ข่าวประชาสัมพันธ์

สพฐ. จัดอบรมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำสิ่งแวดล้อมศึกษา การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ สพฐ. รุ่นที่ 1

เมื่อวันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริเวอร์ไซต์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการอบรมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education Officer) : การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ สพฐ. (OBEC Zero Waste School) รุ่นที่ 1 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย รุ่นที่  คือ นักวิชาการศึกษาและศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานสิ่งแวดล้อมศึกษาและสภานักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 40 คน จากเขตตรวจราชการ 19 เขต

สืบเนื่องจากรัฐบาลเห็นความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศที่นับวันจะมีความรุนแรง มากยิ่งขึ้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางระเบียบ กฎหมาย และมาตรการการบริหารจัดการขยะ อาทิ กระทรวงมหาดไทยจัดทำพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559 – 2564) ซึ่งหนึ่งในมาตรการของแผนแม่บทฯ คือ มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้  สร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้กับเยาวชน ส่งเสริมให้สถานศึกษาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยในการเรียนการสอนทุกระดับ    กอปรกับการที่สภานักเรียนระดับประเทศ ได้เสนอเจตนารมณ์ เรื่อง การส่งเสริมให้นักเรียนไทย เลิกใช้ถุงพลาสติก ผ่านโครงการ Thailand Student Council : TSC ต่อนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563  ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ โดยการประสานพลังความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมมือกันวางแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ของประเทศใน ประเด็น ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน 3) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน  ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักสูตรในการอบรมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร สนับสนุนเอกสารและสื่อ การเรียนรู้ รวมทั้งคณะวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้แก่  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ  Chula Zero Waste  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  PPP Plastic  สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)   Less Plastic  สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนเกาะกลาง คลองเตย และวัดจากแดง สมุทรปราการ

การจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากร สพฐ. ให้เป็นวิทยากรแกนนำที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)   เพิ่มทักษะในการวิเคราะห์ การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปัญหาขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม  สร้างเครือข่ายการเรียนรูกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ   และสนับสนุนให้มีการขยายผลการจัดการขยะในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน 

สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ทาง http://trainthetrainer.eesdobec.com/

 

 

วิดีโอบรรยากาศกิจกรรมการอบรม

การประชุมสรุปผลการดำเนินการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563

วันที่ 3 ตุลาคม 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสรุปผลการดำเนินการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 ณ ห้องโลตัสสวีท 1 – 4 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมให้ข้อเสนอแนะ และสรุปผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว

การปฐมนิเทศนักเรียนทุนโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563

วันที่ 3 ตุลาคม 2563 โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  เป็นประธานในพิธีเปิดการปฐมนิเทศนักเรียนทุนโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 ณ ห้องโลตัสสวีท 1 – 4 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับทุนโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ  รุ่น 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 THE C21 SCHOLARSHOP (OBEC)Y2020/2021


ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับทุนโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ 
รุ่น 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 THE C21 SCHOLARSHOP (OBEC)Y2020/2021


รายชื่อผู้มีสิทธิ์รับทุน
   <<< DOWNLOAD >>>

*************************

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่ม ๑ พัทลุง

ในวันที่ ๒๘ – ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ จังหวัดพัทลุง (พัทลุง สงขลา) ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ พัทลุง เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา พร้อมภาคีเครือข่ายจาก บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสงขลา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย บุคลากรศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวป่าเขียวจังหวัดพัทลุง และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (สพป.สงขลา เขต ๑ และ ๒ และ สพป.พัทลุง เขต ๑) โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมถอดรหัสลับขยับกาย (Coding) กิจกรรม Nature Game กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม ตามรอยแม่ กิจกรรม brainstoming workshop “ปั้นครูให้เป็นยูทูบเบอร์” กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (๓ รัก) เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร” ได้ที่  https://web.facebook.com/rakpongpraiobec/

สนก. ปิดเล่มงานวิจัยการบริหารโรงเรียนประชารัฐที่ประสบความสำเร็จ สู่แนวทางการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐต่อไป

เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร และคณะ ได้จัดการประชุมปฏิบัติการบรรณาธิการกิจเอกสารงานวิจัยการบริหารโรงเรียนประชารัฐที่ประสบความสำเร็จ ระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรณาธิการกิจเอกสารงานวิจัย จำนวน 2 เล่ม คือ
1) เอกสารผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 และ
2) เอกสารการถอดบทเรียนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อสรุปผลงานตามกรอบงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ ในการศึกษากระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ และเพื่อเสนอแนวทาง  ในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จ เผยแพร่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยการประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติ์จากนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานคณะทำงาน

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์

ในวันที่ ๒๗ – ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต ๑ นายสุรวิทย์ ทับเหล็ก เป็นประธานในพิธีเปิด

ทั้งนี้ นางขนิษฐา จันทโชติ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้กล่าวถึงการจัดประชุมสัมมนาฯในครั้งนี้ว่า “การเกิดเครือข่ายขึ้นเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกัน นักวิจัยและนักวิชาการป่าไม้ เราทำงานกับต้นไม้ทำกับสิ่งที่เรารู้เราจึงเข้าใจในความสำคัญ แต่ในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรามีให้แก่เด็กๆเราจำเป็นต้องพึ่งครูแกนนำรักษ์พงไพรทุกๆคน”

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริประจวบคีรีขันธ์ บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี (สวนผึ้ง) บุคลากรจากสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๙ ฐาน ดังนี้ ๑.เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ๒.พรรณพฤกษา กับ สัตวาภิธาน ๓.การจัดขยะเพื่อโลกสวย ๔.นานาสาระด้วยปุ๋ยหมัก ๖.เรียนรู้พรรณไม้ด้วยเทคโนโลยี ๗.การบัญชีและการสหกรณ์ ๘.ย้อนอดีตดอนยาง ๙.สร้างพลังรักษ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ติดตามข่าวสารของ โครงการค่ายรักษ์พงไพร ได้ทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี

ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และร่วมกันสร้างสรรค์เครือข่ายการต่อยอดขยายผลด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับโรงเรียนและชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ตามวิถีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ (New Normal) ในระดับพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่ม ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาช่อง บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาพระแทว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครศรีธรรมราช และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๖ ฐาน ดังนี้ ๑.นักสื่อความหมายธรรมชาติ ๒.Coding ๓.ป่าไม้ ๔.คุณค่าทรัพยากรป่าไม้ ๕.ห่วงโซ่อาหาร ๖.สัตว์ป่า เป็นต้น

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด)

ในวันที่ 24 – 25 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (เหมืองผาแดง) โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ ๒ จังหวัดตาก ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (แม่สอด) บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด (ปางมะผ้า) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมครูรักษ์พงไพร หัวใจยูทูบเบอร์ กิจกรรมนักสื่อความหมายรักษ์พงไพร และกิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (3 รัก) เป็นต้น

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรม การวัดคุณธรรม จริยธรรมออนไลน์ สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรม
การวัดคุณธรรม จริยธรรมออนไลน์ สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา
และโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.  ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายน 2563 ณ โรงแรมนารา แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

สพฐ. เดินหน้าสอบถามความคาดหวัง “ร่างยุทธศาสตร์โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จากภาคเอกชนและมูลนิธิการศึกษา

25 กันยายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดจากภาคเอกชนและมูลนิธิที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นของกรอบการพัฒนา “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามความคาดหวังและความเป็นไปได้ของการนำร่างยุทธศาสตร์โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศสู่การปฏิบัติตามสภาพจริงได้หรือไม่ และมีความครอบคลุมมากน้อยเพียงใด รวมทั้งต้องการเพิ่มเติมประเด็นใดบ้าง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนมูลนิธิการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษาและผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 50 คน โดยมีนางอรนุช มั่งมีสุขสิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานคณะทำงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) ระหว่างวันที่ 19 – 23 กันยายน 2563 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการฯ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการเสริมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับขยายผลในระดับโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง