Author: admin

การประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ)

วันที่ 17 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรม โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จัดประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ) ระหว่างวันที่ 16 – 19 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมศรีวิลัย สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ศึกษาสภาพปัจุบันของสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ
  2. พัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมถรรนะของผู้บริหารโรงเรียน
  3. พัฒนาแพลตฟอร์มเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพในลักษณะต่างๆ

โดยได้รับเกียรติจากนายสุดเขต สวยสม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย เป็นประธานในพิธีเปิด และนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมคณะทำงานและติดตามการประชุมดังกล่าว มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู จำนวน 50 คน ได้ร่วมสะท้อนความคิดถึงร่างหลักสูตรฯ และนำเสนอข้อมูลการถอดประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 โรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา 4 โรงเรียน และคณะวิจัยมีการซักถามเพิ่มเติมประเด็น และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อเตรียมการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล ณ โรงเรียนประชารัฐ ต่อไป

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคใต้)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคใต้  ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔  ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในวงการศึกษาไทย

โดยมี ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต, ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต,  ผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนและหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา, ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนที่ดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น และได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. ศึกษานิเทศก์  วิทยากรจากส่วนกลาง (สพฐ.) และ วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

โครงการโรงเรียนสุจริต สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง และสร้างความตระหนักให้กับเด็กและเยาวชน สร้างคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔  ณ โรงแรมเจริญธานี  จังหวัดขอนแก่น

วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๔ ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตในปัจจุบัน และแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ คณะทำงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง บุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ระดับภาคและระดับจังหวัด โรงเรียนที่ดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น

การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช.  ศึกษานิเทศก์ วิทยากรจากส่วนกลาง (สพฐ.) และ วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการบริษัทสร้างการดี จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๑  นำเสนอนิทรรศการและออกบูธผลิตภัณฑ์


การประชุมเชิงปฎิบัติการปรับเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมลักซ์ บูติค จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. โดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร และคณะ จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการปรับเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมลักซ์ บูติค ต. บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเกณฑ์การประกวดและกำหนดแนวทางการรับสมัครการประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้พร้อมสำหรับการจัดประกวดนวัตกรรมต่อไป

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ระหว่างวันที่ ๑-๓ มีนาคม ๒๕๖๔   ณ โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในวงการศึกษาไทย

โดยมี ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ
ธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

สพฐ. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพในอนาคต จึงตระหนักถึงความสำคัญ
ของการเตรียมการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถานศึกษา มีการบูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.)  การมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต, ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต,  ผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนและหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา, ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและสร้างความรู้
ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนต่อไป

 

LEARNINGOBEC

การทดสอบสมรรถนะยานยนต์

Morbi placerat elit fermentum, cursus tellus id, congue metus. Phasellus elementum sodales lacus, id facilisis justo. Nulla at blandit erat. Curabitur finibus at sem ut ultrices. Morbi tellus felis, consectetur ac mi sed, laoreet facilisis ipsum. Integer sit amet tortor finibus felis tristique congue eget eu massa. Suspendisse potenti. Aenean eu iaculis ex. Morbi accumsan turpis eu ligula auctor euismod. Nam sit amet imperdiet ipsum. Vestibulum cursus sapien ipsum, eu vestibulum tortor farer vulputate.

Aenean in diam nec odio blandit egestas et aliquam orci. Praesent vitae vestibulum nibh. Aliquam rutrum viverra ligula non placerat. Sed iaculis scelerisque velit ut lacinia. Vestibulum maximus quam ante, at efficitur mi vulputate non. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Proin eleifend neque sed nisl hendrerit dignissim. Pellentesque faucibus, mi eget tincidunt efficitur, libero tellus ullamcorper urna, ac vulputate arcu libero hendrerit neque. Fusce ac mauris ut nulla ornare viverra.

Morbi quis turpis hendrerit, egestas urna vel, cursus magna. Aenean posuere nibh id risus viverra volutpat. Maecenas justo libero, imperdiet ac bibendum a, sodales at mi. Praesent sit amet massa at leo gravida vestibulum. Donec sed gravida sapien. Fusce tempus rutrum massa, nec volutpat libero fringilla scelerisque. Donec tellus nulla, tristique eu urna rutrum, laoreet suscipit leo. Orci varius natoque penatibus et magnis dis parturient montes, nascetur ridiculus mus. Sed non pulvinar ipsum. Morbi nec felis id velit vehicula sagittis. Proin vestibulum gravida est. Etiam vel hendrerit neque, ut luctus enim. Morbi pharetra congue velit ac facilisis. Nunc eros nibh, bibendum eu faucibus id, iaculis vitae lectus. Quisque eu consequat risus. Aenean scelerisque nisi nec egestas ornare.

Phasellus tellus lectus, viverra ac imperdiet at, mollis ut velit. Curabitur varius imperdiet lacinia. Curabitur vitae venenatis ex, in fermentum risus. Quisque in orci ac nisl pharetra egestas vitae quis tellus. Sed congue leo neque. Suspendisse porta, ante non tempus rhoncus, risus augue sodales tellus, sed commodo purus massa in ligula. Quisque finibus congue risus, quis semper quam iaculis ac. Sed quis congue tortor. Fusce in scelerisque elit, vitae vestibulum nibh. Nunc ut ex nec sem luctus sodales a eu ex. Pellentesque pretium nulla justo, ut tristique mi condimentum vitae. Maecenas iaculis dui aliquam felis vehicula dictum sit amet vel sapien. Quisque et fermentum nunc, vitae cursus tellus. Phasellus facilisis, nisi sed porta tempor, turpis lacus malesuada ligula, id malesuada augue ante sit amet arcu. Proin at felis nec lacus eleifend varius. Vestibulum ante ipsum primis in faucibus orci luctus et ultrices posuere cubilia Curae.

เข้าร่วมรับฟังแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้ อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ

วันอังคารที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่านอัยการสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone)
ท่าน ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รักษาการในตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีคุณภาพ ส่งผลต่อผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด

 

ประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ


เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น.ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยท่านอัยการสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมปรึกษาหารือ และชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ของกลุ่มจังหวัดขนาดเล็กกลุ่มจังหวัดขนาดกลาง และกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ประกอบด้วย ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมรับฟังแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายแผนบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ ยกระดับคุณภาพการศึกษา และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เชื่อมโยงกับการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้มีความยั่งยืนต่อไป

 

 

 

นวัตกรรมภาพถ่ายจากโดรน

Quisque purus erat, pellentesque sit amet lacus eu, condimentum elementum nibh. Nullam at lectus sodales, ornare leo in, imperdiet lacus. Vestibulum aliquet augue nunc. Praesent vitae nibh ac erat fringilla varius. Vivamus nisi mi, suscipit vel nibh ac, tincidunt dictum dolor. Vivamus pharetra tincidunt tortor sit amet dignissim. Mauris dignissim risus ut risus volutpat rhoncus. Duis eget quam luctus, dignissim erat eu, consectetur tellus. Pellentesque nec risus ac justo bibendum tincidunt quis at enim. Duis convallis aliquet purus euismod finibus. Mauris sit amet ipsum eleifend, eleifend elit blandit, tempus augue. Duis porta risus ac eros tempus, id sollicitudin urna venenatis. Sed dapibus rhoncus sodales. In hac habitasse platea dictumst. In sed laoreet eros, eu mattis erat. Donec ut libero at velit porta porta ut et risus.

Phasellus tellus lectus, viverra ac imperdiet at, mollis ut velit. Curabitur varius imperdiet lacinia. Curabitur vitae venenatis ex, in fermentum risus. Quisque in orci ac nisl pharetra egestas vitae quis tellus. Sed congue leo neque. Suspendisse porta, ante non tempus rhoncus, risus augue sodales tellus, sed commodo purus massa in ligula. Quisque finibus congue risus, quis semper quam iaculis ac. Sed quis congue tortor. Fusce in scelerisque elit, vitae vestibulum nibh. Nunc ut ex nec sem luctus sodales a eu ex. Pellentesque pretium nulla justo, ut tristique mi condimentum vitae. Maecenas iaculis dui aliquam felis vehicula dictum sit amet vel sapien. Quisque et fermentum nunc, vitae cursus tellus. Phasellus facilisis, nisi sed porta tempor, turpis lacus malesuada ligula, id malesuada augue ante sit amet arcu. Proin at felis nec lacus eleifend varius. Vestibulum ante ipsum primis in faucibus orci luctus et ultrices posuere cubilia Curae.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับกลุ่ม ปตท. เปิดโครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นออนไลน์ประจำปี 2564

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นออนไลน์ประจำปี 2564 โดยมี คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำกับดูแลองค์กรและกิจการสัมพันธ์ ดร. พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ฝ่ายบริหาร ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด ในวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 บนระบบออนไลน์ ZOOM ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มปตท. และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาด้านและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาโดยตลอด มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสอนและถ่ายทอดความรู้ให้กับครูด้านสะเต็มศึกษา โดยเฉพาะด้านการทำวิจัยและโครงงาน และสร้างแรงบันดาลใจและความรู้ในด้านสะเต็มศึกษาให้กับนักเรียน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 8 โรงเรียนที่อยู่ในพื้นโรงเรียนกำเนิดวิทย์ โดยจะมีการดำเนินงานจำนวน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค่ายออนไลน์ ระยะที่ 2 ทำโครงงานออนไลน์ และระยะที่ 3 ค่ายปฏิบัติการ

สพฐ. เร่งพัฒนาการสอนด้านสเต็มศึกษาและภาษาอังกฤษ พร้อมสนับสนุนผู้ช่วยสอนและพนักงานธุรการ/ICT ภายใต้โครงการ Restart Thailand โดย กลุ่ม ปตท.

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้โอวาท และมอบนโยบายการศึกษาในการประชุมสร้างความเข้าใจและปฐมนิเทศผู้ช่วยสอนและพนักงานธุรการ/ICT ภายใต้โครงการ Restart Thailand (ผ่านระบบออนไลน์ Webex) พร้อมด้วยนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และคณะ ในวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 – 15.30 น. โดยกลุ่ม ปตท.ได้ร่วมสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 จ้างแรงงานและนักศึกษาจบใหม่ จัดสรรบุคลากรในตําแหน่งผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant) และพนักงานธุรการ/ICT เป็นระยะเวลา 1 ปี ให้กับโรงเรียนในสังกัดต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 128 โรงเรียน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จํานวน 2 โรงเรียน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จํานวน 10 โรงเรียน และสังกัดสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จํานวน 2 โรงเรียน ด้วยมุ่งหวังให้บุคลากรดังกล่าว ช่วยสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาและภาษาอังกฤษ รวมถึงลดภาระงานที่นอกเหนือจากการสอน ให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ตอบสนองเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะคืนครูสู่ห้องเรียน