การประชุมชี้แจงการใช้คู่มือเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน รร.สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จัดทำคู่มือเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อเผยแพรให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 245 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ใช้เป็นแนวทางพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ใช้เป็นหลักเทียบเคียง สำหรับส่งเสริม กำกับติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากทุกภาคส่วนเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมศึกษา ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา และ ด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ประกอบด้วย 13 มาตรฐาน และ 31 ตัวชี้วัดโดยมีเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมศึกษาสู่ความยั่งยืน ที่เกิดจากผู้บริหาร ครู นักเรียน บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน เป็นโรงเรียน ชุมชนท้องถิ่น สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการจัดทำคู่มือเล่มนี้ เป็นการทำงานจากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ครู และผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา นอกจากนี้ […]

โอนจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดทำงานวิจัยในประเด็นของ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2564

ดูรายละเอียดหรือดาวน์โหลดหนังสือราชการ คลิกที่นี่ ศธ 04002/ว2016 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การโอนเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 464 (จัดทำงานวิจัยในประเด็นของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) คลิกที่นี่ เนื่องจากในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 อาจทำให้ไม่ได้รับความสะดวกจาการติดต่อทางโทรศัพท์ ทางโครงการจึงได้เพิ่มช่องทางการติดต่อสอบถามออนไลน์ผ่านไลน์ โดยคลิกโทร หรือเพิ่มเพื่อน เพื่อติดต่อสอบถามได้ที่ www.inno.obec.go.th

การจัดการขยะมูลฝอย

การจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลด คัดแยกขยะ การทิ้งขยะ การเก็บขยะไว้ในภาชนะ การเก็บรวบรวม เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการขนส่งนำไปกำจัด ณ สถานที่กำจัดขยะที่ถูกหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของราชการ ทั้งด้านสุขอนามัย ทัศนียภาพ เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม

ประชุมคณะทำงานติดตามและรายงานผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทน คือ นางสาวนลินี  จีนกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานติดตามและรายงานผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  เมื่อวันพุธที่ 19 สิงหาคม 2563  เว ลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมจันทรเกษม อาคารราชวัลลภ

แนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2563

ด้วย กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยมีกรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จำนวน 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะและการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ โดยใช้หลักการ 3 ช : ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ 3Rs : Reduce Reuse Recycle ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย แจ้งว่าแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงขอความร่วมมือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนปฏิบัติการฯ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดทราบ เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยของประเทศมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปีพ.ศ. 2563 ขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. กรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ […]

กล่องนมรักษ์โลก

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ผลิตภัณฑ์ไมโล บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับบริษัท เต้ดตร้า แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมจัดการกล่องยูเอชทีใช้แล้วในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนและครูเพื่อให้เกิดการจัดการกล่องยุเอชทีใช้แล้ว ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (Closed Loop Packaging) ภายใต้โครงการเรียนรู้นอกห้องเรียน “กล่องนมรักษ์โลก” ณ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง) กิจกรรมการอบรมเป็นการชี้แจงโครงการกับโรงเรียนเป้าหมาย วางแผนการเก็บกล่องยูเอชทีและการแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนต้นแบบ/นำร่อง ที่ร่วมโครงการ รูปแบบการอบรมประกอบด้วยการบรรยายและกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติในการคัดแยกและพับกล่องยูเอชทีใช้แล้ว และเมื่อโรงเรียนจัดเก็บกล่องนมที่ผ่านการพับเรียบร้อยแล้ว และมีจำนวนมากพอ บริษัทไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด จะเป็นผู้ขนส่งและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและแปรรูปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โต๊ะทานข้าวในโรงอาหาร โต๊ะ-เก้าอี้นักเรียน แผ่นหลังคา เป็นต้น ใช้ภายในโรงเรียนหรือส่งต่อโรงเรียนเครือข่ายต่อไป

สพฐ.สร้างองค์ความรู้ตามแนวทางการดำเนินการตามาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ และการจัดการขยะและบุรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในสำนักงาน

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563  ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมและประชุมชี้แจงสร้างองค์ความรู้ตามแนวทางการดำเนินการตามมาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ  และการจัดการขยะและบุรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในสำนักงาน  ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำพลาสติกและโฟมมาใช้ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งพลาสติกและโฟมเหล่านี้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากเมื่อไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก และทางทะเล รวมทั้งปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินงานพร้อมกันทั่วประเทศในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 กิจกรรมภายใต้โครงการ “ทำความดีด้วยหัวใจ  ลดภัยสิ่งแวดล้อม” โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล็งเห็นความสำคัญในปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งควรสร้างความตระหนักตั้งแต่เยาวชนของชาติจนถึงข้าราชการและบุคลากรในส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อให้สำนักในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ในสังกัด มีการดำเนินงานด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในอาคารและพื้นที่ ของหน่วยงาน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแต่ภาคเอกชนและประชาชนในการมีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ขยะพลาสติก และโฟม ในภาพรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางและมาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน […]

1 2 13

Login