ข่าวประชาสัมพันธ์

การประชุมโครงการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีระหว่างวันที่ 15 – 18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม แกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระหว่างวันที่ 15 – 18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม แกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำหลักสูตร เรียบเรียงสาระสำคัญของการอบรมให้มีองค์ความรู้เชิงลึกมากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมกระบวนการออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา ตลอดจนใช้เป็นคู่มือสำหรับการขยายผลการอบรมวิทยากรแกนนำในรุ่นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม วิทยากรแกนนำจะนำหลักสูตรที่ได้รับ ไปขับเคลื่อนให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อต่อยอดกิจกรรมและเป็นต้นแบบการพัฒนาวิทยากรแกนนำรุ่นต่อไป การอบรมครังนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ มีผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วย ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน

สพฐ. จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียน ในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ประจำปี 2565

   
       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ชอบผล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 สำนักงานโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง การจัดการศึกษาตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บทบาทของโรงเรียนในอดีต ความเข้มแข็งของโรงเรียนในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและแนวปฏิบัติของโรงเรียน ในโครงการตามพระราชดำริ
จากนั้นมีพิธิเปิด โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธาน โดยกล่าวว่า “สพฐ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จึงมุ่งส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่
       1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
       2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
       3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
       4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
       5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผ่านการจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู และการประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการของนักเรียน เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
       ในปีนี้ สพฐ. ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ แก่สาธารณชน รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ร่วมกันและร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ” นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีศึกษานิเทศก์และผู้รับผิดชอบโครงการตามพระราชดำริ จำนวน 48 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 194 คน และผู้ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และคณะกรรมการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 350 คน
       นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวถึงการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า “เพื่อต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานรวบรวมผลงานหรือองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติงานที่ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาลเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2565 ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม อาคาร 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี”
ทีมประชาสัมพันธ์งาน กพด. สพฐ. เรื่อง/ภาพ

สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 24 รางวัล ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา

สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 24 รางวัล ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำทีมผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia รหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบการแข่งขันออนไลน์พร้อมกับทางเจ้าภาพ และประเทศอื่นๆ ซึ่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศเจ้าภาพ
มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 17 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็นวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน และวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน ได้รับรางวัล รวม 24 รางวัล

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 รางวัล

เหรียญทอง จำนวน 1 รางวัล

1.เด็กชายสุกฤต ประเสริฐโชค โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

เหรียญเงิน จำนวน 6 รางวัล

1.เด็กชายพีรวิชญ์ ศรีภัทราพันธุ์ โรงเรียนอนุบาลสุธีธร
2.เด็กชายณัฏฐชัย ตั้งทรงสวัสดิ์ โรงเรียนอุ่นรัก 2 ภาษา
3.เด็กชายวิรัฬพัชร์ สังข์ทิพย์ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
4.เด็กชายชัยวริษฐ์ ชัยพัฒน์ธนโชติ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
5.เด็กชายกฤตชพัฒน์ ดีประเสริฐวงศ์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
6.เด็กชายปีติคุน อภิชนกิจ โรงเรียนนานาชาติรักบี้

เหรียญทองแดง จำนวน 5 รางวัล

1.เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร โรงเรียนอนุบาลนครปฐม
2.เด็กชายศิริพงศ์ ชัยจิตติประเสริฐ โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง
3.เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย
4.เด็กชายบรมภัค หลาบหนองแสง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
5.เด็กชายธรรมปพน สุขสุธรรมวงศ์ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม

วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 รางวัล

เหรียญทอง จำนวน 3 รางวัล

1.เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ โรงเรียนอนุบาลตาก
2.เด็กหญิงณภัทร นรศาศวัต โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง
3.เด็กหญิงนันท์นภัส รัตนมณีพันธ์ โรงเรียนพลวิทยา ระบบสองภาษา

เหรียญเงิน จำนวน 8 รางวัล

1.เด็กชายปิติ ธรรมโกวิท โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม
2.เด็กชายปุญญพัฒน์ ฉัตรพรจรัส โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
3.เด็กหญิงอรกัญญา อินเนียร โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
4.เด็กชายพรหมพิริยะ สุจิรัตน์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
5.เด็กชายปัณณธร เกษตรเสริมวิริยะ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
6.เด็กชายภาวิช พิลาทอง โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
7.เด็กชายพงษ์พิชญ์ ประดิษฐผลเลิศ โรงเรียนอนุบาลชลบุรี
8.เด็กชายวริศ สุวรรณชาตรี โรงเรียนแสงทองวิทยา

เหรียญทองแดง 1 รางวัล

1.เด็กชายอรรณวิชญ์ จันทศ โรงเรียนอนุบาลนครพนม

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ตรวจเยี่ยมสนามสอบและให้กำลังใจนักเรียนการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

เมื่อวันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจำรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการ
จัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจเยี่ยมสนามสอบและให้กำลังใจนักเรียนการแข่งขันคณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia
ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้แทนนักเรียนไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ กลุ่มโครงการพิเศษ ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม ๖ กรุงเทพมหานคร การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาหน่วยงานที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัยในการทำงานเพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนในด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ๑. นโยบายด้านความปลอดภัย ๒. เกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา (ITA) ๓. เกณฑ์การประเมินตามมาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานซึ่งเป็นตัวชี้วัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๔. เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ๕. เกณฑ์การประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว  

SCGC ร่วมกับ สส. และ สพฐ. ขยายผล “โครงการถุงนมกู้โลก” ส่งเสริมการจัดการขยะ ในโรงเรียน มุ่งสร้าง Eco-School เน้นให้เยาวชนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง

15 พฤศจิกายน 2565 : เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดสัมมนาออนไลน์ “ต้นแบบการจัดการขยะในโรงเรียน โครงการถุงนมกู้โลก” เพื่อขยายผล “โครงการถุงนมกู้โลก” โมเดลการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in School Model) ซึ่งริเริ่มโดย SCGC เน้นสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยขับเคลื่อนผ่านความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตั้งเป้าขยายผลโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 50 จังหวัด 1,700 โรงเรียน เพื่อให้เกิดการจัดการขยะภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมในวงกว้าง สอดคล้องกับแนวทาง อีโคสคูล (Eco-School) พร้อมกันนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ “กิจกรรมหนูน้อยกู้โลก” เปิดโอกาสให้เยาวชนส่งคลิปการจัดการถุงนมใช้แล้วเข้าประกวดชิงทุนการศึกษารวมกว่า 1 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า “โครงการถุงนมกู้โลก โดย SCGC เป็นโครงการที่ดำเนินการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้วาระแห่งชาติ BCG Economy Model ที่มุ่งให้ความรู้และส่งเสริมให้เยาวชนคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และนำนวัตกรรมมาเปลี่ยนถุงนมใช้แล้วให้กลายเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าเพิ่มใช้งานได้ยาวนาน เช่น เก้าอี้ กระถางต้นไม้ สร้างตัวอย่างการหมุนเวียนทรัพยากรให้เห็นเป็นรูปธรรม ทาง สพฐ. มีความยินดีและพร้อมขับเคลื่อนโครงการฯ ผ่านสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษา และโรงเรียนภายใต้ สังกัด สพฐ. เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน เพื่อมุ่งสู่ Zero Waste School หรือ ‘ขยะเหลือศูนย์’ ในอนาคต”

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่าSCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance) ขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เน้นพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer นอกจากนี้ ยังมุ่งลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ รวมทั้งมุ่งสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ให้เกิด Low Waste, Low Carbon โดยเล็งเห็นว่าการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันขับเคลื่อน”

SCGC ได้ริเริ่มนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ชุมชนรอบโรงงาน จ.ระยอง ภายใต้ “โครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” เชื่อมโยง บ้าน วัด โรงเรียน และธนาคารขยะ ให้ความรู้และสร้างพฤติกรรมคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 4,000 คน นำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกว่า 236 ตัน ช่วยลดปริมาณการฝังกลบขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 483,375 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

นอกจากนี้ เพื่อต่อยอดการจัดการขยะในโรงเรียน ซึ่งพบว่ามีปริมาณขยะจากถุงนมจำนวนมาก SCGC จึงได้ร่วมกับโรงเรียนนำร่องในจังหวัดระยอง ริเริ่ม “โครงการ SCGC ถุงนมกู้โลก” ขึ้น โดยนำนวัตกรรมและการออกแบบมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้พลาสติกใช้แล้วอย่างถุงนม นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และขึ้นรูปเป็น “เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน” ที่ใช้งานได้ยาวนาน ปลูกจิตสำนึกเรื่องการจัดการขยะ และสร้างตัวอย่างการหมุนเวียนทรัพยากรให้เห็นเป็นรูปธรรม

“ที่ผ่านมา SCGC ได้ขยายผล โครงการ SCGC ถุงนมกู้โลก ร่วมกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สุพรรณบุรีเขต 1 รวม 135 โรงเรียน พร้อมร่วมมือกับเครือข่ายเอกชน รองรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่อไป โดยตั้งเป้าขยายผลโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 50 จังหวัด 1,700 โรงเรียน สำหรับความร่วมมือระหว่าง SCGC สส. และ สพฐ. ในครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการขยะในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ และเห็นเป็นรูปธรรมในวงกว้างต่อไป” ดร.สุรชา กล่าวเพิ่มเติม

นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) กล่าวว่า “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนิน ‘โครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-School)’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนตามหลักการของโครงการ สอดคล้องกับแนวทางการสร้างพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Citizen) ที่มีความตระหนัก และรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปลูกฝังพฤติกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ‘โครงการถุงนมกู้โลก โดย SCGC’ ได้สร้างต้นแบบการจัดการถุงนมโรงเรียนแบบครบวงจร ช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบและเพิ่มการรีไซเคิล มีแนวทางที่สอดคล้องกับ ‘โครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-School)’ และ ‘โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste to School)’ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อน และขยายผล รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ผ่านภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และขอเชิญชวนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) และโรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมโครงการฯ สร้างการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ ผ่านการบูรณาการกิจรรมเรื่องการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรมให้แก่เยาวชนในวงกว้าง พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เริ่มต้นจากสองมือเล็ก ๆ สู่การสร้างลักษณะนิสัยรักสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต”

สำหรับ “กิจกรรมหนูน้อยกู้โลก” ภายใต้โครงการถุงนมกู้โลก ชวนโรงเรียนอนุบาล-ประถมศึกษาทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรมประกวดคลิปวิดีโอ “หนูน้อยกู้โลก” เพียงบอกเล่าวิธีจัดการถุงนมโรงเรียนใช้แล้วให้สร้างสรรค์และน่าสนใจ ความยาวไม่เกิน 3 นาที ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 1 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 13 ม.ค. 2566 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com หรือ Facebook: SCGofficialpage

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการถุงนมกู้โลก

คุณานนท์ คงสมเวช

kunanoko@scg.com โทร 088-745-2130

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑) พัฒนาระบบสารสนเทศแบบ Real Time และพื้นที่แลกเปลี่ยนแบ่งปันนวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์

๒) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้และกลไกการต่อยอดขยายผลชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ Learning Community สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๓) สร้างเครื่องมือในการสื่อสารเนื้อหาวิชาการ (Content) ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในรูปแบบที่น่าสนใจและทันสมัยทางสื่อสังคมออนไลน์

๔) ออกแบบงานสัมมนาวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ ๒๑ เชิงสร้างสรรค์ ทันสมัย และมีคุณค่า

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อนันต์  พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองบริบทเชิงพื้นที่ ภายใต้จุดเน้น สพฐ.” โดยได้กล่าวถึงประเด็นการจัดการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จว่า ครูคือบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษา สพฐ. เล็งเห็นว่าการสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับครู เป็นการสร้างพื้นที่ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงแสดงศักยภาพ ครูได้นำสิ่งที่ได้จากประสบการณ์มาร่วมแบ่งปันซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี  และเมื่อกล่าวถึงเรื่องนวัตกรรมการศึกษา ดร.อนันต์ พันนึก ได้ยกแนวคิดของ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเชิงบริบทของพื้นที่ สพฐ. ไม่สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองทุกความแตกต่างของพื้นที่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนจึงต้องมาจากวิธีการที่แตกต่างกันและเหมาะสมตามบริบทพื้นที่นั้น ดังนั้น สพฐ. จึงดำเนินโครงการนี้ เพื่อเป็นเวทีให้คนเก่งที่มาจากบริบทที่ต่างกัน ได้มา Learn Care Share Shine เพื่อดึงครูที่มีศักยภาพมาขายความคิด และให้เพื่อนครูได้เสริมเติมต่อสิ่งดีๆ จากรุ่นสู่รุ่นต่อไป

FACEBOOK : OBEC Active Learning
FACEBOOK : Learning OBEC

สนก. ขับเคลื่อนนวัตกรรมการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (ESPORT)

ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สนก. ประชุมร่วมกับคณะทำงาน รมช.ศธ. โดยมีผู้บริหาร บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อเตรียมการผลักดันนโยบายด้านดิจิทัลและซอฟต์พาวเวอร์ด้วยการจัดการแข่งขันกีฬาอิเล็คทรอนิกส์ (ESPORT) ระดับประเทศของนักเรียนมัธยมศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่ายพันธมิตรจากทุกภาคส่วน อันนำไปสู่การเปลี่ยนวิกฤตเรื่องปัญหาเด็กติดเกม ให้เป็นโอกาสที่จะพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียนและต่อยอดสู่การศึกษาและการทำงานในอนาคต

 

การอบรมเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : International Mathematics And Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

ในวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. ได้รับเกียรติจาก
ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 :  International Mathematics And Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia ระหว่างวันที่ 26 – 29 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างเต็ม ตามศักยภาพโดยได้รับคำแนะนำ และสนับสนุนจากท่านผู้เชี่ยวชาญ ดังต่อไปนี้

  1. นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
  2. นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  3. นายปราโมทย์ ขจรภัย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  4. นายกำจัด คงหนู ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  5. นายวิทยา ศรีพันชาติ นักวิขาการศึกษาชำนาญการ

 

การจัดกิจกรรมงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก”

วันที่ 11 ตุลาคม 2565  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ เป็นคณะทำงานคนดี รักษ์โลกและให้ได้ความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนนักเรียน เด็ก และเยาวชนและผู้ที่สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดคลิปในหัวข้อ “บอกรักโลก : บ้านส่วนรวมของเรา” ในการนี้คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา กำหนดจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัล โครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องสัมมนา B 1 – 1 ชั้น B 1 อาคารรัฐสภา ได้เชิญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมงานและจัดนิทรรศการโครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก”
โดย สพฐ. มอบหมายให้โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก และโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ร่วมจัดนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่สำคัญ ได้แก่
  • โครงการพัฒนาโรงเรียนสีเขียวสู่ความยั่งยืน บอร์ดเกม ภารกิจกู้โลก กับการพัฒนาที่ยั่งยืน  การผลิตเส้นใยจากผักตบชวาเพื่อดักจับไขมัน นำเสนอโดย โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก ฯลฯ
  • โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ฐานการเรียนรู้ผักไฮโดรดอรจา  ฐานการเรียนรู้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ นวัตกรรมอฐสละ   เศษอาหารมีค่าใช้เลี้ยงปลาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ  นำเสนอโดย โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา

สพฐ. จับมือ ม.เกษตร พัฒนาเทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project)

วันที่ 2 ตุลาคม 2565 เวลา 08.00 – 12.00 น. สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมการสัมมนาปิดหลักสูตรการอบรมออนไลน์ “เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมทั้งกิจกรรมการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากร ดังนี้

หัวข้อ “การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project) โดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สพฐ.

หัวข้อ “การบูรณาการ STEAMs กับโครงงานวิทยาศาสตร์” โดย ดร.ศริญญา ไพศาลสมบัติ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจกรรมพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หัวข้อ “Arts ในโครงงานวิทยาศาสตร์” โดย ดร.กรอร วงษ์กําแหง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หัวข้อ “บทบาทของครูที่ปรึกษาต่อโครงงานวิทยาศาสตร์” โดย รศ.ดร.เอกพันธ์ ไกรจักร หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุป สังเคราะห์และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของผู้เข้ารับการอบรม โดยมีครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สมัครเข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ จำนวนเกือบ 1,000 คน และได้รับการพิจารณาเข้ารับการอบรม จำนวน 500 คน โดยผู้เข้ารับการอบรมจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบ KU-LEARN เพื่อเรียนรู้และวัดผล จำนวน 6 โมดูล ภายในระยะเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมการสัมมนา จำนวน 1 ครั้ง จึงจะได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้นลง สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อัพโหลดเนื้อหา ทั้ง 6 โมดูล ในการอบรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ ผ่านหน้าเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงานต่อไป

การประชุมเชิงปฎิบัติการ”สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

ช่วงระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วนบ.) และ กลุ่มโครงการพิเศษ (คพศ.) นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก” ซึ่งมีคณะทำงานเข้าร่วมทั้งหมด 60 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย นักวิชาการศึกษา และข้าราชการบำนาญ โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เข้าร่วมสังเกตุและให้คำปรึกษาในการประชุมครั้งนี้

วัตถุประสงค์การประชุมครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภาพความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่อง ดังนี้
1) สรุปผลการดำเนินงานโครงการคอนเน็กซ์อีดี
2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
3)
สรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมศักยภาพ
ในการเป็นพลเมืองอาเซียนและเตรียมสู่การเป็นพลเมืองโลกอย่างยั่งยืนและ
4) สรุปผลการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งจัดทำเล่ม “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 ต่อไป