Author: admin

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 2 และอบรมต่อยอดวิทยากร

ในระหว่างวันที่ 2 – 5 เมษายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) ดำเนินการจัดการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 2 และอบรมต่อยอดวิทยากร ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ ถนนรัชดา กรุงเทพฯ

โดยวัตถุประสงค์การอบรมในครั้งนี้มีเพื่อพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ ให้มีองค์ความรู้ตามเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้

ทั้งนี้ ในการอบรม ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการอบรมและมอบโอวาทเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ วิทยากรการอบรม จำนวน 15 ท่าน และผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 98 ท่าน โดยประกอบไปด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับองค์ความรู้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้ต่อไป

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและมีสมรรณะภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยการดำเนินการของกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและมีสมรรณะภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs) ระหว่างวันที่ ๑ – ๕ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ รัชดา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาที่ยังยืน พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา วิจัยต่อยอดองค์ความรู้ รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล โดยรับสมัครและคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงและมีสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs) จำนวน 50 คน เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้
ทั้งนี้พิธีเปิดการอบรมได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า เป็นประธาน พร้อมให้โอวาทเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้เข้ารับการอบรม

 

การประชุมปฏิบัติการจัดทำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร โดยมีเป้าหมายเพื่อนำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาของโลก (ระหว่างปี 2558 – 2573) ที่ครอบคลุม มิติการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคน การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง การสร้างสันติภาพและความยุติธรรม และการพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือ มาจัดทำเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ และจัดทำคู่มือเพื่อใช้ประกอบการอบรมขยายผลในอนาคตแก่ผู้เข้าอบรมวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี

ทั้งนี้ได้มีคณะทำงานเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 45 คน ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน และนักวิชาการศึกษา โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เข้าร่วมสังเกตและให้คำปรึกษาในการประชุมครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก ดร.ดุริยา อมตวิวัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านความร่วมมือต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมให้ความรู้ในหัวข้อกรอบทิศทางและการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม รวมถึงได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมให้โอวาทเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจแก่คณะทำงาน

สพฐ. ให้ความสำคัญด้านการคัดแยกต้นทางเพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการกล่องนมรักษ์โลก

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ น.ส.นลินี  จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษและบุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานกระบวนการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด จังหวัดราชบุรี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินโครงการกล่องนมรักษ์โลก (Careton กล่องนมรักษ์โลก) ด้วยการรับสมัครโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกจัดเก็บกล่องเครื่องดื่มในโรงเรียน ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 26 แห่ง และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 แห่ง รวมทั้งสิ้น 38 แห่ง และเพื่อให้โรงเรียนที่ร่วมกิจกรรมได้เข้าใจและเห็นความสำคัญการคัดแยกต้นทางเพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการจึงได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานกระบวนการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด จังหวัดราชบุรี พร้อมกับมอบเกียรติบัตรให้กับครูและโรงเรียนที่ร่วมโครงการ

รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่

1. โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ สพป.กรุงเทพมหานคร
2. โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ สพป.นนทบุรี เขต 2
3. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 (วัดโบสถ์ดอนพรหม) สพป.นนทบุรี เขต 1
4. โรงเรียนวัดคลองชัน สพป.ปทุมธานี เขต 2
5. โรงเรียนพญาไท สพป.กรุงเทพมหานคร
6. โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ สพป.กรุงเทพมหานคร
7. โรงเรียนวัดอมรินทราราม สพป.กรุงเทพมหานคร
8. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง) สพป.ปทุมธานี เขต 1
9. โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่ใน สพป.สมุทรปราการ เขต 2
10. โรงเรียนคลองบางแก้ว สพป.สมุทรปราการ เขต 2
11. โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ สพป.ปทุมธานี เขต 1
12. โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก สพป.กรุงเทพมหานคร

ประกาศผลการคัดเลือกต้นแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงและมีสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ประจำปี 2565

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
เป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ประจำปี 2565
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ภายใต้การประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566เวลา 09.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

โดยมีผู้เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าส่วนราชการ ประกอบด้วย 1) ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริ 2) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 4) เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 5) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 6) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 7) ผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 8) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นักเรียนที่ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร และครูที่ปรึกษาแต่ละกิจกรรม

