ข่าวประชาสัมพันธ์

การอบรมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2565 Indonesia International Mathematics Competition 2022 (Virtual) (IIMC 2022)

สพฐ. จัดอบรมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2565 Indonesia International Mathematics Competition 2022 (Virtual) (IIMC 2022) ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เจ้าภาพ มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 31 ประเทศ เป็นทีมประถมศึกษา 69 ทีม และทีมมัธยมศึกษา 78 ทีม การแข่งขันมีทั้งประเภทบุคคล และประเภททีม โดยจัดการแข่งขันเป็น 2 เวที ดังนี้

  1. การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา Indonesia International Mathematics Competition: Elementary Mathematics International Competition 2022 (IIMC : EMIC 2022)
  2. การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษา Indonesia International Mathematics Competition: Invitational World Youth Mathematics Intercity Competition 2022 (IIMC : IWYMIC 2022)

ประเทศไทยส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 32 คน  เป็นนักเรียนประถมศึกษา 16 คน และนักเรียนมัธยมศึกษา 16 คน กำหนดจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2565  ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และโรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร ประกาศผลการแข่งขันวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ทางระบบออนไลน์

การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อพ.สธ. – สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

          วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา) ประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อพ.สธ. – สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมฮิพ กรุงเทพมหานคร

การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้  ได้เชิญโรงเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒  ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และตัวแทนผู้เข้ารับการฝึกอบรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินงาน อพ.สธ. – สพฐ. ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทของหน่วยงานและแผนปฏิบัติประจำปี ให้สอดคล้องกับแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ ๕ ปีที่ ๗   (๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๙) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักพระราชวัง มาเป็นวิทยากรบรรยายแนวทางการดำเนินงาน อพ.สธ. ระยะ ๕ ปีที่ ๗   (๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๙) เพื่อขยายผลให้โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุประสงค์

กลุ่มโครงการพิเศษ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ได้สละเวลามาร่วมเป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อพ.สธ. – สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานให้กับผู้เข้าร่วมการอบรม ในครั้งนี้

การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

 

โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) จัดกิจกรรมบรรณาธิการกิจเอกสารแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย

1) กิจกรรมสร้างสำนึกพลเมือง (Project Citizen)

2) กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านทุจริต

3) กิจกรรมค่ายเครือข่ายผู้นำเยาวชนไทย หัวใจ Strong

4) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี

5) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

6) กิจกรรมนวัตกรรมการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ให้เอกสารมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ชัดเจน และสามารถเผยแพร่ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำไป
เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมและนำไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น

โดยทางโครงการโรงเรียนสุจริต ได้รับเกียรติจาก ท่านดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต)
ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมนูโว ซิตี กรุงเทพมหานคร 

จากการประชุมครั้งนี้ ท่านดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ให้แนวทางในการขับเคลื่อน
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
ในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565

พร้อมทั้งทางโครงการได้เรียนเชิญ ดร.สรรเสริญ สุวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) มาเติมเต็มเนื้อหา องค์ประกอบ เกณฑ์การพิจารณาผลงานให้ครบถ้วนและสมบูรณ์

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. ขับเคลื่อนการดำเนินงานการน้อมนำ พระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน การน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งให้แนวคิดการขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่เพิ่มภาระงานใหม่ให้กับสถานศึกษา ครู นักเรียน แต่เป็นการปรับการดำเนินงานให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก สร้างความรักและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพและเป็นพลเมืองดี ระหว่างวันที่ 21- 24 มิถุนายน 2565 การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้น  ณ ห้องประชุมสพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทั้งนี้ ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประธานคณะทำงานจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานการน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานเป็นการน้อมนำพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือ มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ-มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี
ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม วิถีคนดี คุณธรรมนำชีวิต หนึ่งนักเรียนหนึ่งอาชีพ  และจิตอาสาด้วยหัวใจ โดยจะลงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนนำร่อง 588 โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนพระราชดำริฯ  19 กลุ่มโรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันถอดบทเรียนและค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผล
กับโรงเรียนทั่วไป 29,265 โรงเรียน ในปีการศึกษาต่อไป

ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายบุญเลิศ  ค่อนสะอาด ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  นางลำใย สนั่นรัมย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล นางสาวพรเพ็ญ ทองสิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.สุวิทย์  บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อสารการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา คณะทำงานจากส่วนกลาง นักวิชาการศึกษา คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตามลำดับ

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมการจัดทำข้อเสนอคำขออาสาสมัครญี่ปุ่น สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา

ด้วย กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งว่า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย เปิดรับข้อเสนอคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่น ประจำปี ๒๕๖๕ ให้แก่หน่วยงานราชการต่างๆ ของไทย เพื่อจัดส่งอาสาสมัครญี่ปุ่น เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ ของไทย
โดยเปิดรับสมัครโรงเรียนที่มีความสนใจ สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา สมัครเข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์ที่ https://forms.gle/PqKaBS5gXGa46vc7A โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้- ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่ คลิก

สพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565

สพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565

 

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จตุจักร กรุงเทพมหานคร ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดค่ายแรก โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2565 และกล่าวรายงานแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ต่อ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ประธานในพิธีเปิดถึงภาพความสำเร็จและแนวทางในระยะต่อไปในการดำเนินงานโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ ที่ได้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

 

หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้น ในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมค่ายที่ภาคีเครือข่ายรับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละฐาน โดยมีคณะครูและนักเรียนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมค่ายได้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning มาบูรณาการในทุกกระบวนการเพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากแหล่งศึกษาธรรมชาติจริงในพื้นที่ และสามารถนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง โดยโครงการค่ายฯในระดับเขตพื้นที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565

 

 

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ : รักษ์พงไพร

 

การอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำกรอบการวิจัยเพื่อการศึกษารูปแบบการยกระดับการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี วันที่ 15 -17 มิ.ย. 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยการดำเนินการของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำกรอบเพื่อนำผลวิจัยการใช้รูปแบบองค์ความรู้ทั้บการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการยกระดับการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี วันที่ 15 -17 มิ.ย. 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมงานวิจัยและถอดบทเรียนองค์ความรู้รูปแบบการพัฒนาของบริษัทภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (Best Practices) จำนวน 17 รูปแบบ มาศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสม และขยายผลให้กับโรงเรียนใน สพฐ. อื่นๆทั่วประเทศ โดยให้มีกำหนดการแล้วเสร็จ 2565 เพื่อนำผลการวิจัยการใช้รูปแบบองค์ความรู้ทั้ง 17 รูปแบบ ไปใช้พัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยต่อไป ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวมีคณะทำงานประกอบไปด้วย ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา คณะผู้แทนจากบริษัทภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี  และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คน โดยมี ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เป็นประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติมาพบปะกับคณะผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ให้คำชี้แนะ และแนะนำแนวทางการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์เพื่อให้การประชุมในครั้งนี้สามารถดำเนินงานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต) ให้เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกต่อไป ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย อดีตที่ปรึกษา สพฐ. นางวีณา อัครธรรม ข้าราชการบำนาญผู้มีความรู้ความเชี่ยวญด้านการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และคณะทำงานส่วนกลาง สพฐ. โดยกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การทบทวนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการ การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการเพื่อให้มีความเหมาะสมของกับการสนับสนุนงบประมาณ และการสรุปผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต)

การอบรมผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 รอบเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2565

เมื่อวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2565 – สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี  จัดอบรมออนไลน์หลักสูตรผู้นําด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ ปี 2565 ให้แก่ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 (รอบเพิ่มเติม) นำโดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดการอบรม และ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. กล่าวชี้แจงบทบาทหน้าที่ ICT Talent ภาครัฐ เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมด้วยคุณกรกช นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยเลขานุการ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี กล่าวภาพรวมในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และคณะทำงานมูลนิธิฯ กล่าวถึงภาพรวมโครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ และแนะนำระบบ School Management System

โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ว่าที่ ICT Talent ภาครัฐ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และต่อยอดในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และคุณครูในโรงเรียน โดยมีหัวข้อการอบรม อาทิ
• สื่อและแพลตฟอร์ม ICT เพื่อการศึกษา : คุณศักดิ์สิทธิ์ ปิติพงศ์สุนทร
ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย CSR Project ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และคุณสุธีรา ทันสมัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อทรูปลูกปัญญา บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
• ความสำคัญของวิทยาการคำนวณในโรงเรียน : รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• การใช้ Technology ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับ Active Learning : อาจารย์จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ครูรางวัลเจ้าฟ้าสมเด็จมหาจักรีฯ

อีกทั้ง ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ร่วมกล่าวปิดการอบรมในครั้งนี้ ทั้งนี้ว่าที่ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 ที่ผ่านการอบรม จะมีการประกาศแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตต่อไป

 

โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย) เป็นประธานพิธีเปิดเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับคณะกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

กลุ่มโครงการพิเศษ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ได้สละเวลามาร่วมเป็นประธานพิธีเปิดการประกวดนวัตกรรม ฯ ในครั้งนี้

การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง คัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก World RoboCup Junior 2022

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดการอบรมและการแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อคัดเลือกทีมตัวแทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก World RoboCup Junior 2022 ระหว่างวันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานนซังฮี้ กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา โดยมี โรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่

1. วัดป่าประดู่ WPRobot ระยอง สพม. ชลบุรี ระยอง
2. สุรวิทยาคาร SWK_ROBOT สุรินทร์ สพม. สุรินทร์
3. จักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน CKK ROBOT ลำพูน สพม. ลำปาง ลำพูน
4. ราชวินิตบางแก้ว SMT04-Robot สมุทรปราการ สพม. สมุทรปราการ
5. ท่ามะกาวิทยาคม TMK Robotics กาญจนบุรี สพม. กาญจนบุรี
6. สตรีสมุทรปราการ SSP ROBOT สมุทรปราการ สพม. สมุทรปราการ
7. เบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี BJ-ROBOT จันทบุรี สพม. จันทบุรี ตราด
8. สตรีวิทยา2 MCT กรุงเทพมหานคร สพม. กรุงเทพมหานคร เขต 2
9. กาญจนานุเคราะห์ KN กาญจนบุรี สพม. กาญจนบุรี
10. นายางกลักพิทยาคม NP ROBOTIC ชัยภูมิ สพม. ชัยภูมิ

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นคณะกรรมการจัดงานในส่วน RoboCup Junior ให้สิทธิ์คัดเลือกทีมหุ่นยนต์เยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก World RoboCup Junior และ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park) ได้ส่งวิทยากรและคณะกรรมการร่วมจัดกิจกรรมอบรมและแข่งขันหุ่นยนต์ในครั้งนี้ด้วย ผลการแข่งขันโรงเรียนที่ได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก World RoboCup Junior 2022 จำนวน 2 ทีมได้แก่

  1. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด

นายณภัทรชนม์  ทองคำ              นักเรียน

นางสาวณัฎฐณิชา  ศรบัณฑิต      นักเรียน

นางสาวชญาณัฎฐ์  คำรอด           ครูที่ปรึกษา

  1. โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

นายภูตะวัน  ณะอ๋อ                       นักเรียน

นายพุฒิพงศ์  วงศ์จันทร์ติ๊บ           นักเรียน

นางชลภิรัตน์  แก้วมูล                     ครูที่ปรึกษา

ร่วมส่งกำลังใจเชียร์ตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก World RoboCup Junior 2022  ระหว่างวันที่ 11 – 17 กรกฎาคม 2565

 

โครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) เพื่อขับเคลื่อนโครงการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับในพื้นที่และภูมิภาค

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)
มีความประสงค์รับสมัครศึกษานิเทศก์เข้าร่วมเป็นวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) เพื่อขับเคลื่อนโครงการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับในพื้นที่และภูมิภาค ท่านที่สนใจสมัครเข้าร่วมการคัดเลือก ผ่านระบบออนไลน์ที่ https://forms.gle/Cp8pzX5XGVniciRv5
โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๖.๓๐ น.

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ คลิกที่นี่