ข่าวประชาสัมพันธ์

การอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รุ่นที่ 1-2 ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566
ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

                      วันที่ 11 มีนาคม 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมรับฟังและบรรยายพิเศษในการอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รุ่นที่ 1-2 ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร และได้รับความอนุเคราะห์วิทยากร นายอานนท์ วงศ์วิศิษฏ์รังสี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ผู้ทรงความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิธีการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ทุจริต

                      โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดการประเมินให้กับผู้รับผิดชอบโครงการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก่อให้เกิดความต่อเนื่องในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งการประเมินดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาแฟลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทราบ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย บุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 245 เขต เขตละ 2 คน คือ ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 คน และผู้มีความชํานาญระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 490 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้

                         รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย เขตตรวจราชการ 1– 9 และ 18 รวม 121 เขต ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 242 คน

                         รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย เขตตรวจราชการ 10 – 17 รวม 124 เขต ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 248 คน

วิทยากร และคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 37 คน
รวมทั้งสิ้น 527 คน

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคเหนือ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

การอบรมฯ ครูภาคเหนือครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 3 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
– โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
– โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
– โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

 

 

 

 

 

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและมีสมรรณะภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยการดำเนินการของกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและมีสมรรณะภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs) ระหว่างวันที่ ๑ – ๕ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ รัชดา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาที่ยังยืน พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา วิจัยต่อยอดองค์ความรู้ รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล โดยรับสมัครและคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงและมีสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leaders for SDGs) จำนวน 50 คน เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้
ทั้งนี้พิธีเปิดการอบรมได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า เป็นประธาน พร้อมให้โอวาทเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้เข้ารับการอบรม

 

การประชุมปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ)

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) ระหว่างวันที่28 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานครโดยมีนายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยมีกำหนดการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบสอง ระดับประเทศ) พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566

รับสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน ๔๘ ศูนย์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สนใจและสมัครเข้ารับการอบรม โดยแบ่งออกเป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๓ – ๔ เมษายน ๒๕๖๖ จำนวน ๑๐๐ คน และรุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ เมษายน ๒๕๖๖ จำนวน ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ คน เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่  โรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์  จำนวน ๔๘ ศูนย์ และโรงเรียนในสังกัดที่สนใจ สมัครใจเข้าร่วมการอบรม เชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อย มีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ภายในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

ลงทะเบียนที่นี่

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคใต้ ณ โรงแรมไดมอนด์ สุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจากนายสำรวย ภักดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

โดยการอบรมฯ ครูภาคใต้ครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 2 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

ประกาศรายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566

 

โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยจะมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ

 

รายละเอียดผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมดังเอกสารแนบ

ประกาศรายชื่อ

 

การประชุมปฏิบัติการจัดทำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร โดยมีเป้าหมายเพื่อนำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาของโลก (ระหว่างปี 2558 – 2573) ที่ครอบคลุม มิติการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคน การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง การสร้างสันติภาพและความยุติธรรม และการพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือ มาจัดทำเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ และจัดทำคู่มือเพื่อใช้ประกอบการอบรมขยายผลในอนาคตแก่ผู้เข้าอบรมวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี

ทั้งนี้ได้มีคณะทำงานเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 45 คน ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน และนักวิชาการศึกษา โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เข้าร่วมสังเกตและให้คำปรึกษาในการประชุมครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก ดร.ดุริยา อมตวิวัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านความร่วมมือต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมให้ความรู้ในหัวข้อกรอบทิศทางและการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม รวมถึงได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมให้โอวาทเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจแก่คณะทำงาน

สพฐ. ให้ความสำคัญด้านการคัดแยกต้นทางเพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการกล่องนมรักษ์โลก

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ น.ส.นลินี  จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษและบุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานกระบวนการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด จังหวัดราชบุรี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินโครงการกล่องนมรักษ์โลก (Careton กล่องนมรักษ์โลก) ด้วยการรับสมัครโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกจัดเก็บกล่องเครื่องดื่มในโรงเรียน ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 26 แห่ง และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 แห่ง รวมทั้งสิ้น 38 แห่ง และเพื่อให้โรงเรียนที่ร่วมกิจกรรมได้เข้าใจและเห็นความสำคัญการคัดแยกต้นทางเพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการจึงได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานกระบวนการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด จังหวัดราชบุรี พร้อมกับมอบเกียรติบัตรให้กับครูและโรงเรียนที่ร่วมโครงการ

รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่

1. โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ สพป.กรุงเทพมหานคร
2. โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ สพป.นนทบุรี เขต 2
3. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 (วัดโบสถ์ดอนพรหม) สพป.นนทบุรี เขต 1
4. โรงเรียนวัดคลองชัน สพป.ปทุมธานี เขต 2
5. โรงเรียนพญาไท สพป.กรุงเทพมหานคร
6. โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ สพป.กรุงเทพมหานคร
7. โรงเรียนวัดอมรินทราราม สพป.กรุงเทพมหานคร
8. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง) สพป.ปทุมธานี เขต 1
9. โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่ใน สพป.สมุทรปราการ เขต 2
10. โรงเรียนคลองบางแก้ว สพป.สมุทรปราการ เขต 2
11. โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ สพป.ปทุมธานี เขต 1
12. โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก สพป.กรุงเทพมหานคร

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครู 4 ภูมิภาค ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร

โดยการอบรมฯ ในภาคกลางและภาคตะวันออกครั้งนี้ นับเป็นจุดแรกจาก 4 ภูมิภาค ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการ มีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิด ที่ได้รับ กลับไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนให้เต็มที่ตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต่อไป

สนก. ทดลองใช้การขับเคลื่อนโครงการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเต็มรูปแบบภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและคู่มือการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ระหว่างวันที่ วันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมเดอะพาลาซโซ กรุงเทพมหานคร

โดยผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดำเนินการจัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานทุกภาคส่วนได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู และบุคลากรทางการศึกษาจากทั่วประเทศ เพื่อจัดทำแนวทางและคู่มือการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ที่พัฒนาขึ้นและจะถูกนำไปทดลองใช้ในการขับเคลื่อนโครงการย่อยของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect)
2. โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1”
3. โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Project)
โดยมุ่งเน้นการนำเข้า จัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลโครงการเพื่อใช้ในการประเมินผลสำเร็จ และการวิเคราะห์แนวทางในการขยายผลโครงการในปีงบประมาณต่อไป

ทั้งนี้ สนก. จะขยายผลการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ในการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่สนใจและการให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่ผู้รับผิดชอบโครงการในโครงการอื่นๆ ในอนาคตต่อไป

 

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งรับผิดชอบกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ จัดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) ระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา และจะตรวจทานและจัดทำข้อสอบเพื่อส่งให้กับศูนย์สอบทั่วประเทศต่อไป โดยการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบสอง ระดับประเทศ) จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 พร้อมกันทั่วประเทศ