Uncategorized

การประชุมเตรียมการโครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เดือนมกราคม 2567 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัวแทน UNESCO – Huawei ได้ประสานงานโครงการฯ กับหน่วยงานหลายหน่วยงาน เช่น อาชีวศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อเสนอโปรเจ็ค Green – Cool และอธิบายรายละเอียดของโปรเจ็คเป็นการบริจาคอุปกรณ์โซล่าเซลล์ให้กับโรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียน

ซึ่งอุปกรณ์ที่จะแจกให้กับโรงเรียนมีมูลค่า 500,000 – 1,000,000 บาท โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอชื่อโรงเรียนไปยังทางโครงการฯ อีกทั้งทางโครงการจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบคุณสมบัติของโรงเรียนที่จะรับบริจาคเพื่อดำเนินโครงการต่อไป

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ร่วมกับองค์กรเครือข่าย ประชุมขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการ ต่อยอดเยาวชนไทยสู่สากล ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนักวิชาการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทย ในระดับสากล ประกอบด้วย นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นางสาวธัญชนก ชวาลวณิชชัยนางสาวสุภาพร  ทองร้อยชั่ง นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ และนายณัฐศาสตร์ ส่องแสงเข้าร่วมการประชุมขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาศักยภาพทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ซึ่งเป็นโครงการที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยที่นำเสนอบทเรียนและกิจกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดและโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ ในหัวข้อเนื้อหาที่ตรงตามมาตรฐานสากลยุโรป CEFR พร้อมรับคำชี้แนะแบบรายบุคคลจากผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (Edsy AI Speaking Coach) จนมีพัฒนาการที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ นำทีมโดย ดร.ณพล รัชตสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการศึกษา (AI in Education) จาก Human-Computer Interaction Institute (HCII) ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ประเทศสหรัฐอเมริกาและทีมวิจัยพัฒนาระบบแอพพลิเคชั่น โดยหารือวางแผนแนวทางนำร่องเริ่มใช้ แอพพลิเคชั่นที่พัฒนากับนักเรียนในสังกัด สพฐ. โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย สิทธิการใช้งานและระยะเวลาการใช้งานในโครงการกี่ปี เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานและพัฒนาการของนักเรียนหลังจากใช้งานแอพพลิเคชั่น แล้วนำผลวิจัยและข้อเสนอแนะที่ได้มาพัฒนาระบบต่อไป

ทั้งนี้ ภายหลังการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในระยะแรกเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย องค์กรเครือข่ายต่าง ๆ จะร่วมกันการขยายผลการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน และครู ในโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป

“สนก. ส่งนักเรียนไทยเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรม Chinese Language and Chinese Film and Television Culture ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน”

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทั้ง 2 คน ได้แก่
1. นางสาวอพัชชา นามคำ โรงเรียนเลิงนกทา สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร
2. นางสาวปรีชญาณ์ สงค์ประเสริฐ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สพม.นครศรีธรรมราช

ผู้ได้รับทุนการศึกษา ค่าเล่าเรียน ค่าที่พักตลอดหลักสูตร และค่าประกันภัย เพื่อเดินทางเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรม Chinese Language and Chinese Film and Television Culture ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 – 15 มกราคม 2567 ณ Huazhong University of Science and Technology (HUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน

ทุนการศึกษาดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) และ MalishaEdu Thailand ในการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมนำร่อง “OBEC One Belt One Road” ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล (LORD OBEC) ประจำปี พ.ศ. 2567
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหานักเรียนที่มีทักษะภาษาจีนเบื้องต้น มีทัศนคติที่ดี และมีความพร้อมในการเข้าร่วมโปรแกรมระยะสั้น ที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางภาษา รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายเกี่ยวกับงานด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อันเป็น Soft Power สำคัญที่กำลังได้รับความนิยมและมีอิทธิพลต่อวงการบันเทิงของโลกในอนาคต โดยนักเรียนทั้งสองคนออกเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมืองในวันที่ 29 ธันวาคม 2566 เวลา 07.05 น. โดยมี ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เดินทางไปร่วมแสดงความยินดีเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการเดินทาง

“กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกับองค์กรเครือข่าย จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “How to Increase Your Chances of Getting Into a Top UK University” ภายใต้โครงการทุนการศึกษา iConnect OBEC Schorlarship ประจำปี 2567”

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) โดยโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ร่วมกับ CATS Global Schools และ ConnectED จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “How to Increase Your Chances of Getting Into a Top UK University” (ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหราชอาณาจักร)
ณ Event space 37th Floor JustCo One City Centre งานสัมมนาในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อการให้ความรู้
และประสบการณ์แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาในโรงเรียนมัธยมของประเทศไทย และสหราชอาณาจักร รวมถึงเทคนิคการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่ต้องการไปศึกษาต่อ
ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ โดยมี ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กร
แห่งการเรียนรู้ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล คุณเกล็ดเพชร สุมนพันธุ์ ผู้แทนจาก CATS Global Schools
และคุณพศิษฐ์ พิพิธดิศพงษ์ ผู้แทนจาก ConnectED ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ
จำนวนทุนการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนโครงการในปี พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติ
จาก Mr.Phil Harwood รองผู้อำนวยการโรงเรียน CATS Cambridge ซึ่งเดินทางมาจากสหราชอาณาจักร เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล รวมถึงการดูแลชีวิตความเป็นอยู่
ของนักเรียนภายใต้โครงการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียน ที่กำลังจะเข้าสู่โครงการในปี 2567 โดยโครงการทุนการศึกษา iConnect OBEC Scholarship ประจำปี 2567 ได้เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการแล้วตั้งแต่วันนี้ – มีนาคม 2567 และทำการสอบคัดเลือก พร้อมทั้งประกาศรายชื่อนักเรียนทุนในช่วงเดือนเมษายน 2567 ต่อไป

“พลิกโฉมโรงเรียนสร้างต้นแบบนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียนแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps”

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้กำหนดจัดการประชุมทางวิชาการและประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “พลิกโฉมโรงเรียนสร้างต้นแบบนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียนแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps” ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ โรงแรมอัลวาเรซ (Alvarez Hotel) จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้การจัดการศึกษาของ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปตามนโยบายของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ‘เรียนดี มีความสุข’  ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข และส่งผลต่อการลดภาระนักเรียน ลดภาระครู ลดภาระผู้ปกครอง ตามนโยบายได้อย่างแน่นอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดภาระของครูและของนักเรียนจะทำให้ครูมีเวลาในการสอนให้เด็กเกิดกระบวนการคิดได้มากขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นคนคิดและมีเหตุผลมากขึ้น”

นายศุภสิน ภูศรีโสม กล่าวว่า “ตนมองว่าการสอนด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เป็นนวัตกรรมที่ส่งผลต่อนักเรียนได้มาก เนื่องจากเป็นการสอนแบบActive Learning ที่ฝึกกระบวนการคิดของเด็กทำให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออก  ทำให้เกิดการคิดและการต่อยอดซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมทั้งของครูและของนักเรียน ทำให้นักเรียนในอนาคตมีทักษะกระบวนการคิดชั้นสูงได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคต สพฐ.คงต้องขยายผลการเรียนการสอนรูปแบบนี้ให้มากขึ้น หรืออาจจะนำหลักการสอนแบบนี้ไปลงในแพลตฟอร์มของ สพฐ. หรือ ส่งเสริมให้ศึกษานิเทศประจำเขตพื้นที่การศึกษาไปขยายผลให้ครูได้นำไปใช้ต่อไป เชื่อมั่นว่าการเรียนนการสอนแบบนี้จะได้รับความนิยมมากขึ้น ที่ผ่านมาสำนักพัฒนานวัตกรรมฯ ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งสามารถสร้างนวัตกรรมครูในหลายโรงเรียน จนสามารถเป็นต้นแบบที่จะนำไปเผยแพร่ทั่วประเทศได้ ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะการฝึกกระบวนการคิดเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากคนคิดเป็นถึงจะทำเป็น คนคิดได้คิดเป็นถึงจะคิดถูก ถ้าคิดไม่เป็นคิดไม่ได้ก็คิดไม่ถูก เมื่อคิดไม่ได้คิดไม่ถูกก็ทำไม่เป็น ก็แก้ปัญหาไม่เป็น เพราะฉะนั้นการคิดเชิงเหตุผลจะนำไปสู่การต่อยอดเชิงเหตุผล เชิงระบบได้อย่างแน่นอน”

