ประชาสัมพันธ์กิจกรรม”โครงการห้องเรียนสีเขียว”


สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (โครงการห้องเรียนสีเขียวและโรงเรียนสีเขียว)”  โดย กฟผ. และ สพฐ. ได้ร่วมจัดกิจกรรมการประกวดโครงการห้องเรียนสีเขียว ซึ่งการประกวดแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมได้แก่

1. กิจกรรม EGAT Young Influencer ประจำปี 2567 (เสริมสร้างพลังเยาวชนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน)

เปิดรับสมัครบัดนี้จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2567

ข่าวสารเพิ่มเติม https://gls.egat.co.th/activities/415

2. กิจกรรมการประกวดจัดทำสื่อการเรียนรู้โครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2567 ประเภท Infographic

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2567

ข่าวสารเพิ่มเติม https://gls.egat.co.th/activities/409

3. กิจกรรมการประกวดจัดทำสื่อการเรียนรู้โครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2567 ประเภท Board Game

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567

ข่าวสารเพิ่มเติม https://gls.egat.co.th/activities/408

 

 

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สนก.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ. สนก.

ประกาศผลการประกวดสปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รอบคัดเลือก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณาตัดสินผลงานการประกวดสปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รอบคัดเลือก เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนที่ได้รับรางวัล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะแจ้งรายละเอียดในการรับเกียรติบัตรอีกครั้ง สำหรับโรงเรียนที่เข้ารอบตัดสินจะได้เผยแพร่ผลงานผ่านเพจเฟซบุ๊ค GREEN OBEC สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 เวล 23.59น. เพื่อตัดสินรางวัล POPULAR VOTE และเข้าประกวดรอบตัดสินภายในเดือนมิถุนายน 2567 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://eesd.obec.go.th หรือ เพจเฟซบุ๊ค GREEN OBEC สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

*เกณฑ์การตัดสินผลงาน

*รางวัลการประกวด

 

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สนก.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ. สนก.

ประกาศรับ อาสาสมัครญี่ปุ่น สาขา City and Local Environment Improvement

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย เปิดรับสมัครคำขอรับาอสาสมัครญี่ปุ่น ประจำปี 2567 ให้แก่หนวยงานราชการต่างๆ ของไทย เพื่อจัดส่งอาสาสมัครญี่ปุ่นในสาขา City and Local Environment Improvement เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานในปี 2567 ยกเว้นพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี

โดยสามารถส่งเอกสารคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ ในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

เอกสารราชการ

ใบสมัครคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่น

ลิงก์ส่งใบสมัคร

*QR Code

 

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สนก.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ. สนก.

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง

สพฐ.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง พร้อมมอบแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในระดับพื้นที่ทั้งระบบ ภายใต้จุดเน้นเชิงนโยบายของ สพฐ. รวมถึงเน้นย้ำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เพื่อนำไปขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายให้ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร และคณะทำงานบุคลากรของ สพฐ. ทั้งหมด 55 คน  ณ โรงแรมปริ๊นส์ตั้น กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งพัฒนากลไกเชิงระบบที่เสริมสร้างให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer) เพื่อสร้างห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom) และการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Learning) ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้ เหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรมและขับเคลื่อนจุดเน้นการปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้มีคุณภาพ ทันสมัย และหลากหลายได้อย่างเป็นระบบ เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง ในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 – 6 เมษายน 2567

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกอบรมเยาวชนแกนนำอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “จากภูผาสู่มหาสมุทร”

ในวันที่ ๑ – ๓ เมษายน ๒๕๖๗ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพมหานคร สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกอบรมเยาวชนแกนนำอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “จากภูผาสู่มหาสมุทร” โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกอบรมเยาวชนแกนนำอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับพัฒนานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้มีความรู้ความเข้าในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศบนบก ทะเลและชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

สพฐ. ปฏิบัติงานเชิงรุกลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบการแข่งขันทางวิชาการ ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2567 ท่านเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา สพฐ. และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ (รอบแรก)
ณ โรงเรียนพญาไท เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับนักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้ข้อมูลการจัดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) จากสภาพจริง

โดยการแข่งขันในปีนี้มีนักเรียนจากทุกสังกัด ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมากถึง 150,000 คน ซึ่งผลการสอบแข่งขันในรอบนี้ จะนำไปสู่การคัดเลือกนักเรียนในรอบสอง (ระดับศูนย์สอบ) ต่อไป

สนก. ร่วมกับองค์กรเครือข่ายและสถาบันการศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน นำร่องการใช้นวัตกรรมการวัดระดับผู้เรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ China University of Petroleum (Beijing) Belt and Road Chinese Center (BRCC) และ Malisha Edu จัดกิจกรรมการสอบ “Entrance Examination Plan for International Students” ณ ห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การนำร่องนวัตกรรมการวัดระดับผู้เรียนในครั้งนี้ เป็นการจำลองรูปแบบการสอบระดับนานาชาติที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะนำไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาต่างชาติเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในอนาคต โดยผลการสอบพบว่าจากนักเรียนที่เข้าสอบ จำนวน 87 คน นักเรียนไทยสามารถผ่านการสอบข้อเขียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จำนวน 41 คน

ภายหลังการสอบสัมภาษณ์ โดยอาจารย์จาก China University of Petroleum (Beijing) มีนักเรียนในสังกัด สพฐ. จำนวน 5 คน ที่มีผลสอบอยู่ในระดับสูง และได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี 100% (ค่าเรียน ค่าที่พัก ค่าประกันชีวิต) พร้อมเงินสนับสนุน 1,800 หยวนต่อเดือน จาก China University of Petroleum (Beijing) โดยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จำนวน 2 คน โรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวน 1 คน โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จำนวน 1 คน โรงเรียนหอวัง จำนวน 1 คน และเป็นนักเรียนไทยที่เดินทางมาสอบจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 คน นอกจากนี้ยังมีนักเรียนอีก 30 คน ที่ผ่านการสอบข้อเขียน สัมภาษณ์ และมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาประเภทต่าง ๆ ลดหลั่นกันไป พร้อมเอกสารรับรองการเข้าศึกษาต่อ (Pre-Admission ) ณ China University of Petroleum (Beijing) สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทันทีเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ทั้งนี้ นวัตกรรมการวัดระดับผู้เรียนในรูปแบบดังกล่าว จะเริ่มต้นนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในพี พ.ศ. 2568 เพื่อการคัดเลือกนักเรียนต่างชาติที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบการศึกษาของประเทศต่อไป โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล จะเร่งรัดการสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมให้นักเรียนไทยได้มีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมการสอบ อันจะนำไปสู่โอกาสในการรับทุนการศึกษา และการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

สนก. ร่วมหารือกับหน่วยงานการศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ (Education New Zealand) เพื่อสร้างนวัตกรรมความร่วมมือทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กไทย

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) นำโดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ร่วมประชุมกับ คุณช่อทิพย์ ประมูลผล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) ประจำสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ และคุณปิโยรจน์ งามวิไลกร ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยลินคอล์น ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศนิวซีแลนด์ ในปีการศึกษา 2567 ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากการร่วมหารือในครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอภาพรวมการจัดการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ และนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาและต่อยอดผู้เรียน โดยคุณเสริมชาติ สินธุบดี และ คุณสุพัตรา บุษส่ง ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ บริษัท เอ็นแซด สตั๊ดดี้ (ประเทศไทย) จำกัด

โดยในการหารือครั้งนี้ มีบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ประกอบด้วย นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง และนายสหรัถ อินทรีย์เขียว เข้าร่วมรับฟังข้อมูล แสดงความคิดเห็น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับแนวทางการสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากลต่อไป

สนก. ระดมความคิดเห็นครู และผู้บริหาร เพื่อสรุปผลการวิจัยนวัตกรรมการฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial lntelligence : AI)

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567 ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้แทนเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นครูและผู้บริหารเพื่อการวิจัยนวัตกรรมการฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial lntelligence : AI) ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล โดยมีผู้เข้าร่วมระดมความคิดเห็น ประกอบด้วย ทีมพัฒนานวัตกรรมจากบริษัท Edsy ผู้ริเริ่มการพัฒนาและการนำเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ AI English Speaking Coach มาทดลองใช้ในการยกระดับทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนในสังกัดต่าง ๆ ครู และผู้บริหารจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จำนวน 15 โรงเรียน ที่นำร่องการทดลองใช้นวัตกรรมการฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยปัญญาประดิษฐ์ในภาคเรียนที่ผ่านมา และ บุคลากรทางการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ได้แก่ นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง และนายสหรัถ อินทรีย์เขียว ที่ร่วมจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Zoom Meeting) ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ

ภายหลังการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ทีมพัฒนานวัตกรรมจะนำผลสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้รับ ไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของนวัตกรรม รวมถึงวางแผนการขยายผลการใช้นวัตกรรมในวงกว้าง ให้นักเรียน ครู และโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ได้เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้นการลดภาระการสอนของครู และส่งเสริมการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

เผยแพร่ผลงานวิชาการภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การประชุมร่วมพิจารณาโครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ได้มีการร่วมพิจารณาหนังสือจากสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง โครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei โดยขอความอนุเคราะห์ สพฐ. พิจารณาเสนอชื่อสถานศึกษาที่มีความเหมาะสมที่จะเข้าร่วมโครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว จำนวน 4 แห่ง รวมทั้งให้ความเห็นต่อร่างข้อตกลงการบริจาคสิ่งของ (Draft Donation of Goods Agreement)โดยมีสำนักและผู้ที่เข้าร่วมดังนี้

  1. สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์
    1.1 นายภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน ผอ.สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์
    1.2 นางสาวยูถิภา ฉายลักษมี นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
  2. สำนักสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
    2.1 นางอังสนา ม่วงปลอด นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ
  3. สำนักนิติการ
    3.1 นางสาวชลธิชา แสงนาค นิติกรปฎิบัติการ
  4. สำนักนโยบายและแผน
    4.1 นางสาวดารากร เพ็ญศิริ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ
    4.2 นางสาววีรดี อิศรเสนา ณ อยุธยา นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
  5. สำนักพัฒนานวิตกรรมการจัดการศึกษา
    5.1 นางสาวธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
    5.2 นางสาวนลินี จีนกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ
    5.3 นายพรชัย ถาวรนาน นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
    5.4 นางสาวชญาดา อินทรวินิจ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
    5.5 นางสาวกชกร อาริยะวัฒนา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
    5.6 นางสุดาพร หลวงนิหาร เจ้าหน้าที่โครงการ
    5.7 นายประเวช อุ่มผาง เจ้าหน้าที่โครงการ

จากการร่วมพิจารณาของผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ มีความเห็นโดยหลักการโครงการฯนำร่วงการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei เป็นโครงการที่มีประโชน์ต่อสถานศึกษาจึงเป็นควรมอบหมายสำนักนิติกรตรวจสอบด้านระเบียบ กฏหมายที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ มอบหมายสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาพิจารณารายชื่อโรงเรียน และพิจารณาร่วมกับโรงเรียนที่จะประสานส่งรายชื่อเพื่อเข้ารับการบริจาคแผงโซลร์เซลล์รวมทั้งการประสานเพิ่มรายชื่อโรงเรียนที่ทีก่ีตั้งอยู่ในจังหวัดที่สนองความต้องการของโครงการฯ โดยให้ข้อมูลโครงการฯในการเข้าตรวจสอบในการเข้าตรวจสอบโรงเรียนในการติดตั้งแผงโซลาร์เซล์ และการยอมรับในเงื่อนต่างๆ ของโครงการ

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

เชิญชวนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วม ประกวดสปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ได้ดำเนินการจัดการประกวด สปอตโทรทัศน์ เพื่อพัฒนานักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “ปลูกต้นกล้าความคิด เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม” พร้อมทั้งชิงโล่รางวัลเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่าร่วมกว่า 39,000 บาท

โดยรายละเอียดการแข่งขันมีดังนี้

หลักเกณฑ์การประกวด

หัวข้อ “ปลูกต้นกล้าความคิด เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประเภทที่ 2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ประเภทที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โดยแต่ละทีมจะมีนักเรียนไม่เกิน 3 และครูผู้ควบคุมทีมไม่เกิน 2 คน

เปิดเริ่มสมัครตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567

เว็บไซต์ https://eesd.obec.go.th/

FACEBOOK

https://www.facebook.com/EESDinThailand/

https://www.facebook.com/profile.php?id=61556129662390

เอกสารราชการ และ โปรเตอร์ประชาสัมพันธ์ 

https://drive.google.com/drive/folders/1vLzxF4fhSQVruslqCMv4oHWdS1_HWQwc?usp=sharing

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก