ข่าวประชาสัมพันธ์

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ

วันที่ 6 ธันวาคม 2563 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ ณ โรงแรมแคนทารี พระนครศรีอยุธยา

 

 

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” (ระยะที่ 2)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 2 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดสงขลา นำทีมโดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดอุดรธานี นำทีมโดย ดร.วสันต์ สุทธาวาศ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

โครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 2

 

เมื่อวันที่ 20 -22 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะฯ พร้อมทั้งคณะทำงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ร่วมจัดโครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2563 เป็นหลักสูตรนับชั่วโมงได้ จัดอบรมฟรีให้กับครูผู้สอนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานีโดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 12 คุณสุนันท์ สุทธิบรรจง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยคณะจากธนาคารออมสินเขตอุบลราชธานี เข้าร่วมด้วย และโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมในการอบรบจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ครูผู้สอนที่มีคุณธรรมจริยธรรม ได้เรียนรู้ด้านกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในรูปแบบactive learning เพื่อต่อยอดสู่การนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพิ่มทักษะและเทคนิคในเรื่องของการสอนวิชา GAT เชื่อมโยง ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาการสอนในวิชา GAT เชื่อมโยงและถ่ายทอดไปสู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้และนำไปใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ ได้

โครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1

 

เมื่อวันที่ 13 -15 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะฯ พร้อมทั้งคณะทำงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ร่วมจัดโครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2563 เป็นหลักสูตรนับชั่วโมงได้ จัดอบรมฟรีให้กับครูผู้สอนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ณ โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุพรรณบุรี  คุณนิภาวรรณ ทองนวล เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมีธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมในการอบรบจำนวนทั้งสิ้น 102 คน ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ครูผู้สอนที่มีคุณธรรมจริยธรรม ได้เรียนรู้ด้านกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในรูปแบบactive learning เพื่อต่อยอดสู่การนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพิ่มทักษะและเทคนิคในเรื่องของการสอนวิชา GAT เชื่อมโยง ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาการสอนในวิชา GAT เชื่อมโยงและถ่ายทอดไปสู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้และนำไปใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ ได้

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงาน กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 1 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดเชียงรายและพะเยา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา นำทีมโดย ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

จุดที่ 3 ณ จังหวัดนครปฐมและราชบุรี  นำทีมโดย ดร.สมพร  สามทองกล่ำ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

การแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563

ดร.อโณทัย   ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงเรียนหนองบัว สพม.เขต 42 จังหวัดนครสวรรค์ โดยความร่วมมือระหว่าง International Robot Olympiad Committee ประเทศเกาหลีใต้ Hong Kong Robotic Olympic Association (HKROA) เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย และภาคีเครือข่ายด้านหุ่นยนต์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับประเทศในรายการแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1 หรือรายการ Thailand Robot & Robotic Olympiad 2020  ภายในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ Thailand Robot & Robotic Olympiad 2020 และกิจกรรมการประกวดการคัดเลือกนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านหุ่นยนต์ Best Practices Robotic Awards

ประชาสัมพันธ์การแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564

การแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564
รับสมัครผ่านโรงเรียน วันที่ 2  ธันวาคม 2563 – 4 มกราคม 2564
ทางเว็บไซต์ www.obecimso.net/web64/

การประชุม “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”

กองทุนเพื่อความเสมอภาคได้จัดการประชุม “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ ๑๔ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูมศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของโครงการฯ และการนำระบบสารสนเทศ (lnfo) มาใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในเป้าหมายทั้งรุ่นที่ ๑ และ ๒

โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว พร้อมทั้งร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่อีกด้วย

 

ติดตามข่าวสาร เพิ่มเติมได้ที่ -> https://web.facebook.com/LearningOBEC/

การประชุม​เชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม​ สพฐ.​ ประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.​ 2564​

วันที่​ 12​ พฤศจิกายน​ 2563​  กลุ่มวิจัยและพัฒนา​องค์กร​แห่งการเรียนรู้​ สำนัก​พัฒนา​นวัตกรรม​การจัดการศึกษา​ โดยภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง​ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนา​นวัตกรรม​การ​จัดการ​ศึกษา​ ตำแหน่ง​ผู้เชี่ยวชาญ​ด้านการบริหารการจัดการศึกษา​ ​เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม​ และดร.จักรพงษ์​ วงค์​อ้าย​ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป​ ชี้แจงวัตถุ​ประสงค์​และภาพรวมในการดำ​เนิน​งาน​ การประชุม​เชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม​ สพฐ.​ ประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.​ 2564​ ระหว่าง​ วันที่​ ​12​-13​ พฤศจิกายน​ 2563 ณ​ ห้องประชุม​ TEMPO​ GRAND​ ​ณ​ โรงแรม​นารา​ กรุงเทพ​มหานคร

 

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕)และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) ครั้งที่ 2

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) ครั้งที่2 เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่จะดำเนินการโครงการคอนเน็กซ์อีดีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีนายณัฐฏพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสาระการประชุมจะเป็นหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาตาม 5 ยุทธศาสตร์ ภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดีและพิจารณาข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ในการสนับสนุนการสร้าง Value Chain ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ(Competency-based) จากกรณีการถอดบทเรียนจากโครงการ Connext ED และ Partnership School

การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
เป็นประธานในการประชุมการวิเคราะห์ความเชท่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อาคาร สพฐ. 5 ห้องประชุม 2 ชั้น 10 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นวิเคราะห์วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคและโครงการ Connext ed (SMS) ในการบูรณาการข้อมูลเพื่อการดำเนินงานต่อในอนาคต