ภารกิจผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ สนก.

สพฐ. อบรมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และผลงานทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕

               สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และผลงานทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการ
การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ณ โรงแรมนูโว ซิตี้ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
               วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้
นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านและผลงานทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการ
การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕
                นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  ได้มอบหมายให้
นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้
                นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ได้ชี้แจงแนวทางเพื่อจัดทำผลงาน และจัดทำเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และผลงานทักษะวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕  จาก ๗ หน่วยงาน ประกอบด้วย
                ๑) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
                ๒) สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                ๓) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                ๔) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
                ๕) สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
                ๖) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ
                ๗) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                 ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๖ คน   นายพิธาน
พื้นทอง  นายธัญญา เรืองแก้ว นางสาวลาวัณย์ ตรีเนตร นายสมโชค คุณสนอง  นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ และนางลำใย สนั่นรัมย์ และคณะกรรมการ จำนวน ๘๐ คน ได้แก่  คณะกรรมการฝ่ายจัดทำผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน  ๖ ด้าน ครูผู้สอน และ
เจ้าหน้าที่ผู้แทนจาก ๗ หน่วยงาน จำนวน ๓๙ คน คณะกรรมการฝ่ายจัดทำผลงานทักษะวิชาการ นักวิชาการศึกษา และ ครู จำนวน ๑๖ คน คณะทำงาน จากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน ๒๕ คน รวมทั้งสิ้น ๘๖ คน
                 ผลการดำเนินงานครั้งนี้ จะนำเสนอในงานประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕ ต่อไป

การอบรมเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : International Mathematics And Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

ในวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. ได้รับเกียรติจาก
ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 :  International Mathematics And Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia ระหว่างวันที่ 26 – 29 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างเต็ม ตามศักยภาพโดยได้รับคำแนะนำ และสนับสนุนจากท่านผู้เชี่ยวชาญ ดังต่อไปนี้

  1. นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
  2. นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  3. นายปราโมทย์ ขจรภัย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  4. นายกำจัด คงหนู ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  5. นายวิทยา ศรีพันชาติ นักวิขาการศึกษาชำนาญการ

 

พิธีมอบถุงยังชีพพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00 น. นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีมอบถุงยังชีพพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับนักเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 พร้อมด้วย นายไพบูลย์ ศิริแสงตระกูล รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดร.ภูธร จันทะหงส์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และนายเตชินท์พัฒน์ โชติวัชรธนานนท์ ร่วมลงพื้นที่ติดตาม รายงาน สถานการณ์น้ำท่วมและมอบถุงยังชีพพระราชทาน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับ ครู นักเรียนและผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากสถานณการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ โดยมี นายนพคุณ ลัคนาวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 นายไพศาล ราตรี ผู้อำนวยการโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง ร่วมให้การต้อนรับ

 

 

สพฐ. เปิดเวทีแข่งทักษะวิชาการ โรงเรียน กพด. รอบระดับประเทศ

       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน กิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการ และการประกวดสถานศึกษาที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนดีเด่น ในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 รอบระดับประเทศ ณ ห้องแกรนด์พาร์ค โรงแรมเอวาน่า บางนา กรุงเทพฯ โดยนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธี
กลุ่มกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) มีโรงเรียนจำนวน 192 โรงเรียน 35 ห้องเรียนสาขา โดยมีวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด 6 ด้าน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ ฉบับที่ 5 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของการพัฒนาและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ได้พัฒนางานผ่านกระบวนการประกวดแข่งขัน ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับภูมิภาค จำนวน 4 ภูมิภาค โดยความร่วมมือของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และศูนย์บริหารการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ และระบบปฏิบัติการสนับสนุนการจัดการประกวดแข่งขันจากสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
นางสาวอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ว่า สพฐ.ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จึงมุ่งส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่
       1. ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
       2. ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
      3. เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
      4. เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
      5. ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      6. เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านการจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน
การประกวดแข่งขันในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 6 กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดแข่งขันกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน กิจกรรมทักษะวิชาการประเภทโครงงาน กิจกรรมวาดภาพ กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาไทย กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ และการประกวดสถานศึกษาที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิติเด็กและเยาวชนดีเด่น (สถานศึกษา)
มีผู้ร่วมการประกวดแข่งขันฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 103 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครู ผู้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันฯ จำนวน 92 คน และครูที่ปรึกษา จำนวน 86 คน และคณะทำงานจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน 69 คน รวมทั้งสิ้น 350 คน
 
ทีมประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจ เรื่อง/ภาพ

พิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2021 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

วันที่ 15 สิงหาคม 2565 นายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้นายภูธร  จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นประธานมอบรางวัลในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2021 ซึ่งเป็นการประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของปี 2564 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้ความสำคัญและร่วมเป็นพันธมิตรที่ดีในการสนับสนุนโครงการห้องเรียนสีเขียวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด  ทั้งการพัฒนากลยุทธ์และแนวทางความร่วมมือในเชิงนโยบาย การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนให้เป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการส่งเสริมให้ขยายผลจากสถานศึกษาสู่ภาคครัวเรือนและชุมชน ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

นายภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวว่า “ในวันนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นภาพความสำเร็จของทุกโรงเรียน ซึ่งเกิดมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือร่วมใจอย่างแท้จริงในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน สู่การสร้าง “สังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียว” หรือ Green Learning Society โดยมุ่งหวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคมไทย เพื่ออนาคตของลูกหลานไทยที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศของเรา ผมขอขอบคุณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและหน่วยงานพันธมิตร ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการห้องเรียนสีเขียว อันเป็นโครงการที่ดีเพื่อสังคม ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู นักเรียน และบุคลากรทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมในโครงการนี้ และขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัล สำหรับก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จ และจะเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาโรงเรียนและตนเองต่อไป”

 

องคมนตรี เปิดงานมอบห้องเรียนสีเขียว แก่ รร.สามเงาวิทยาคม สพม.ตาก

กฟผ. ดำเนินโครงการห้องเรียนสีเขียว ตั้งแต่ปี 2541 โดยมุ่งสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ปัจจุบันมีโรงเรียนในโครงการฯ จำนวน 484 แห่งทั่วประเทศ ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยในปี 2556 กฟผ. ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อนโครงการห้องเรียนสีเขียวในเชิงระบบและนโยบาย โดยสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมส่งเสริมพลังเยาวชนผ่านกิจกรรมชุมนุมห้องเรียนสีเขียว ตลอดจนขยายผลไปยังชุมชนโดยรอบ เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และในปี 2563 ได้พัฒนาต่อยอดจากห้องเรียนสีเขียวเดิม สู่ Smart Green Learning Room ที่มีสื่อเทคโนโลยีทันสมัย ทั้งในรูปแบบ Online และ On-site โดยเริ่มดำเนินการในกลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร จำนวน 15 แห่ง เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โรงเรียนสามเงาวิทยาคม เป็นโรงเรียนที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียวอย่างต่อเนื่อง กฟผ. จึงได้จัดตั้งห้องเรียนสีเขียวแบบ Smart Green Learning Room เพื่อให้โรงเรียนสามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้และกำหนดกิจกรรมบูรณาการเชื่อมโยงองค์ความรู้ บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์เยาวชนให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขยายผลสู่ครัวเรือนและชุมชนในวงกว้างอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียวที่ยั่งยืนต่อไป

ขอขอบคุณ ภาพ/ข่าว : ฤทัยกัญญา ชูทอง ประชาสัมพันธ์ สพม.ตาก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดการประชุมหารือการดำเนินงานโครงการร่วมกันในอนาคต

ในวันที่ 6 มิถุนายน 2565  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.อัมพร พินะสา พร้อมด้วย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร ในฐานะผู้ขับเคลื่อนโครงการคอนเน็กอีดี ภาครัฐ ร่วมประชุมหารือกับ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร. เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และคณะ ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความก้าวหน้า พร้อมหารือแนวทางการดำเนินโครงการในอนาคต ดังต่อไปนี้

  1. การดำเนินการสนับสนุนของ สพฐ. ในการจัดทางานวิจัยรูปแบบการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี กรณีศึกษา OTOP Junior ผู้ประกอบการน้อย ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จากัด (มหาชน)
  2. รายงานความก้าวหน้าของ โครงการ partnership ในส่วนการดำเนินการของ สพฐ.
  3. การดำเนินประกวด Win Win WAR วัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนนักเรียน อายุระหว่าง 9 – 14 ปี ที่มีความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้และนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ เข้าร่วมการประกวด เพื่อชิงทุนการศึกษา

ทั้งนี้ ผลการหารือร่วมกันระหว่าง สพฐ. และ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จะได้รับการสานต่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านโครงการคอนเน็กซ์อีดีต่อไป

การประชุมปฏิบัติการพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ภายใต้แผนการดำเนินงานการจัดทำบอร์ดเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง) ประธานพิธีเปิด และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สพฐ. ดร. อรนุช มั่งมีสุขศิริ ร่วมเป็นเกียรติการประชุมปฏิบัติการพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ภายใต้แผนการดำเนินงานการจัดทำบอร์ดเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา ระหว่างวันที่ 5 – 8  กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร

             

การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้เชิญผู้แทนศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา และ SDGs 5 ภูมิภาค โดยได้รับเกียรติจาก คุณวีณา นันทมนตรี ผู้จัดการโครงการอาวุโส สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนวิทยากรจาก TIPMSE คณะวิทยากรนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จาก Deschooling Game มาเป็นวิทยากรในการประชุมปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้บอร์ดเกมเป็นสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก่อให้เกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  และปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. ขับเคลื่อนการดำเนินงานการน้อมนำ พระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน การน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งให้แนวคิดการขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่เพิ่มภาระงานใหม่ให้กับสถานศึกษา ครู นักเรียน แต่เป็นการปรับการดำเนินงานให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก สร้างความรักและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพและเป็นพลเมืองดี ระหว่างวันที่ 21- 24 มิถุนายน 2565 การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้น  ณ ห้องประชุมสพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทั้งนี้ ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประธานคณะทำงานจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานการน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานเป็นการน้อมนำพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือ มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ-มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี
ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม วิถีคนดี คุณธรรมนำชีวิต หนึ่งนักเรียนหนึ่งอาชีพ  และจิตอาสาด้วยหัวใจ โดยจะลงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนนำร่อง 588 โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนพระราชดำริฯ  19 กลุ่มโรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันถอดบทเรียนและค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผล
กับโรงเรียนทั่วไป 29,265 โรงเรียน ในปีการศึกษาต่อไป

ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายบุญเลิศ  ค่อนสะอาด ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  นางลำใย สนั่นรัมย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล นางสาวพรเพ็ญ ทองสิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.สุวิทย์  บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อสารการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา คณะทำงานจากส่วนกลาง นักวิชาการศึกษา คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตามลำดับ

นักเรียนทุน “1+2+1” รุ่นที่ 1 รับโอวาทจาก เลขาฯ กพฐ. ก่อนเดินทางไปเรียนต่อ ณ ประเทศจีน

นักเรียนทุน “1+2+1” รุ่นที่ 1 รับโอวาทจาก เลขาฯ กพฐ. ก่อนเดินทางไปเรียนต่อ ณ ประเทศจีน

วันที่ 21 มิถุนายน 265 เวลา 13.00 น. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.อัมพร พินะสา เปิดโอกาสให้นักเรียนทุนโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา  ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เข้าพบและรับโอวาท ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องปฏิบัติการ DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา  ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ ม.สวนดุสิต และ ม.กวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนผ่านการพิจารณาเข้าร่วมโครงการ รุ่นที่ 1 จำนวน 35 คน โดยมีนักเรียนที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ จำนวน 3 คน ได้รับการพิจารณาทุนการศึกษาเต็มจำนวนระหว่างศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เข้าพบและรับโอวาท ดังนี้
1. นางสาวสุธาศิณี ชีวชิต โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
2. นางสาวรัชชประภา พิมพ์ทอง โรงเรียนมหาสารคามพิทยาคม
3. นางสาวศิริยุภา นนทสี โรงเรียนหนอกกี่พิทยาคม

โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนระดับมัธยมปลายในสังกัด สพฐ. ที่มีความเป็นเลิศในด้านทักษะภาษาจีน และสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ให้ได้รับทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ รวมทั้งนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ขณะนี้ สพฐ. อยู่ระหว่างรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ 098-2946916 หรือ  www.tcas.dusit.ac.th

 

 

 

 

 

การอบรมผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 รอบเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2565

เมื่อวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2565 – สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี  จัดอบรมออนไลน์หลักสูตรผู้นําด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ ปี 2565 ให้แก่ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 (รอบเพิ่มเติม) นำโดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดการอบรม และ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. กล่าวชี้แจงบทบาทหน้าที่ ICT Talent ภาครัฐ เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมด้วยคุณกรกช นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยเลขานุการ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี กล่าวภาพรวมในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และคณะทำงานมูลนิธิฯ กล่าวถึงภาพรวมโครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ และแนะนำระบบ School Management System

โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ว่าที่ ICT Talent ภาครัฐ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และต่อยอดในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และคุณครูในโรงเรียน โดยมีหัวข้อการอบรม อาทิ
• สื่อและแพลตฟอร์ม ICT เพื่อการศึกษา : คุณศักดิ์สิทธิ์ ปิติพงศ์สุนทร
ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย CSR Project ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และคุณสุธีรา ทันสมัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อทรูปลูกปัญญา บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
• ความสำคัญของวิทยาการคำนวณในโรงเรียน : รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• การใช้ Technology ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับ Active Learning : อาจารย์จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ครูรางวัลเจ้าฟ้าสมเด็จมหาจักรีฯ

อีกทั้ง ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ร่วมกล่าวปิดการอบรมในครั้งนี้ ทั้งนี้ว่าที่ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 ที่ผ่านการอบรม จะมีการประกาศแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตต่อไป

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และบรรยายพิเศษให้กับคณะกรรมการฯ เข้าร่วมการประชุม ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี