Uncategorized

การประชุมปฏิบัติการจัดทำ Best Practice ของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(วนบ.) นำทีมโดย ดร.ธัญญานันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำ Best Practice ของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 9 – 11 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรม บางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของผู้ที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 จำนวน 50 โรงเรียน โดยผู้สนับสนุน 12 หน่วยงาน เพื่อนำมาเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นได้นำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อไป โดยการประชุมครังนี้ได้รับเกียรติจาก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้สนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนาจากภาคเอกชน ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน

สพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565

สพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565

 

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จตุจักร กรุงเทพมหานคร ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดค่ายแรก โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2565 และกล่าวรายงานแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ต่อ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ประธานในพิธีเปิดถึงภาพความสำเร็จและแนวทางในระยะต่อไปในการดำเนินงานโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ ที่ได้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

 

หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้น ในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมค่ายที่ภาคีเครือข่ายรับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละฐาน โดยมีคณะครูและนักเรียนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมค่ายได้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning มาบูรณาการในทุกกระบวนการเพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากแหล่งศึกษาธรรมชาติจริงในพื้นที่ และสามารถนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง โดยโครงการค่ายฯในระดับเขตพื้นที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565

 

 

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ : รักษ์พงไพร

 

สพฐ. เดินหน้าเฟ้นหา “นวัตกรรมคณิตคิดเร็ว” สู่การต่อยอดนวัตกรรมคุณภาพแห่งอนาคต

สพฐ. เดินหน้าเฟ้นหา “นวัตกรรมคณิตคิดเร็ว” สู่การต่อยอดนวัตกรรมคุณภาพแห่งอนาคต

     สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนด้านคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงบูรณาการ (คณิตคิดเร็ว) เมื่อวันที่ 10 – 12 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเบลล่า บี จังหวัดนนทบุรี

     การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและพิจารณา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนด้านคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมคณิตศาสตร์เชิงบูรณาการ (คณิตคิดเร็ว) ซึ่งมีผู้บริหารสถานศึกษา ครู ให้ความสนใจส่งนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนด้านคณิตศาสตร์เข้าร่วมการพิจารณา จำนวนถึง 314 นวัตกรรม

    โดยคณะกรรมการได้จำแนกระดับคุณภาพของนวัตกรรมฯ ออกเป็นนวัตกรรมฯ ระดับยอดเยี่ยม ระดับดีเด่น และระดับดี เพื่อมอบเกียรติบัตร และต่อยอดสู่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมฯ ในอนาคต รวมถึงการสร้างคลังนวัตกรรมออนไลน์เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ อันนำไปสู่การยกระดับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป

 

ทีม “AL Hero” เข้าร่วมการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022

การแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 การหานวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
(Learning Loss)

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
นำทัพทีม AL Hero เข้าร่วมการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 เพื่อเฟ้นหา สร้างสรรค์ นวัตกรรม
เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2565
ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งงานครั้งนี้จัดขึ้นโดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
เรียกได้ว่าเป็นการจัดแข่งขันในรูปแบบใหม่ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ในวันแรกของการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022
ได้รับเกียรติจาก ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการแข่งขัน
ซึ่งได้กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการจัดแข่งขันครั้งนี้ว่า
“นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยนักเรียน
ที่เกิดปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หรือ Learning Loss
จากการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงมีนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จับมือกับเครือข่ายครูรุ่นใหม่
และภาคเอกชนที่ให้ความ สำคัญเรื่องการศึกษา รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech)
เพื่อเฟ้นหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss
ที่สามารถนำไปขยายผลการทำงานร่วมกันในอนาคต”
โดยการใช้วิธีการ Hackathon ที่เป็นการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน
ที่จะทำให้ได้คำตอบของปัญหาอย่างรวดเร็ว
นั่นคือ วิธีการแก้ปัญหาและการนำวิธีการแก้ปัญหาไปขยายผลสู่ความสำเร็จต่อไป

 

 

