ข่าวประชาสัมพันธ์

การประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ดร.จักรพงษ์  วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวยั่งยืนให้กับคณะทำงานจัดทำและปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดทำคู่มือการประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจ ส่งต่อนโยบายให้โรงเรียนในสังกัด ทั้งนี้เกณฑ์การประกวดได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงในการส่งเสริม กำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เกณฑ์ประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนประกอบด้วย หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบายและการวางแผน หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากร พลังงาน และการจัดการของเสีย หมวดที่ 4 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และหมวดที่ 5 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหลอมรวมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู โรงเรียน ตลอดจนชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน ในการเป็นต้นแบบของการสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ และมีสมรรถนะในการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านการคิด การตัดสินใจ การร่วมมือกันปฏิบัติงาน การใช้และบำรุงทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”   โดยมีคณะทำงาน จำนวน 31 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 12 คน นักวิชาการศึกษา 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 3 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน

ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ประจำปี ๒๔๖๖

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา องค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ประจำปี ๒๔๖๖
ระหว่างวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ – ๑๒ มีนาคม ๒๔๖๖ จานวน ๔ ภูมิภาค ดังนี้
๑. ภาคกลางและภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร
๒. ภาคใต้ ระหว่างวันที, ๒๔ – ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ ณ โรงแรมไดมอนด์ สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓. ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ ๔- ๔ มีนาคม ๒๔๖๖ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
๔. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๒ มีนาคม ๒๔๖๖ ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น

เข้ากลุ่มไลน์เพื่อสอบถามการลงทะเบียนเพิ่มเติม
https://line.me/R/ti/g/nMs7SCEOhH

คู่มือการลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมฯ

หนังสือแนบ

ประกาศผลการคัดเลือกต้นแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงและมีสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ประจำปี 2565

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
เป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ประจำปี 2565
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ภายใต้การประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566เวลา 09.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

โดยมีผู้เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าส่วนราชการ ประกอบด้วย 1) ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริ 2) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 4) เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 5) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 6) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 7) ผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 8) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นักเรียนที่ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร และครูที่ปรึกษาแต่ละกิจกรรม

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทักษะวิชาการของนักเรียนในครั้งนี้ มีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ จำนวน 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 5) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 6) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ 7) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ผลงานชนะเลิศจาก 4 กิจกรรมประกอบด้วย 1) กิจกรรมการวาดภาพ 2) กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาไทย 3) กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ และ 4) กิจกรรมโครงงาน/สิ่งประดิษฐ์ จำนวน 43 ผลงาน

และทรงพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมทักษะวิชาการของนักเรียน ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการโครงงาน/สิ่งประดิษฐ์ ผลงานการวาดภาพ ผลงานการเขียนเรียงความภาษาไทยผลงานการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ นิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียน จำนวน 7 หน่วยงาน และทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับ คณะนักเรียนที่ได้รับพระราชทางรางวัลระดับดีเด่น คณะผู้บริหารหน่วยงานด้านการศึกษา คณะผู้ปฏิบัติงานสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และคณะผู้ปฏิบัติงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นิทรรศการแสดงผลงานดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมผลงานระหว่างวันที่ 10 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผลงานของนักเรียนในโครงการตามพระราชดำริต่อไป

ภาพโดย

กองงานส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวังและสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งเน้นการเสริมสร้างให้ครูและผู้เกี่ยวข้อง สามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้และเหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา รวมถึงได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เห็นคุณค่าในการเรียนรู้ และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ โดยมีกลไกสำคัญในการสร้างความยั่งยืน คือ การสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เอื้ออำนวยให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ บนฐานการสร้างสรรค์นวัตกรรมและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน ภายใต้ระบบนิเวศทางการเรียนยุคใหม่ที่มีวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ที่หลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล (Personalized Learning) ก้าวสู่การเป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในมิติการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ รวมถึงสร้างพลังแห่งการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างมีพลวัตจากภายในชุมชนผู้ปฏิบัติเอง โดยมีวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ ความสุข เป้าหมายและภารกิจร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นประสิทธิผลและคุณค่าในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิด โดยได้เน้นย้ำถึงรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและบริบทของพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งให้แนวทางและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะทำงานในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญในการดำเนินการขับเคลื่อนงานในภาพรวมของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดศึกษา และให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการสร้างและพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เน้นประโยชน์อันจะเกิดแก่ตัวเด็กเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ มีดังนี้

๑. ขึ้นรูปการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

๒. จัดทำแนวทางการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer)

๓. พัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community)
ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๔. ยกร่างคู่มือการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design)
สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

ติดตามต่อได้ที่ เพจ Learning OBEC

การประชุมปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งรับผิดชอบกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ จัดการประชุมปฏิบัติการตรวจทาน จัดทำต้นฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 25 – 28 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา เพื่อจัดส่งให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดยมีกำหนดการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) พร้อมกัน ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งมีผู้สมัครสอบในครั้งนี้จำนวน 159,172 คน

โครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2566

วันอังคารที่ 17 มกราคม 2566  นางสาวกฤติกา ราษีสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ ขอหารือร่วมกับ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และนางสาวนลินี จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการโครงการพิเศษ  พร้อมคณะ เพื่อรายงานการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2565 ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอแผนงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2566 โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. การพัฒนาเยาวชนเครือข่ายห้องเรียนสีเขียว ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
2. นิทรรศการและกิจกรรมในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยเชิญ สพฐ.ร่วมกิจกรรม
3. เสริมสร้างทัศนคติเยาวชนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
4. บูรณาการห้องเรียนสีเขียวร่วมกับหน่วยงาน กฟผ. ให้กับโรงเรียน ชุมชน ในพื้นที่ตามแผน PDP
5. จัดตั้งห้องเรียนสีเขียว จำนวน 2 โรงเรียน
6. การพัฒนา Website ห้องเรียนสีเขียวรูปแบบใหม่เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนร้อย่างยั่งยืน (Green Learing Society) และแผนการดำเนินงานห้องเรียนสีเขียว ปี 2566 มีแผนการดำเนินงาน ดังนี้ 1.งานการประกวดนวัตกรรม พลังงานและสิ่งแวดลอ้ ม ประจ าปี 2566 2. งานพลังเยาวชน (Green Learning Society) 3.งานส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ 4.งานจัดทำสื่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสีเขียว (Smart Green Learning Room)

 

สนก. เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digitral Platfrom) เพื่อการขยายเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

วันที่ 17 มกราคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
มอบหมายให้ นายฐาปณัฐ อุดมศรี และ นายวิทยา ศรีพันชาติ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) การบริหารจัดการโครงการพัฒนาองค์กร
แห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 17 – 20 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเดอะพรรณราย จังหวัดอุดรธานี

การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการข้อมูลดิจิทัล และพัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษ ที่ 21 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ตามเป้าหมายของโครงการย่อย ซึ่งประกอบด้วย

  1. โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships)
  2. โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” สำหรับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน
  3. โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Projects)
  4. โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (E-SPORTS)

ภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง สนก. ได้กำหนดแผนการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น ไปสู่การปฏิบัติภายในไตรมาสที่ 2 ต่อไป

 

 

 

 

 

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบ ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนครั้งนี้ และนางอังคณา เหว่าวิทย์ รองผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดประเด็น และชี้แจงความเป็นมาของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผน เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและภารกิจที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดประชุมสัมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่สามารถดำเนินการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป

สนก. ขยายเครือข่ายนวัตกรรมการต่อยอดเยาวชนไทยสู่สากล ร่วมกับสถานฑูตอังกฤษ และ NCUK Thailand

วันที่ 11 มกราคม 2566 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มอบหมาย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เข้าร่วมการประชุมกับผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และ ผู้แทนจาก Northern Consortium of UK Universities (NCUK) ประเทศไทย ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในการต่อยอดผู้เรียนจากระบบการศึกษาไทยสู่ระบบการศึกษาที่มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการสร้างโอกาส และช่องทางการศึกษาที่หลากหลายให้แก่เยาวชน เพื่อเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนอย่างแท้จริงในอนาคต

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ส่งนักเรียนทุนจีน “1+2+1” รุ่นที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) เดินทางไปให้กำลังใจและส่งนักเรียนทุนในโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน รุ่นที่ 1 จำนวน 29 คน เดินทางไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน

ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นักเรียนไทยทั้ง 29 คน ถือเป็นนักเรียนใหม่ ระดับปริญญาตรีกลุ่มแรก ที่ได้เดินทางเข้าสู่มณฑลกวางสี หลังจากที่มีการเปิดประเทศให้นักเรียน นักศึกษาสามารถเดินทางเข้าประเทศได้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ซึ่งกว่าการเดินทางครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องใช้ความพยายามในการประสานงานและการเตรียมความพร้อมนักเรียนอย่างดียิ่งตามข้อกำหนดของสาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่สากลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกนักเรียน ม.ปลาย ที่มีความเป็นเลิศด้านภาษาจีนและมีสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ให้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งรับทุนการศึกษาระหว่างที่ศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า โดยในเดือน มกราคม – เมษายน 2566 สพฐ. จะดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนทุนรุ่นต่อไป

การประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเกณฑ์ แบบเครื่องมือ สำหรับการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงานส่วนกลาง สพฐ. และข้าราชการบำนาญผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา จำนวน 18 คน กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอร่างประกาศ เกณฑ์ และแบบเครื่องมือ การระดมความคิดเห็น และการแบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจากประชุมดังกล่าว ทำให้สำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแบบเครื่องมือ และหลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยในการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะดำเนินการประกาศ ประชาสัมพันธ์การรับสมัครผลงานวิจัยเข้าร่วมการประกวดต่อไป