Month: มีนาคม 2021

การประชุมเชิงปฏิบัติการคัดเลือกข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่และการคัดเลือกภาพวาดจินตนาการอนาคต

วันที่ 22-26 มีนาคม 2564  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการคัดเลือกข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่และการคัดเลือกภาพวาดจินตนาการอนาคต ระหว่างวันที่ 22-26 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยการจัดการประชุมในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ภายใต้หัวข้อ Inventions for Sustainable Development Project  และภาพวาดจินตนาการอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หัวข้อ Science for Sustainable Development Project ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งโรงเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือก/ประกวด/แข่งขัน ตามเงื่อนไขข้อปฏิบัติการส่งผลงาน และระยะเวลาที่กำหนดทางเว็บไซต์ http://obecyounginventor.innoobec-project.com

การดำเนินงานในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก  ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมพิจารณาข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ภายใต้หัวข้อ Inventions for Sustainable Development Project จำนวน 218 ข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย 8 ประเภทผลงานได้แก่

 

  1. เทคโนโลยีที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Green Technology) จำนวน 51 ผลงาน
  2. อาหารและเกษตรกรรม (Food and Agriculture) จำนวน 45 ผลงาน
  3. ความปลอดภัยและสุขภาพ (Safety and Health) จำนวน 44 ผลงาน
  4. เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ (Technology for Special Need) จำนวน 19 ผลงาน
  5. การจัดการกับภัยพิบัติ (Disaster Management) จำนวน 12 ผลงาน
  6. การศึกษาและนันทนาการ (Education and Recreation) จำนวน 18 ผลงาน
  7. เทคโนโลยีการบินและอวกาศ (Aerospace and Aviation) จำนวน 3 ผลงาน
  8. ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ (Artificial Intelligence and Automation System) จำนวน 26 ผลงาน

และภาพวาดจินตนาการอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หัวข้อ Science for Sustainable Development Project จำนวน 256 ผลงาน โดยในปี้นี้ได้เพิ่มเติมประเภทของการวาดภาพในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มเติมจากประเภทการวาดภาพบนกระดาษวาดเขียน (โดยไม่จำกัดเทคนิคการวาด) โดยกิจกรรมนี้ไม่ได้วัดความสามารถในด้านศิลปะเป็นหลัก แต่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงจินตนาการที่เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อที่กำหนด

ผลงานที่ได้รับการคัดเลือก ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะสนับสนุนงบประมาณให้ทีมนักเรียนเจ้าของผลงานได้พัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนสิ่งใหม่ ๆ เพื่อตอบความสนองความต้องการของชุมชนและสังคม และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยมีการประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลับมานำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกทีมตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ International Exhibition for Young Inventor (IEYI 2021) โดยในปีนี้ สาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) เป็นเจ้าภาพจัดงานในลักษณะ Virtual Contest ในเดือนกันยายนนี้

 

 

 

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคเหนือ)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ นิติกร ผู้รับผิดชอบโครงการฯ คณะทำงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง บุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ระดับภาคและระดับจังหวัด และโรงเรียนที่ดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น

วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตในวงการศึกษาไทย เช่น ปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง ปัญหาการทุจริตอาหารกลางวัน นอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ความมั่งคงด้านอาหาร ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาจากมลพิษทางอากาศภาวะฝุ่น PM ๒.๕ ปัญหาการแพร่ระบาดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา – ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันและปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในด้านต่างๆ การป้องกัน ป้องปราม และปราบปราม ส่วนใหญ่เป็นหลักการป้องปราม มากกว่าปราบปราม เป็นต้น

ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้แนวคิดและแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการแก่ผู้รับผิดชอบ สร้างความเข้าใจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และความสอดคล้องของกิจกรรมโครงการที่รับผิดชอบ

การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. ศึกษานิเทศก์ วิทยากรจากส่วนกลาง (สพฐ.) และ วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการบริษัทสร้างการดี จากโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต ๑ นำเสนอนิทรรศการและออกบูธผลิตภัณฑ์

การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ”

