ข่าวประชาสัมพันธ์

การประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมการด้านการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษา จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานการปลูกจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ มีนาคม ๒๕๖๔  ณ  โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย อาจารย์คณะครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยบูรพา อาจารย์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่สอนระดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย และคณะทำงานจากส่วนกลาง (สพฐ.)

วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และให้แนวคิด เรื่อง การจัดการศึกษาของประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่นักเรียน เพื่อให้เป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริตของสังคมและประเทศชาติ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

โดยมี ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริตทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่กำหนดเป้าหมายหลัก ให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ โดยให้ความสำคัญกับการปรับและหล่อหลอมพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่ม ในสังคมให้มีจิตสำนึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต

การถอดบทเรียนในครั้งนี้ เป็นการถอดประสบการณ์จากครูแต่ละระดับชั้นที่ได้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน และประสบการณ์การปลูกฝัง การป้องกันการทุจริตให้กับนักเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการวางกรอบการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต

การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเตรียมรับการประเมิน ITA สพฐ. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๑/๖๔)

วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม  ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ประธานในการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเตรียมการรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

โดยมี ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ และ นายสพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ทำหน้าที่เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักทุกสำนักและตัวแทนผู้รับผิดชอบการประเมิน ITA สพฐ. และคณะทำงานเข้าร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินงานเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเตรียมรับการประเมิน ITA สพฐ. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดการประเมินประกอบด้วย เครื่องมือในการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้

๑. แบบ ITA แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน เก็บข้อมูลจากบุคลากรภายในหน่วยงาน สพฐ.

๒. แบบ EIT แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เก็บข้อมูลจากผู้รับบริการ/ผู้มาติดต่อ
หน่วยงาน สพฐ.

๓. แบบ OIT แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
สพฐ.

ทั้งนี้จากผลการประเมินรายหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ปีที่ผ่านมา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓  สพฐ. มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) อยู่ในระดับ A (๙๓.๔๐ คะแนน) สูงสุดเป็นอันดับ ๑ เมื่อจำแนกผลการวิเคราะห์ตามเครื่องมือ แบบ ITA แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ระดับผลการประเมิน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๙๗.๐๗ แบบ EIT แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ระดับผลการประเมิน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๘๔.๒๗ และแบบ OIT แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ระดับผลการประเมิน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๙๗.๕๐ ตามลำดับ การดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ การประสานความร่วมมือภายในหน่วยงาน สพฐ. เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ โดยการประสานงานจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

ประธานได้กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจ ผู้รับผิดชอบแต่ละหน่วยงานของ สพฐ. ในการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA  การดำเนินงานในภาพรวมของ สพฐ. ให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยยึดถือปฏิบัติเป็นเรื่องปกติ เพื่อองค์กรส่วนรวมมีคุณธรรมและความโปร่งใสอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงานและการประสานงานความร่วมมือ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จะแจ้งให้ทราบในการประชุมครั้งต่อไป ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564

วันที่ 17 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้(วพร.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 17 – 19  มีนาคม 2564 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
–  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 44 เขต

–  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 9 เขต

โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนางสาววิไลวรรณ  ยะสินธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นคณะทำงานการประชุมดังกล่าวฯ

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคกลาง)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคกลาง ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมแกรนด์ฮาวเวิร์ด กรุงเทพมหานคร

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ นิติกร ผู้รับผิดชอบโครงการฯ คณะทำงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง บุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ระดับภาคและระดับจังหวัด และโรงเรียนที่ดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น

วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) พบปะผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตในวงการศึกษาไทย จากสถิติที่มีการรายงาน และมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งยังกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจแก่ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้เน้นย้ำถึงการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สอดคล้องตามแนวทาง สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ และแผนการปฏิรูปประเทศ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยการบูรณาการความร่วมมือจากสำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน

ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้แนวคิดและแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ แก่ผู้รับผิดชอบ สร้างความเข้าใจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ รวมถึงกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Symposium) แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ มาเป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ

ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และความสอดคล้องของกิจกรรมโครงการที่รับผิดชอบ

การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. ศึกษานิเทศก์ วิทยากรจากส่วนกลาง (สพฐ.) และ วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการบริษัทสร้างการดี จากโรงเรียนบางขวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ และโรงเรียนสิริรัตนาธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ นำเสนอนิทรรศการและออกบูธผลิตภัณฑ์

