ข่าวประชาสัมพันธ์

Train the trainer SDGs

Train the trainer SDGs … บรรยายพิเศษ SDG Goals สู่สถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้าน วิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ.

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ที่ Obec YoungLeaders SDGs

Live สด การประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1

การประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2563 The C21 Scholarship (OBEC) 2020/2021

https://www.facebook.com/INNOOBEC/live_videos/

ชี้แจงและร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งนวัตกรรม (Innovative School)

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงและร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ให้กับโรงเรียนแห่งนวัตกรรม (Innovative School) ต้นแบบ จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดกลางบางแก้ว สพป.นครปฐม เขต 2 โรงเรียนวัดปรางแก้ว สพป.สงขลา เขต 2 โรงเรียนบ้านท่าอ่าง สพป.นครราชสีมา เขต 2 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สพป.เชียงราย เขต 2 โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 สพม.13 และโรงเรียนมัธยมป่ากลาง สพม.37 ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ดังกล่าว

การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ตามศักยภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลาย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM กับผู้ปฏิบัติงานภายในโรงเรียน จำนวน 2 กลุ่ม คือ ครูและผู้บริหารของโรงเรียน จำนวน 21 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศที่หลากหลายลักษณะ ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษก เป็นต้น และโรงเรียนที่ดำเนินการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ ในการนำร่างคุณลักษณะของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศสู่การปฏิบัติตามสภาพจริง พร้อมสอบถามประเด็นความต้องการเพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอนุชา บูรพชัยศรี) นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานจากสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รับชมเทปการประชุมย่อนหลังได้ คลิกที่นี่ 

สพฐ. ลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศในรูปแบบที่หลากหลาย และ โรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคเครือข่ายในลักษณะต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ ในการนำร่างคุณลักษณะของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศสู่การปฏิบัติตามสภาพจริง พร้อมสอบถามประเด็นความต้องการเพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย ในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนสตรีวิทยา นำทีมโดย เลขานุการ รมว. (นายอนุชา บูรพชัยศรี) รองเลขาธิการ กพฐ. (นายกวินทร์เกียรติ นนท์พละ) นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ สนก. และนักวิชาการจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

“สพฐ.” เปิดเวทีแข่งขันทักษะวิชาการ โรงเรียน กพด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการ รอบระดับประเทศ (รอบตัดสิน) ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2562 ระหว่างวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.63 ณโรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะหน่วยงานหลักขับเคลื่อนการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน และมีโรงเรียนในสังกัดที่เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 44 เขตพื้นที่การศึกษา 222 โรงเรียน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการในครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โครงการเสริมสร้างระเบียบวินัยคุณธรรมและจริยธรรม กิจกรรมหลักส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมของชาติ โดยได้จัดประกวดแข่งขัน 5กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดแข่งขันการสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะ กระดาษ ระดับชั้นอนุบาล, การประกวดแข่งขันศิลป์สร้างสรรค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3, การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6, การประกวดการนำเสนอสร้างสำนึกพลเมือง (Project Citizen) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และการแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้จัดประกวดแข่งขันในรอบระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับรอบภูมิภาคเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการประกวดแข่งขันในรอบนี้ จะคัดเลือกนักเรียนที่ชนะเลิศการประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการ เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา2562ในโอกาสต่อไป

 

การประชุมปฏิบัติการพัฒนาระบบการเผยแพร่บทความวิจัยในรูปแบบ e – journal

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาระบบการเผยแพร่บทความวิจัยในรูปแบบ e – journal ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563 ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง การยกระดับการเผยแพร่บทความวิจัยทางการศึกษาสู่มาตรฐานสากลในรูปแบบ e-journal ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บงานวิจัย และเผยแพร่บทความวิจัย ของ สพฐ. ในรูปแบบ e-journal อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพวารสารให้เข้าสู่ฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย โดย ผศ.ดร.สายสุดา เตียเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาการบริหารการศึกษาและหัวหน้ากองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร และฝึกปฏิบัติการใช้งานระบบการจัดการวารสารไทยในระบบออนไลน์ (Thai Journal Online System (ThaiJo 2) โดยนางสาววรรณภา แสงวัฒนะกุล และนางสาววารุณีย์ ตั้งศุภธวัช ฝ่ายประสานงานกองบรรณาธิการและการจัดการวารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าราชการบำนาญผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย คณะวิจัยจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการประสานงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคณะทำงานจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้เข้าร่วมประชุมได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำรายละเอียดของระบบการเผยแพร่บทความวิจัยในรูปแบบ e-journal ซึ่งได้จัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ด้านผู้ดูแลระบบการจัดการวารสารออนไลน์ 2) ด้านผู้ใช้งานระบบการจัดการวารสารออนไลน์ และ3) ด้านผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความวิจัย ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีระบบการเผยแพร่บทความวิจัยทางการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพฐ. ในรูปแบบ e-journal ที่ได้มาตรฐาน

สพฐ. วางแผน Train the trainer ขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ ในโรงเรียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบ การบริหารจัดการขยะในโรงเรียน (ฝ่ายเผยแพร่ความรู้) เมื่อวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 กระทรวงศึกษาธิการ

การประชุมในครั้งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน มาร่วมกันออกแบบกิจกรรมในการอบรมผู้แทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยกำหนดจัดในปลายเดือนสิงหาคมนี้

 

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้แผนปฏิบัติการโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่

เมื่อจันทร์วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษในการประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้แผนปฏิบัติการโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร กิจกรรมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย การนำเสนอแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในโครงการ SLC และมีการสะท้อนคิดแผนปฏิบัติการ ข้อเสนอโครงการวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) และบรรยายในหัวข้อ เรื่อง แนวคิดในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการโครงการให้ประสบความสำเร็จ โดยท่าน รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กิจกรรมการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่  บนเว็บไซต์ www.slcobec.net และกิจกรรมวางแผนกำหนดปฏิทินการจัดงาน Symposium โครงการ SLC ใน 4 ภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยวันสุดท้ายของการประชุมทางกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.เบญจลักษณ์  น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ เรื่อง ความคาดหวังต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ 2563 เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ SLC ให้ประสบความสำเร็จต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระหว่างวันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี

ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการเรียนรู้ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยมีท่าน ดร.ชวลิต โพธิ์นคร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมีวัดผล เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ในงานวิจัย เรื่อง การวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในภาคเช้า

ศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (ศรต.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไข้ปัญหา เพื่อศึกษารูปแบบวิธีการจัดการ และนำผลการวิจัยมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019   (Covid – 19) ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต เขตละ 2 ท่าน แบ่งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 10 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 10 เขต ได้แก่  สพป.กระบี่, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1, สพป.เชียงราย เขต 2, สพป.นครราชสีมา เขต 6, สพป.พิษณุโลก เขต 3, สพป.ระยอง เขต 1, สพป.ศรีสะเกษ เขต 1, สพป.สุพรรณบุรี เขต 1, สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2, สพป.อุดรธานี เขต 4, สพม.เขต 1, สพม.เขต 2, สพม.เขต 11, สพม.เขต 14, สพม.เขต 21, สพม.เขต 24, สพม.เขต 30, สพม.เขต 32, สพม.เขต 34

ส่วนในภาคบ่าย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ให้แนวทางในการทำวิจัยและแบ่งกลุ่มตามภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการวิจัย

ขอขอบคุณ ศน.นิพพิทา กุลชิต สพป.กาฬสินธุ์ ที่ให้เกียรติเป็นพิธีกรในวันนี้

       

         

     

     

     

    

     

     

     

การประชุมปฏิบัติการยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 3 กรกฏาคม พ.ศ.2563 ณ โรงแรมบียอน สวีท กรุงเทพมหานคร

การประชุมปฏิบัติการยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 3 กรกฏาคม พ.ศ.2563 ณ โรงแรมบียอน สวีท กรุงเทพมหานคร ถูกจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคาระห์และสังเคราะห์ความเชื่อโยงการพัฒนาโรงเรียนในสังกัด สพฐ. รอบด้านผ่านกิจกรรม/โครงการต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ ครูและผู้บริหารที่มีคุณภาพ และสถานศึกษาพร้อมต่อการสนับสนุนและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 100 โครงการ เพื่อเชื่อมโยงในประเด็นที่เหมือนกัน และเน้นในประเด็นที่มีความเฉพาะ สู่การเป็นระบบการบริหารจัดการที่พัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ พร้อมกับนำประเด็นความเชื่อมโยงเพื่อยกร่างแบบสอบถามความพร้อมของสถานศึกษา ณ ปัจจุบันและแบบสอบถามเพื่อสอบถามข้อคิดเห็นจากภาคเอกชนในการบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ซึ่งจะสอดคล้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีว่ากระทรวงการศึกษาธิการที่ต้องการให้เกิดความเชื่อโยงกิจกรรม/โครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการประชุมครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครู ศึกษานิกเทศก์ นักวิชาการศึกษาและผู้แทน จากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 52 คน ทั้งนี้การประชุมปฏิบัติการยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ”ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่านอนุชา บูรพชัยศรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