Month: ตุลาคม 2019

เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR (Emergency First Response Course)

สนก. ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR (Emergency First Response Course) จำนวน 2 คน ประกอบด้วย นายพรชัย ถาวรนาน (คพศ.) และ นายวสันต์ สุทธาวาศ (วนส.)โดยได้มีการเรียนรู้ทั้งภาคท ฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริง สามารถนำไปใช้กับเหตุการณ์ฉุกเฉินในชีวิตจริงได้

ภาพ/คลิปโดย :ดร.วสันต์ สุทธาวาศ

ร่วมแสดงความยินดีกับเลขาธิการ กพฐ. และปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่

ดร.อโณทัย และคณะ สนก. ร่วมแสดงความยินดีกับ ท่านอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการ กพฐ. และท่านประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

เด็กไทยคว้ารางวัลหุ่นยนต์นานาชาติที่เกาหลี

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) นำนักเรียนไทยพร้อมครูที่ปรึกษา และผู้ควบคุมการแข่งขัน เดินทางไป แข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติในรายการ International Grand D Challenge 2019 ณ เมือง Donghae สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ระหว่างวันที่ 27 – 30 กันยายน 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ส่งทีมหุ่นยนต์ตัวแทนจากงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 68 ปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านการคัดเลือกในการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. OBEC Robot Challenge จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ 1.โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม 04 สพม. เขต 33 (จังหวัดสุรินทร์) 2.โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ สพม.เขต 8 (จังหวัดกาญจนบุรี) 3.โรงเรียนจักรคำคณาทร สพม.เขต 35 (จังหวัดลำปาง) เข้าแข่งขันหุ่นยนต์ในรายการ Mission Challenge รุ่น Challenge 4.โรงเรียนหนองบัว สพม.เขต 42 (จังหวัดนครสวรรค์) เข้าแข่งขันในรายการ Robo Scholar รุ่น Challenge โดยในการแข่งขันครั้งมีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน 500 คน จากประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โรมาเนีย บังกลาเทศ อุซเบกิสถาน และประเทศไทย

ผลการแข่งขัน ได้รับรางวัล 1 เหรียญทองแดง และ 4 รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม (Technical Award) ดังนี้

1. นายธนากร หอมหวล และนายอัษฎาวุธ แสงดี นักเรียน โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม 04 สพม.เขต 33 (จังหวัดสุรินทร์) โดยมีนายมนตรี อกอุ่น เป็นครูที่ปรึกษา ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง (Bronz Medal) และรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม (Technical Award)

2. นางสาวลดาวัลย์ บัวเพ็ง และนางสาวชลธิชา สีเงิน นักเรียน โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ สพม.เขต 8 (จังหวัดกาญจนบุรี) โดยมีนายกิตติศักดิ์ ภุมรินทร์ เป็นครูที่ปรึกษา ได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม (Technical Award)

3. นายณัฐธัญญนนท์ ทิมภินันท์ นายรามฤทธิ์ สุดใจ และนายกฤติพงศ์ กระแสร์ นักเรียน โรงเรียนจักรคำคณาทร สพม. เขต 35 (จังหวัดลำพูน) โดยมีนางชลภิรัตน์ แก้วมูล เป็นครูที่ปรึกษา ได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม (Technical Award)

4. นายรณชัย ทิมภินันท์ นักเรียน โรงเรียนหนองบัว สพม.เขต 42 (จังหวัดนครสวรรค์) โดยมี นางไพลิน ส่งวัฒนา เป็นครูปรึกษา ได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม (Technical Award)

ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวถึงผลการแข่งขันว่า เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่ สพฐ. เปิดโอกาส เปิดเวทีการแข่งขันให้กับเด็กๆ เพราะนอกจากเด็กเหล่านี้จะได้แสดงศักยภาพในระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศแล้ว ยังได้ออกมาสู่ระดับสากลมากยิ่งขึ้น ซึ่งเขาจะได้เรียนรู้ว่าเด็กในวัยเดียวกันซึ่งเป็นเด็กต่างชาตินั้น มีความสามารถและมีศักยภาพอย่างไร ซึ่งการแข่งขันหุ่นยนต์ในครั้งนี้ จัดขึ้นโดย คณะกรรมการหุ่นยนต์โอลิมปิคนานาชาติ (International Robot Olympiad Committee : IROC) ของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ในการแข่งขันครั้งนี้ เด็กต้องประกอบ สร้างหุ่นยนต์ เขียนโปรแกรม ตามโจทย์ที่กำหนดขึ้นในวันแข่งขัน ทีมหุ่นยนต์ไทยจึงแก้ไขปัญหาเฉพาะภายใต้เวลาจำกัด แต่เด็กไทยก็สามารถแก้ปัญหา ทำคะแนนได้ จนสามารถคว้ารางวัลเหรีญทองแดง และรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมมาครองได้สำเร็จ “สพฐ.ก็มี แผนที่จะพัฒนาต่อยอดศักยภาพของเด็กๆ ที่มีความสามารถในแต่ละด้าน ซึ่งมีหลายเวทีให้เด็กได้แสดงความสามารถทั้งด้านวิชาการ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงด้านวิทยากรใหม่ ๆ ซึ่งการแข่งขันไม่ได้หมายถึงการแพ้ ชนะ หรือต้องมาชนะเพียงอย่างเดียว เมื่อมาถึงเวทีเขาต้องเรียนรู้ในเรื่องของทักษะชีวิต ไม่ว่าผลจะแพ้หรือชนะ ในส่วนนี้ก็จะเป็นทักษะชีวิตที่ดี ที่เขาจะต้องนำไปใช้ในอนาคต

ทั้งนี้ คณะกรรมการหุ่นยนต์โอลิมปิคนานาชาติ (International Robot Olympiad Committee : IROC) กำหนดจัดงานแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ รายการ International Robot Olympaid 2019 : IRO 2019 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 16 -20 ธันวาคม ปีนี้ด้วย ” ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด กล่าว นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน อีก 7 หน่วยงานได้เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในรายการดังกล่าวและได้รับรางวัล อีก 15 รางวัล คือ 1 เหรียญทอง และ 14 รางวัลยอดเยี่ยม ( ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันหุ่นยนต์รายการ Robo Scholar รุ่น Junior โรงเรียนยโสธรพิทยาคม โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยธนบุรี โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ โรงเรียนอนุบาลสายสมร โรงเรียนนานาชาติอุดรธานี สถาบัน Smart Child Robotics นับเป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการส่งเสริมการพัฒนา ศักยภาพเด็กไทยด้านหุ่นยนต์ ในเวทีระดับโลก และขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาคนสู่ศตวรรษที่ 21 ให้เด็กไทยได้ใช้ทักษะ Coding ผ่านกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์อีกด้วย

การประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ : Best of the Best Practices “เพชรน้ำหนึ่ง สพม.2”

 

วันที่ 8 ตุลาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมสู่ Best Practice” และเยี่ยมชมให้กำลังใจคณะครู และผู้นำเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัด สพม.2 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ : Best of the Best Practices “เพชรน้ำหนึ่ง สพม.2” ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร

 

5 ส. สร้างนิสัย สนก. ก้าวไกลพัฒนา

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมทำกิจกรรม  5 ส “5 ส. สร้างนิสัย สนก. ก้าวไกลพัฒนา” เนื่องในวันคล้ายสถาปนา สพฐ. ครบรอบ 16 ปี นำโดยท่านผอ. สนก. (นายอโณทัย ไทยวรรณศรี) ผู้ชี่ยวชาญ สพฐ. (นางสาวสิริมา หมอนไหม และนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ) ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่ม และบุคลากร สนก. ทุกคน ร่วมกันทำกิจกรรม 5 ส. เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน บุคลากรให้มีความรู้้ความเข้าใจใน
หลักการ 5 ส. โดยการลงมือปฏิบัติจริง สร้างนิสัยของบุคลากรให้เกิดความเป็นระเบียบ มีความรับผิดชอบ วินัย ทำให้สภาพแวดล้อมในองค์กรมีความเหมาะสม ปลอดภัย เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน
อันจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในองค์กร

การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประกาศให้จัดงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยมีหลักการว่า   ในกรณีที่ต้องคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ จะเชิญผู้ได้รับรางวัลระดับชาติเข้าคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเฉพาะกิจกรรมเป็นรายกิจกรรมไป โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รับผิดชอบในกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. รวม ๑๖ กิจกรรม

การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศ ไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ โดยเปิดโอกาสให้กับทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. จากงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ทั้ง ๑๖ กิจกรรม  ใน ๔ ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น ๕๔ ทีม ซึ่งเป็นทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยี
ของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑  ใน ๔ ภูมิภาค จำนวน ๕๔ ทีม (๑ ทีม ประกอบด้วย นักเรียนผู้เข้าแข่งขัน ๓ คน และครูที่ปรึกษา ๑ คน) รวมทั้งสิ้น ๑๙๘ คน โดยทำการแข่งขันใน ๒๗ รายการแข่งขัน  เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติต่อไป โดยในปี ๒๕๖๒ การแข่งขันหุ่นยนต์ในเวทีระดับนานาชาติ จะจัดขึ้นในประเทศไทย จำนวน ๓ รายการแข่งขัน ได้แก่ ๑. การแข่งขันหุ่นยนต์ International Robotic Olympiad 2019 ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ๒.การแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Game ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี และ ๓. การแข่งขันหุ่นยนต์ International Robot Olympiad 2019 ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