วันที่ 24 มีนาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ณ ห้องประชุมจันทรเกษม อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิจารณาร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ดังกล่าวและเติมเต็มประเด็นสำคัญในการพัฒนาการศึกษา พร้อมให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของร่างยุทธศาสตร์ฯ ก่อนที่จะเสนอเพื่อพิจารณาเป็นนโยบายต่อไป โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน  และภาคประชาสังคม ผู้บริหาร และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเลขาธิการ กพฐ. มอบหมายให้ ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี เป็นประธานการประชุมแทน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 2 ภาคใต้

วันที่ 23 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นจุดภาคใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 25 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางเดียวกันซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 30 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 6 เขต โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนางจิณณาภักดิ์ มักคุ้น รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 เป็นเกียรติร่วมพิธีเปิดการประชุมดังกล่าวฯ

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 17-20 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 19 มีนาคม 2564 ได้รับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา) ให้เกียรติมามอบนโยบายแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดที่ได้ส่งข้อเสนอโครงการมาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 225 โครงการ ประกอบด้วยข้อเสนอโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 161 โครงการ และข้อเสนอโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 64 โครงการ และเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณในการสนับสนุนข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สพฐ. คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการบำนาญ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดยกิจกรรมการการประชุมประกอบด้วย การจัดทำเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ การแบ่งกลุ่มพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ / นวัตกรรม การพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณ การนำเสนอข้อมูลข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ผ่านการพิจารณา การจัดทำรายละเอียดข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ จัดลำดับผลการพิจารณา และการสรุปผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณา ทั้งนี้เพื่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานกับข้อเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณาได้อย่างเหมาะสมต่อไป







สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ลงพื้นที่โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยาเพื่อตรวจสอบบริบทโครงสร้างความขาดแคลนและความต้องการของโรงเรียนเชิงประจักษ์

วันที่ 23 มีนาคม 2563 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ลงพื้นที่โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบบริบทโครงสร้าง ความขาดแคลนและความต้องการของโรงเรียนเชิงประจักษ์ ซึ่งคณะกรรมการนำโดย ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางดนตรีและสภาพภูมิทัศน์ของโรงเรียนโดยรอบ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาตามข้อเสนอการบริหารจัดการและพัฒนาโรงเรียนต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับเขตตรวจราชการ

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับเขตตรวจราชการ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมแกรนด์ฮาวเวิร์ด กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาและสังเคราะห์นวัตกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารและครู โดยผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาและคณะทำงานจากส่วนกลาง (สพฐ.)

การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชวลิต โพธิ์นคร อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล สพฐ. เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย ดร.สิริมา หมอนไหม อดีตรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา และ นางนิรมล บัวเนียม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสายน้ำทิพย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ได้ให้แนวคิดในการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี และการสังเคราะห์นวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้ผลการพิจารณาและสังเคราะห์นวัตกรรม ในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเขตตรวจราชการ จะนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพของนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีที่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และจัดทำเป็นคลังนวัตกรรมคุณธรรม จริยธรรม และเผยแพร่ต่อผู้ที่สนใจต่อไป

 

ส่งมอบโต๊ะภายใต้โครงการ “กล่องนมรักษ์โลก”

วันที่ 18 มีนาคม 2564  ดร.ธัญนันท์  แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  และคณะ ได้ร่วมส่งมอบโต๊ะภายใต้โครงการ “กล่องนมรักษ์โลก”  ซึ่งได้แปรรูปมาจากกล่องนมใช้แล้ว ให้กับโรงเรียนบางพลีใหญ่ใน  จ.สมุทรปราการ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 จ.ปทุมธานี

โต๊ะอาหารเป็นโต๊ะที่แปรรูปมาจากกล่องนมใช้แล้ว  โดยกิจกรรมดังกล่าว เป็นผลการดำเนินงานของ โครงการกล่องนมรักษ์โลก โดยผลิตภัณฑ์ไมโล บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับบริษัท เต้ดตร้า แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมจัดการกล่องยูเอชทีใช้แล้วในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนและครูเพื่อให้เกิดการจัดการกล่องยุเอชทีใช้แล้ว ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (Closed Loop Packaging) ภายใต้โครงการเรียนรู้นอกห้องเรียน “กล่องนมรักษ์โลก”  มีกิจกรรมเก็บกล่องยูเอชทีและการแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียน เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและแปรรูปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โต๊ะทานข้าวในโรงอาหาร โต๊ะ-เก้าอี้นักเรียน เป็นต้น ทั้งนี้โครงการเตรียมขยายผลสู่ 60 โรงเรียนในปี 2564 ต่อไป

