่งผลให้นักปรัชญา นักฟิสิกส์ ในยุคต่อมา เช่น กาลิเลโอ  ปาสคาล และโรเจอร์ เบคอน ได้ทำการค้นคว้าทดสอบและให้คำจำกัดความของอากาศว่า เป็นก๊าซ สามารถอัดตัวได้ และความกดดันของอากาศจะลดลงเมื่อระยะสูงเพิ่มขึ้น และด้วยกฎของ อาร์คีเมดีส ในเรื่องมวล น้ำหนัก และการแทนที่ เลโอนาร์โด ดา วินซี่ (Leonardo da Vinci, 1452-1519) อัจฉริยะบุคคลหลายสาขาชาวอิตาลี่ ได้ทำการศึกษาศาสตร์ด้านการบินอย่างจริงจัง เขาสังเกตการณ์ทำงานของปีกนกตลอดจนประมวลความรู้ด้านอากาศพลศาสตร์จากนักคิดในอดีต จนในที่สุดเขาได้ออกแบบปีก ข้อต่อ แขนกลต่างๆ เลียนแบบกระดูกและกล้ามเนื้อของนก  ให้ชื่อว่า “ออร์นิฮอปเตอร์” (Ornihopters) ซึ่งถือเป็นอากาศยานต้นแบบที่หนักกว่าอากาศแบบแรกที่ใช้กำลังของกล้ามเนื้อจากแขนของมนุษย์ไปขยับปีกให้กระพือเพื่อทำให้เกิดแรงพยุงหรือแรงลอยตัว นอกจากนั้น ดาวินซี่ ยังได้แผนแบบเฮลิคอปเตอร์และร่มกระโดดรุ่นบุกเบิกเอาไว้โดยมีการเขียนรูปไว้เป็นหลักฐาน  ซึ่งแม้จะดูรูปร่างประหลาด แต่หากพิจารณาว่าในสมัยนั้นยังไม่มีวิทยาการใดๆ เข้ามาช่วยในการแผนแบบก็ต้องนับว่าน่าทึ่งในความคิด และความอุตสาหพยายาม ตลอดจนความกล้าหาญไม่น้อยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ดาวินซี่ได้สรุปไว้ว่ามนุษย์สามารถขึ้นทำการบินได้ ด้วยการอาศัยกลไกซึ่งสามารถทดแทนกล้ามเนื้อและแรงพยุงตัวในอากาศ แม้เทคโนโลยีและวัสดุศาสตร์ในยุคของเขาไม่สามารถรองรับความต้องการของศาสตร์ดังกล่าวได้  แต่เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์มีวิทยาการด้านกลไกและวัสดุศาสตร์เพียงพอแล้ว การขึ้นบินของมนุษย์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ซึ่งเราก็ได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสมมติฐานของดาวินซี่นั้นเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ค.ศ.1783 พี่น้องตระกูล มองโกฟิแยร์ ประสบความสำเร็จในการสร้างบอลลูนอากาศร้อนขนาดใหญ่ที่สามารถบรรทุกคน 2 คนให้ลอยไปในอากาศได้ ต่อมาได้นำเครื่องยนต์ขนาดเล็กติดตั้งบนบอลลูนเพื่อให้สามารถบังคับทิศทางได้บ้างถึงกระนั้นการพัฒนาอากาศยานที่หนักกว่าอากาศยังคงต้องรอกันอีกเป็นปีๆ ในระหว่างปี ค.ศ.1773 ถึง 1857 เซอร์ จอร์จ เคย์เลย์ แห่งอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของอากาศพลศาสตร์สมัยใหม่ในยุคนั้นได้พยายามเผยแพร่ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับแรงของอากาศที่มากระทำต่อปีกโดยที่ปีกไม่ต้องเคลื่อนไหวหรือขยับขึ้นลงเหมือนอย่างนก เขาเล็งเห็นถึงความสำคัญของมุมที่ปีกกระทำกับทิศทางของกระแสลมหรือทิศทางการเคลื่อนที่ ซึ่งเรียกว่า มุมปะทะ ตลอดจนการทำให้มีส่วนโค้งมนที่ผิวปีกด้านบน ซึ่งมีผลในการเพิ่มแรงลอยตัวให้กับปีกดีกว่าปีกแบบแผ่นเรียบๆ คล้ายแผ่นกระดาษมาก เขาได้สร้างเครื่องร่อนต้นแบบที่มีปีก ลำตัวและหาง ซึ่งก็ได้ผลอยู่ในระดับหนึ่ง โดยที่เสถียรภาพและการบังคับควบคุมยังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก  คงเป็นเพียงแค่การยกปีกทั้งสองข้างให้สูงขึ้นคล้ายการทรงตัวขณะลอยตัวของนก และสรุปว่ามีผลทำให้เสถียรภาพในการบินดีขึ้นเท่านั้น ในปี ค.ศ.1853 มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือว่าเขาได้สร้างอากาศยานประเภทหนักกว่าอากาศปราศจากเครื่องยนต์ หรืออีกนัยหนึ่งเครื่องร่อน และได้ทำการบินทดสอบโดยปล่อยลงมาจากที่สูงได้เป็นผลสำเร็จ    

                            การทำความเข้าใจถึงส่วนประกอบ และการทำงานของอากาศยานแต่ละประเภทนั้น จำเป็นต้องทำความรู้จักชนิดและคุณลักษณะของการแผนแบบอากาศยานเบื้องต้น เพื่อให้เข้าใจถึงคุณลักษณะการตอบสนองต่อความต้องการใช้งานของอากาศยานแต่ละประเภทด้วย ในเบื้องต้นนี้การทำความเข้าใจส่วนประกอบของอากาศยานประเภทเครื่องบินจะสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงส่วนประกอบพื้นฐานของอากาศยานซึ่งเป็นที่รู้จักคุ้นเคยและง่ายต่อความเข้าใจเสียก่อน หลังจากนั้นจึงค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเองเพื่อให้ทราบถึงส่วนประกอบอากาศยานอื่นๆ ที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นไป  

10/13
Skip to content