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทักษะวิชาการของนักเรียนในครั้งนี้ มีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ จำนวน 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 5) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 6) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ 7) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ผลงานชนะเลิศจาก 4 กิจกรรมประกอบด้วย 1) กิจกรรมการวาดภาพ 2) กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาไทย 3) กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ และ 4) กิจกรรมโครงงาน/สิ่งประดิษฐ์ จำนวน 43 ผลงาน

และทรงพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมทักษะวิชาการของนักเรียน ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการโครงงาน/สิ่งประดิษฐ์ ผลงานการวาดภาพ ผลงานการเขียนเรียงความภาษาไทยผลงานการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ นิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียน จำนวน 7 หน่วยงาน และทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับ คณะนักเรียนที่ได้รับพระราชทางรางวัลระดับดีเด่น คณะผู้บริหารหน่วยงานด้านการศึกษา คณะผู้ปฏิบัติงานสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และคณะผู้ปฏิบัติงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นิทรรศการแสดงผลงานดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมผลงานระหว่างวันที่ 10 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผลงานของนักเรียนในโครงการตามพระราชดำริต่อไป

ภาพโดย

กองงานส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวังและสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

ประกาศรายชื่อนักเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference ในวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566

ตามที่ สพฐ. ประชาสัมพันธ์นักเรียนที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference ในวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 โดยวิทยากร จำนวน 3 คน หัวเรื่อง คือ “Connection Between Robots and Us”, “Climate Change and What We Should Do” และ “You Failed Upwards” โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าระหว่างเวลา 07.00 – 09.05 น. และ ช่วงบ่ายระหว่างเวลา 09.45 – 11.50 น. (เวลาประเทศไทย) ซึ่งผู้จัดเชิญนักเรียนไทยเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งควรเป็นผู้มีความรู้และสนใจในหัวเรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์ ภาวะโลกร้อนและความหลากหลายในแง่มุมต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน นั้น

ในการนี้ สพฐ. ขอประกาศระกาศรายชื่อนักเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference ในวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566

รายชื่อ คลิกที่นี่
** หมายเหตุ : สพฐ จะดำเนินการเสนอรายชื่อเพื่อให้ เลขาธิการ กพฐ อนุมัติคำสั่งให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป

การประชุมโครงการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีระหว่างวันที่ 15 – 18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม แกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระหว่างวันที่ 15 – 18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม แกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำหลักสูตร เรียบเรียงสาระสำคัญของการอบรมให้มีองค์ความรู้เชิงลึกมากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมกระบวนการออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา ตลอดจนใช้เป็นคู่มือสำหรับการขยายผลการอบรมวิทยากรแกนนำในรุ่นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม วิทยากรแกนนำจะนำหลักสูตรที่ได้รับ ไปขับเคลื่อนให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อต่อยอดกิจกรรมและเป็นต้นแบบการพัฒนาวิทยากรแกนนำรุ่นต่อไป การอบรมครังนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ มีผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วย ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาลเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดําริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจําปี 2565

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายอนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริฯ หัวหน้าส่วนราชการ และข้าราชการ เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

โอกาสนี้พระราชทานเกียรติบัตรแก่พระภิกษุ และคณะครู ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดแข่งขันแนวปฏิบัติที่ดี ทั้ง 6 ด้าน จำนวน 39 ราย พร้อมทั้งพระราชทานโล่รางวัลสถานศึกษาดีเด่น แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 18 ราย จากนั้นทรงบรรยายพิเศษเรื่อง “42 ปี โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยทรงเริ่มงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน มาตั้งแต่ปี 2523 มีพระราชประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีภาวะโภชนาการที่ดีและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เริ่มแรกทรงทดลองทำในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 3 โรงเรียน และต่อมาได้ขยายผลในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ ปัจจุบันดำเนินการโครงการในสถานศึกษาโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้ง 7 สังกัด รวม 890 แห่ง โดยฝึกให้นักเรียนลงมือปฏิบัติทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ทั้งการปลูกพืชผัก ไม้ผล การเพาะเห็ด รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ อาทิ เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ไก่เนื้อ เป็ด สุกร เลี้ยงปลา แล้วนำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน รวมทั้งส่งขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นอกจากนี้ยังฝึกให้นักเรียนขยายพันธุ์พืช และขยายพันธุ์สัตว์ สำหรับผลผลิตที่มีมากได้นำมาแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ทำให้นักเรียนมีความรู้และทักษะทางอาชีพ และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต รวมทั้งยังขยายผลจากโรงเรียนไปยังผู้ปกครองและชุมชน ทำให้สามารถผลิตอาหารได้มากขึ้น เด็กมีอาหารรับประทานอย่างต่อเนื่อง และมีภาวะโภชนาการที่ดี อันนำมาสู่ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ตลอดระยะเวลา 42 ปี โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ได้ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านอาหาร โภชนาการ สุขภาพอนามัย การศึกษา การงานอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ขยายการพัฒนาสู่ครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานทางวิชาการแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงานสถานศึกษาในโครงการตามพระราชดำริ 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งนิทรรศการนวัตกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริของหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมสุขภาพจิต

สำหรับการจัดงานประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 ธันวาคม 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ แก่สาธารณชน รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดประสบการณ์ร่วมกัน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับหน่วยงานสถานศึกษาในโครงการตามพระราชดำริทั้ง 7 หน่วยงาน และโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินการจัดงาน

ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก : โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ภาพจาก : ศตายุ วาดพิมาย นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ สพป.ตาก เขต 2

https://www.obec.go.th/archives/739323

สพฐ. จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียน ในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ประจำปี 2565

   
       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ชอบผล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 สำนักงานโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง การจัดการศึกษาตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บทบาทของโรงเรียนในอดีต ความเข้มแข็งของโรงเรียนในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและแนวปฏิบัติของโรงเรียน ในโครงการตามพระราชดำริ
จากนั้นมีพิธิเปิด โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธาน โดยกล่าวว่า “สพฐ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จึงมุ่งส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่
       1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
       2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
       3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
       4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
       5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผ่านการจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู และการประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการของนักเรียน เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
       ในปีนี้ สพฐ. ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ แก่สาธารณชน รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ร่วมกันและร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ” นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีศึกษานิเทศก์และผู้รับผิดชอบโครงการตามพระราชดำริ จำนวน 48 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 194 คน และผู้ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และคณะกรรมการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 350 คน
       นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวถึงการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า “เพื่อต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานรวบรวมผลงานหรือองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติงานที่ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาลเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2565 ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม อาคาร 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี”
ทีมประชาสัมพันธ์งาน กพด. สพฐ. เรื่อง/ภาพ

พิธีมอบถุงยังชีพพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00 น. นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีมอบถุงยังชีพพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับนักเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 พร้อมด้วย นายไพบูลย์ ศิริแสงตระกูล รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดร.ภูธร จันทะหงส์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และนายเตชินท์พัฒน์ โชติวัชรธนานนท์ ร่วมลงพื้นที่ติดตาม รายงาน สถานการณ์น้ำท่วมและมอบถุงยังชีพพระราชทาน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับ ครู นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากสถานณการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ โดยมี นายนพคุณ ลัคนาวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 นายไพศาล ราตรี ผู้อำนวยการโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง ร่วมให้การต้อนรับ

 

 

การจัดกิจกรรมงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก”

วันที่ 11 ตุลาคม 2565  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ เป็นคณะทำงานคนดี รักษ์โลกและให้ได้ความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนนักเรียน เด็ก และเยาวชนและผู้ที่สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดคลิปในหัวข้อ “บอกรักโลก : บ้านส่วนรวมของเรา” ในการนี้คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา กำหนดจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัล โครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องสัมมนา B 1 – 1 ชั้น B 1 อาคารรัฐสภา ได้เชิญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมงานและจัดนิทรรศการโครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก”

โดย สพฐ. มอบหมายให้โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก และโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ร่วมจัดนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่สำคัญ ได้แก่
  • โครงการพัฒนาโรงเรียนสีเขียวสู่ความยั่งยืน บอร์ดเกม ภารกิจกู้โลก กับการพัฒนาที่ยั่งยืน  การผลิตเส้นใยจากผักตบชวาเพื่อดักจับไขมัน นำเสนอโดย โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก ฯลฯ
  • โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ฐานการเรียนรู้ผักไฮโดรดอรจา  ฐานการเรียนรู้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ นวัตกรรมอฐสละ   เศษอาหารมีค่าใช้เลี้ยงปลาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ  นำเสนอโดย โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา