ข่าวประชาสัมพันธ์

“สนก. ส่งนักเรียนทุน iConnect OBEC Scholarship ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา”

ตามที่ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อนุมัติให้สํานักพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษา (สนก.)
ดําเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล ที่มุ่งการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนไทยที่มีศักยภาพสูง ให้ได้รับทุนการศึกษาในหลักสูตร Foundation/ A-Level/ High School จากกลุ่มโรงเรียนในเครือข่าย CATS Global Schools

โดย CATS Global Schools ได้เชิญผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมเดินทางพร้อมกับนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาในปี 2566 – 2567 ที่มีกำหนดการเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงต้นเดือนกันยายน ซึ่ง ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี ได้นำนักเรียนทุน และผู้ปกครอง เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารโรงเรียน เพื่อติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล รุ่นที่ 1 รวมถึงเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ระหว่างวันที่ 6 – 21 กันยายน 2566 ณ CATS Academy Boston เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซต ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยภายหลังการเดินทาง ได้ดำเนินการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดโครงการในรุ่นต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

พิธีมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ในการมุ่งเน้นปลูกฝังองค์ความรู้ ทัศนคติ และอุปนิสัยที่ดีในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนสีเขียว ในปี 2566 ได้กำหนดจัดกิจกรรมประกวดสำหรับนักเรียนและโรงเรียน จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมโรงเรียนสีเขียวเบอร์ 5 เพื่อยกระดับโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้โรงเรียนบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมกับทุกกิจกรรมของโรงเรียน รวมทั้งเป็นการประเมินและติดตามผลโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. กิจกรรม EGAT Green Learning Academy ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะการผลิตสื่อของเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารและเป็นผู้นำที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม

และในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society ซึ่งเป็น การประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของปี 2565 และปี 2566 ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคาร Impact Exhibition อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี 

        

“คนดี รักษ์โลก”

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้เข้าร่วมงาน “คนดี รักษ์โลก” โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม B1-1 ถึง ห้องประชุม B1 – 6 (ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร) ชั้น B1 อาคารรัฐสภา โดยเป็นการจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ในงาน “พลังแห่งความรัก” และได้เชิญโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 2 โรงเรียนเข้าร่วมจัดนิทรรศการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เป็นเลิศ (Best Practice)

 

     

 

สพฐ. ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ประจำปี 2566

วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มอบหมายให้ นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ผอ.สนก.) พร้อมด้วย นายฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วพร.สนก.) ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ประจำปี 2566 โดยมี นางสาวนันทมาศ ฉัตราภรณ์ ผู้แทนจาก สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย นางสาวเกล็ดเพชร สุมนพันธุ์ ผู้แทนจาก CATS Global Schools นายพศิษฐ์ พิพิธดิศพงษ์ ผู้ประสานข้อมูลนักเรียน ผู้แทนจาก คอนเน็ค เอ็ด (ConnectED) นักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา และผู้ปกครอง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เท่าเทียมกับการจัดการศึกษาในระดับนานาชาติและต่อยอดนักเรียนที่มีความรู้ ทักษะ และมีสมรรถนะสูง สู่การศึกษาต่อในสถาบันที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการเข้าพบผู้บริหาร สพฐ. ครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อให้นักเรียนผู้ได้รับทุนการศึกษา ในโครงการของ สพฐ. ทั้ง 3 รุ่น ทั้งนักเรียนทุนที่จบการศึกษาจากโครงการต้นแบบ และโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ประจำปี 2565 รวมถึงตัวแทนนักเรียนทุนฯ ประจำปี 2566 ที่กำลังจะเดินทางในปีนี้ เข้ารายงานผลการศึกษาและรับโอวาทจากผู้บริหาร สพฐ.

ทั้งนี้ นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผอ.สนก. กล่าวแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนฯ ทั้งที่จบการศึกษา และกำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อ พร้อมอวยพรให้ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง อีกทั้งขอบคุณในความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย แคทส์ โกลบอล สคูล (CATS Global Schools) คอนเน็ค เอ็ด (ConnectED) และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ที่สนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสในการเปิดโลกทัศน์ และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ ในต่างประเทศ พร้อมที่จะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศต่อไป

 

 

 

สพฐ. ขอประกาศผลการแข่งขันโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

นักเรียนไทยสุดยอด! คว้า 15 รางวัล 24 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics 2023 (PMWC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 12 ประเทศ 36 ทีม 144 คน ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ประเทศ ไต้หวัน ไทย บัลแกเรีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาเก๊า สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม และฮ่องกง โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 12 คน แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 4 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 15 รางวัล 24 เหรียญ ดังนี้

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 12 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 2 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 5 เหรียญทองแดง ดังนี้
เหรียญทอง 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  2. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา     โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  5. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

เหรียญทองแดง 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  5. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

 ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 4 เหรียญทองแดง และ 4 เหรียญชมเชย ดังนี้
เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  2. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
  4. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร      โรงเรียนแสงทองวิทยา      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล      โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เหรียญชมเชย 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  3. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร      โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

การประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meetings)

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meetings) ได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับเกียริตบัตรขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้โอนจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียน เพื่อเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน ๒๙ โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินงานสวนพฤกษศษตร์โรงเรียนและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และช่วยให้คำแนะนำกับโรงเรียนที่จะต้องรับการประเมินจากคณะกรรมการของโครงการ อพ.สธ. ซึ่ง สพฐ. มีแผนในการเพิ่มจำนวนสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยการจัดตั้งโรงเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ เป็นศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และได้ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินงานตามภารกิจบทบาท หน้าที่ ของศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนต่อไป

   

สพฐ. จัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ต่อยอดสู่เวทีระดับนานาชาติ ในงาน Internation Exhibition for Young Inventors World Contest (IEYI – 2023)

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่เป็นกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยมีผลงานที่ส่งมาพิจารณาคัดเลือก รวมทั้งสิ้น 273 ผลงาน คณะกรรมการได้พิจารณากลั่นกรองผลงานผ่านเข้าสู่รอบการประกวดผลงานระดับประเทศ จำนวน 41 ผลงาน เพื่อคัดเลือกและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ไปร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ ในงาน Internation Exhibitional for Young Inventors World Contest (IEYI – 2023) ทางระบบออนไลน์ (Virtual Contest)  ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในต้นเดือนกันยายน 2566 การจัดงานครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จำนวน 170 คน ประกอบด้วยนักเรียน 82 คน ครูที่ปรึกษา 41 คน และคณะกรรมการ คณะทำงาน 42 คน โดยมีผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ที่เข้าร่วมประกวดรวม 41 ผลงาน ใน 8 ประเภท ดังนี้

  1. เทคโนโลยีที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน  7  ผลงาน
  2. อาหารและเกษตรกรรม จำนวน  10  ผลงาน
  3. ความปลอดภัยและสุขภาพ จำนวน  8  ผลงาน
  4. เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ   จำนวน  4  ผลงาน
  5. การจัดการกับภัยพิบัติ จำนวน  4  ผลงาน
  6. การศึกษาและนันทนาการ จำนวน  5  ผลงาน
  7. เทคโนโลยีการบินและอวกาศ จำนวน  1  ผลงาน
  8. ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ จำนวน   2  ผลงาน

ในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศในครั้งนี้ สพฐ. ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายสถาบัน เป็นคณะกรรมการในการตัดสิน วิทยากร ครูที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนานักเรียนจนได้สร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์คว้ารางวัลจากหลายเวทีในระดับนานาชาติ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการนำนวัตกรรมไปใช้พัฒนาธุรกิจ มาเสวนาในหัวข้อ “เทคนิควิธีการก้าวสู่ความสำเร็จ” ให้กับครูและนักเรียน และวิทยากรจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาร่วมจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “STEAM4INNOVATOR” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนไทยสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ต่อไป

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าว “การนำความคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ จัดทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นนั้น อาจเป็นนวัตกรรมใหม่ หรือเป็นการดัดแปลง หรือพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีใช้งานอยู่แล้ว ให้เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ นับว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนให้เป็น “นักประดิษฐ์” ซึ่งจะเป็นทรัพยากรสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน จึงขอชื่นชมในความร่วมมือของทุกฝ่าย ที่ให้มีเวที ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงถึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าคิด กล้าแสดงออกถึงความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการประดิษฐ์ เกิดการเรียนรู้ที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต”

การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary
Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 13 กรกฏาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับคณะผู้แทนนักเรียนไทย และได้รับเกียรติจาก นายกิตติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 17 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการ ระดับนานาชาติ โดยมี นายปราโมทย์ ขจรภัย ที่ปรึกษาโครงการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ได้ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน ให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางการดำเนินการจัดการแข่งขันดังกล่าว

นักเรียนไทยสุดเจ๋ง! คว้า 43 รางวัล 79 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 31 ประเทศ โดยแบ่งทีมการแข่งขันออกเป็น คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย 81 ทีม คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 80 ทีม รวมทั้งสิ้น 161 ทีม ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐบัลแกเรีย และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 32 คน แบ่งเป็นวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน และวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 43 รางวัล 79 เหรียญ ดังนี้

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 15 รางวัล (15 เหรียญ) แบ่งเป็น 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง และ 6 เหรียญชมเชย ดังนี้

เหรียญทอง 3 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายอีตั้น เชน      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ศรีภัทราพันธุ์      โรงเรียนอนุบาลสุธีธร     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

เหรียญเงิน 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน      โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

เหรียญทองแดง 4 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสาธุ มีแก้ว     โรงเรียนสุวรรณวงศ์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม     โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชบุรี เขต 1

เหรียญชมเชย 6 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายภาคิน โอฬารรักษ์ธรรม     โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายปารทัต รักเกื้อ     โรงเรียนบูรณะรำลึก    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายชยพล ตั้งวิไลเสถียร      โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายศย ดำรงสุรสิน     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  1. เด็กชายนัธทวัฒน์ บูรณไมตรี     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายธนวินท์ เจษฏากานต์      โรงเรียนดรุณาราชบุรี     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 4 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญเงิน และ 12 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญเงิน 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

เหรียญทองแดง 3 รางวัล (12 เหรียญ) ได้แก่ Team A Team B และ Team D

  1. เด็กชายภาคิน โอฬารรักษ์ธรรม     โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายสาธุ มีแก้ว     โรงเรียนสุวรรณวงศ์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายชนาธิป ดีนวนพะเนา     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายอีตั้น เชน     โรงเรียนธิดาแม่พระ    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม     โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายปารทัต รักเกื้อ     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายชยพล ตั้งวิไลเสถียร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายศย ดำรงสุรสิน     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  1. เด็กชายนัธทวัฒน์ บูรณไมตรี     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น     ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
  1. เด็กชายธนวินท์ เจษฏากานต์     โรงเรียนดรุณาราชบุรี     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชบุรี เขต 1
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

ประเภทบุคคลรวม Group Prize ได้รับรางวัลรวม 1 รางวัล (4 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง ดังนี้

เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 16 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 5 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 7 เหรียญทองแดง และ 2 เหรียญชมเชย ดังนี้

เหรียญทอง 5 รางวัล ได้แก่

  1. นายณฐกร คุ้มมั่น      โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญทองแดง 7 รางวัล ได้แก่

  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายภัทรภณ ธนพิทักษ์     โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
  1. เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส     โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  1. นางสาวมิยูกิ ซาโต้     โรงเรียนสุรนารีวิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

เหรียญชมเชย 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 4 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

เหรียญเงิน 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ Team C และ Team D

  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายภัทรภณ ธนพิทักษ์     โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
  1. เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส     โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  1. นางสาวมิยูกิ ซาโต้     โรงเรียนสุรนารีวิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายณฐกร คุ้มมั่น     โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภทบุคคลรวม Group Prize ได้รางรับวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 8 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญทอง 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ Team B และ Team C

  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายณฐกร คุ้มมั่น     โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program)

สพฐ. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program) ระหว่างวันที่ 4 – 9 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมมิโด กรุงเทพมหานคร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) มุ่งสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) จากระดับพื้นที่เป็นฐานการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ให้สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการเรียนรู้ได้ตามบริบท

ซึ่งกิจกรรมหลัก มีดังนี้

1) การพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้
::: ลักษณะกิจกรรม :::
ผู้เข้าอบรม จำนวน 38 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการโรงเรียนของครู TLD (Teacher as a Learning Designer Bootcamp)
เข้าร่วม Workshop กับวิทยากรมากความสามารถ อาทิ เช่น
– ผศ.นพ.พนม  เกตุมาน –> กับหัวข้อ “ทักษะพี่เลี้ยงกับการสร้าง Meaningful Classroom”
– อ.ศศรส  โกวิทพานิชกุล  –> “Growth Mindset กับพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้”
– อ.ดร.ณฐิณี  เจียรกุล –> “Classroom Management and Facilitator”
– อ.ศราวุธ  จอมนำ –> “ทักษะพี่เลี้ยงกับการออกแบบนิเวศการเรียนรู้”
– อ.ศิริวรรณ  บุญอนันต์ –> “ทักษะพี่เลี้ยงกับ Authentic Learning and Assessments”
และทีมกระบวนกร จาก สพฐ. นำโดย
– ดร.สมพร สามทองกล่ำ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
– อ.พรพิมล ทักษะวรบุตร (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
– อ.วงเดือน สุวรรณศิริ (รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
– ดร.วสันต์ สุทธาวาศ (รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน)
– ผอ.สุรวุฒิ เอี่ยวสกุล (ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์ สพป.ภูเก็ต)
– อ.อังคาร อยู่ลือ (ศึกษานิเทศก์ สพป.เชียงราย เขต 3) และ
– อ.ธีรดา อุดมทรัพย์ (ครู โรงเรียนบ้านนาขนวน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4)
2) การพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อการต่อยอดขยายผลแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
3) การถอดบทเรียน ยกร่างวิจัย และจัดทำแนวทางพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้
4) การทดลองนำร่องระบบพี่เลี้ยงเพื่อขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้
5) การพัฒนาแพลตฟอร์ม LC (Learning Community Platform)

ทั้งนี้  การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program) ได้รับเกียรติจาก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล) เป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความสำคัญของชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้และพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้” นอกจากนี้ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง (ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เดินทางมาพบปะผู้เข้าร่วมอบรม MLD และให้กำลังใจคณะทำงานที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง

ทางด้าน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. และเป็นที่ปรึกษาในโครงการนี้ ได้พบปะ พูดคุยกับพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (MLD) พร้อมมอบแนวทางในการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกับครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (TLD) ให้เกิดผลสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ร่วมกันตั้งไว้


ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามภาพเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

ประกาศผล (ฉบับยังไม่ได้ลงนาม) ของการตัดสินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

สพฐ. ขอประกาศผล (ฉบับยังไม่ได้ลงนาม) ของการตัดสินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

  1. เอกสารประกาศฉบับจริงอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อลงนาม และจะส่งไปยัง สพท.ตามระบบหากลงนามเรียบร้อย
  2. เกียรติบัตรการแข่งขัน จะอยู่ในรูปแบบออนไลน์ และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง เนื่องจากเป็นการลงนามของผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเลขาธิการ กพฐ. ต้องใช้เวลาในการดำเนินการขอสำเนาลายมือชื่อ
  3. สพฐ. “งดจัดการแข่งขันระดับภูมิภาค และระดับประเทศ” ดังนั้นเกียรติบัตรการแข่งขันรอบนี้ จึงไม่ระบุ รอบคัดเลือก
  4. ให้ครูและนักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อในประกาศ หากต้องการแก้ไข ให้แจ้ง 1. ประเภทการแข่งขัน 2. ลำดับที่ในประกาศ 3. รายชื่อที่ต้องการแก้ไข ภายในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566

ผลการตัดสินระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก