ข่าวประชาสัมพันธ์

การประชุมชี้แจงเพื่อจัดทำแผนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นประธานในการประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565 ณ อาคาร สพฐ. 5 ห้องประชุม 2 ชั้น 10 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้กลุ่มงานรับทราบถึงวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของงบประมาณตามแผนงาน ในแต่ละโครงการที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รับผิดชอบ และสอดคล้องตามนโยบายของเลขาธิการ กพฐ. โดยมีนักศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา (ภาคพิเศษ) รุ่นที่ ๒๗ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมรับฟังแนวทางด้วย

ประธานได้ทบทวนหลักการเขียนแผน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณางบประมาณ ตามนโยบาย ซึ่งกำหนดโดยสำนักนโยบายและแผนการดำเนินงานต้องสอดคล้องกัน เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย 6 ความ ได้แก่ 1) ความครบถ้วน 2) ความถูกต้อง 3) ความเหมาะสม 4) ความจำเป็น 5) ความเชื่อมโยง และ 6) ความสอดคล้อง

ทั้งนี้ต้องยึดตามนโยบายชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สำหรับแผนฯ สพฐ. ให้ใช้นโยบายและจุดเน้นเดิมไปก่อน หลักการเขียนโครงการให้อธิบายถึงสิ่งจำเป็น
ที่ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ดำเนินการ จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง สามารถอธิบายได้ทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงเรียน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ให้กลุ่มงานเตรียมจัดทำคำขอ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ในขั้นตอนต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ได้ดำเนินโครงการวิจัยและต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑) ขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการต่อยอดไปสู่การใช้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาได้จริง ต่อเนื่อง และเหมาะสมกับเป้าหมายของพื้นที่
๒) ยกระดับ บ่มเพาะ และเร่งรัดคุณภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน สำหรับเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งในการรองรับเป้าหมายการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ
๓) เชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รองรับระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่เป้าหมายพิเศษ และความต้องการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนในพื้นที่ต่างๆ จึงกำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเป็นประธานในพิธีเปิด

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านนวัตกรรมการเรียนการสอน และพัฒนาแนวทางการต่อยอดนวัตกรรม การเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐานสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน Face book  เพจ : https://www.facebook.com/LearningOBEC/

พิธีมอบทุนการศึกษา โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้รับเกียรติจากท่านเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการมอบทุนการศึกษาในโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมดับบลิว สาทร กรุงเทพฯ และได้รับเกียรติจากผู้แทนสถานทูตอังกฤษคุณอเล็กซานดรา แมคคินซี รองเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย  คุณมาร์ค สมิธสัน, รองผู้อำนวยการ แผนกการค้าระหว่างประเทศคุณนันทมาศ เฟลเบอร์ ผู้จัดการการค้า แผนกการค้าระหว่างประเทศ  และผู้แทนสถานทูตอเมริกาคุณชาร์ล ฟิลิปส์ รองเจ้าหน้าที่การพาณิชย์อาวุโส และคุณธัญยธรณ์ วรวงษ์สถิตย์ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานที่ปรึกษาพาณิชย์ ร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบทุนการศึกษา จำนวน 18 ทุน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 ซี่งได้ดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ และต่อยอดเพื่อรับทุนการศึกษาจากภาคเอกชนเข้าศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ และประเทศอเมริกา

 

สพฐ. ขานรับนโยบาย ศธ. เร่งขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก

                 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้มอบนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมุ่งเน้นให้เป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณชน ในคราวประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2563 ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำโดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ.รับนโยบายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 3 – 6 พฤศจิกายน 2563  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร  โดยมอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน สพท. ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบขั้นบันได ที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลา และแนวทางการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา รวมถึงการบริหารอัตรากำลังคนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นให้ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ

 

เทคโนโลยีกับงานการศึกษา (การบริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0)

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัฒกรรมการจัดการศึกษา
รักษาการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ได้บรรยายหัวข้อ เรื่อง เทคโนโลยีกับงานการศึกษา (การบริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0)
ในหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ. (โรงเรียนสุจริต) รุ่นที่ 6 ซึ่งร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า และได้ให้แนวความคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างการบรรยาย    อาทิ เช่น นโยบายจากท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก การทำโรงเรียนให้มีคุณภาพ การใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน มาตรการลดภาระงานครู เป็นต้น

