INNO_Project
ประชาสัมพันธ์การแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564
การแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564
รับสมัครผ่านโรงเรียน วันที่ 2 ธันวาคม 2563 – 4 มกราคม 2564
ทางเว็บไซต์ www.obecimso.net/web64/
OBEC YoungLeaders SDGs
การลงทะเบียนและรายงานการแข่งขันทักษะวิชาการ ระดับนานาชาติ
สิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่
การวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา
สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โรงเรียนสีเขียว
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกมีสาเหตุใหญ่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) สภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งจะส่งผลกระทบ
อย่างมาก ต่อทุกประเทศในโลก ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ได้ประสบกับภัยพิบัติ ด้านภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ คลื่นความร้อน และไฟป่าเพิ่มขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้โดยมาก เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของโลก ขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาความแออัดของประชากรต่อหน่วยพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การขาดแคลนพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมถอย จากการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายสมดุลธรรมชาติอันเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจน และยังเป็นตัวช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนของประชากรโลก ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้พลังงานในทุกด้านเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกร้อนมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ และโอกาสที่ภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นในมุมต่างๆ ของโลก ซึ่งปัญหาการปล่อยก๊าซต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการปรากฏการณ์เรือนกระจก
ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศ ทั่วโลกจึงมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) “เพื่อให้ บรรลุถึงการรักษาระดับ
ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ อยู่ในระดับที่ปลอดภัยจากการแทรกแซงของมนุษย์ที่เป็นอันตรายต่อระบบภูมิอากาศ การรักษาระดับดังกล่าว ต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียงพอที่จะให้ระบบนิเวศปรับตัว โดยไม่คุกคามต่อการผลิตอาหารของ มนุษย์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืนและ”การพัฒนาที่ยั่งยืนกลายเป็นวาระหลักของการพัฒนา โดยเฉพาะเมื่อสหประชาชาติได้ประกาศ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”
หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) 17 เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการพัฒนาของโลกระหว่างปี 2016 – 2030 และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ลงนามร่วมกับภาคีสมาชิก ในการรับรองฉันทามติเป้าหมายการพัฒนาและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติถูกผูกโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 65 ที่กำหนดให้ยุทธศาสตร์ต้องมีการบรรจุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีการเชื่อมโยงทั้ง 30 เป้าประสงค์กับยุทธศาสตร์ชาติ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ถึง 8 ยุทธศาสตร์ โดยจะสอดคล้องมาก ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ว่าด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ว่าด้วยการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
แนวคิดของการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนจึงเป็นหลักแนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด ลดปริมาณของเสีย ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและไม่สร้างมลพิษที่จะกลายมาเป็นต้นทุนการผลิตในระยะต่อไปและเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว โดยมีเงื่อนไข คือ กระบวนการผลิตและการบริโภคที่มีประสิทธิภาพ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้น 2 ประการ ดังนี้
การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable consumption and production) เป็นการผลิต และการบริโภคที่สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่สร้างข้อจำกัดต่อกิจกรรมการผลิตและการบริโภคในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสม การขยายตัวทางเศรษฐกิจภายใต้ขีดจำกัด
ของทุนทางธรรมชาติที่จะต้องมีการสงวนรักษาไว้ใช้ ประโยชน์สำหรับคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นอนาคต
การบริโภคที่ยั่งยืน จึงประกอบด้วย รูปแบบการใช้พลังงาน/แร่ธาตุ/การใช้ยานพาหนะ ที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพและประหยัด มีการเลือกใช้สินค้าและบริการโดยกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม วัตถุดิบหรือองค์ประกอบของสินค้าและบริการไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และการลดของเสียหรือกากจากการบริโภค
