INNO_Project

ประกาศรายชื่อ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ ๒

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ “มูลนิธิ สานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี” ได้จัดการอบรมหลักสูตรออนไลน์ “การพัฒนาผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา (ICT Talent)” รอบแรก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และรอบเพิ่มเติม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อสร้างทัศนคติ ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทักษะด้าน ICT เพื่อสร้าง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน ICT แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชการครู และเพื่อยกระดับการใช้ ICT ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเปิดให้บุคลากร ICT Talent ภาครัฐ ยืนยันโรงเรียนต้นสังกัดและโรงเรียนเครือข่ายให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จะดำเนินการประกาศรายชื่อบุคลากรดังกล่าว ให้สามารถดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่โรงเรียนต้นสังกัดและโรงเรียนเครือข่ายต่อไป นั้น

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศรายชื่อบุคลากร ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ ๒ โดยบุคลากรดังกล่าวมีหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และสนับสนุนงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่โรงเรียนต้นสังกัดและโรงเรียนเครือข่าย และมอบวุฒิบัตรให้บุคลากรดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ที่ระบุตามด้านล่าง และขอให้บุคคลที่มีรายชื่อในประกาศทราบ เพื่อปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งแจ้งโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนเครือข่ายเพื่อติดต่อประสานงานขอรับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป

ประกาศผลการคัดเลือกวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี

12 เดือน Webinar เปิดโลกนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต

 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้กำหนด จัดกิจกรรม 12 เดือน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคตสู่ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ครูได้สร้างแนวคิดปรับเปลี่ยนวิธีการสอน หรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมจัดการเรียนการสอน ที่สามารถบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายบูรณาการ และสร้างแนวทางการสนับสนุนโรงเรียน สำหรับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามบริบท เชื่อมต่อความรู้ของครูสู่ชุมชน รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่

โครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินงานโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนผลิต พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านงานอาชีพและผลิตภัณฑ์นักธุรกิจน้อย จึงกำหนดการคัดเลือกนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนาทักษะการอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 31 มีนาคม 2565

รายละเอียด
1.โครงการ
2.แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดเลือก
3.ใบสมัคร
หนังสือราชการ

ตรวจสอบชื่อนวัตกรรมและใบสมัครที่ส่งเข้ามา

สมัครคลิกที่นี่!
*หมายเหตุ : จัดส่งเล่มผลงานนวัตกรรมฯ จำนวน 3 ชุด ตามที่อยู่ดังนี้ 
           กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 
           (โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์)  
           เลขที่ 319 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300

วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Basic Education Research Journal)

วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Basic Education Research Journal) มีนโยบายในการเป็นสื่อกลาง และเผยแพร่บทความวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการนำองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการวิจัยไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ชุมชน สังคม มีขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และเผยแพร่บทความวิจัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภายนอก และเพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากบทความวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

 

โครงการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และหุ่นยนต์ สพฐ. ประจำปี 2565

ขยายเวลาเปิดรับสมัครเพิ่มเติม จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษา ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และหุ่นยนต์ สพฐ. โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพตามความถนัดและความสามารถของพหุปัญญาของเด็กและนักเรียนให้เป็นนักคิด  นักประดิษฐ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ คิดค้น สร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 จึงขอให้สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาได้ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ส่งเสริมให้โรงเรียนที่สนใจในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และหุ่นยนต์ สพฐ. ในปีการศึกษา 2565  ตามแผนปฏิบัติการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมรายละเอียดเอกสารดังนี้

1. การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ภายใต้หัวข้อ Inventions for Sustainable Development Project

2. การประกวดภาพวาดจินตนาการอนาคตทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หัวข้อ Science for Sustainable Development