 

 


การประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ)

วันที่ 17 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรม โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จัดประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ) ระหว่างวันที่ 16 – 19 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมศรีวิลัย สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ศึกษาสภาพปัจุบันของสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ
  2. พัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมถรรนะของผู้บริหารโรงเรียน
  3. พัฒนาแพลตฟอร์มเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพในลักษณะต่างๆ

โดยได้รับเกียรติจากนายสุดเขต สวยสม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย เป็นประธานในพิธีเปิด และนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมคณะทำงานและติดตามการประชุมดังกล่าว มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู จำนวน 50 คน ได้ร่วมสะท้อนความคิดถึงร่างหลักสูตรฯ และนำเสนอข้อมูลการถอดประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 โรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา 4 โรงเรียน และคณะวิจัยมีการซักถามเพิ่มเติมประเด็น และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อเตรียมการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล ณ โรงเรียนประชารัฐ ต่อไป

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคใต้)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคใต้  ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔  ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในวงการศึกษาไทย

โดยมี ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต, ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต,  ผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนและหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา, ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนที่ดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น และได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. ศึกษานิเทศก์  วิทยากรจากส่วนกลาง (สพฐ.) และ วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

โครงการโรงเรียนสุจริต สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง และสร้างความตระหนักให้กับเด็กและเยาวชน สร้างคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔  ณ โรงแรมเจริญธานี  จังหวัดขอนแก่น

วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๔ ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตในปัจจุบัน และแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ คณะทำงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง บุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ระดับภาคและระดับจังหวัด โรงเรียนที่ดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น

การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช.  ศึกษานิเทศก์ วิทยากรจากส่วนกลาง (สพฐ.) และ วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการบริษัทสร้างการดี จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๑  นำเสนอนิทรรศการและออกบูธผลิตภัณฑ์


การประชุมเชิงปฎิบัติการปรับเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมลักซ์ บูติค จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. โดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร และคณะ จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการปรับเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมลักซ์ บูติค ต. บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเกณฑ์การประกวดและกำหนดแนวทางการรับสมัครการประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้พร้อมสำหรับการจัดประกวดนวัตกรรมต่อไป

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ระหว่างวันที่ ๑-๓ มีนาคม ๒๕๖๔   ณ โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในวงการศึกษาไทย

โดยมี ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ
ธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

สพฐ. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพในอนาคต จึงตระหนักถึงความสำคัญ
ของการเตรียมการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถานศึกษา มีการบูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.)  การมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต, ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต,  ผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนและหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา, ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและสร้างความรู้
ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนต่อไป

 

เข้าร่วมรับฟังแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้ อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ

วันอังคารที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่านอัยการสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone)
ท่าน ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รักษาการในตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีคุณภาพ ส่งผลต่อผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด

 

ประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ


เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น.ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยท่านอัยการสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมปรึกษาหารือ และชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ของกลุ่มจังหวัดขนาดเล็กกลุ่มจังหวัดขนาดกลาง และกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ประกอบด้วย ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมรับฟังแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายแผนบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ ยกระดับคุณภาพการศึกษา และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เชื่อมโยงกับการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้มีความยั่งยืนต่อไป

 

 

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับกลุ่ม ปตท. เปิดโครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นออนไลน์ประจำปี 2564

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นออนไลน์ประจำปี 2564 โดยมี คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำกับดูแลองค์กรและกิจการสัมพันธ์ ดร. พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ฝ่ายบริหาร ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด ในวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 บนระบบออนไลน์ ZOOM ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มปตท. และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาด้านและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาโดยตลอด มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสอนและถ่ายทอดความรู้ให้กับครูด้านสะเต็มศึกษา โดยเฉพาะด้านการทำวิจัยและโครงงาน และสร้างแรงบันดาลใจและความรู้ในด้านสะเต็มศึกษาให้กับนักเรียน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 8 โรงเรียนที่อยู่ในพื้นโรงเรียนกำเนิดวิทย์ โดยจะมีการดำเนินงานจำนวน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค่ายออนไลน์ ระยะที่ 2 ทำโครงงานออนไลน์ และระยะที่ 3 ค่ายปฏิบัติการ