Author: คพศ. สนก.

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 9-11 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพฯ

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่

ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพฯ

    เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่
ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์การประชุมเพื่อจัดทำเกณฑ์การประกวดแผนธุรกิจและเตรียมการอบมรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะจัดการอบรมจำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 – 4 เมษายน 2566 และรุ่นที 2 ระหว่างวันที่ 10 – 11 เมษายน 2566 โดย นางสาวสาธิต  หงษ์ลอย วิทยากรจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และนางสาวประทิน  เลี่ยนจำรูญ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

รับสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน ๔๘ ศูนย์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สนใจและสมัครเข้ารับการอบรม โดยแบ่งออกเป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๓ – ๔ เมษายน ๒๕๖๖ จำนวน ๑๐๐ คน และรุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ เมษายน ๒๕๖๖ จำนวน ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ คน เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่  โรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์  จำนวน ๔๘ ศูนย์ และโรงเรียนในสังกัดที่สนใจ สมัครใจเข้าร่วมการอบรม เชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อย มีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ภายในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

ลงทะเบียนที่นี่

การประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ดร.จักรพงษ์  วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวยั่งยืนให้กับคณะทำงานจัดทำและปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดทำคู่มือการประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจ ส่งต่อนโยบายให้โรงเรียนในสังกัด ทั้งนี้เกณฑ์การประกวดได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงในการส่งเสริม กำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เกณฑ์ประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนประกอบด้วย หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบายและการวางแผน หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากร พลังงาน และการจัดการของเสีย หมวดที่ 4 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และหมวดที่ 5 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหลอมรวมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู โรงเรียน ตลอดจนชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน ในการเป็นต้นแบบของการสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ และมีสมรรถนะในการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านการคิด การตัดสินใจ การร่วมมือกันปฏิบัติงาน การใช้และบำรุงทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”   โดยมีคณะทำงาน จำนวน 31 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 12 คน นักวิชาการศึกษา 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 3 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน

โครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2566

วันอังคารที่ 17 มกราคม 2566  นางสาวกฤติกา ราษีสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ ขอหารือร่วมกับ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และนางสาวนลินี จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการโครงการพิเศษ  พร้อมคณะ เพื่อรายงานการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2565 ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอแผนงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2566 โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. การพัฒนาเยาวชนเครือข่ายห้องเรียนสีเขียว ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
2. นิทรรศการและกิจกรรมในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยเชิญ สพฐ.ร่วมกิจกรรม
3. เสริมสร้างทัศนคติเยาวชนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
4. บูรณาการห้องเรียนสีเขียวร่วมกับหน่วยงาน กฟผ. ให้กับโรงเรียน ชุมชน ในพื้นที่ตามแผน PDP
5. จัดตั้งห้องเรียนสีเขียว จำนวน 2 โรงเรียน
6. การพัฒนา Website ห้องเรียนสีเขียวรูปแบบใหม่เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนร้อย่างยั่งยืน (Green Learing Society) และแผนการดำเนินงานห้องเรียนสีเขียว ปี 2566 มีแผนการดำเนินงาน ดังนี้ 1.งานการประกวดนวัตกรรม พลังงานและสิ่งแวดลอ้ ม ประจ าปี 2566 2. งานพลังเยาวชน (Green Learning Society) 3.งานส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ 4.งานจัดทำสื่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสีเขียว (Smart Green Learning Room)

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ กลุ่มโครงการพิเศษ ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม ๖ กรุงเทพมหานคร การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาหน่วยงานที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัยในการทำงานเพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนในด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ๑. นโยบายด้านความปลอดภัย ๒. เกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา (ITA) ๓. เกณฑ์การประเมินตามมาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานซึ่งเป็นตัวชี้วัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๔. เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ๕. เกณฑ์การประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว  

SCGC ร่วมกับ สส. และ สพฐ. ขยายผล “โครงการถุงนมกู้โลก” ส่งเสริมการจัดการขยะ ในโรงเรียน มุ่งสร้าง Eco-School เน้นให้เยาวชนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง

15 พฤศจิกายน 2565 : เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดสัมมนาออนไลน์ “ต้นแบบการจัดการขยะในโรงเรียน โครงการถุงนมกู้โลก” เพื่อขยายผล “โครงการถุงนมกู้โลก” โมเดลการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in School Model) ซึ่งริเริ่มโดย SCGC เน้นสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยขับเคลื่อนผ่านความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตั้งเป้าขยายผลโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 50 จังหวัด 1,700 โรงเรียน เพื่อให้เกิดการจัดการขยะภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมในวงกว้าง สอดคล้องกับแนวทาง อีโคสคูล (Eco-School) พร้อมกันนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ “กิจกรรมหนูน้อยกู้โลก” เปิดโอกาสให้เยาวชนส่งคลิปการจัดการถุงนมใช้แล้วเข้าประกวดชิงทุนการศึกษารวมกว่า 1 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า “โครงการถุงนมกู้โลก โดย SCGC เป็นโครงการที่ดำเนินการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้วาระแห่งชาติ BCG Economy Model ที่มุ่งให้ความรู้และส่งเสริมให้เยาวชนคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และนำนวัตกรรมมาเปลี่ยนถุงนมใช้แล้วให้กลายเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าเพิ่มใช้งานได้ยาวนาน เช่น เก้าอี้ กระถางต้นไม้ สร้างตัวอย่างการหมุนเวียนทรัพยากรให้เห็นเป็นรูปธรรม ทาง สพฐ. มีความยินดีและพร้อมขับเคลื่อนโครงการฯ ผ่านสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษา และโรงเรียนภายใต้ สังกัด สพฐ. เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน เพื่อมุ่งสู่ Zero Waste School หรือ ‘ขยะเหลือศูนย์’ ในอนาคต”

