09_OTHER

ขยายเวลารับสมัครโครงการ T3 Impact Program

📣⚠️ ขยายเวลารับสมัครถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568

📝♻️ โครงการ T3 Impact Program คืออะไร?

โครงการอบรมครูออนไลน์ “T3 Impact Program” เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับที่ปรึกษา บริษัท วี เทค คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกประเภท PET รวมถึงกระบวนการรีไซเคิลและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา แก่ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการพลาสติก PET ภายในสถานศึกษา📚 (ดูรายละเอียดในโพสต์)

🌏💚มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการง่าย ๆ ได้ที่ Link: https://bit.ly/Register_T หรือสแกน QR Code ในภาพ

และติดต่อโครงการได้ที่ Facebook Page : WE Tech Consulting

หรือ นางสาวฐาปนีย์ เจริญสุข

โทรศัพท์: 09-8524-9494

Email: tapanee@wetechconsulting.co

ประชาสัมพันธ์โครงการ T3 Impact Program

📝♻️ ประชาสัมพันธ์โครงการ T3 Impact Program
โครงการอบรมครูออนไลน์ “T3 Impact Program” เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับที่ปรึกษา บริษัท วี เทค คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกประเภท PET รวมถึงกระบวนการรีไซเคิลและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา แก่ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการขยะ/พลาสติก PET ภายในสถานศึกษา📚

📌วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
🔹เพื่อเสริมสร้างความรู้การคัดแยกขยะ และการจัดการขยะ/พลาสติก PET ที่ถูกต้องให้กับครูในโรงเรียน
🔹เพื่อฝึกทักษะการออกแบบโครงการจัดการขยะในโรงเรียนให้ครูในโรงเรียน
🔹เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนและครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

✨สิ่งที่ครูจะได้รับจากโครงการ
🔹ความรู้ ทักษะการคัดแยกขยะและจัดการพลาสติก PET อย่างถูกต้อง
🔹เทคนิคใช้ AI และปรับพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมด้วย Nudge Theory ในการออกแบบการเรียนการสอน
🔹เครื่องมือ เช่น สื่อและคู่มือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม จากบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
🔹เป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายครูผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม
🔹เกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการ

⬇️เงื่อนไขการรับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการ
🔹เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568 ในรูปแบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meetings
🔹เข้าร่วมกิจกรรม PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายครูผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 1 ครั้ง ในรูปแบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meetings

🌏💚มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการง่าย ๆ ได้ที่ Link: https://bit.ly/Register_T หรือสแกน QR Code ในภาพ
และติดต่อโครงการได้ที่ Facebook Page : WE Tech Consulting
หรือ นางสาวฐาปนีย์ เจริญสุข
โทรศัพท์: 09-8524-9494
Email: tapanee@wetechconsulting.co

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขับเคลื่อนการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดี รายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ – ๓๐ มิถุนายน  ๒๕๖๖  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร  

โดยมี นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ทั้ง ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ๒) ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ๓) ด้านการส่งเสริมอาชีพ ๔) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ๕) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และ ๖) ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายหน่วยงานในการตัดสินการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๔ คน และคณะทำงานส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓๐ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๘๔ คน

การคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จาก จำนวน ๑๙๕ โรงเรียนในโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) สังกัด ๔๘ เขตพื้นที่การศึกษา และเป็นตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖ ในลำดับต่อไป

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบ ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนครั้งนี้ และนางอังคณา เหว่าวิทย์ รองผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดประเด็น และชี้แจงความเป็นมาของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผน เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและภารกิจที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดประชุมสัมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่สามารถดำเนินการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป

สพฐ. จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียน ในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ประจำปี 2565

   
       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ชอบผล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 สำนักงานโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง การจัดการศึกษาตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บทบาทของโรงเรียนในอดีต ความเข้มแข็งของโรงเรียนในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและแนวปฏิบัติของโรงเรียน ในโครงการตามพระราชดำริ
จากนั้นมีพิธิเปิด โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธาน โดยกล่าวว่า “สพฐ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จึงมุ่งส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่
       1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
       2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
       3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
       4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
       5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผ่านการจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู และการประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการของนักเรียน เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
       ในปีนี้ สพฐ. ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ แก่สาธารณชน รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ร่วมกันและร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ” นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีศึกษานิเทศก์และผู้รับผิดชอบโครงการตามพระราชดำริ จำนวน 48 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 194 คน และผู้ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และคณะกรรมการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 350 คน
       นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวถึงการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า “เพื่อต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานรวบรวมผลงานหรือองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติงานที่ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาลเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2565 ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม อาคาร 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี”
ทีมประชาสัมพันธ์งาน กพด. สพฐ. เรื่อง/ภาพ

สพฐ. จับมือกับ ม. สวนดุสิต เปิดอบรมครูรูปแบบออนไลน์ เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครู

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเทคนิคและแก้ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครู ภายใต้โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑ + ๒ + ๑” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) และสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ม.สวนดุสิต

การอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติบรรยายพิเศษแก่ผู้เข้ารับการอบรม

การจัดอบรมขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีครูผู้สอนภาษาจีนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการอบรมจำนวนกว่า 900 คน ซึ่งผู้ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศ จำนวน 250 คน ที่จะได้รับการพัฒนาและทดสอบเพื่อรับวุฒิบัตรจาก สพฐ. และ ม.สวนดุสิต ต่อไป



สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ร่วมกับ ม. สวนดุสิต เปิดอบรมออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ “การพัฒนาเทคนิคและการแก้ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครู”

** ประกาศสำหรับครูและโรงเรียนมัธยมที่สนใจการเรียนการสอนภาษาจีน **

# สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต
เปิดอบรมออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ “การพัฒนาเทคนิคและการแก้ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครู”

# ระหว่างวันที่ 12 – 13 ก.พ. 2565
โดยผู้ผ่านการอบรมจะได้รับวุฒิบัตรจาก สพฐ. และ ม.สวนดุสิต

# ลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 10 ก.พ. 2565 (รับจำนวนจำกัด โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและลำดับการสมัคร)

# สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-2885881

 

เด็กไทย คว้า ๒๓ เหรียญ ในการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ : 18th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ดำเนินการจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔  : 18th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia เมื่อวันที่ ๑๔ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ และโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ นั้น

บัดนี้ การดำเนินการจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ : 18th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยมีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน แบ่งออกเป็น ๒ วิชา คือวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาละ ๑๒ คน รวม ๒๔ คน ซึ่งได้รับรางวัล รวม ๒๔ รางวัล (๒๓ เหรียญ) ได้แก่ เหรียญทอง ๑ รางวัล  เหรียญเงิน ๑๒ รางวัล  เหรียญทองแดง ๑๐ รางวัล และ เกียรติบัตรชมเชย ๑ รางวัล ดังนี้

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา

รางวัลเหรียญทอง

๑. เด็กชายธนกร  ตั้งเจตน์  โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากรุงเทพมหานคร

รางวัลเหรียญเงิน

๑. เด็กชายธนดล  รัตยาภาษ  โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร

๒. เด็กชายธนเสฏฐ์  นิฏฐิยานนท์  โรงเรียนโชคชัย   สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร

๓. เด็กชายสุรุจ  มหัทธนพรรค   โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเชียงใหม่

๔. เด็กชายปีติคุน  อภิชนกิจ   โรงเรียนนานาชาติรักบี้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนชลบุรี

๕. เด็กชายจิระพัชร์  พุฒดี   โรงเรียนเซนต์คาเบรียล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร

๖. เด็กชายวรพงศ์  ประดิษฐ์รุ่งวัฒนา  โรงเรียนแสงทองวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนสงขลา

รางวัลเหรียญทองแดง

๑. เด็กชายกฤตชพัฒน์  ดีประเสริฐวงศ์   โรงเรียนเซนต์คาเบรียล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร

๒. เด็กชายวริศ  ศักดิรัตน์   โรงเรียนเกษมทรัพย์  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนนราธิวาส

๓. เด็กชายชัยวริษฐ์  ชัยพัฒน์ธนโชติ  โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร

๔. เด็กชายณัฏฐ์ธนิน  เรียนปิงวัง  โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร

๕. เด็กชายฐปนวัฒน์  ปิยะรุจิรเวช  โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนประจวบคีรีขันธ์

วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา

รางวัลเหรียญเงิน

๑. เด็กหญิงนันท์นภัส  รัตนมณีพันธ์  โรงเรียนพลวิทยาระบบสองภาษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนสงขลา

๒. เด็กหญิงณัฐธยาน์  พงษ์ทองเจริญ  โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๑

๓. เด็กชายปัณณวิชญ์  สุขผล  โรงเรียนเตรียมนานาชาติภู่ขจร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกำแพงเพชร

๔. เด็กหญิงณราลี  ศักดิ์ศรีบวร   โรงเรียนธิดานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนสงขลา

๕. เด็กชายวิทวัส  วิวัฒน์รัตนกุล   โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เเผนกประถม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเชียงใหม่

๖. เด็กหญิงลภัสฐ์รดา  ดำคง   โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนภูเก็ต

รางวัลเหรียญทองแดง

๑. เด็กหญิงภัทรวดี  กุศลานุคุณ  โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนติสโคราช  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนนครราชสีมา

๒. เด็กชายภโวทัย  ศุภวิรัชบัญชา  โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร

๓. เด็กชายอติชา  ปราณีโชติรส   โรงเรียนราชวินิต  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

๔. เด็กชายธีรพัฒน  สมบัติทัฬห  โรงเรียนราชานุบาล  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๑

๕. เด็กหญิงณัฐรดา  วงศ์แก้ว  โรงเรียนอนุบาลระยอง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต ๑

เกียรติบัตรชมเชย (เข้าร่วมการแข่งขัน)

๑. เด็กหญิงสรัลชนา  ใจเย็น  โรงเรียนนิธิปริญญา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร

“คุณธรรม นำใจ ในโลกกว้าง ส่องสว่าง ทางใส ใจไม่หมอง พาพบมิ่งสิ่งดีมีทำนอง ใจสมปอง ครองสุข ค่อยปลุกเร้า” (Cr:fb.บทกลอนสอนใจ)

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2564

ณ โรงแรมอิงธาร รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.  และมอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมอิงธาร รีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดย ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และ ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ชี้แจงวัตถุประสงค์และภาพรวมการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุม ในครั้งนี้ ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะทำงานส่วนกลาง ทั้งนี้ มีการบรรยายแนวทางการขับเคลื่อนโครงการและรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม โดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการประชุมในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จำนวน 12 กิจกรรม  เพื่อให้โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย

  1. มาตรฐานและตัวชี้วัดโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  2. แนวทางการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคุณธรรม (องค์กรคุณธรรม)
  3. แนวทางหลักสูตรและการอบรม โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  4. แนวทางกิจกรรมส่งเสริมโครงงานคุณธรรม โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  5. แนวทางกิจกรรมคุณธรรมสู่ห้องเรียน โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  6. แนวทางการนิเทศ กำกับ ติดตาม โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  7. แนวทางการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีต้องมีที่ยืน โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  8. แนวทางการจัดกิจกรรมคุรุชนคนคุณธรรม โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  9. แนวทางการจัดกิจกรรมนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  10. การจัดทำภาพยนตร์สั้นคุณธรรม สพฐ. และสปอตโฆษณาส่งเสริมคุณธรรม
  11. แนวทางการจัดกิจกรรมครอบครัวคุณธรรม
  12. แนวทางการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2565 นับเป็นจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาในปีนี้อีกด้วย

 

 

 

นักเรียนทุนในโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ (The C21 Scholarship OBEC) ออกเดินทางเพื่อศึกษาต่อในหลักสูตร University Foundation Programme (UFP) เป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยทุนการศึกษา 60% ณ CATS Canterbury School ประเทศอังกฤษ

วันที่ 16 ตุลาคม 2564 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ส่งนักเรียนทุนในโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ (The C21 Scholarship OBEC) ได้แก่ นางสาวปวริศา สายหยุด โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) ออกเดินทางโดยสายการบินไทย สู่ CATS Canterbury School ประเทศอังกฤษ เพื่อศึกษาต่อในหลักสูตร University Foundation Programme (UFP) เป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยทุนการศึกษา 60% และยังมีนักเรียนในโครงการอีก 2 คน อยู่ระหว่างการเตรียมตัวเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ปลายปีนี้

เลื่อนการประกาศรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

     ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้จัดการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีกำหนดการให้ส่งแบบรายงานเพื่อเข้าประกวดผ่านทาง 2 ช่องทางได้แก่ ทางไปรษณีย์และช่องทางเว็บไซต์ http://gg.gg/tb1ce โดยได้สิ้นสุดระยะเวลาการส่งแบบรายงานเข้าร่วมประกวดไปแล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 โดยขั้นต่อไปเป็นการประกาศรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดให้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทราบภายในวันที่ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 นั้น
     ในการนี้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ขอแจ้งผู้เข้าร่วมประกวดทุกท่านว่าขณะนี้ยังมีรายงานนวัตกรรมส่วนที่ส่งมาทางไปรษณีย์บางส่วนยังมาไม่ถึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ทำให้ไม่สามารถสรุปยอดผู้ส่งเอกสารเป็นจำนวนที่แน่นอนได้ จึงขอเลื่อนการประการรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวด จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-288-5893 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
     จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยมา ณ โอกาสนี้

การประชุมเตรียมความพร้อมการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมเตรียมความพร้อมการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ในวันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ.๒ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน

การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการประชุม และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและกองประชาสัมพันธ์และประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน คณาจารย์และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้การลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน มีเป้าหมายให้นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน จำนวน ๓ รุ่น รุ่นละ ๑๐๐ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ คน โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา รุ่นละ ๔ ปี แบ่งเป็นการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย จำนวน ๒ ปี (ในปีที่ ๑ และปีที่ ๔) และจัดการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๒ ปี (ในปีที่ ๒ และปีที่ ๓) ซึ่งในแต่ละรุ่น นักเรียนอย่างน้อย ๓ คน จะได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน หรือบางส่วนจากมหาวิทยาลัยและจากรัฐบาลขณะที่ศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปี นักเรียนทุกคนจะได้รับวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่ง

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา  “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน นอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้มีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังนับเป็นนวัตกรรมการสร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยเชื่อมโยงระบบการศึกษาของประเทศไทยให้ผสานเข้ากับระบบการศึกษาในระดับนานาชาติอย่างมีคุณภาพต่อไป