การผลิตที่ยั่งยืน เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่เป็นกากของเสียที่ทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลืองจากการพัฒนาเทคโนโลยีและ ทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
ในสภาพปัจจุบัน ปัญหาการรับรู้ในด้านการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็น ในเรื่องการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนในภาคประชาชนยังประสบปัญหาความเข้าใจที่ถูกต้องและยังขยาย
องค์ความรู้ที่ชัดเจนในวงที่จำกัด จึงทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งในการขับเคลื่อนเป็นไปได้ช้าและ มีอุปสรรคปัญหา ดังนั้น การให้การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความตระหนักต่อการดำเนินกิจกรรมด้านการผลิตและบริโภคเป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมจะเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อสาธารณชนทั่วไป และเปิดกว้าง การรับรู้ในการพัฒนาสู่การเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ และลดผลกระทบ
ต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีพันธกิจหลักในการสร้างประชากรหรือคนที่มีคุณภาพจากการศึกษาให้กับสังคมจากรุ่นสู่รุ่น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 5 การเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 เพื่อเน้นและให้ความสำคัญในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง สร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่องและส่งเสริม สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการผลิตและบริโภคให้คำนึงถึงทรัพยากรเพื่อคนรุ่นต่อไป เป็นต้นแบบที่มีคุณภาพและมีจิตสาธารณะ สู่ที่บ้านและชุมชนจึงมีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการขับเคลื่อนแผน นโยบายและยุทธศาสตร์ และเป็นแนวทางให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชนคาร์บอนต่ำ และไปสู่สังคมและเมือง ที่ยั่งยืนต่อไป
โรงเรียนวิถีพุทธ
โรงเรียนวิถี พุทธเกิดขึ้นในปลายปี 2545 เป็น 1 ใน 5 ของโครงการโรงเรียนรูปแบบใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ (โครงการโรงเรียนรูปแบบใหม่ 5 รูปแบบ ได้แก่ โรงเรียนในกำกับของรัฐ โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ และโครงการนำร่องสรรหา พัฒนา และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ) การศึกษาแนวพุทธอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดมา เมื่อริเริ่มโครงการโรงเรียนวิถีพุทธได้ศึกษาแนวทางของ 3 โรงเรียนที่ได้ใช้แนวพุทธเป็นหลักในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนทอสี โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนอนุบาลหนูน้อย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสยามสามไตร) และได้เชิญบุคลากรทั้งสามโรงเรียนมาร่วมเป็นคณะทำงาน มีพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) เป็นประธาน รวมเรียกชื่อโรงเรียนจัดการศึกษาแนวพุทธว่า “โรงเรียนวิถีพุทธ” นับแต่นั้นมา คณะทำงานนี้มีการประชุมหลายครั้งต่อเนื่อง เพื่อเรียนรู้ร่วมกันและสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน ต่อมามีการเปิดรับโรงเรียนวิถีพุทธรุ่นแรกของโครงการด้วยการประกาศรับสมัคร และมีโรงเรียนเข้าร่วม จำนวน 89 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนวิถีพุทธก็คือ
โรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึงโรงเรียนในวิถีแห่งปัญญา ที่พัฒนาอย่างบูรณาการในระบบแห่ง ไตรสิกขา สู่ความเป็นพุทธ ผู้เข้าถึงธรรม ซึ่งทำให้เป็นอิสระ โดยมีชีวิตที่ดี เจริญงอกงามมีความสุข จริงแท้ และอยู่ร่วมสังคมอย่างสร้างสรรค์เกื้อกูล สามารถนำโลกไปในวิถีที่ถูกต้อง /วิถีแห่งธรรม ( พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยุตโต))
ที่ปรึกษาโครงการ โรงเรียนวิถีพุทธทำงานภายใต้คำปรึกษาของพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ พระพรหมคุณาภรณ์ วัดญาณเวศกวัน พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระเทพวิสุทธิกวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อีกทั้งมหาเถรสมาคมเคยมีมติ ครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๗ มติที่ ๒๐๗ ให้พระสังฆาธิการสนับสนุนการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ
ในสมัยก่อนการเรียนรู้ของคนไทยอยู่ใกล้ชิดพุทธศาสนาอย่างมาก เพราะอาศัยวัดเป็นสถานที่เรียนมีพระเป็นผู้สอน หรือเรียนรู้ตามสำนักวิชาชีพต่างๆ การเรียนจะเน้นเรียนรู้เพื่อรู้หนังสือ เรียนวิชาชีพ รวมทั้งบวชเรียนเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และพัฒนาตนเองตามหลักพุทธศาสนา และปรากฏชัดในปี พ.ศ.2418 ที่รัชกาลที่ 5 ทรงอาราธนาให้พระสงฆ์สอนหนังสือไทยในพระอารามหลวงทุกอาราม ซึ่งเมื่อแรกตั้งกระทรวงธรรมการในปี พ.ศ.2435 ก็ยังคงมีลักษณะการเรียนเช่นเดียวกับในอดีต
การเปลี่ยนแปลงที่น่าจะมีส่วนสำคัญให้การศึกษาห่างวัดและพระ เมื่อมีการกระจายโรงเรียนไปทั่วราชอาณาจักร และผู้สอนเปลี่ยนเป็น “ครู” ในปี พ.ศ.2454 แล้วสภาพการเรียนรู้ของคนไทยที่ยิ่งห่างไกลพระพุทธศาสนาตลอดมาจนรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริว่าการศึกษาไม่ควรแยกไปจากวัด จึงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการแทน โดยให้มีหน้าที่ดูแลทั้งการจัดการศึกษาและการศาสนา ผมคิดว่าการปรับเปลี่ยนอาจช่วยให้การศึกษาชำเลืองมองพุทธศาสนาอยู่บ้าง แต่สภาพปัญหามาปรากฏชัดในเหตุผลของการเกิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในปี พ.ศ.2501 ที่ระบุว่า รัฐเน้นพุทธิศึกษาถึง 90% แต่ให้ความสำคัญกับจริยศึกษาเพียง 5% ผมคิดว่าอีก 5% ที่หายไปน่าจะเป็นสัดส่วนของหัตถศึกษา ซึ่งสะท้อนว่า การจัดการศึกษาของเราเน้นเนื้อหาวิชาการเพิ่มขึ้นๆ และให้เรื่องคุณธรรมจริยธรรมหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่างๆ สอดแทรกและบูรณาการอยู่ในการเรียนเนื้อหาวิชาการ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระดับความใส่ใจและการมุ่งเน้นของโรงเรียนเป็นสำคัญ แต่ด้วยสภาพปัญหาและวิกฤตการณ์คุณธรรมของคนในสังคมไทย จึงมีข้อเสนอให้นำหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนามาใช้อย่างจริงจังในโรงเรียน ก่อเกิดเป็นโครงการโรงเรียนวิถีพุทธในปลายปี พ.ศ.2545 และมุ่งมั่นดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ในระยะแรกมี KPI ประมาณ 5๔ ตัว ในด้านกายภาพ การเรียนการสอน และพฤติกรรมพื้นฐาน(วิถีชีวิต) ต่อมาปรับเหลือ 29 ตัว นำไปใช้ในการพิจารณาเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ หรือการประเมินผลการปฏิบัติราชการโดย กพร. หากจะสังเกตทั่วๆไป จะเห็นว่าโรงเรียนจะมีกิจกรรมวันพระ (หรือวันที่โรงเรียนกำหนดขึ้นในแต่ละสัปดาห์) คือ ครูใส่เสื้อขาว มีกิจกรรมสวดมนต์ยาว รับประทานมังสวิรัติ ทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ เป็นการกระทำด้วยความเข้าใจเหตุและผลว่า ทำไปทำไม เพราะเหตุใด ถึงแม้จะถูกมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็น “พิธีกรรม” แต่ก็ถือว่ามีความจำเป็น และเป็นตัวช่วย สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าใจและบรรลุจุดมุ่งหมายได้ในทันที ซึ่งบรรยากาศ ปัจจัย และเงื่อนไขดังกล่าว จะช่วยหล่อหลอมให้จิตใจสงบ พิจารณาเรื่องราวต่างๆ ด้วยใจอันใคร่ครวญได้ดียิ่งขึ้น เพื่อการเรียนรู้ให้ถึงแก่นแท้ของไตรสิกขา และแฝงด้วยคุณค่าที่ลึกซึ้งอยู่ทุกป
เชิงปริมาณ
พ.ศ. 2546 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 89 โรงเรียน
พ.ศ. 2549 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 20,475 โรงเรียน
พ.ศ. 2550 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 21,764 โรงเรียน
พ.ศ. 2551 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 22,190 โรงเรียน
พ.ศ. 2552 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 23,337 โรงเรียน
พ.ศ. 2554 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 24,212 โรงเรียน
พ.ศ. 2555 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 12,159 โรงเรียน
พ.ศ. 2556 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 18,555 โรงเรียน ( ข้อมูล ตุลาคม ๒๕๕๖)
พ.ศ. 2557 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 19,382 โรงเรียน ( ข้อมูล มิถุนายน ๒๕๕๗ )
พ.ศ. 2558 มีโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 20,310 โรงเรียน ( ข้อมูล มีนาคม ๒๕๕๘ )
ระดับที่ ๑ โรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน รวม 21,574 โรงเรียน ข้อมูล ณ วันที่ 13/9/2558
ตัวชี้วัด อัตลักษณ์ ๒๙ ประการ เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
ผู้รับผิดชอบ ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโรงเรียนวิถีพุทธ
ประจำ สพม. สพป.ทั่วประเทศ
ระดับที่ ๒ โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ๖ รุ่น จำนวน รวม ๖๐๐ โรงเรียน
ตัวชี้วัด อัตลักษณ์ ๒๙ ประการ ที่เป็นผล
ผู้รับผิดชอบ พระนิเทศก์วิถีพุทธ คณะกรรมการ คขวท. และ มจร.
ระดับที่ ๓ โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน จำนวน รวม 2๗ โรงเรียน
ตัวชี้วัด ตัวบ่งชี้โรงเรียนวิถีพุทธพระราชาน ๕ มาตรฐาน ๕๔ ตัวบ่งชี้
ผู้รับผิดชอบ มจร.โรงเรียนรุ่งอรุณ สนก.และ พระนิเทศก์วิถีพุทธ
โรงเรียนสุจริต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมในการต่อต้านการทุจริต มีกลไกป้องกันการทุจริตและระบบการบริหาร การจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 – 2564) ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero tolerance & Clean Thailand)” มีพันธกิจในการสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ทุกภาคส่วนแบบบูรณาการและปฏิรูปกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งระบบ ให้มีมาตรฐานสากล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา ในการพัฒนาผู้บริหาร ครูและนักเรียน ให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ โดยดำเนินการตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริตทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย