ความเป็นมา

การพัฒนาที่ยั่งยืนกลายเป็นวาระหลักของการพัฒนา โดยเฉพาะเมื่อสหประชาชาติได้ประกาศ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) 17 เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการพัฒนาของโลกระหว่างปี 2016 – 2030 ทำให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติถูกผูกโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 65 ที่กำหนดให้ยุทธศาสตร์ต้องมีการบรรจุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีการเชื่อมโยงทั้ง 30 เป้าประสงค์ในประเด็นของการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้ทำการวิเคราะห์แผนระดับต่าง ๆ ดังกล่าว และนำแนวคิดการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบ (Whole School Approach : WSA) เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนและพัฒนาสู่ความยั่งยืนให้กับผู้เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน และผู้เกี่ยวข้อง มีความตระหนัก เกิดจิตสำนึก เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อ

ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ

แผนแม่บท

(10) ประเด็น การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม

นโยบาย รมว.ศธ.

การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แผนแม่บทย่อย

10.1 การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และเสริมสร้างจิต สาธารณะ และการเป็น พลเมืองที่ดี

นโยบาย สพฐ.

ข้อ 1) ด้านความปลอดภัย (เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้เรียนทุกคน)

กิจกรรมที่ดำเนินการ

กิจกรรมที่จะดำเนินการ: การดำเนินงานในปี พ.ศ. 2565 สนก.มีหน้าที่ในการสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และนำไปขยายผลในระดับเขตพื้นที่และโรงเรียนที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ เน้นกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมรวมทั้งการเสริมพลังอำนาจ มีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานทุกระดับให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท นโยบายของ ศธ. และนโยบาย สพฐ. มีกิจกรรมหลักดังนี้

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สืบสานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable Development Goals : SDGs)

ศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์พลังงาน 2 ศูนย์ จังหวัดกระบี่/จังหวัดขอนแก่น

การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่เกาะ Geo Park สตูล

อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ห้องเรียนสีเขียวสร้างสังคมภูมิปัญญาด้านการจัดการขยะและการอนุรักษ์พลังงาน (ร่วมกับ กฟผ.)

บูรณาการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมกับภาคเครือข่าย องค์กรต่าง ๆ และงานในพระราชดำริอื่น ๆ