News Letter

พิธีมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ในการมุ่งเน้นปลูกฝังองค์ความรู้ ทัศนคติ และอุปนิสัยที่ดีในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนสีเขียว ในปี 2566 ได้กำหนดจัดกิจกรรมประกวดสำหรับนักเรียนและโรงเรียน จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมโรงเรียนสีเขียวเบอร์ 5 เพื่อยกระดับโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้โรงเรียนบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมกับทุกกิจกรรมของโรงเรียน รวมทั้งเป็นการประเมินและติดตามผลโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. กิจกรรม EGAT Green Learning Academy ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะการผลิตสื่อของเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารและเป็นผู้นำที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม

และในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society ซึ่งเป็น การประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของปี 2565 และปี 2566 ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคาร Impact Exhibition อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี 

        

“คนดี รักษ์โลก”

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้เข้าร่วมงาน “คนดี รักษ์โลก” โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม B1-1 ถึง ห้องประชุม B1 – 6 (ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร) ชั้น B1 อาคารรัฐสภา โดยเป็นการจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ในงาน “พลังแห่งความรัก” และได้เชิญโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 2 โรงเรียนเข้าร่วมจัดนิทรรศการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เป็นเลิศ (Best Practice)

 

     

 

ประกาศผล (ฉบับยังไม่ได้ลงนาม) ของการตัดสินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

สพฐ. ขอประกาศผล (ฉบับยังไม่ได้ลงนาม) ของการตัดสินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

  1. เอกสารประกาศฉบับจริงอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อลงนาม และจะส่งไปยัง สพท.ตามระบบหากลงนามเรียบร้อย
  2. เกียรติบัตรการแข่งขัน จะอยู่ในรูปแบบออนไลน์ และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง เนื่องจากเป็นการลงนามของผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเลขาธิการ กพฐ. ต้องใช้เวลาในการดำเนินการขอสำเนาลายมือชื่อ
  3. สพฐ. “งดจัดการแข่งขันระดับภูมิภาค และระดับประเทศ” ดังนั้นเกียรติบัตรการแข่งขันรอบนี้ จึงไม่ระบุ รอบคัดเลือก
  4. ให้ครูและนักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อในประกาศ หากต้องการแก้ไข ให้แจ้ง 1. ประเภทการแข่งขัน 2. ลำดับที่ในประกาศ 3. รายชื่อที่ต้องการแก้ไข ภายในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566

ผลการตัดสินระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

 

โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) จัดกิจกรรมบรรณาธิการกิจเอกสารแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย

1) กิจกรรมสร้างสำนึกพลเมือง (Project Citizen)

2) กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านทุจริต

3) กิจกรรมค่ายเครือข่ายผู้นำเยาวชนไทย หัวใจ Strong

4) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี

5) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

6) กิจกรรมนวัตกรรมการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ให้เอกสารมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ชัดเจน และสามารถเผยแพร่ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำไป
เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมและนำไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น

โดยทางโครงการโรงเรียนสุจริต ได้รับเกียรติจาก ท่านดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต)
ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมนูโว ซิตี กรุงเทพมหานคร 

จากการประชุมครั้งนี้ ท่านดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ให้แนวทางในการขับเคลื่อน
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
ในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565

พร้อมทั้งทางโครงการได้เรียนเชิญ ดร.สรรเสริญ สุวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) มาเติมเต็มเนื้อหา องค์ประกอบ เกณฑ์การพิจารณาผลงานให้ครบถ้วนและสมบูรณ์

 

นักเรียนทุนในโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ (The C21 Scholarship OBEC) ออกเดินทางเพื่อศึกษาต่อในหลักสูตร University Foundation Programme (UFP) เป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยทุนการศึกษา 60% ณ CATS Canterbury School ประเทศอังกฤษ

วันที่ 16 ตุลาคม 2564 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ส่งนักเรียนทุนในโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ (The C21 Scholarship OBEC) ได้แก่ นางสาวปวริศา สายหยุด โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) ออกเดินทางโดยสายการบินไทย สู่ CATS Canterbury School ประเทศอังกฤษ เพื่อศึกษาต่อในหลักสูตร University Foundation Programme (UFP) เป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยทุนการศึกษา 60% และยังมีนักเรียนในโครงการอีก 2 คน อยู่ระหว่างการเตรียมตัวเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ปลายปีนี้

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการบริหารมูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศ มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เส้นทางสร้างยุวทูตความดี สู่วิถีความยั่งยืน” เพื่อเป็นข้อคิด และคำแนะนำ สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมในการบูรณาการองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดีฯ ประจำปี 2563 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี และต่อยอดสู่การเป็นพลเมืองที่ดีของโลกอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางศาสตร์พระราชา พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สิริมา หมอนไหม อดีตรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา มาเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมดังกล่าวด้วย

 

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฎิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ร่วมกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดีฯ ประจำปี 2563 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน 2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี และต่อยอดสู่การเป็นพลเมืองที่ดีของโลกอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางศาสตร์พระราชา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ที่ได้เข้าร่วมรับเสด็จฯ พร้อมทั้งนำเสนอภาพความสำเร็จการดำเนินโครงการยุวทูตความดีฯ ในงานครบรอบ 20 ปี และมีผลการพัฒนาต่อยอดโครงการยุวทูตความดีฯ มาอย่างต่อเนื่อง คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 75 คน โดยได้รับเกียรติจาก ท่านพจมาน พงษ์ไพบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส สพฐ. มาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ ในการประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้มีการรับฟังการบรรยายจาก นายเกษมนิติ์ ทองสัมฤทธิ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันถอดรหัสความดีเพื่อเป็นแนวทางต่อยอดสู่วิถีอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในครั้งนี้คณะครู และนักเรียนจากโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากโรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย โรงเรียนบ้านพะเดะ โรงโรงเรียนบ้านแม่ตาว โรงเรียนบ้านสันป่าไร่ และโรงเรียนบ้านแม่กุเหนือ และบุคคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒ เข้าร่วมรับเสด็จในครั้งนี้ด้วย

บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส. สนก.) ลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลและถอดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)

วันที่ 10 – 12 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมายให้บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส. สนก.) ลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลและถอดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ในงาน “เปิดบ้านศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ครั้งที่ 2” ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1. บูธโครงงานนวัตกรรม STEM และนิทรรศการพลังคิดดี ได้แก่ จุดที่ 1 นิทรรศการนวัตกรรมพลังงาน และส่วนจัดแสดงจุดที่ 2 นิทรรศการพลังคิดดี 2. การแข่งขันรถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ (STEM : Solar Fast Racing Thapsakae) แบ่งเป็นประเภททางเรียบ และทางวิบาก ระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา 3. การแข่งขันกองเชียร์พลังคิดดี ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยกิจกรรมดังกล่าว เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เกิดกระบวนการคิด แก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์สู่การนำไปประยุกต์สร้างนวัตกรรม และใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ยังมีเยาวชนจากโครงการมัคคุเทศก์น้อย “ต้นกล้า พลังคิดดี” ได้พาเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฯ และให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนทับสะแก ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ให้เยาวชนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้รับประสบการณ์ตรง มีทักษะการสื่อสารที่ดี และสามารถต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคตได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดร.สมพร สามทองกล่ำ เป็นผู้แทน สพฐ. ร่วมพิธีเปิดโครงการ “เปิดบ้าน ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ครั้งที่ 2”

วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมายให้ ดร.สมพร สามทองกล่ำ (ผอ. กลุ่ม วนส. สนก.) เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ “เปิดบ้านศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ครั้งที่ 2” ณ ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และขึ้นกล่าวในฐานะผู้แทนภาคการศึกษา เยี่ยมชมนิทรรศการ ให้กำลังใจ พบปะภาคีเครือข่าย ผู้แทนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมี นายปรีดา สุขใจ นายอำเภอทับสะแก กล่าวต้อนรับ และ นายนรินทร์ ทรงนิพิฐกุล ปลัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งได้ให้เกียรติเป็นผู้แทน สพฐ. มอบของที่ระลึกให้แก่มัคคุเทศก์น้อย
ในงานดังกล่าวมีการมอบรางวัลแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันรถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ และกองเชียร์พลังคิดดี ดังนี้
1. ผลการแข่งขันรถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ ทับสะแก
1.1 ประเภท ทางเรียบ ระดับประถม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนไตรกิตทัตตานนท์
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี B
1.2 ประเภท ทางเรียบ ระดับมัธยม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนทับสะแกวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนห้วยยางวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี B
1.3 ประเภท ทางวิบาก ระดับประถม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังยาง
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนอรุณวิทยา
1.4 ประเภท ทางวิบาก ระดับมัธยม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนทับสะแกวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี B
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังน้ำเขียว
2. ผลการแข่งขันกองเชียร์พลังคิดดี
2.1 ระดับประถม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังยาว
2.2 ระดับมัธยม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านคั่นกะได

การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ณ จังหวัดเลย

วันที่ 5 – 7 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมายให้บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส. สนก.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ณ จังหวัดเลย โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรม Active Learning ให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

บุคลากรกลุ่ม วนส.สนก. เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562 (TELS 2019)

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี  (ผอ.สนก.) มอบหมายให้บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562 (Thailand’s Education Leader Symposium 2019) ที่งาน AKSORN Teaching Forum : TELS 2019  ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี  โดยมี ดร.ณัฏฐพล  ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมกล่าวปาฐกถา และภายในงานยังมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อาทิ คุณตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน)  Dr. Akil E. Ross, Sr. ผู้อำนวยการ Chapin High School ประเทศสหรัฐอเมริกา  คุณจุน อุสะคะ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายพัฒนาการศึกษานานาชาติ จากเบนเนสเซ่ คอร์ปเปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น  เป็นต้น ร่วมบรรยายและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงถ่ายทอดแนวคิด วิสัยทัศน์ ภายใต้แนวคิด “4REs : The Resolve for Enhancing Thailand’s Education 4.0” ได้แก่ Reform Redefind Rethink และ Reshape เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตลอดจนผู้ที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการศึกษาตามบริบทของสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมีบูธสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้และการแสดงผลงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