ถุงกระดาษไคโตซานดูดซับไขมันในอาหาร
ผู้ประดิษฐ์ เด็กหญิงรัตนาภรณ์ ชัยอินทร์ศูนย์ เด็กหญิงพิมพ์มาดา เงินมาก ครูที่ปรึกษา /ผู้ประสานงาน : นายชำนาญพงษ์ เจริญผล หน่วยงาน /สถานที่ติดต่อ : โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โทรศัพท์มือถือ : E-mail : รายละเอียดผลงาน : สิ่งประดิษฐ์เรื่องถุงกระดาษไคโตซาน มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบการดูดซับไขมันของไคโตซาน โดยสกัดไคโตซาน จากเปลือกกุ้งแม่น้ำนำมาแช่สารละลาย NaOH เข้มข้น 2% (w/v) อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่สารละลาย HCL เข้มข้น 1.25 normal ที่อุณหภูมิห้อง เวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่สารละลาย HCL เข้มข้น 1.25 normal ที่อุณหภูมิห้อง เวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่ในสารละลาย NaOH เข้มข้น 50% (w/w) อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที และนำไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เวลา 4 ชั่วโมง จากนั้นนำไคโตซานที่สกัดไปผสมกับกระดาษเพื่อสังเกตการดูดซับไขมันในอาหาร ผลการทดลองการดูดซับไขมันในอาหารพบว่าดูดซับน้ำมันได้ดี จึงสรุปได้ว่า ไคโตซานมีความสามารถในการดูดซับไขมันในอาหาร ดาวน์โหลด เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
เพิ่มช่องทางสำหรับโรงเรียนที่จะส่งผลงานเข้าร่วมประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2559
เนื่องจากปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาการส่งเอกสารเค้าโครงทางไปรษณีย์ ที่ล่าช้า และตกหล่น จึงได้เพิ่มช่องทางสำหรับโรงเรียนที่จะส่งผลงานเข้าร่วมประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2559 สามารถจัดส่งได้ทาง ้https://inno.obec.go.th/inventor/ ทั้งนี้จะต้องส่งเอกสารทางไปรษณีย์ด้วย
ดาวน์โหลดแนวทางการดำเนินงานโครงการสิ่งประดิษฐ์ ปี 2559
ดาวน์โหลดจาก https://drive.google.com/file/d/0B2BaDoesASowZjlIRW1sV1h0WjZZenlEN1NwckJCcDRWZGEw/view?usp=drivesdk
สพฐ. จัดการประกวดและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับประถมศึกษา เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดในเวทีนานาชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนไทย สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เด็กและเยาวชนไทยประสบความสำเร็จอย่างงดงาม มีนวัตกรรมใหม่ ๆ กล้าคิด กล้าแสดงออก เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จากการที่ สนก. นำคณะนักเรียนไปประกวดและจัดแสดงที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 11 – 14 พฤษภาคม 2559 แล้วนั้น ผู้แทนจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้มาประสาน ขอเชิญ สพฐ. ให้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ที่มีอายุ 6 – 13 ปี นำผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมประกวดในงาน Hong Kong International Student Innovative Invention Contest 2016 Application Guide ในเดือนธันวาคม 2559 ประเทศละไม่เกิน 3 ผลงาน โดยให้ส่งรายละเอียดผลงานในเดือนกันยายน 2559 จากการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนือง พบว่าประเทศต่าง ๆ มีความตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ระดับโรงเรียน ในมิติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ และมีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ในระดับโรงเรียนอย่างมีระบบ เพื่อเป็น การปูพื้นฐานให้นักเรียนระดับประถมศึกษา และครูที่ปรึกษา ได้มีนวัตกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ที่มีคุณค่าผลงานแปลกใหม่ จึงเห็นสมควรจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 10 – 12 กันยายน 2559 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานกรุงธน กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนระดับประถมศึกษา และครูที่ปรึกษา ได้มีความรู้ ความเข้าใจ แลเห็นคุณค่าของการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อกลับไปสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ พร้อมนำมาประกวดในเวทีระดับประเทศ เป้าหมาย นักเรียนระดับประถมศึกษา ครูที่ปรึกษา และคณะทำงาน จำนวน 135 คน ได้มีการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ได้อย่างหลากหลาย ผลที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียนระดับประถมศึกษา ครูที่ปรึกษา และคณะทำงานมีการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ได้อย่างหลากหลาย นักเรียนระดับประถมศึกษา มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และไปสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ พร้อมนำมาประกวดในเวทีระดับประเทศก่อนคัดเลือกไปประกวดในเวทีนานาชาติ
