ผู้แทนนักเรียนในโครงการยุวทูตความดีฯ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน ผู้ซึ่งมีความตื่นรู้ ปฏิบัติหน้าที่อย่างชาญฉลาดได้รับคัดเลือกเป็น “ผู้แทนเยาวชนไทยไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเรียนในรัฐคูเวต ระหว่างวันที่ 7 – 14 มกราคม 2562” คือ เด็กหญิงโซเฟีย บือชา เด็กชายฟารฮานคาน โมอัมเม็ดซาริน จากโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก สพป.นราธิวาส เขต 2 เด็กหญิงอลิน อากาฌา อามิน โรงเรียนอนุบาลยะลา สพป.ยะลา เขต 1 เด็กชายวรัชญ์ วัฒนานิกร โรงเรียนอนุบาลปัตตานี สพป.ปัตตานี เขต 1 เด็กชายพีระภัทร รามจันทร์ โรงเรียนบ้านควนประ สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 และเด็กชายวรโชติ ทวีกิจเจริญชัย โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ สพป.ปทุมธานี เขต 2 เดินทางพร้อมด้วยผู้แทนครูในโครงการฯ จำนวน 1 คน คือ นางสาวฐานิยา งามศิริ ครูโรงเรียน วัดดอนทอง สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 กิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโลกทัศน์และต่อยอดองค์ความรู้ของยุวทูตความดีให้กว้างไกล รอบรู้ รอบด้าน รวมถึงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง การเสริมสร้างประสบการณ์ครั้งนี้มูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ รัฐคูเวต ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการพัฒนา โลกทัศน์ของยุวทูตความดีตลอดการเดินทาง
ข่าวประชาสัมพันธ์
รับสมัครโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก เข้าร่วมโครงการการเรียนรู้สมองกลฝังตัว สร้างชิ้นงาน 3 มิติ และ INTERNET OF THINGS
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ลแะเทคโนโลยี (สวทช.) ร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EECi) กิจกรรมการเรียนรู้สมองฝังตัว สร้างชิ้นงาน 3 มิติ และ Internet of Things โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูและนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EECi) จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้มีความสามารถทำโครงงานสมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright มีความสามารถออกแบบและสร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และมีความสามารถในการเข้าถึง NETPIE (Cloud Platform for Internet of Things) เป็นการเตรียมความพร้อมของเยาวชนให้ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ในกลุ่ม Auto Tech และ Digital Tech
รับสมัครและคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการและร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาครูและนักเรียนตามเงื่อนไขข้อกำหนดของโครงการฯ โดยกรอบข้อมูลลงในแบบตอบรับ Online : https://goo.gl/forms/jU7AXJSAYCBMx5zJ3 ภายในวันที่ 11มกราคม 2562
เอกสารแนบ
QR Code
ส่งรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
คำชี้แจง : เรียนผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ขอความอนุเคราะห์ดำเนินการดังนี้
1. ขอให้ สพป. ดำเนินการส่งรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ก่อนวันที่ 26 ธันวาคม 2561
2. หากการพิจารณาของคณะกรรมการ ระดับจังหวัด ไม่สามารถพิจารณาแล้วเสร็จได้ก่อนวันที่ 26 ธันวาคม 2561 ขอให้ สพป. กรอกข้อมูลโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกที่ผ่านคณะกรรมการ ระดับอำเภอ เข้าสู่ระบบก่อน และเมื่อคณะกรรมการ ระดับจังหวัด พิจารณาและรับรองรายชื่อโรงเรียนแล้ว ให้ Upload เอกสาร (ไฟล์ PDF) ระดับจังหวัด เพิ่มเติมในภายหลัง (โดยใช้ลิงค์ที่ส่งไปที่ E-mail ที่ใช้ในการกรอกข้อมูลครั้งแรก)
3. หากมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกในการพิจารณาของคณะกรรมการ ระดับจังหวัด หลังจากกรอกข้อมูลในระบบไปแล้ว ขอให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบและแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาที่ E-mail : innoobec.qschool@gmail.com
4. หลังจากผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับ ขอให้ สพป. ดำเนินการสรุปรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก เสนอ สพฐ. โดยจัดส่งเอกสาร มายัง โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 เขตดุสิต กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร 10300 (ส่วนเอกสารรับรองโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และเอกสารประกอบการพิจารณาอื่นๆ ให้เก็บเป็นหลักฐานไว้ที่ สพป.)
5. หากมีข้อคำถามสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 โทร 02 288 5878 โทรสาร 02 288 5886 E-mail : innoobec.qschool@gmail.com และ line square โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตาม QR code ด้านล่างนี้
ขั้นตอนการกรอกข้อมูล
1. ดาวน์โหลดไฟล์ EXCEL รายชื่อโรงเรียน จากขั้นตอนที่ 1 ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม หรือในขั้นตอนที่ 2 ส่งข้อมูลออนไลน์
2. ทำการกรองข้อมูลโรงเรียนเฉพาะโรงเรียนในสังกัดที่ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (ขอให้คงรูปแบบ EXCEL ตำแหน่งของคอลัมน์ไว้ จังหวัด>สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา>อำเภอ>ตำบล>รหัสกระทรวง>โรงเรียน)
3. Upload ข้อมูลไฟล์ EXCEL รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก
4. Upload (ไฟล์ PDF) เอกสารรับรองโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด (หากเอกสารระดับจังหวัดยังไม่แล้วเสร็จ สามารถ upload เพิ่มเติมได้ในภายหลัง)
5. กรอกรายละเอียดผู้ให้ข้อมูล แล้วกดส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ
6. หากต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูล ให้ใช้ลิงค์ที่ส่งไปที่ E-mail ที่ใช้ในการกรอกข้อมูลครั้งแรก
เข้าสู่ระบบกรอกข้อมูลตามลิงค์ด้านล่างนี้
http://203.159.154.241/qualityschool/?page_id=19
การส่งวิดีโอการรณรงค์การจัดการขยะในหน่วยงานและสถานศึกษา
ขอเชิญรับฟังการประชุมทางไกล (CONFERENCE) เพื่อมอบนโยบายการรณรงค์การจัดการขยะ ในหน่วยงานและสถานศึกษา
แนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)
ตามที่ สพฐ. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) ซึ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง โดยพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล” ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อม ในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยตั้งเป้าหมาย คือ โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นต้นแบบ ที่มีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เป็นการสร้างโรงเรียนให้มีความพร้อมในด้านการจัดการเรียนการสอน มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้บริหารและครูที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้เรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องสร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ โรงเรียนกลายเป็นศูนย์รวม หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน คนในชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของตลอดจนสามารถสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ซึ่งถือเป็นหลักประกันกับชุมชนว่า โรงเรียนคุณภาพเหล่านี้จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้รับความรู้ กระบวนการและทักษะที่จำเป็นต่อการธำรงตน ดำรงชีวิตในการเป็นพลเมืองไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยขั้นตอนแรก สพฐ. ได้การดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ซึ่งได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้ว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 และได้เริ่มให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้ ตามเอกสารที่แนบ ระยะเวลาในดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เริ่มดำเนินการคัดเลือกระหว่างวันที่ 11 – 28 ธันวาคม 2561 และกำหนดส่งรายชื่อโรงเรียนวันสุดท้าย ในวันที่ 28 ธันวาคม 2561
เอกสารดาวน์โหลด
แนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ)
แบบฟอร์มโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
ประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงาน
เด็กไทยเจ๋ง คว้า 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 5 รางวัลพิเศษ SPECIAL AWARDS ในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ IEYI 2018 ที่ประเทศอินเดีย
เด็กไทยเจ๋ง คว้า 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 5 รางวัลพิเศษ Special Awards ในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ IEYI 2018 ที่ประเทศอินเดีย
วันที่ 21 ตุลาคม 2561 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ.ได้ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ International Exhibition for Young Inventors 2018 (IEYI 2018) ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย จำนวน 9 ทีม รวม 15 คน ผลปรากฏว่านักเรียนไทยสามารถคว้าเหรียญรางวัลจากการประกวดได้ครบทุกทีม จำนวน 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 5 รางวัลพิเศษ Special Awards รวมทั้งสิ้น 12 รางวัล
สำหรับรางวัลเหรียญทอง 2 เหรียญ ได้แก่ ผลงาน “ภาชนะไบโอมิวซิเลจคอมพาวด์” โดย นางสาวกาญจนา คมกล้า จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี / ผลงาน “แคปซูลข้าวสารดูดความชื้น” โดย นางสาวศิริมา ศรีเมฆ และนางสาวสุพิชญา แหลมผึ้ง จากโรงเรียนปราจีนกัลยาณี จังหวัดปราจีนบุรี
รางวัลเหรียญเงิน 3 เหรียญ ได้แก่ ผลงาน “เครื่องปอกเปลือกเงาะ” โดย เด็กหญิงใบเตย สินนอก และเด็กหญิงวิววิภา แสนซื่อ จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 19 จังหวัดชัยภูมิ / ผลงาน “ถุงกระดาษดูดซับเอทิลีนและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้” โดย นางสาวณชา ไชยศิริ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก / ผลงาน “อุปกรณ์ช่วยสอดแผ่น Detector ในผู้ป่วยฉุกเฉิน โดย นางสาวปัณณพร การกลจักร และนางสาวกนกภรณ์ ปรีชาธรรมรัช จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
รางวัลเหรียญทองแดง 2 เหรียญ ได้แก่ ผลงาน “อุปกรณ์ช่วยเทนมกระป๋องแบบเพิ่มแรงดัน” โดยนางสาวกัญยาณี จันทร์ชู และนางสาวมณีรัตน์ แก้วโคกหวาย จากโรงเรียนคลองแดนวิทยา จังหวัดสงขลา / ผลงาน “เนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่” โดย นายกษิดิ์เดช สุขไกว จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้ นักเรียนไทยยังได้รับรางวัลพิเศษ Special Awards จำนวน 5 รางวัลอีกด้วย ได้แก่ ผลงาน “เครื่องปอกเปลือกเงาะ” โดย เด็กหญิงใบเตย สินนอก และเด็กหญิงวิววิภา แสนซื่อ จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 19 จังหวัดชัยภูมิ ผลงาน “เครื่องตรวจสุขภาพอัจฉริยะผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย” โดย นางสาวกานต์พิชชา อัศววินิจกุลชัย และนางสาวณัฐกุล เตชะพิพัฒน์ชัย จากโรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพมหานคร / ผลงาน “อุปกรณ์ช่วยสอดแผ่น Detector ในผู้ป่วยฉุกเฉิน โดย นางสาวปัณณพร การกลจักร และนางสาวกนกภรณ์ ปรีชาธรรมรัช จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร / ผลงาน “Open Up” โดย นางสาวเข็มอัปสร รัชโน และนางสาวณัฐติยา กัลยาณ์ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร / ผลงาน “เนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่” โดย นายกษิดิ์เดช สุขไกว จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำหรับการจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2018) จัดการแข่งขันโดย Foundation for Glocal Science Initiatives (FGSI) ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม 2561 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เป็นการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ระดับนานาชาติที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี และมอบรางวัลให้แก่ผู้มีผลงานที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม โดยในปีนี้มีประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ไต้หวัน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย และไทย
ทั้งนี้ คณะนักเรียนไทยจะเดินทางกลับถึงประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2561 นี้ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 316 เวลา 05.25 น. ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
การดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สู่สากล โครงการย่อยการพัฒนาความสามารถทางวิชาการผู้เรียนผ่านกระบวนการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี ๒๕๖๒
การดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สู่สากล โครงการย่อยการพัฒนาความสามารถทางวิชาการผู้เรียนผ่านกระบวนการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี ๒๕๖๒
ขอความร่วมมือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนทุกสังกัดคัดเลือกนักเรียนสมัครเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวทาง www.obecimso.net
โดยแจังให้นักเรียนที่สมัครสอบแข่งขันทุกคนเข้าสอบแข่งขันรอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสือแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สพฐ. ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์นานาชาติในงาน INTERNATIONAL EXHIBITION FOR YOUNG INVENTORS (IEYI 2018)
- เครื่องปอกเปลือกเงาะ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 19 สพป. ชัยภูมิ เขต 1
-
อุปกรณ์ช่วยเทนมกระป๋องแบบเพิ่มแรงดัน โรงเรียนคลองแดนวิทยา สพม. เขต 16 จังหวัดสงขลา
- ภาชนะไบโอมิวซิเลจคอมพาวด์ Mucilage Packaging Compound โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สพม. เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่ Nursery CAP For Rhizophora mucronata Poir. โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สพม. เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- แคปซูลข้าวสารดูดความชื้น โรงเรียนปราจีนกัลยาณี สพม. เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี
- เครื่องตรวจสุขภาพอัจฉริยะผ่านระบบเครือข่าย ไร้สาย Wireless Smart Health โรงเรียนศึกษานารี สพม. เขต 1 กรุงเทพมหานคร
- ถุงกระดาษดูดซับเอทิลีนและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก สพม. เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก
- Open Up โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร สพม. เขต 22 จังหวัดมุกดาหาร
- อุปกรณ์ช่วยสอดแผ่น Detector ในผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย สพม. เขต 1 กรุงเทพมหานคร
ไปเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ เวทีระดับนานาชาติ ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI – 2018) จัดการแข่งขันโดย Foundation for Glocal Science Initiatives (FGSI) ระหว่างวันที่ 16 – 21 ตุลาคม 2561 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
โครงการอบรมหลักสูตร “การจัดการโครงงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อการศึกษา และการใช้ FABRICATION LAB”ภายใต้โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (FABRICATION LAB) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย
โครงการอบรมหลักสูตร “การจัดการโครงงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อการศึกษา และการใช้ Fabrication Lab”ภายใต้โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย จัดโดย สวทช. ร่วมกับ สพฐ. สสวท. มหาวิทยาลัยเกษตร แบ่งการอบรมออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา ระหว่างวันเสาร์ที่ 15 – วันอังคารที่ 18 กันยายน 2561 รุ่นที่ 2 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 6 – วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 รุ่นที่ 3 สำหรับครูระดับประถมศึกษา ระหว่างวันศุกร์ที่ 25 – วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2562
การอบรมทั้ง 3 รุ่นได้รับเกียรติจาก รศ.ยืน ภู่วรวรรณ เป็นวิทยากรหลัก โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ Fabrication Lab ให้แก่นักเรียนที่จะบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมหลายด้าน รวมถึง STEM ในภาพกว้าง เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง Bioeconomy และ Digital Economy อาทิ กิจกรรม Programming (Coding) การสร้างหุ่นยนต์ กิจกรรมการสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานวิศวกรรม กิจกรรมพัฒนา Smart Farmers กิจกรรม Digital Fabrication ฯลฯ และยังได้เรียนรู้แนวคิดสะเต็มศึกษา เสริมสร้างประสบการณ์ในการออกแบบพัฒนากิจกรรมสำหรับนักเรียนด้วยตนเองได้ โดยเป็นกิจกรรมที่เน้นการบูรณาการร่วมกันของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการทางวิศวกรรม เป็นกิจกรรมที่จะพัฒนาทักษะของนักเรียนใน 4 ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็น ซึ่งได้แก่ ทักษะชีวิต ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และ ทักษะการใช้เทคโนโลยี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้แทนจากสพฐ. เยี่ยมชมผลงาน นิทรรศการโครงงานของผู้เข้ารับการอบรมในรุ่นที่ 1 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ มีจำนวน 183 คน ประกอบด้วย ครูแกนนำ สพฐ. ครูแกนนำ สสวท. ครูจาก ร.ร. เอกชน/ครู ร.ร.กทม.และอาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ และเป็นประธานร่วมกับ สวทช. สสวท. มหาวิทยาลัยเกษตร ในพิธีปิดการอบรมหลักสูตร “การจัดการโครงงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อการศึกษา และการใช้ Fabrication Lab”ภายใต้โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย รุ่นที่ 1 ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร จังหวัดปทุมธานี ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภาพกิจกรรมทั้งหมดคลิก ขอขอบคุณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ขอเชิญร่วมส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวดในงานสัมมนาและนิทรรศการนานาชาติ DIGITAL THAILAND BIG BANG 2018
ขอเชิญร่วมส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวดในงานสัมมนาและนิทรรศการนานาชาติ
DIGITAL THAILAND BIG BANG 2018
“สิ่งประดิษฐ์ด้าน IOT หรือ ROBOTICS เข้าประกวดในหัวข้อ “สิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนไทย 4.0”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายศิระ นกยูงทอง โทรศัพท์ 02 141 7142 E-mail sira@depa.or.th
ลงทะเบียนส่งผลงานที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLSchCgC5dAuPN_IZiy…/viewform ภายในวันที่ 15 กันยายน 2561
เว็บไซต์กิจกรรม https://digitalthailandbigbang.com/th/idea