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่าSCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance) ขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เน้นพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer นอกจากนี้ ยังมุ่งลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ รวมทั้งมุ่งสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ให้เกิด Low Waste, Low Carbon โดยเล็งเห็นว่าการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันขับเคลื่อน”

SCGC ได้ริเริ่มนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ชุมชนรอบโรงงาน จ.ระยอง ภายใต้ “โครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” เชื่อมโยง บ้าน วัด โรงเรียน และธนาคารขยะ ให้ความรู้และสร้างพฤติกรรมคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 4,000 คน นำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกว่า 236 ตัน ช่วยลดปริมาณการฝังกลบขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 483,375 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

นอกจากนี้ เพื่อต่อยอดการจัดการขยะในโรงเรียน ซึ่งพบว่ามีปริมาณขยะจากถุงนมจำนวนมาก SCGC จึงได้ร่วมกับโรงเรียนนำร่องในจังหวัดระยอง ริเริ่ม “โครงการ SCGC ถุงนมกู้โลก” ขึ้น โดยนำนวัตกรรมและการออกแบบมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้พลาสติกใช้แล้วอย่างถุงนม นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และขึ้นรูปเป็น “เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน” ที่ใช้งานได้ยาวนาน ปลูกจิตสำนึกเรื่องการจัดการขยะ และสร้างตัวอย่างการหมุนเวียนทรัพยากรให้เห็นเป็นรูปธรรม

“ที่ผ่านมา SCGC ได้ขยายผล โครงการ SCGC ถุงนมกู้โลก ร่วมกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สุพรรณบุรีเขต 1 รวม 135 โรงเรียน พร้อมร่วมมือกับเครือข่ายเอกชน รองรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่อไป โดยตั้งเป้าขยายผลโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 50 จังหวัด 1,700 โรงเรียน สำหรับความร่วมมือระหว่าง SCGC สส. และ สพฐ. ในครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการขยะในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ และเห็นเป็นรูปธรรมในวงกว้างต่อไป” ดร.สุรชา กล่าวเพิ่มเติม

นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) กล่าวว่า “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนิน ‘โครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-School)’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนตามหลักการของโครงการ สอดคล้องกับแนวทางการสร้างพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Citizen) ที่มีความตระหนัก และรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปลูกฝังพฤติกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ‘โครงการถุงนมกู้โลก โดย SCGC’ ได้สร้างต้นแบบการจัดการถุงนมโรงเรียนแบบครบวงจร ช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบและเพิ่มการรีไซเคิล มีแนวทางที่สอดคล้องกับ ‘โครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-School)’ และ ‘โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste to School)’ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อน และขยายผล รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ผ่านภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และขอเชิญชวนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) และโรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมโครงการฯ สร้างการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ ผ่านการบูรณาการกิจรรมเรื่องการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรมให้แก่เยาวชนในวงกว้าง พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เริ่มต้นจากสองมือเล็ก ๆ สู่การสร้างลักษณะนิสัยรักสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต”

สำหรับ “กิจกรรมหนูน้อยกู้โลก” ภายใต้โครงการถุงนมกู้โลก ชวนโรงเรียนอนุบาล-ประถมศึกษาทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรมประกวดคลิปวิดีโอ “หนูน้อยกู้โลก” เพียงบอกเล่าวิธีจัดการถุงนมโรงเรียนใช้แล้วให้สร้างสรรค์และน่าสนใจ ความยาวไม่เกิน 3 นาที ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 1 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 13 ม.ค. 2566 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com หรือ Facebook: SCGofficialpage

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการถุงนมกู้โลก

คุณานนท์ คงสมเวช

kunanoko@scg.com โทร 088-745-2130

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล(Eco – School) ระหว่างวันที่ ๕ – ๘ กันยายน ๒๕๖๕  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานซังฮี้ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านดร.ภูธร  จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการเปิดการอบรมดังกล่าว

การอบรมครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทั้ง ๒ หน่วยงาน ภายใต้ความร่วมมือ (MOU) การดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล  (Eco – School)