โดยการจัดการแข่งขันครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ กำหนดเกณฑ์ ระเบียบ วิธีการจัดการแข่งขันให้ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ เพื่อคัดเลือกทีมตัวแทนประเทศไทยที่พร้อมทั้งในด้านความรู้ และทักษะ  การประกอบสร้างหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ เพื่อให้สามารถทำภารกิจ แก้ไขปัญหาตามโจทย์การแข่งขันในระดับนานาชาติ  โดย สพฐ. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมเป็นผู้สนับสนุนทีมหุ่นยนต์ไทยได้แสดงศักยภาพในเวทีระดับนานาชาติต่อไป
ภาพกิจกรรมเพิ่มเติมติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/obecrobot/

 

กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมโครงการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ

กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมโครงการลด และคัดแยกมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ
โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ได้มอบแก้วน้ำส่วนตัวให้กับบุคลากรกลุ่มบริหารทั่วไป ตามโครงการลด และคัดแยกมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ

สพฐ. ลงนามบันทึกข้อตกลง รร.คุณภาพประจำตำบล เพิ่มเติม 3 องค์กร พร้อมประชุมสรุปผลการเตรียมความพร้อม ระยะที่ 2

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในการประชุมปฏิบัติการสรุปผลการเตรียมความพร้อมโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระยะที่ 2 พร้อมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เพิ่มเติม ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

โดยมี พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารของ สพฐ. และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จ.ปทุมธานี
โครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบลเป็นโครงการที่เกิดขึ้นตามนโยบาย “1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” เป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจําตําบล ภายใต้แนวคิด “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบผ่านกระบวนการประชาคม 3 ระดับ คือ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 6,843 โรงเรียน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีความพร้อมเข้ารับการพัฒนา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคมและการสื่อสารสะดวก มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอนาคต ตลอดจนมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุน เพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและการบริหารการจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบผ่านกระบวนการประชาคมระดับอำเภอและรายงานระดับจังหวัด มีจำนวนทั้งสิ้น 1,140 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นมีโรงเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 7,983 โรงเรียน
ในอนาคตโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลจะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ได้รับความรู้กระบวนการและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ในส่วนของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ก็จะมีความพร้อมทั้งสมรรถนะ ศักยภาพ และความสามารถในการบริหาร การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนจะกลายเป็นต้นแบบโรงเรียนคุณภาพที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน และเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ทุกภาคส่วนให้การยอมรับ เชื่อมั่น และศรัทธาต่อคุณภาพของโรงเรียน ทั้งหมดนี้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตลอดจนมีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทยให้มีความมั่นคงที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้าน พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. ได้กล่าวว่า สำหรับภาพอนาคตของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบลที่เราจะพัฒนาร่วมกัน คือ เป็นโรงเรียนที่ให้โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีความเข้มแข็งด้านวิชาการ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬา ศิลปะ และจิตสาธารณะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพร้อมทางด้านกายภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุครุภัณฑ์ มีความสะอาดร่มรื่นปลอดภัย เป็นโรงเรียนที่เน้นการพัฒนาพื้นฐานด้านอาชีพ และการเป็นโรงเรียนของชุมชนที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นในการให้บริการโรงเรียนเครือข่ายและชุมชนอย่างเข้มแข็ง

สำหรับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้การดำเนินโครงการบรรลุตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายและการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากเดิม 7 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันนี้ได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพิ่มขึ้น 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยแต่ละหน่วยงานจะมีบทบาทหน้าที่ตามภารกิจและความรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งล้วนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการให้เกิดความเข้มแข็งและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์“เนื่องจากโรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงมีความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท โรงเรียนที่ได้รับ

การคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลจึงเปรียบเสมือนการได้รับโอกาสการยกย่องเชิดชูเกียรติยศและความรุ่งโรจน์ ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในระดับตำบลมีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษาตามนโยบาย 1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

โดยจะได้รับการส่งเสริมความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารการจัดการสถานศึกษาของภาคีเครือข่าย ที่เปรียบเสมือนดาว 5 ดวงซึ่งเป็นตัวแทนของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทยให้มีความมั่นคงเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป” รมช.ศธ. กล่าว

ภาพ/ข่าว : อัจฉรา ปชส.สพฐ.

จุดไฟคิดกับสิ่งประดิษฐ์เยาวชนไทย

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินการโครงการการจัดการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กิจกรรม การพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประประดิษฐ์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว ลำดับต่อไปจะดำเนินการประกวดในรอบสุดท้าย คือ การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดใหม่ในระดับประเทศ เพื่อคัดเลือกและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ ไปร่วมประกวดและจัดแสดง ในเวทีระดับนานาชาติ โดยพิจารณาคัดเลือกจากข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ที่โรงเรียนจัดส่ง เข้าร่วมประกวด จำนวน 229 ผลงาน ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกไว้ 50 ผลงาน และ ให้นักเรียนเจ้าของผลงาน ได้เตรียมการพัฒนาพร้อมจัดทำเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้เสร็จสมบูรณ์ และ เปิดโอกาสให้นักเรียนที่ได้รับการตัดสินชนะเลิศทุกช่วงชั้นในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยี ของนักเรียน ครั้งที่ 68 ประจำปี 2561 ระดับชาติ จากเวทีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ 3 ผลงาน และการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ 3 ผลงาน รวม 56 ผลงาน โดยในงานครั้งนี้ มีโรงเรียนตอบรับเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 47 ผลงาน  เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไปประกวดในเวทีระดับนานาชาติต่อไป

 

 

ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกไปให้นำเสนอในงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ

“วัสดุดูดความชื้นจากไส้ต้นมันสำปะหลัง” จากโรงเรียนสตรีพัทลุง สพม.เขต 12 จังหวัดพัทลุง  “นวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ Baked clay ball” สามัคคีวิทยาคม สพม.เขต 36 จังหวัดเชียงราย   “ฟองน้ำชีวภาพจากเกล็ดปลากะพงขาวในการดูดซับของเสียและโลหะมีพิษ” “วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช สพม.เขต 12 จัหวัดนครศรีธรรมราช  “ผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีน ไฮโดรไลเซทและสารสกัดจากสะเดาและ ใบแมงลักคาเพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทอง ในสวนผลไม้” โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย สพม.เขต 22 จังหวัดนครพนม “สื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา” วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก สพม.เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก “ประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลอง ที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ” โรงเรียนวัดทรงธรรม สพม.เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ  “ศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจาก ใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหา ดินร่วนป่นทราย” โรงเรียนดอนจานวิทยาคม สพม.เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์  “ไฟฉายอเนกประสงค์” อนุบาลเวียงแก่น สพป.เชียงราย เขต 4 จังหวัดเชียงราย “แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์”  และ “กรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน” โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สพม.เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การดำเนินการประกวดและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ในครั้งนี้ ส่งผลให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพการนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองได้อย่างเต็มภาคภูมิใจ  ครู นักเรียน ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับความรู้ และนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันไปสร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์นวัตกรรมทางความคิดผลงานสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่และได้ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ คุณค่า ความคิดสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ เป็นตัวแทนประเทศไปประกวดและจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีระดับนานาชาติต่อไป

 

รายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ดูไได้จาก เว็บไซต์ http://younginventors.inno.obec.go.th/?page_id=1322

และ facebook fanpage https://www.facebook.com/obecyounginventor/

บทเรียนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สร้างนักประดิษฐ์ ประกอบภาพยนตร์สั้น

คำชี้แจงวิธีการประเมิน
1. CLICK ดาวโหลด เพื่อแสดงหนังสือ FILE…จากบทเรียนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สร้างนักประดิษฐ์ ประกอบภาพยนตร์สั้น
2 กลับไป CLICK ที่แบบประเมิน
3 แบบประเมินมี 5 ระดับ ตั้งแต่หนังสือนำไปใช้ได้และมีประโยชน์ ระดับ 1 น้อยที่สุด จนถึง ระดับ 5 มากที่สุด คะ
และเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ คะ

“นวัตกรรมกักเก็บน้ำเลียนแบบสับปะรดสี” โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

 

“E-Bug หุ่นยนต์ปลูกพืชอัตโนมัติ” โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

 

“ชุดอุปกรณ์ตัดไม้หนาม” โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

 

“ถุงกระดาษไคโตซานดูดซับไขมันในอาหาร” โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

 

“Jigsaw Model” โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1