“สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 3 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน 7 รางวัล Special Awards ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ (IEYI 2019) ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย”
วันที่ 25 ตุลาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมการจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2019) ระหว่างวันที่ 22 – 26 ตุลาคม จังหวัดบันเติน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 9 ทีม รวม 17 คน ซึ่งจากการตัดสินของคณะกรรมการ มีผลการแข่งขันปรากฏว่า มีนักเรียนได้รับรางวัลครบทุกทีม แบ่งเป็น เหรียญทอง 3 รางวัล เหรียญเงิน 6 รางวัล และ Special Awards 7 รางวัล ดังนี้ รางวัลเหรียญทอง 3 รางวัล ได้แก่ ผลงาน “ไฟฉายอเนกประสงค์” โดย เด็กชายกรกฎ วงศ์ชัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ เด็กชายอชิรวิชญ์ ตามสมัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น (จ.เชียงราย) / ผลงาน “กรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน”โดย เด็กหญิงชนากานต์ อินทเจียด และเด็กหญิงศิรประภา กรายแก้ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา (จ.สุราษฎร์ธานี) และผลงาน “วัสดุดูดความชื้นจากไส้ตันมันสำปะหลัง” โดย นางสาวสุภัสสรา หนูบูรณ์ และนางสาวปิยฉัตร เสียมไหม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีพัทลุง (จ.พัทลุง) . รางวัลเหรียญเงิน 6 รางวัล ได้แก่ ผลงาน “สื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา” โดย นางสาวเธียรธีรา พุ่มพวง และนางสาวรัฎศมล น่วมนวล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก (จ.พิษณุโลก) / ผลงาน “แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์” โดย นางสาวเกวลิน สุขไกว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนางสาวปิ่นศวิตา ทองสลัก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา (จ.สุราษฎร์ธานี) / ผลงาน “นวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ” โดย นางสาวเจษธิดา สูงขาว และนางสาวประภัสสร ศรีกอก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม (จ.เชียงราย) / ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีนไฮโดรไลเซทและสารสกัด จากสะเดาและ ใบแมงลักคา เพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทองในสวนผลไม้” โดย นายอภิลักษณ์ ไวกูณฐ์เวศม์ และนายชยุตพงศ์ ชัยมงคล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย (จ.นครพนม)…
รับสมัครข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึง 31ตุลาคม 2562
[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Button_Widget”][/siteorigin_widget]
จุดไฟคิดกับสิ่งประดิษฐ์เยาวชนไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการประกวดและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ เมื่อวันที่ 8 – 10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 47 ผลงาน มานำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ในระดับประเทศ เพื่อคัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีระดับนานาชาติต่อไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินการโครงการการจัดการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กิจกรรม การพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประประดิษฐ์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว ลำดับต่อไปจะดำเนินการประกวดในรอบสุดท้าย คือ การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดใหม่ในระดับประเทศ เพื่อคัดเลือกและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ ไปร่วมประกวดและจัดแสดง ในเวทีระดับนานาชาติ โดยพิจารณาคัดเลือกจากข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ที่โรงเรียนจัดส่ง เข้าร่วมประกวด จำนวน 229 ผลงาน ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกไว้ 50 ผลงาน และ ให้นักเรียนเจ้าของผลงาน ได้เตรียมการพัฒนาพร้อมจัดทำเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้เสร็จสมบูรณ์ และ เปิดโอกาสให้นักเรียนที่ได้รับการตัดสินชนะเลิศทุกช่วงชั้นในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยี ของนักเรียน ครั้งที่ 68 ประจำปี 2561 ระดับชาติ จากเวทีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ 3 ผลงาน และการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ 3 ผลงาน รวม 56 ผลงาน โดยในงานครั้งนี้ มีโรงเรียนตอบรับเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 47 ผลงาน เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไปประกวดในเวทีระดับนานาชาติต่อไป การดำเนินการประกวดและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ในครั้งนี้ ส่งผลให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพการนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองได้อย่างเต็มภาคภูมิใจ ครู นักเรียน ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับความรู้ และนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันไปสร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์นวัตกรรมทางความคิดผลงานสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่และได้ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ คุณค่า ความคิดสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ เป็นตัวแทนประเทศไปประกวดและจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีระดับนานาชาติต่อไป ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกไปให้นำเสนอในงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ “วัสดุดูดความชื้นจากไส้ต้นมันสำปะหลัง” จากโรงเรียนสตรีพัทลุง สพม.