ประชาสัมพันธ์โครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก”

ประชาสัมพันธ์ให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่สนใจเข้าร่วมส่งคลิปวิดิโอ ในหัวข้อ “Pathway to Net Zero: Our Common Home (v. 1.0)” ความยาวไม่เกิน 3 นาที สามารถสมัครเข้าร่วมประกวดได้ที่ https://www.xn--12caa1fta4cnabvo5a0hg1xtf.com/ ตั้งแต่วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน – วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2566
สามารถดาวน์โหลดหนังสือราชการที่ หนังสือราชการ

สพฐ. ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ประจำปี 2566

วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มอบหมายให้ นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ผอ.สนก.) พร้อมด้วย นายฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วพร.สนก.) ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ประจำปี 2566 โดยมี นางสาวนันทมาศ ฉัตราภรณ์ ผู้แทนจาก สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย นางสาวเกล็ดเพชร สุมนพันธุ์ ผู้แทนจาก CATS Global Schools นายพศิษฐ์ พิพิธดิศพงษ์ ผู้ประสานข้อมูลนักเรียน ผู้แทนจาก คอนเน็ค เอ็ด (ConnectED) นักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา และผู้ปกครอง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เท่าเทียมกับการจัดการศึกษาในระดับนานาชาติและต่อยอดนักเรียนที่มีความรู้ ทักษะ และมีสมรรถนะสูง สู่การศึกษาต่อในสถาบันที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการเข้าพบผู้บริหาร สพฐ. ครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อให้นักเรียนผู้ได้รับทุนการศึกษา ในโครงการของ สพฐ. ทั้ง 3 รุ่น ทั้งนักเรียนทุนที่จบการศึกษาจากโครงการต้นแบบ และโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ประจำปี 2565 รวมถึงตัวแทนนักเรียนทุนฯ ประจำปี 2566 ที่กำลังจะเดินทางในปีนี้ เข้ารายงานผลการศึกษาและรับโอวาทจากผู้บริหาร สพฐ.

ทั้งนี้ นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผอ.สนก. กล่าวแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนฯ ทั้งที่จบการศึกษา และกำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อ พร้อมอวยพรให้ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง อีกทั้งขอบคุณในความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย แคทส์ โกลบอล สคูล (CATS Global Schools) คอนเน็ค เอ็ด (ConnectED) และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ที่สนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสในการเปิดโลกทัศน์ และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ ในต่างประเทศ พร้อมที่จะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศต่อไป

 

 

 

สพฐ. ขอประกาศผลการแข่งขันโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

นักเรียนไทยสุดยอด! คว้า 15 รางวัล 24 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics 2023 (PMWC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 12 ประเทศ 36 ทีม 144 คน ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ประเทศ ไต้หวัน ไทย บัลแกเรีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาเก๊า สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม และฮ่องกง โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 12 คน แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 4 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 15 รางวัล 24 เหรียญ ดังนี้

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 12 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 2 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 5 เหรียญทองแดง ดังนี้
เหรียญทอง 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  2. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา     โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  5. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

เหรียญทองแดง 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  5. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

 ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 4 เหรียญทองแดง และ 4 เหรียญชมเชย ดังนี้
เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  2. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
  4. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร      โรงเรียนแสงทองวิทยา      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล      โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เหรียญชมเชย 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  3. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร      โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

การวิจัยรูปแบบการพัฒนาของบริษัทรายกรณีศึกษาของบริษัท 17 เรื่อง ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ตามที่สำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ดำเนินการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมการบริหาร รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน ด้วยการวิจัยรูปแบบการพัฒนาของบริษัทรายกรณีศึกษาของบริษัท 17 เรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยการดำเนินงานขอภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อหานวัตกรรมนำไปขยายผลสู่โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ต่อไป โดยมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการดำเนินการศึกษาวิจัย ทั้ง 17 เรื่อง ทั้งนี้การศึกษาวิจัยดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนทั่วประเทศในสังกัด สพฐ. สนก.จึงดำเนินการเผยแพร่ผลการวิจัยทั้ง 17 เรื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนที่สนใจสามารถเข้าศึกษาเพื่อปรับเป็นแนวทางนำไปใช้ตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้

โมเดลที่ 1

โครงการ “Teacher as Coach เซ็นทรัลทำ เพื่อครูเป็นโค้ช”

โมเดลที่ 2

โครงการ STEEM EDUCATION 4.0

โมเดลที่ 3

OTOP JUNIOR

โมเดลที่ 4

โครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent

โมเดลที่ 5

โครงการบัวหลวงก่อการครู

โมเดลที่ 6

โครงการศูนย์การเรียนรู้ (Professional Learning School)

โมเดลที่ 7

โครงการศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจค้าปลีก (BJC Mode)

โมเดลที่ 8

โครงการ TRAIN THE TRAINER BY PROFESSIONAL

โมเดลที่ 9

โครงการ Clicker นวัตกรรมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก

โมเดลที่ 10

โครงการ NOTEBOOK FOR EDUCATION

โมเดลที่ 11

โครงการต้นกล้าไร้ถัง

โมเดลที่ 12

โครงการ”ผอ.กล้าเปลี่ยน ครูกล้าปรับ” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

โมเดลที่ 13

โครงการ WHOLE SCHOOL นวัดกรรมเชิงระบบเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย

โมเดลที่ 14

โครงการนวัดกรรมแผนพัฒนาโรงเรียน 4.0

โมเดลที่ 15

โครงการ Active Learning School

โมเดลที่ 16

โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่แบบครบวงจร

โมเดลที่ 17

โครงการ LEARNING CENTER ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

รับสมัครผู้เข้าร่วมรับการอบรมปฎิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและมีสมรรถนะภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs) ระดับภูมิภาค

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและมีสมรรถะภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจ เป้าหมายโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา วิจัยต่อยอดองค์ความรู้ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนรวมทั้งพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาต่างประเทศในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเชียนและระดับสากล ตลอดจนเป็นต้นแบบนวัตกรด้านการบริหารการศึกษาที่ขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ดำเนินการอบรมขยายผล จำนวน ๕ จุดการอบรม ได้ แก่ ๑. ภาคเหนือ ๒. ภาคตะวั นออกเฉียงเหนื อ ๓ ภาคกลาง ภาคตะวั นตก และภาคตะวั่นออก ๔ ภาคใต้และ ๕. กรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดดำเนินกิจกรรม ระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน ๒๕๖๖

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีความสนใจ สามารถสมัครเข้ารับการอบรมตามภูมิภาคจุดจัดการอบรมโดยสมัครตามขั้นตอนดังนี้

  1. ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    • เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีความสนใจในการพัฒนาศักยภาพตนเองด้านการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาและการพัฒนาภาษาต่างประเทศ อายุระหว่าง 30 – 55 ปี
    • มีความสนใจในการขับเคลื่อนเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGS) ในสถานศึกษา
    • มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ
    • มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารออนไลน์ ได้แก่ โปรแกรมการประชุมออนไลน์ต่างๆ และมีความสามารถในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Youtube / Facebook
    • สามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับภูมิภาคอาเซียนและในระดับสากล
  2. ส่งข้อมูลเพื่อร่วมสมัครที่ https://forms.gle/7t82zCMus3Z8GjcaA

หมดเขตการรับสมัครวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการประกาศรายชื่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook : Inno Leader

ตรวจสอบหน้าหนังสือเพิ่มเติม คลิกที่นี่