ข่าวประชาสัมพันธ์

เปิดรับสมัครนักเรียนที่มีทักษะทางภาษาจีนและกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.6 (ใช้ผลการเรียน ม.5 ยื่นสมัคร) ให้มีโอกาสเรียนต่อ ป.ตรี สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน

เปิดรับสมัครนักเรียนที่มีทักษะทางภาษาจีนและกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.6 (ใช้ผลการเรียน ม.5 ยื่นสมัคร) ให้มีโอกาสเรียนต่อ ป.ตรี สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน

– เรียนต่อ ป.ตรี ได้ 2 ปริญญา (ม.สวนดุสิต และ ม.กวางสี)
– เรียนน้อยลง 1 ปี (เรียนปี 1 ออนไลน์ ควบคู่เรียน ม.6)
– เดินทางไปเรียนปี 2-3 ที่จีน (นักเรียนผลการเรียนดีมีทุนจากจีนให้)

รับสมัคร 1-31 กรกฎาคม 2564 เท่านั้น

เลื่อนการประกาศรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

     ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้จัดการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีกำหนดการให้ส่งแบบรายงานเพื่อเข้าประกวดผ่านทาง 2 ช่องทางได้แก่ ทางไปรษณีย์และช่องทางเว็บไซต์ http://gg.gg/tb1ce โดยได้สิ้นสุดระยะเวลาการส่งแบบรายงานเข้าร่วมประกวดไปแล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 โดยขั้นต่อไปเป็นการประกาศรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดให้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทราบภายในวันที่ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 นั้น
     ในการนี้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ขอแจ้งผู้เข้าร่วมประกวดทุกท่านว่าขณะนี้ยังมีรายงานนวัตกรรมส่วนที่ส่งมาทางไปรษณีย์บางส่วนยังมาไม่ถึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ทำให้ไม่สามารถสรุปยอดผู้ส่งเอกสารเป็นจำนวนที่แน่นอนได้ จึงขอเลื่อนการประการรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวด จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-288-5893 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
     จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยมา ณ โอกาสนี้

การประชุมเตรียมความพร้อมการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมเตรียมความพร้อมการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ในวันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ.๒ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน

การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการประชุม และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและกองประชาสัมพันธ์และประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน คณาจารย์และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้การลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน มีเป้าหมายให้นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน จำนวน ๓ รุ่น รุ่นละ ๑๐๐ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ คน โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา รุ่นละ ๔ ปี แบ่งเป็นการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย จำนวน ๒ ปี (ในปีที่ ๑ และปีที่ ๔) และจัดการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๒ ปี (ในปีที่ ๒ และปีที่ ๓) ซึ่งในแต่ละรุ่น นักเรียนอย่างน้อย ๓ คน จะได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน หรือบางส่วนจากมหาวิทยาลัยและจากรัฐบาลขณะที่ศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปี นักเรียนทุกคนจะได้รับวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่ง

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา  “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน นอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้มีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังนับเป็นนวัตกรรมการสร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยเชื่อมโยงระบบการศึกษาของประเทศไทยให้ผสานเข้ากับระบบการศึกษาในระดับนานาชาติอย่างมีคุณภาพต่อไป

ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และได้จัดทำ QR – CODE คู่มือการใช้สื่อ AR คู่มือการอบรมสร้างสื่อ AR คลิปการใช้AR Application และคลิปการสร้างสื่อ AR

ในการนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และขยายผลของการใช้สื่อเสมือนจริง (AR) ให้กับครูเพื่อนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ทั่วประเทศ จึงเห็นควรประชาสัมพันธ์และเผยแพรให้กับครูผู้สอนประวัติศาสตร์ หรือครูสาระการเรียนรู้อื่นๆ จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุน ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนให้มีการใช้ AR Appication และคู่มือตามสิ่งที่ส่งมาด้วย พร้อมทั้งรายงานผลการนำสื่อไปใช้ผ่านทาง e-mail : learning.obec@gmail.com ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ตอนที่ 1 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

1. คู่มือการใช้สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง

2. คู่มืออบรมสร้างเทคโนโลยีเสมือนจริง

3. วิดีโอสอนสร้างสื่อ

4. วิดีโอการใช้ Application

ตอนที่ 2 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad)

วันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 10.30 น. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา เข้าร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad) สำหรับนักเรียนในสนามสอบประเทศไทย จำนวน 43 คน ร่วมกับ ดร.ซาราห์ เทย์เลอร์ เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย และนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ นายกสมาคมนักเรียนเก่าแคนาดา ณ ห้องอับดุลราฮิม สมาคม ไว ดับยู ซีเอ กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 4 ภาคกลาง และภาคตะวันออก

         วันที่ 7 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 4 ประกอบด้วยภาคกลาง และภาคตะวันออก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 ณ โรงแรมคลาสสิก คามิโอ โฮเต็ล แอนด์ เซอร์วิช อพาร์ตเมนต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 48 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 12 เขต โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวปุณญอุษา ผดุงหมาย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เริ่มจุดแรกที่ภาคใต้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” จุดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติจาก พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ
ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรยาย เรื่อง แนวทางการปฏิบัติดำเนินการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฏีใหม่แบบชาวบ้านสู่การปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา สู่การศึกษาในโรงเรียน และ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ บรรยายเรื่องแผนปฏิรูปการศึกษาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงคณะวิทยากรประกอบด้วยผู้บริหาร คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย
.
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะองค์กรหลักที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตนั้น โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านการเกษตร อีกทั้ง ได้นำหลักคิดการจัดการเรียนรู้แบบปูทะเลย์มหาวิชชาลัยที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาควบคู่กับคุณธรรม ซึ่งผู้เรียนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ นำมาเป็นหลักคิดการบริหารจัดการโครงการ ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังให้เยาวชนได้ สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายพัฒนาผู้เรียน 4 ข้อ คือเป็นคนดี มีระเบียบวินัยพึ่งพาตนเองได้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และกตัญญูกตเวที จึงได้จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย“โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ซึ่งการประชุมในจุดภาคใต้นี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม และศึกษานิเทศก์หรือผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมดในภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้นกว่า 200 คน
.
ด้านนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. กล่าวว่า นอกจากนี้แล้วยังเป็นการบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับจังหวัดเพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับจังหวัดและการร่วมกิจกรรม Workshop ซึ่งเป็นการถ่ายทอดกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ในครั้งนี้อีกด้วย

การประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564

วันที่ 6-8 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำโดย ดร.มัลลวีร์ รอสโฟล และทีมงาน ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการประเมินและออกแบบเครื่องมือสำหรับการลงพื้นที่เพื่อประเมินโรงเรียน รวมถึงจัดทำคู่มือการประเมินให้สอดคลัองกับบริบทของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 40 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณาจารย์จากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้แทนจากและตัวแทนจากภาคเอกชน ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ได้มอบหมายให้ ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในการประชุมแทน

โครงการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนและครูผู้สอน กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพและคุณธรรมจริยธรรมครูผู้สอน ภายใต้หลักสูตร การสอนเพื่อพัฒนากระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยง ของนักเรียน

ในวันที่ 6 เมษายน 2564
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ดำเนินการโครงการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพและคุณธรรมจริยธรรมครูผู้สอน ภายใต้หลักสูตร การสอนเพื่อพัฒนากระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เขื่อมโยง ของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1 ประจำปี 2564 ณ โรงแรมบรรจงบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีคุณสมจิตร ทองจุ้น ผู้อำนวยการธนาคารออมสินสุราษฎร์ธานี เขต 1 เป็นเป็นประธานในพิธีเปิด และนายวินัยสิทธิ ไวทยาภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะทำงานจากธนาคารออมสิน และ สพฐ. เข้าร่วมดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาทักษะครูผู้สอนในเรื่องการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยง ในรูปแบบactive learning สู่การนำไปใช้จริงในห้องเรียน
ทั้งนี้ การจัดกิจกรรม รุ่นที่ 1 มีครูผู้สอนจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้และทั่วประเทศ รวม 86 คน

 

 

 

 

แนวทางการดำเนินงานด้านสารบรรณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-saraban)

วันที่ 5 เมษายน 2564 เวลา 13.30 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายให้ข้าราชการและบุคลากร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการภายในสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นองค์กรราชการ 4.0


ร่วมเป็นเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ  เข้าร่วมเป็นเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ได้ร่วมสมทบทุนกองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา และจัดสวัสดิการให้กับบุคลากรของกรมส่งเสริมคุณภาพแวดล้อมด้วย