เขต 12 จังหวัดพัทลุง “นวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ Baked clay ball” สามัคคีวิทยาคม สพม.เขต 36 จังหวัดเชียงราย “ฟองน้ำชีวภาพจากเกล็ดปลากะพงขาวในการดูดซับของเสียและโลหะมีพิษ” “วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช สพม.เขต 12 จัหวัดนครศรีธรรมราช “ผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีน ไฮโดรไลเซทและสารสกัดจากสะเดาและ ใบแมงลักคาเพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทอง ในสวนผลไม้” โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย สพม.เขต 22 จังหวัดนครพนม “สื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา” วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก สพม.เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก “ประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลอง ที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ” โรงเรียนวัดทรงธรรม สพม.เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ “ศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจาก ใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหา ดินร่วนป่นทราย” โรงเรียนดอนจานวิทยาคม สพม.เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์ “ไฟฉายอเนกประสงค์” อนุบาลเวียงแก่น สพป.เชียงราย เขต 4 จังหวัดเชียงราย…
เพิ่มช่องทางสำหรับโรงเรียนที่จะส่งผลงานเข้าร่วมประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2559
เนื่องจากปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาการส่งเอกสารเค้าโครงทางไปรษณีย์ ที่ล่าช้า และตกหล่น จึงได้เพิ่มช่องทางสำหรับโรงเรียนที่จะส่งผลงานเข้าร่วมประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2559 สามารถจัดส่งได้ทาง ้https://inno.obec.go.th/inventor/ ทั้งนี้จะต้องส่งเอกสารทางไปรษณีย์ด้วย
ดาวน์โหลดแนวทางการดำเนินงานโครงการสิ่งประดิษฐ์ ปี 2559
ดาวน์โหลดจาก https://drive.google.com/file/d/0B2BaDoesASowZjlIRW1sV1h0WjZZenlEN1NwckJCcDRWZGEw/view?usp=drivesdk
สพฐ. จัดการประกวดและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับประถมศึกษา เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดในเวทีนานาชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนไทย สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เด็กและเยาวชนไทยประสบความสำเร็จอย่างงดงาม มีนวัตกรรมใหม่ ๆ กล้าคิด กล้าแสดงออก เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จากการที่ สนก. นำคณะนักเรียนไปประกวดและจัดแสดงที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 11 – 14 พฤษภาคม 2559 แล้วนั้น ผู้แทนจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้มาประสาน ขอเชิญ สพฐ. ให้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ที่มีอายุ 6 – 13 ปี นำผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมประกวดในงาน Hong Kong International Student Innovative Invention Contest 2016 Application Guide ในเดือนธันวาคม 2559 ประเทศละไม่เกิน 3 ผลงาน โดยให้ส่งรายละเอียดผลงานในเดือนกันยายน 2559 จากการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนือง พบว่าประเทศต่าง ๆ มีความตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ระดับโรงเรียน ในมิติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ และมีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ในระดับโรงเรียนอย่างมีระบบ เพื่อเป็น การปูพื้นฐานให้นักเรียนระดับประถมศึกษา และครูที่ปรึกษา ได้มีนวัตกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ที่มีคุณค่าผลงานแปลกใหม่ จึงเห็นสมควรจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 10 – 12 กันยายน 2559 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานกรุงธน กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนระดับประถมศึกษา และครูที่ปรึกษา ได้มีความรู้ ความเข้าใจ แลเห็นคุณค่าของการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อกลับไปสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ พร้อมนำมาประกวดในเวทีระดับประเทศ เป้าหมาย นักเรียนระดับประถมศึกษา ครูที่ปรึกษา และคณะทำงาน จำนวน 135 คน ได้มีการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ได้อย่างหลากหลาย ผลที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียนระดับประถมศึกษา ครูที่ปรึกษา และคณะทำงานมีการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ได้อย่างหลากหลาย นักเรียนระดับประถมศึกษา มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และไปสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ พร้อมนำมาประกวดในเวทีระดับประเทศก่อนคัดเลือกไปประกวดในเวทีนานาชาติ