จากข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์กับการนำไปใช้ในการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาต่อไปประสบการณ์ ระหว่างการบรรยาย อาทิ เช่น นโยบาย การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก การทำโรงเรียนให้มีคุณภาพ การใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน มาตรการลดภาระงานครู และ ฯลฯ ซึ่งผู้เข้ารับฟังการบรรยายให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการบรรยายเป็นอย่างดี ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์กับการนำไปใช้ในการบริหารสำหรับ
ผู้บริหารสถานศึกษา สู่ครูผู้สอน และผู้เรียน ต่อไป

ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community)เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นางสาวกัญญาพร  ไทรชมภู นักวิชาการศึกษา นางสาวสุวรรณา กลิ่นนาค นักวิชาการศึกษา และนางสาวสุนิศา หวังพระธรรม นักวิชาการศึกษา ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ณ โรงเรียนวัดจรเข้ตาย (พินิจค้าประชาสรรค์) และโรงเรียนวัดหัวกระสังข์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ทางคณะได้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงานของโรงเรียนนำร่องโครงการ SLC ผ่านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย เห็นถึงภาพความร่วมมือของโรงเรียนและชุมชนในการดำเนินงานโครงการเพื่อมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นในการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ทั้งนี้ทางคณะที่ลงพื้นที่ติดตามได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เเละเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดหายไปของกระบวนการดำเนินงานโครงการ SLC ให้กับโรงเรียนนำร่องในโครงการทั้งสอง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ในปีงบประมาณ 2564 ที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีสมรรถนะความเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

 

การประชุมจัดทำแนวทางการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยไปแข่งขันทางวิชาการ​ ระดับนานาชาติ​ ​(ด้านศิลปะ) ประจำปี​ พ.ศ.​2563

วันที่ 30 ตุลาคม 2563 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำแนวทางการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยไปแข่งขันทางวิชาการ​ ระดับนานาชาติ​ ​(ด้านศิลปะ) ประจำปี​ พ.ศ.​2564 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563  ณห้องประชุม Tempo Grand ณ โรงแรมนารา กรุงเทพมหานคร

การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10.30 น. ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีคณะทำงานเข้าร่วมประชุม และรับฟังนโยบายผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ณ ห้องประชุมทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการยกระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพต่อไป

การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการนำร่องศึกษาดูงานสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ และการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2563

วันที่ 28 ตุลาคม 2563  เวลา 10.00 – 12.00 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด และบุคลากร กลุ่ม คพศ. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการนำร่องศึกษาดูงานสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ และการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2563 ผ่านระบบปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ซูม Zoom

 

GSB เติมฝันปั้นดาวมคุณธรรม นำสู่รั้วมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2563

 

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้จัดโครงการ GSB เติมฝันปั้นดาวมคุณธรรม นำสู่รั้วมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2563 (ปีที่ 4) เพื่อสอนเสริมวิชาแกทเชื่อมโยงภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งค่ายที่ 2 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 18 ตุลาคม 2563 ณ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วมจำนวน 500 คน จาก 26 โรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26,28 และ 29 โดยผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า อุบลราชธานี ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งให้โอวาทและกำลังใจกับนักเรียน ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ได้สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการและมอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน100 ทุน จำนวนทุนละ 10,000฿ รวม 1 ล้านบาท ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครการขอรับทุนการศึกษาในปี 2564 โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ www.vitheebuddha.com คอลัมน์ข่าวสาร สนก.

ประชุมหารือกับเลขานุการ รมว.ศธ (นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร) เรื่องการทำงานภายใต้กิจกรรมโครงการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

 

วันที่ 14 ตุลาคม 2563 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และ ดร.ธัญนันท์  แก้วเกิด และบุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับเลขานุการ รมว.ศธ (นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร) เรื่องการทำงานภายใต้กิจกรรมโครงการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมวชิราวุธ อาคารราชวัลลภ

 

 

เติมฝันปั้นดาวคุณธรรม นำสู่รั้วมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2563 (ปีที่ 4)

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้จัดโครงการ GSB เติมฝันปั้นดาวคุณธรรม นำสู่รั้วมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2563 (ปีที่ 4) เพื่อสอนเสริมวิชาแกทเชื่อมโยงภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งค่ายที่ 1 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 2 – 4 ตุลาคม 2563 ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี มีผู้เข้าร่วมจำนวน 420 คน จาก 18 โรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8,9 และ 10 โดยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เขตสุพรรณบุรี ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งให้โอวาทและกำลังใจกับนักเรียน ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ได้สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการและมอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน100 ทุน จำนวนทุนละ 10,000฿ รวม 1 ล้านบาท ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครการขอรับทุนการศึกษาในปี 2564 โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ www.vitheebuddha.com คอลัมน์ข่าวสาร สนก.