นอกจากนี้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รู้จักและเข้าใจปัญหา Learning Loss โดยใช้กระบวนการ Brainstorm เพื่อระดมความคิด การคิดอย่างสร้างสรรค์ ฝึกฝนการนำเสนอผลงาน  และการได้รับฟังไอเดียจากทีม Show case ทั้ง 12 ทีม รวมไปถึงได้รับชี้แนะจาก Mentor ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมของกลุ่มตนเองได้ และในการแข่งขัน Mini Hackathon 2022 มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 9 ทีม แบ่งย่อยเป็นประเด็นที่จะมาร่วมกัน Hack ดังนี้

  1. Family Engagement Track
  2. Knowledge Track
  3. Social-Emotional/Well Being Track

 

 

เมื่อเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 9 ทีม
ได้ใช้เทคนิคการ Pitching ในการนำเสนอนวัตกรรมของตนเอง
หลังจากการ Pitching จบลง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ซักถามผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีม
พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการต่อยอดไอเดียเพื่อสร้างนวัตกรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

ทั้งนี้ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินและเป็นผู้มอบเงินรางวัลให้ทีมชนะเลิศ
รวมถึงกล่าวปิดการแข่งขัน “MOE Mini Hackathon 2022
การหานวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss” ในครั้งนี้

 

 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : OBEC Active Learning

โครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินงานโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนผลิต พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านงานอาชีพและผลิตภัณฑ์นักธุรกิจน้อย จึงกำหนดการคัดเลือกนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนาทักษะการอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 31 มีนาคม 2565

รายละเอียด
1.โครงการ
2.แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดเลือก
3.ใบสมัคร
หนังสือราชการ

ตรวจสอบชื่อนวัตกรรมและใบสมัครที่ส่งเข้ามา

สมัครคลิกที่นี่!
*หมายเหตุ : จัดส่งเล่มผลงานนวัตกรรมฯ จำนวน 3 ชุด ตามที่อยู่ดังนี้ 
           กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 
           (โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์)  
           เลขที่ 319 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300

พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 21 มกราคม 2565

พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 21 มกราคม 2565

 

 

วันที่ 20 มกราคม 2565 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา จากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ในรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 -21 มกราคม 2565 ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรผู้ทรงวุฒิหลายท่าน ได้แก่ ว่าที่ร้อยเอกพลปชา  มณรัตนชัย อาจารย์สุพัชชา  ทัพสัพ  คุณพิชิตศึก  จันทนากูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจน์ศิรินทร์  ลิมปินันทน์  คุณปรัชญา  มาตรสงคราม และดร.ก้องเกียรติ  หิรัญเกิด ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Cloud Meeting

 

 

 

การอบรมการใช้งานสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์ การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 24 – 27 มกราคม 2565

การอบรมการใช้งานสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 24 – 27 มกราคม 2565

(ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตชุดสื่อโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ)

ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมการใช้งานสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Zoom Cloud Meeting มีระยะเวลาการอบรมตั้งแต่วันที่ 24 – 27 มกราคม 256 ทั้งนี้ท่านได้มอบแนวคิดสำหรับการนำสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการอบรมได้แบ่งเป็นภูมิภาค จำนวน 7 รุ่น ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายโรงเรียนคุณภาพในระดับประถมศึกษา จำนวน 302 โรงเรียน ทั่วประเทศ ดังนี้ 1) ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก : รุ่นที่ 1 ในวันที่ 24 มกราคม 2565 รุ่นที่ 2 และ รุ่นที่ 3 ในวันที่ 25 มกราคม 2565 2) ภาคเหนือ และภาคใต้ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 26 มกราคม 2565 และ 3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 27 มกราคม 2565

 

 

โดยการอบรมเน้นการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) ที่เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ระดับปฐมวัย (อนุบาล 2 ถึง อนุบาล 3) และระดับประถมศึกษา (ป.1 ถึง ป.3) สำหรับสื่อวิดีทัศน์การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์วิถีใหม่ ในระดับประถมศึกษา (ป.4 ถึง ป.6)

ผลงานจากอาจารย์ผู้เข้าร่วมอบรม

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการออกแบบการเรียนรู้ พัฒนาวิทยากรแกนนำ และคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรม Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต สู่ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรม Microsoft Teams)

เมื่อวันที่ 18 – 22 มกราคม 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการออกแบบการเรียนรู้ พัฒนาวิทยากรแกนนำ และคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรม Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต สู่ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรม Microsoft Teams) ภายใต้โครงการนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์และสังเคราะห์สาระการเรียนรู้สำคัญ Webinar ปฏิทินวันสำคัญการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ 12 เดือน  (2) วางแผนการดำเนินงาน ออกแบบ และจัดกิจกรรมWebinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่  (3) สร้างระบบปฏิบัติงานในรูปแบบออนไลน์ เพื่อควบคุมคุณภาพและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศตลอดกิจกรรม  (4) พัฒนาวิทยากรแกนนำให้มีองค์ความรู้ในการดำเนินกิจกรรม Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ และ (5) จัดทำแนวทางพัฒนานวัตกรรม และต่อยอดการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์วิถีใหม่ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงานคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ คณะทำงานส่วนกลาง คณะทำงานส่วนภูมิภาค และผู้เกี่ยวข้อง

กิจกรรมในการประชุมประกอบด้วย การชี้แจงกรอบการดำเนินงาน 12 เดือน  Webinar โดย ผอ.ณัฐชยา เม็นไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรจากพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๑ (Museum Thailand) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การ Workshop ร่วมกับบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และการฝึกซ้อมกิจกรรม 12 เดือน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่

การประชุมสร้างความเข้าใจในการประเมินโรงเรียนภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ดำเนินการจัดประชุมออนไลน์สร้างความเข้าใจในการประเมินโรงเรียนภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Google Meet) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะทำงานและผู้สนับสนุนโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) จำนวนรวม 65 คน การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานการประชุมดังกล่าว

การอบรมออนไลน์ “ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภาครัฐ” (OBEC ICT Talent) รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2564

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED จัดการอบรมออนไลน์ “ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภาครัฐ” (OBEC ICT Talent) รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ผ่านโปรแกรม VRoom โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพผู้นำไอซีที เตรียมความพร้อมการนำองค์ความรู้ไปผลักดันให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและนักเรียนในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี สามารถใช้สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอน โดยการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เป็นประธานในการเปิดพิธีการเปิดพิธี และท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เป็นประธานในการปิดพิธีการอบรม

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่ม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายยงยุทธ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต1 เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพร โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสมบูรณ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ห้วยกลุ่ม บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ลำปาว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์อุบลราชธานี (น้ำยืน) บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษายโสธร ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 และสพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมผืนป่าดงนา ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้แนวคิดของพ่อ สานต่อคำของแม่” กิจกรรมเทียนบูรณาการ 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ/Nature Game กิจกรรมรักษ์พงไพร..หัวใจยูทูปเบอร์ กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก”พร้อมทั้งมีการเสวนาประสาคนรักษ์พงไพร เป็นต้น

สำหรับแนวคิดการขับเคลื่อนโครงการฯ ของเครือข่ายเชิงพื้นที่ (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ มุ่งเน้นกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1) กิจกรรม 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) 2) กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และ3) กิจกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม เป็นหลัก แล้วนำส่วนอื่นๆ มาบูรณาการ โดยทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกส่วนงาน อาทิ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา บุคลากรจากเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือผู้แทนที่เคยเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ ตั้งแต่ปีที่ 1-6 ซึ่งจะมีการประชุมวางแผนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ แบ่งส่วนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนสามารถต่องานกันได้ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปแนวทางเดียวกันและเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal)

ท้ายที่สุด ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ใครเล่าจะรู้เท่าคนในพื้นที่เราเอง” นั่นคือ เราต้องเริ่มจากตัวเราเองที่รักและหวงแหนในทรัพยากรกรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ใกล้บ้านเรา ในชุมชนของเรา เริ่มจากจุดเล็กที่เราสามารถทำได้

การประชุมปฏิบัติการวางแผนการเก็บข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ภายใต้กรอบงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ ระหว่างวันที่ 17 – 19 มกราคม 2563 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา กรุงเทพมหานคร

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. จัดการประชุมปฏิบัติการวางแผนการเก็บข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ภายใต้กรอบงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ ระหว่างวันที่ 17 – 19 มกราคม 2563 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจของคณะทำงานเก็บข้อมูลเชิงลึกก่อนลงพื้นที่ วางแผนและเตรียมความพร้อมคณะทำงานเก็บข้อมูลเชิงลึกในแต่ละพื้นที่ พร้อมกำหนดเวลาในการลงเก็บข้อมูลเชิงลึกในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญสำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิด