ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้านหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์

ด้วย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้านหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ “Young AI Robotics” รุ่น 2 โดยเป็นการอบรมความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ให้แก่ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 10 โรงเรียน มีเป้าหมายให้ครูผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียน และนักเรียนสามารถพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้โรงเรียนในสังกัดที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด สมัครเข้ารับการคัดเลือก เพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยกรอกข้อมูลการสมัครเข้ารับการอบรมผ่านทางเว็บไซต์ bit.ly/BU_airobotics2  ภายในวันที่ 10 มกราคม 2563 รายละเอียดดังสิ่งที่ส่งมาด้วย

ขยายเวลารับสมัคร ข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์ แนวคิดใหม่

ความหมายของผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่

 

หมายถึง  ผลงานที่เกิดจากจินตนาการที่สร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยแนวคิดใหม่
ที่ผู้ประดิษฐ์คิดเองตามบริบทและช่วงวัย โดยมีการประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

ประเภทของสิ่งประดิษฐ์

        1. เทคโนโลยีที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Green Technology)

        2. อาหารและเกษตรกรรม (Food and Agriculture)

        3. ความปลอดภัยและสุขภาพ (Safety and Health)

        4. เทคโนโลยีสําหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ   (Technology for Special Need)

        5. การจัดการกับภัยพิบัติ (Disaster Management)

        6. การศึกษาและนันทนาการ (Education and Recreation)

        7. เทคโนโลยีการบินและอวกาศ (Aerospace and Aviation)

        8. ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ (Artificial Intelligence and Automatic System)

 

นิยามของแต่ละประเภท

       ข้อ 1  สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งเสริมความยั่งยืน ลดปัญหามลภาวะ ส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

        ข้อ 2  สิ่งประดิษฐ์ที่ยกระดับคุณภาพการทํางานด้านการเกษตร อาหารและโภชนาการ

        ข้อ 3  สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ทางด้านความปลอดภัย และสุขภาพ (เช่น อุปกรณ์, ระบบ)

        ข้อ 4  สิ่งประดิษฐ์ที่อํานวยความสะดวกให้กับผู้มีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้บกพร่องทางร่างกาย  ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์

        ข้อ 5  สิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ในการตรวจจับป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือเพื่อช่วยในการจัดการหลังการเกิดภัยพิบัติ

        ข้อ 6  สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ประโยชน์ในชั้นเรียน หรือเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ เพื่อจุดมุ่งหมายในการนันทนาการ (เช่น กีฬา, ท่องเที่ยว, บันเทิง และอื่นๆ)

        ข้อ 7   สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ประโยชน์ในด้านการบิน และอำนวยความสะดวกภายในอากาศยาน

       ข้อ 8   สิ่งประดิษฐ์ที่มีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลักมีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดและเป็นผู้ช่วยในด้านต่างๆ เช่น ระบบนำทางรถยนต์ไร้คนขับ ช่วยผู้อัจฉริยะในสมาร์ทโฟน หรืออาจจะเป็นการสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้เหมือนคน

 

ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด

นักเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อายุระหว่าง 6 – 19 ปี โดยสมัครเป็นทีมเดี่ยว 1  คน หรือ ทีม 2 คน  และครูที่ปรึกษา 1 คน/ทีม

 

เงื่อนไขการส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์

  • ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ส่งเข้าประกวดต้องอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งใน 8 ประเภทที่ระบุข้างต้น (ผลงานที่ไม่สอดคล้องกับประเภทที่ระบุจะไม่ได้รับการพิจารณา)

  • ผลงานสิ่งประดิษฐ์ส่งตามขนาดจริง เมื่อบรรจุลงหีบห่อแล้วต้องมีขนาดไม่เกิน 1 x 0.5 x 0.5 เมตรและน้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม (หากส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เป็นหุ่นจําลองย่อส่วน ต้องสาธิตแสดงให้เห็นการทํางานได้)

  • ให้ลงทะเบียนส่งเอกสารผลงานผ่านระบบออนไลน์ตามรูปแบบเอกสารที่กำหนดไว้ ที่เว็บไซต์  และนำเอกสารมาในวันประกวดผลงานจำนวน 3 เล่ม

  • การจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องมีโปสเตอร์ประกอบ 1 แผ่น (ขนาด โปสเตอร์ 90 x 120 เซนติเมตร)

  •  โรงเรียนสามารถส่งชิ้นงานได้ประเภทละ 1 ชิ้นงาน (ดังนั้นหนึ่งโรงเรียนสามารถส่งได้ไม่เกิน 8 ผลงาน)

คลิกเพื่อส่งโครงการ

ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ

ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติในการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

เข้าร่วมอบรมการนำข้อมูลเข้าระบบติดตามประเมินผลการส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย ระยะที่ 2

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.) จัดการอบรมการนำข้อมูลเข้าระบบติดตามประเมินผลการส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย ระยะที่ ๒ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น.ณ ห้องประชุม ๔๐๑ ชั้น ๔ อาคาร สผ.

โดยมีนางวันทนี เพ็ชรอำไพ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเคราะห์มาตรการ เป็นประธานเปิดการอบรม ต่อจากนั้นเป็นการอบรมการใช้งานระบบติดตามประเมินผลการส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย ระยะที่ ๒ โดย นายสุพจน์ ชณุทโชติอณันต์ อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นางสาวจารุณี จารุรัตนวารี และ นายอรรถเศรษ์ฐ จริยธรรมานุกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งการจัดอบรมครั้งนี้เพื่อปรับปรุงการจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการนำเข้าข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล ให้สามารถนำไปใช้งานตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ สพฐ. ได้ส่งผู้แทนจากสำนักพัฒนาพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเข้าร่วมการอบรมด้วย

เยี่ยมชม และพบปะผู้บริหาร ฝ่ายบริหารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ดร.ธัญนันท์  แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ และคณะ เข้าพบผู้บริหาร ฝ่ายบริหารวิชาการ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง  School of International & Interdisciplinary Engineering Program – Robotics Laboratory ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาโครงการและกิจกรรมด้านการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต่อยอดให้คุณครูและผู้เรียน สามารถเข้าถึงโอกาสในการระดับการศึกษาต่อ และด้านอาชีพต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและแนวทางดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับเขตตรวจราชการ

ศุนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและแนวทางดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับเขตตรวจราชการ ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2562 ณ โรแรมริเวอร์ไรน์ จังหวัดนนทบุรี โดยได้รับเกียรติจากท่านอัมพร พินะสา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ พร้อมทั้งได้รับเกียรติจาก ดร.พิธาน พื้นทอง อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดทำแผนและแนวทางในการทำงานแก่ประธานเขตตรวจราชการเพื่อนำไปใช้ในปีงบประมาณ 2563 ต่อไป

แบบตอบรับเข้าร่วมการประชุมชี้แจงเกณฑ์การประกวดแข่งขันกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านและการประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการ ในการจัดการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

คลิกเพื่อลงทะเบียน

ดาวน์โหลดเอกสาร

เลขาธิการ กพฐ. มอบผู้แทนร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 20 ปี

ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 20 ปี โดยมีพลตำรวจเอกวัชรพล ประสานราชกิจ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นตัวแทนรับมอบเงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล ณ ห้องนนทบุรี 1 ชั้น 3 อาคาร 4 สำ นักงาน ป.ป.ช. (ถนนสนามบินน้ำ) จ.นนทบุรี

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน นายอำนาจ วิชยานุวัติ เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 2 โดยมีผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวน 15 ท่าน เพื่อร่วมกันพัฒนา model การศึกษาของโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน

ผู้แทนสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมงาน TEDxYouth@Bangkok

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00 น. ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมาย ดร.สมพร สามทองกล่ำ (ผอ.กลุ่ม วนส. สนก.) และนายภูริวัจน์ วงค์เลย (นักวิชาการศึกษา วนส. สนก.) ร่วมงาน TEDxYouth@Bangkok ในฐานะ Education Partner โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้แสดงทักษะการสื่อสาร ความกล้าแสดงออก ถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจ ประสบการณ์ และแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ของตนเองสู่สังคม ณ อาคาร CW (Cyber World) Tower กรุงเทพมหานคร