๒) เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ พัฒนาโรงเรียนตามหลักการของโครงการโรงเรียนอีโคสคูล  (Eco – School) และ

๓) เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก เจตคติ รวมถึงเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)   โดย สพฐ. กำหนดนโยบายที่ส่งเสริมความร่วมมือ สร้างความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาโรงเรียนอีโคสคูล  โดยยึดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ขยายผลการพัฒนาโรงเรียนอีโคสคูลให้กับโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมรุ่นที่ ๑ จำนวน ๖๐ คน ประกอบไปด้วย ศึกษานิเทศก์ และครู

สามารถดาวน์โหลดรูปกิจกรรม คลิกที่นี่ 

 

รายงานผลการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ (100 นวัตกรรม)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการจัดสรร/ สนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนที่ได้รับการตัดสินนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับประเทศ จำนวน ๑๐๐ นวัตกรรม/ โรงเรียน ๆ ละ 5,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรม อาชีพตามข้อเสนอ โดยกำหนดให้โรงเรียนดำเนินการพัฒนานวัตกรรม จัดทำวีดิทัศน์ เล่มรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งส่งแบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในวันที่ 15 กันยายน 2565

 

รายงานผลการดำเนินงานคลิกที่นี่

ข้อมูลที่รายงานผลการดำเนินงานเข้ามาแล้ว คลิกที่นี่

แนวทางการดำเนินงาน

ประกาศผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับประเทศ

ขอให้โรงเรียนดำเนินการตามแนวทางที่แจ้งไว้

  1. แนวทางการขอรับเกียรติบัตรเข้าร่วม 503 นวัตกรรม (สามารถขอรับได้ทุกโรงเรียนตามรายชื่อเข้าร่วม)
  2. แนวทางการดำเนินงานสำหรับ 100 นวัตกรรม (ที่ได้รับการตัดสิน)
  3. แบบประเมินตอนที่ 1 (ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วม) /และ แบบประเมินตอนที่ 2,3 (สำหรับ 100 นวัตกรรม)

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

หนังสือนำส่ง สพท.

สำหรับนวัตกรรมที่เข้าร่วมประกวดทั้ง 503 นวัตกรรม ที่ประสงค์ขอรับเกียรติบัตรเข้าร่วม รายละเอียด ดังนี้

หากมีการแก้ไขคำถูกผิดสำหรับรายชื่อ โปรดแจ้งทางช่องทางไลน์ประสานงาน

การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในการเปิดการประชุมดังกล่าว

การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวางกรอบการอบรมและพัฒนาหลักสูตรสำหรับวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของทั้ง ๒ หน่วยงาน ภายใต้ความร่วมมือ (MOU) การดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

๒) เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ พัฒนาโรงเรียนตามหลักการของโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) และ

๓) เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก เจตคติ รวมถึงเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จะดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

การดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ) เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ และในปี ๒๕๖๔ โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดรับสมัครโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น (Beginner) โดยมีโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วม จำนวน ๔๓๐ แห่งทั่วประเทศ และได้รับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ขยายผลการดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูลสู่โรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ

การประชุมปฏิบัติการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ภายใต้แผนการดำเนินงานการจัดทำบอร์ดเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา

การประชุมปฏิบัติการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ภายใต้แผนการดำเนินงานการจัดทำบอร์ดเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา
ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานซังฮี้ กรุงเทพมหานคร

การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้เชิญผู้แทนศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา และ SDGs 5 ภูมิภาค สนับสนุนวิทยากรจาก TIPMSE คณะวิทยากรนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จาก Deschooling Game มาเป็นวิทยากรในการประชุมปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้บอร์ดเกมเป็นสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ผลการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) เมื่อวันที่ 20 – 22 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานซังฮี้ กรุงเทพมหานคร เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศเข้าร่วมการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ 2022 IEYI World Contest ณ ประเทศไต้หวัน ความแจ้งแล้วนั้น

บัดนี้ คณะกรรมการ ได้ตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศเสร็จสิ้นแล้ว จึงประกาศผลการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ รายละเอียดดังแนบ

หนังสือราชการที่ ศธ 04008/ว 1854 ลวท 2 ส.ค. 65 คลิก 

หนังสือราชการที่ ศธ 04008/ว 1855 ลวท 2 ส.ค. 65 (แจ้งจัดสรรงบประมาณ สำหรับทีมที่ได้รางวัลเหรียญทองและเป็นตัวแทนประเทศไทย) คลิก

 

โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการส่งเสริม ขยายผล เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมีกำหนดจัดการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ ๗ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำรวจโรงเรียนในสังกัด ที่ดำเนินโครงการปลูกและการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการจัดการเรียนการสอนและโครงการหมอดินน้อย ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนและให้การสนับสนุนงบประมาณ ตามแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) รวมทั้งเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ ๗ ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ต่อไป สามารถกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ที่ https://inno.obec.go.th/vetiver ภายในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