ใบความรู้ เรื่องเครื่องร่อนแบบเดินตาม (Walkalong Glider)
เรียบเรียง โดย อ.เสนีย์ ศรีมณี ครูโรงเรียนชุมชนบ้านบางโหนด สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4
พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ
ประวัติพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ กองทัพอากาศ ได้เริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ โดยมุ่งหมายรวบรวมยุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ ทุกประเภทตามยุคตามสมัยเป็นลำดับ จัดแสดงเพื่อเป็นประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง เดิมจัดแสดงอยู่ที่ โรงเก็บเครื่องบินด้านทิศตะวันตกของสนามบินดอนเมือง แต่ยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม เมื่อรวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์ได้มากขึ้นจึงทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๐๒ ต่อมากองทัพอากาศ ได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่ เมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๑ แล้วเสร็จเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ และได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม เมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๕๑๒เป็นต้นมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวม อากาศยานที่ปลดประจำการแล้วไว้หลายแบบซึ่งหาดูได้ยาก บางแบบเคยเข้าร่วมปกป้องอธิปไตยจนนักบิน ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญมาแล้วหลายท่าน และกองทัพอากาศได้พยายามปรับปรุงและ พัฒนาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านประวัติของกองทัพอากาศต่อไป พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เลขที่ ๑๗๑ ถนนพหลโยธิน เขตดอนเมือง กรุงเทพ ฯ ๑๐๒๑๐ โทร. ๐- ๒๕๓๔- ๑๘๕๓, ๐- ๒๕๓๔- ๒๑๑๓ โทรสาร ๐- ๒๕๓๔- ๑๗๖๔ กำหนดเวลาเข้าชม เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ รถประจำทางที่ผ่าน รถธรรมดา ๓๔, ๓๙, ๑๑๔, ๓๕๖ รถปรับอากาศ ๓, ๒๑, ๒๒, ๒๔, ๒๕, ๓๔, ๓๙, ๑๑๔, ๓๕๖ อาคารหมายเลข ๑๐๐๙ (ห้องโถงกลาง) จัดแสดงประวัติกองทัพอากาศและกิจการบิน พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน องค์ผู้ทรงบังคับบัญชา แผนกการบินตั้งแต่สมัยเริ่มแรก จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์ผู้ทรงเร่งทำนุบำรุง กรมอากาศยาน จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช องค์ผู้ทรงริเริ่มสร้างกำลังทางอากาศ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ องค์ผู้ทรงทะนุบำรุงกำลังทางอากาศตั้งแต่เริ่มต้น ลานจอดเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์และแบบอื่นๆ จัดแสดงกลางแจ้ง อาคารหมายเลข ๑๐๑๑ จัดแสดงพัสดุพิพิธภัณฑ์ (อาวุธยุทโธปกรณ์-อุปกรณ์ต่างๆ) อาคาร ๑๐๑๐ จัดแสดงอากาศยานหลังสงครามโลก จนถึงยุคไอพ่น ขอขอบคุณข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rtaf.mi.th/rtaf-travel/museum.htm
หนังสือ ตะลุยแดนอากาศยาน
การจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อากาศยานเป็นการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต้นทุนต่ำ แต่ให้ความรู้มากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินกระดาษ เครื่องร่อน เครื่องบินพลังยาง หรือเครื่องบินบังคับวิทยุ เริ่มจากการสังเกตหลักการทางด้านพลศาสตร์ความรู้ทางฟิสิกส์ การเพิิ่มทักษะการศึกษาวิจัยด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ใคร ๆ แม้แต่เด็กระดับอนุบาลก็ทำได้ ดังจะเห็นได้จากการพับเครื่องบินกระดาษ ชาวญี่ปุ่นสามารถนำความรู้เหล่านี้มาใช้เป็นอาชีพจนได้รับชื่อเสียง เขียนหนังสือออกมาขายเป็นที่นิยมไปทั่วโลกด้วย