 

 

 

 

สนก.ร่วมสรุปผลในการประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ)

วันที่ 17 มีนาคม 2564 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และ นายสุดเขต สวยสม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟังการรายงานผลการดำเนินงานการประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ) ระหว่างวันที่ 16 – 19 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมศรีวิลัย สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยมีนางมัลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วนบ.) หัวหน้าคณะทำงานวิจัย และคณะ ได้นำเสนอสรุปผลการสังเคราะห์ข้อมูลด้านการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนประชารัฐจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลตามสภาพจริง และประเด็นที่ศึกษาเพื่อนำมาปรับหลักสูตรฯ โดยคณะท่านได้เติมเต็มประเด็นพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อให้คณะวิจัยได้นำไปพัฒนาร่างหลักสูตรให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยผลการประชุมครั้งนี้ได้รับข้อสรุปเป็นไปด้วยดี

การประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมการด้านการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษา จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานการปลูกจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ มีนาคม ๒๕๖๔  ณ  โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย อาจารย์คณะครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยบูรพา อาจารย์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่สอนระดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย และคณะทำงานจากส่วนกลาง (สพฐ.)

วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และให้แนวคิด เรื่อง การจัดการศึกษาของประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่นักเรียน เพื่อให้เป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริตของสังคมและประเทศชาติ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

โดยมี ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริตทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่กำหนดเป้าหมายหลัก ให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ โดยให้ความสำคัญกับการปรับและหล่อหลอมพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่ม ในสังคมให้มีจิตสำนึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต

การถอดบทเรียนในครั้งนี้ เป็นการถอดประสบการณ์จากครูแต่ละระดับชั้นที่ได้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน และประสบการณ์การปลูกฝัง การป้องกันการทุจริตให้กับนักเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการวางกรอบการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต

การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเตรียมรับการประเมิน ITA สพฐ. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๑/๖๔)

วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม  ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ประธานในการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเตรียมการรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

โดยมี ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ และ นายสพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ทำหน้าที่เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักทุกสำนักและตัวแทนผู้รับผิดชอบการประเมิน ITA สพฐ. และคณะทำงานเข้าร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินงานเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเตรียมรับการประเมิน ITA สพฐ. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดการประเมินประกอบด้วย เครื่องมือในการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้

๑. แบบ ITA แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน เก็บข้อมูลจากบุคลากรภายในหน่วยงาน สพฐ.

๒. แบบ EIT แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เก็บข้อมูลจากผู้รับบริการ/ผู้มาติดต่อ
หน่วยงาน สพฐ.

๓. แบบ OIT แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
สพฐ.

ทั้งนี้จากผลการประเมินรายหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ปีที่ผ่านมา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓  สพฐ. มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) อยู่ในระดับ A (๙๓.๔๐ คะแนน) สูงสุดเป็นอันดับ ๑ เมื่อจำแนกผลการวิเคราะห์ตามเครื่องมือ แบบ ITA แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ระดับผลการประเมิน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๙๗.๐๗ แบบ EIT แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ระดับผลการประเมิน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๘๔.๒๗ และแบบ OIT แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ระดับผลการประเมิน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๙๗.๕๐ ตามลำดับ การดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ การประสานความร่วมมือภายในหน่วยงาน สพฐ. เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ โดยการประสานงานจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

ประธานได้กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจ ผู้รับผิดชอบแต่ละหน่วยงานของ สพฐ. ในการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA  การดำเนินงานในภาพรวมของ สพฐ. ให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยยึดถือปฏิบัติเป็นเรื่องปกติ เพื่อองค์กรส่วนรวมมีคุณธรรมและความโปร่งใสอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงานและการประสานงานความร่วมมือ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จะแจ้งให้ทราบในการประชุมครั้งต่อไป ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้