12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม Active Learning

สพฐ. เดินหน้ากิจกรรม 12 สัปดาห์ “ AL วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ” เรียนรู้วิถีใหม่ เต็มใจพัฒนา อาสาเปลี่ยนแปลง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดกิจกรรม “12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม Active Learning “ AL วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม มุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์พร้อมทั้งสามารถเลือกพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและความสนใจ เกิดการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด อยู่ร่วมอย่างปลอดภัยและมีความสุข ขับเคลื่อนโดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทพื้นที่เป็นฐาน รวมถึงการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้อง สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาบนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองเป้าหมายตามบริบท “AL วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ”
ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. เปิดเผยว่า “วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม มุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาและใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning เป็นฐานในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการและบริบทพื้นที่ โดยกำหนดการดำเนินกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนในลักษณะ “12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม Active Learning” มีเป้าหมายในการส่งเสริมและร่วมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 349 โรงเรียน นอกจากนั้นยังเป็นการพลิกโฉม (Transform) โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและจัดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ตามความต้องการและเหมาะสมกับบริบท โดยจัดกิจกรรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้ Active Learning ในรูปแบบออนไลน์ ร่วมพัฒนาระหว่าง สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โดยในวันเปิดตัวโครงการ มีสวนสนุกแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาเรียนรู้ 5 ห้องด้วยกัน ประกอบด้วย ห้องที่หนึ่ง “ครูขอบอก” ห้องที่สอง “Tips Tricks Tools ห้องที่ 3 “ปั้นครูเป็น Youtuber” ห้องที่สี่ “Fab Lab นวัตกรน้อย” และห้องที่ห้า “ห้องเรียนเชิงบวก” รวมถึงต่อเนื่องแบบเข้มข้นกับกิจกรรมต่างๆอีก 12 สัปดาห์ ในการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ Active Learning รูปแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโอกาสต่อไป”

LEARNINGOBEC

CONNEXT ED

ความเป็นมาของโครงการ

โครงการโรงเรียนประชารัฐ เป็นโครงการที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จากนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐ เพื่อเศรษฐกิจฐานรากผ่านการรวมพลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนผ่านทางการดำเนินงานของคณะทำงานสานพลังประชารัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษาขอประเทศและเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับคณะทำงานสานพลังประชารัฐ 2 คณะ ได้แก่ E2 การยกระดับคุณภาพวิชาชีพ ร่วมกับ และ E5 การศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ โดยกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้องค์กรหลัก 2 แห่งดำเนินการร่วมกับคณะทำงานดังกล่าว โดย E2 ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)และ E5 ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดย สพฐ. ได้จัดทำโครงการโรงเรียนประชารัฐ และจัดทำบันทึกข้อตกลงสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ระหว่างภาครัฐ   3 หน่วยงาน (กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ภาคเอกชน 19 หน่วยงาน และภาคประชาสังคม 4 คน เพื่อร่วมขับเคลื่อนและยกระดับการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งจุดเน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพผ่านความร่วมมือทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐที่จะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และหลักสูตร  ภาคเอกชนให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี เสริมทักษะวิชาการ และทักษะอาชีพ และภาคประชาสังคม ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับกรอบแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ปัจจุบันโครงการโรงเรียนประชารัฐได้ปรับเปลี่ยนชื่อโครงการโรงเรียนประชารัฐ เป็นโครงการคอนเน็กซ์อีดี ประกอบด้วย 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ

  1. โรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 – 3 ซึ่งเป็นโครงการ เกิดขึ้นจากนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยเป็นการรวมพลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนผ่านการดำเนินงานของ ๑๒ คณะทำงานสานพลังประชารัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษาของประเทศและเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับคณะทำงานสานพลังประชารัฐ 2 คณะ ได้แก่ E2 การยกระดับคุณภาพวิชาชีพ ร่วมกับ E5 การศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ
  2. กลุ่มโรงเรียนในอุปถัมภ์ของภาคเอกชน รุ่น 1 – 2 เป็นโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้จากภาคเอกชน
  3. กลุ่มโรงเรียนกองทุนการศึกษา เป็นโรงเรียนที่ดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาและคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กนักเรียน โดยได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เพื่อนำไปช่วยเหลือสถานศึกษา โดยสนับสนุนเด็กนักเรียนที่ยากจน แต่มีความประพฤติดีให้ได้รับทุนพระราชทาน ได้มีโอกาสทางการศึกษาจนประกอบอาชีพได้ และสร้างความพร้อมด้านกายภาพให้แก่โรงเรียน สร้างจิตสำนึกให้ครูรักนักเรียนให้นักเรียนรักครู

โดยมียอดรวมทั้งสิ้น 5,567 โรงเรียน โดยเป็นโรงเรียนในสังกัด สพฐ. 5,543 โรงเรียน

ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามด้านล่างนี้

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อไปตามช่องทางข้างล่างนี้