
สพฐ. เปิดเวทีแข่งทักษะวิชาการ โรงเรียน กพด. รอบระดับประเทศ

วันที่ 16 กันยายน 2565 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ นางสาวนลินี จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ และบุคลากรโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้นวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม” ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการต่อยอดองค์ความรู้ และความตระหนักในคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนมุ่งสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียว (Green Learning Society) โดยการจัดประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะ ศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในโครงการห้องเรียนสีเขียว ซึ่งเป็นการดำเนินการภายในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (โครงการห้องเรียนสีเขียว)” ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมการแข่งขันโครงงาน
ในโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project)
————————————
การแข่งขันโครงงานแบ่งเป็น 4 สาขา ได้แก่
1. การเกษตรและอาหาร
2. สุขภาพและการแพทย์
3. พลังงานและวัสดุ
4. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
————————————-
การแข่งขันของแต่ละสาขาแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ
1.รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค แบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
2.รอบตัดสิน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากตัวแทนภูมิภาคละ 2 ทีมในทุกสาขา
————————————-
เกณฑ์การส่งโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าแข่งขัน มีดังนี้
1. แต่ละโรงเรียนสามารถสมัครได้มากกว่า 1 โครงงาน
2.โครงงานที่ส่งเข้าประกวด ประกอบด้วย นักเรียนที่พัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวนไม่เกิน 3 คนต่อโครงงาน และคุณครูที่ปรึกษา 1 ท่านและอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ (ถ้ามี)
3. นักเรียนที่เป็นผู้พัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถประกวดได้เพียง 1 โครงงานเท่านั้น และ ต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษาปัจจุบัน
4. คุณครู 1 ท่าน สามารถเป็นที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้มากกว่า 1 โครงงาน
5. โครงงานที่ส่งเข้าแข่งขันต้องเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และ/หรือเทคโนโลยีที่ดำเนินการจริง
————————————–
รางวัล!!!
– โล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล
– นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ / รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 / รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ได้รับสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับทุนการศึกษา (ค่าธรรมเนียมการศึกษา) ทั้งนี้นิสิตจะต้องมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตลอดระยะเวลาการศึกษา
*** การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ***
รายละเอียดโครงการ https://drive.google.com/file/d/1MuJX7-6iS7wBZ0Y_XVvjw-KgxKHpTV13/view?usp=sharing
สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ที่ https://forms.gle/YYJWwfope8Ca6ZeW6 หมดเขตส่งผลงานและรับสมัคร วันที่ 15 ตุลาคม 2565
วันที่ 15 สิงหาคม 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นประธานมอบรางวัลในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2021 ซึ่งเป็นการประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของปี 2564 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้ความสำคัญและร่วมเป็นพันธมิตรที่ดีในการสนับสนุนโครงการห้องเรียนสีเขียวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด ทั้งการพัฒนากลยุทธ์และแนวทางความร่วมมือในเชิงนโยบาย การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนให้เป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการส่งเสริมให้ขยายผลจากสถานศึกษาสู่ภาคครัวเรือนและชุมชน ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวว่า “ในวันนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นภาพความสำเร็จของทุกโรงเรียน ซึ่งเกิดมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือร่วมใจอย่างแท้จริงในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน สู่การสร้าง “สังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียว” หรือ Green Learning Society โดยมุ่งหวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคมไทย เพื่ออนาคตของลูกหลานไทยที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศของเรา ผมขอขอบคุณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและหน่วยงานพันธมิตร ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการห้องเรียนสีเขียว อันเป็นโครงการที่ดีเพื่อสังคม ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู นักเรียน และบุคลากรทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมในโครงการนี้ และขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัล สำหรับก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จ และจะเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาโรงเรียนและตนเองต่อไป”