ภารกิจผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ สนก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขับเคลื่อนการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดี รายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ – ๓๐ มิถุนายน  ๒๕๖๖  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร  

โดยมี นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ทั้ง ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ๒) ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ๓) ด้านการส่งเสริมอาชีพ ๔) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ๕) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และ ๖) ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายหน่วยงานในการตัดสินการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๔ คน และคณะทำงานส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓๐ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๘๔ คน

การคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จาก จำนวน ๑๙๕ โรงเรียนในโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) สังกัด ๔๘ เขตพื้นที่การศึกษา และเป็นตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖ ในลำดับต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจคู่มือแนวทางการพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

 

” การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจคู่มือแนวทางการพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ”
———————————————————————————————————

วันจันทร์ ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะ  กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจคู่มือแนวทางการพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์ในการจัดประชุมครั้งนี้
1. เพื่อปรับปรุงและแก้ไขแนวทางการพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาให้มีความชัดเจน ถูกต้อง เป็นแนวทางให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในการขับเคลื่อนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
2. เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน สร้างความเข้าใจให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ในการนี้ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล)ได้มอบนโยบายในการขับเคลื่อนและให้แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

สพฐ.ขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร

ภายใต้โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
“โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ประจำปี 2566

วันที่ 9 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มอบหมายให้
นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำอารยเกษตรโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 11 เมษายน 2566  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

โดยมี นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุม

วัตถุประสงค์โครงการ มีดังนี้

         1. เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร

         2. เพื่อพัฒนาโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร ให้เป็นต้นแบบ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ อารยเกษตร ได้อย่างเข้าใจ

         3. เพื่อกำกับ ติดตาม วิจัย ประเมินผล การขับเคลื่อน โรงเรียนแกนนำอารยเกษตร

มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 14 โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ หรือผู้รับผิดชอบระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จาก 12 เขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงานส่วนกลาง
ทีมวิจัยและเก็บข้อมูล ทีมหลักสูตร และคณะวิทยากร จากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง รวมทั้งสิ้น จำนวน 84 คน

การดำเนินงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก คณะวิทยากร ผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นอย่างดียิ่ง ประกอบด้วย พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายปฏิบัติการพิเศษในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้จดจัดตั้งศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง
อาจารย์เอื้อมพร ลอยประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักการประกอบการทางสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ ทีมงานผู้ช่วยครู ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ทีมวิจัย คณะทำงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร จำนวน 14 โรงเรียน จาก 12 เขตพื้นที่การศึกษา
ที่เข้าร่วมโครงการ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร เพื่อไปพัฒนาคุณภาพ
การจัดการเรียนการสอนอารยเกษตรสู่นักเรียนได้เป็นอย่างดี เป็นการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานเป็นรูปธรรม ขยายผลสู่โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกภูมิภาค ทุกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป

การลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนในสังกัด สพม.บึงกาฬ และ สพป.บึงกาฬ ณ โรงเรียนศรีวิไลวิทยา

วันที่ 24 มีนาคม 2565 นายฐณรินทร์  หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. พร้อมคณะจากสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตรวจเยี่ยมและติดตามการบริหารโครงการและงบประมาณของสถานศึกษาในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนในสังกัด สพม.บึงกาฬ และ สพป.บึงกาฬ ณ โรงเรียนศรีวิไลวิทยา สพม.บึงกาฬ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาบึงกาฬ คณะผู้บริหาร ครูและบุคลากร

  

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการอบรมผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

วันที่ 13 มีนาคม 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบนโยบายและแนวทาง การอบรมผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมใครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดทำจัดทำร่างเนื้อหาหลักสูตรการอบรมผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทำตัวอย่างคลิปวิดีโอ รอบคัดเลือก เพื่อใช้ในการอบรมผู้ตัดสินโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งต่อไป โดยมีคณะทำงาน จำนวน ๓๐ คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ นักวิชการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้อง

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โสพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21ครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2566 ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 จุดที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น การอบรมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ในรูปแบบกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. และ CATS Global Schools ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา ที่มีเครือข่ายโรงเรียนชั้นนำ ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสพฐ. กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยจัดการอบรมฯ ใน 4 ภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 656 คน ให้ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ เติมเต็มกระบวนการคิด และฝึกฝนทักษะด้านการสอนในรายวิชาของตนเอง เพื่อนำไปสู่การยกระดับการจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนที่มีศักยภาพสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า “สพฐ. ในฐานะองค์กรหลักที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนานักเรียนในสังกัดที่มีความเป็นเลิศทางภาษา และมีสมรรถนะที่เป็นเลิศ ให้มีโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมถึงการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมายจากท่านเลขาฯ กพฐ. จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง และจุดเริ่มต้นของโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อม มีทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง”

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาได้มีนักเรียนในสังกัด สพฐ. และสังกัดอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาและต่อยอดสู่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2566 จะเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นต่อไปเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://inno.obec.go.th/

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 9-11 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพฯ

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่

ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพฯ

    เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่
ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์การประชุมเพื่อจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบมรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะจัดการอบรมจำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 – 4 เมษายน 2566 และรุ่นที 2 ระหว่างวันที่ 10 – 11 เมษายน 2566 โดย นางสาวสาธิต  หงษ์ลอย วิทยากรจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และนางสาวประทิน  เลี่ยนจำรูญ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

การอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รุ่นที่ 1-2 ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566
ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

                      วันที่ 11 มีนาคม 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมรับฟังและบรรยายพิเศษในการอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รุ่นที่ 1-2 ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร และได้รับความอนุเคราะห์วิทยากร นายอานนท์ วงศ์วิศิษฏ์รังสี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ผู้ทรงความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิธีการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ทุจริต

                      โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดการประเมินให้กับผู้รับผิดชอบโครงการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก่อให้เกิดความต่อเนื่องในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งการประเมินดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาแฟลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทราบ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย บุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 245 เขต เขตละ 2 คน คือ ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 คน และผู้มีความชํานาญระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 490 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้

                         รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย เขตตรวจราชการ 1– 9 และ 18 รวม 121 เขต ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 242 คน

                         รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย เขตตรวจราชการ 10 – 17 รวม 124 เขต ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 248 คน

วิทยากร และคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 37 คน
รวมทั้งสิ้น 527 คน

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคเหนือ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

การอบรมฯ ครูภาคเหนือครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 3 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
– โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
– โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
– โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

 

 

 

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ)

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) ระหว่างวันที่28 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานครโดยมีนายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยมีกำหนดการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบสอง ระดับประเทศ) พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566

การประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ละธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม
และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2566
ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร

——————-

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ – ๒ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร โดยมี
ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในครั้งนี้ และได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้ทรงความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต จาก รองเลขาธิการ ป.ป.ช. วิทยากรจากสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส และสำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช. นักวิชาการอิสระ และ ผู้ทรงคุณวุฒิ
ต่าง ๆ

โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนโครงการของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ ส่งผลในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะสุจริต อีกทั้งเป็นการขยายผลให้โรงเรียนในสังกัด นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน รวมถึงเพื่อให้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต มีองค์ความรู้สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน สามารถวิเคราะห์ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และสามารถจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานตนเองได้ ผ่านการชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ 4 กิจกรรมหลัก คือ 1) โรงเรียนสุจริต ๒) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต ๓) หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ๔) การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online)

ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 2 คน จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 แห่ง รวม 490 คน  และ 2) คณะวิทยากร คณะกรรมการดำเนินงานส่วนภูมิภาค และคณะกรรมการส่วนกลาง รวม 55 คน รวมบุคลากรทั้งสิ้น 545 คน

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครู 4 ภูมิภาค ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร

โดยการอบรมฯ ในภาคกลางและภาคตะวันออกครั้งนี้ นับเป็นจุดแรกจาก 4 ภูมิภาค ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการ มีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิด ที่ได้รับ กลับไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนให้เต็มที่ตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต่อไป