Uncategorized

การประชุมปฏิบัติการเติมเต็มศักยภาพโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการเติมเต็มศักยภาพโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ เมื่อวันที่ 19 – 21 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุม มีจำนวนทั้งสิ้น 96 คน ประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สพฐ. วิทยากร ศึกษานิเทศก์ผู้ประสานงานด้านวิจัยและนวัตกรรมระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้รับผิดชอบโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือก จำนวน 52 คน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องได้รับการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน และได้รับการพัฒนาเติมเต็มศักยภาพการดำเนินงานโครงการ พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการให้สามารถดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับการเติมเต็มความรู้ เรื่อง การวิจัยศึกษาตนเอง (Self study Research) สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยทีมวิทยากร 1) ผศ.ดร.มาเรียม  นิลพันธุ์  คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 2) ผศ.ดร.รุจิราพร รามศิริ  อาจารย์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 3)นายประจักษ์ น้อยเหนื่อย  ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และได้มีการแบ่งกลุ่มให้นำเสนอข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีทีมศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) นางสาวรัตนทิพย์ เอื้อชัยสิทธิ์  ผู้ทรงคุณวุฒิ สพฐ. 2) นางสาวอมรทิพย์ เจริญผล ผู้ทรงคุณวุฒิ สพฐ. และ 3) นางดวงใจ บุญยะภาส รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ให้การเติมเต็มกิจกรรม กระบวนการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการเพื่อให้มีความสมบูรณ์ และสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในวันสุดท้ายของการประชุมได้รับเกียรติจากท่าน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สพฐ. มาเติมเต็มคุณค่าความเป็นครู..สู่รางวัลครูสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 2 รางวัล ในการแข่งขัน All-Russian Mathematical Olympiad ครั้งที่ 49

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นำทีมผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันการแข่งขัน All-Russian Mathematical Olympiad ครั้งที่ 49
ร่วมกับทางเจ้าภาพ และประเทศอื่นๆ ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร
การแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ โดยมีสหพันธรัฐรัสเซียเป็นประเทศเจ้าภาพ มีผู้แทนนักเรียนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 4 ประเทศทั่วโลกคือ สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย
รวมทั้งสิ้น 481 คน โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 6 คน แบ่งกิจกรรมการแข่งขันเป็น 3 ระดับ
ละ 2 คน (Grade 9-10) ดังนี้

1. การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 9
2. การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 10
3. การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 11

ผลปรากฏว่าผู้แทนนักเรียนไทย ได้รับรางวัลจำนวน 2 รางวัล รายละเอียด ดังนี้

การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 9 นักเรียนได้รับรางวัลจำนวน 1 คน

  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 10 นักเรียนได้รับรางวัลจำนวน 1 คน

  1. เด็กชายเอกกวิน วิเศษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รุ่นที่ 1

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รุ่นที่ 1 อบรมครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัด สพป. ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2566 จำนวน 300 คน ในรูปแบบออนไลน์ และได้รับเกียรติจาก ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมดังกล่าวการอบรมครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยงาน ภายใต้ความร่วมมือ โครงการส่งเสริมการศึกษาด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เกิดความตระหนัก มีองค์ความรู้เรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วภายหลังการบริโภคตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นกำลังในการวางรากฐานการศึกษาสู่เป้าหมายการสร้างสังคมแห่งการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้านสื่อการเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมและในส่วนที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยมีคณะทำงาน จำนวน 48 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้อง

   

ประชาสัมพันธ์โครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ประจำปี ๒๕๖๖ ส่งคลิปประกวด ความยาวไม่เกิน ๓ นาที หัวข้อ “วันดูแลโลก : บ้านส่วนรวมของเรา” สามารถสมัครเข้าร่วมประกวดได้ที่ www.นวัตกรรมรักษ์โลก.com ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ถึง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖

ประชาสัมพันธ์โครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ประจำปี ๒๕๖๖ โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่สนใจเข้าร่วมส่งคลิปประกวด ความยาวไม่เกิน ๓ นาที หัวข้อ “วันดูแลโลก : บ้านส่วนรวมของเรา” ทั้งนี้ สามารถสมัครเข้าร่วมประกวดได้ที่ http://www.นวัตกรรมรักษ์โลก.com ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ถึง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖

ดาวโหลดหนังสือราชการ คลิกที่นี่

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 3 และอบรมต่อยอดวิทยากร

ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) ดำเนินการจัดการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 3 และอบรมต่อยอดวิทยากร ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ ถนนรัชดา กรุงเทพฯ

โดยวัตถุประสงค์การอบรมในครั้งนี้มีเพื่อพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับผู้บริหารสถานศึกษา ให้มีองค์ความรู้ตามเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสถานศึกษาศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สถานศึกษาได้

ทั้งนี้ ในการอบรม ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการอบรมและมอบโอวาทเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ วิทยากรการอบรม จำนวน 14 ท่าน และมีผู้บริหารสถานศึกษาเข้าร่วมการอบรม จำนวน 91 ท่าน  ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับองค์ความรู้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สถานศึกษาได้ต่อไป

การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2

ในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 – 11 เมษายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมดังกล่าว จำนวน 100 คน/รุ่น

และได้รับเกียรติจาก ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมการอบรม และให้ทราบถึงแนวนโยบายในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการแก่ผู้เรียน และสร้างผู้เรียนสู่ผู้ประกอบการ ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ศูนย์ CEC ในระดับพื้นที่ นั้น

ทั้งนี้ การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ได้รับเกียรติวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจ โดยบูรณาการเข้ากับความรู้ความเข้าใจทางด้าน STEAM เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีมิติของการประกอบธุรกิจนวัตกรรมอยู่ด้วยอย่างสมบูรณ์ พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีประสบการณ์ด้านอาชีพ ในเรื่องการดำเนินการด้านธุรกิจในการเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม เหมาะสมกับวัย ต่อยอดการจัดการเรียนรู้งานอาชีพของครู โดยการสร้างแนวคิดใหม่และพัฒนารูปแบบการสอนงานอาชีพในโรงเรียนให้นักเรียนเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ เชิงพาณิชย์ ผลิตเองได้ และขายได้อย่างครบวงจร พัฒนาขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานต่อยอดผลิตภัณฑ์ของครูและนักเรียน โดยความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประเทศชาติ    

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 2 และอบรมต่อยอดวิทยากร

ในระหว่างวันที่ 2 – 5 เมษายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) ดำเนินการจัดการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 2 และอบรมต่อยอดวิทยากร ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ ถนนรัชดา กรุงเทพฯ

โดยวัตถุประสงค์การอบรมในครั้งนี้มีเพื่อพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ ให้มีองค์ความรู้ตามเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้

ทั้งนี้ ในการอบรม ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการอบรมและมอบโอวาทเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ วิทยากรการอบรม จำนวน 15 ท่าน และผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 98 ท่าน โดยประกอบไปด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับองค์ความรู้ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้ต่อไป

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคใต้ ณ โรงแรมไดมอนด์ สุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจากนายสำรวย ภักดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

โดยการอบรมฯ ครูภาคใต้ครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 2 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

สมัครเข้าร่วมโครงการรถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย (Smart School Bus)

สมัครเข้าร่วมโครงการรถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย (Smart School Bus)


การสมัครใช้ รหัสโรงเรียน 10 หลัก ในการ Login ทั้งสองช่องเหมือนกัน
หากไม่ทราบให้คลิกที่ติดต่อสอบถาม

หนังสือแนบ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑) พัฒนาระบบสารสนเทศแบบ Real Time และพื้นที่แลกเปลี่ยนแบ่งปันนวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์

๒) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้และกลไกการต่อยอดขยายผลชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ Learning Community สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๓) สร้างเครื่องมือในการสื่อสารเนื้อหาวิชาการ (Content) ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในรูปแบบที่น่าสนใจและทันสมัยทางสื่อสังคมออนไลน์

๔) ออกแบบงานสัมมนาวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ ๒๑ เชิงสร้างสรรค์ ทันสมัย และมีคุณค่า

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อนันต์  พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองบริบทเชิงพื้นที่ ภายใต้จุดเน้น สพฐ.” โดยได้กล่าวถึงประเด็นการจัดการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จว่า ครูคือบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษา สพฐ. เล็งเห็นว่าการสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับครู เป็นการสร้างพื้นที่ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงแสดงศักยภาพ ครูได้นำสิ่งที่ได้จากประสบการณ์มาร่วมแบ่งปันซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี  และเมื่อกล่าวถึงเรื่องนวัตกรรมการศึกษา ดร.อนันต์ พันนึก ได้ยกแนวคิดของ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเชิงบริบทของพื้นที่ สพฐ. ไม่สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองทุกความแตกต่างของพื้นที่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนจึงต้องมาจากวิธีการที่แตกต่างกันและเหมาะสมตามบริบทพื้นที่นั้น ดังนั้น สพฐ. จึงดำเนินโครงการนี้ เพื่อเป็นเวทีให้คนเก่งที่มาจากบริบทที่ต่างกัน ได้มา Learn Care Share Shine เพื่อดึงครูที่มีศักยภาพมาขายความคิด และให้เพื่อนครูได้เสริมเติมต่อสิ่งดีๆ จากรุ่นสู่รุ่นต่อไป

FACEBOOK : OBEC Active Learning
FACEBOOK : Learning OBEC

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 1

วันที่ 27 สิงหาคม 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. โดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม ดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ ๑ รุ่นที่ ๑ ณ โรงแรมรอแยล เบญจา สุขุมวิท 5 กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ เข้ารับการพัฒนาองค์ความรู้ตามเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้

โดยการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 80 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการศึกษา ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564 “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564  “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ระหว่างวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร โดยรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย มอบนโยบายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. และดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS: Express Moral Service) ประมินผลการรายงานผลโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การประกาศผลเพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติต่อไป