08_Policy

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคเหนือ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

การอบรมฯ ครูภาคเหนือครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 3 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
– โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
– โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
– โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

 

 

 

 

 

 

สพฐ. ประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ประจำปี 2564

วันที่ 23 ธันวาคม 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ชอบผล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 สำนักงานโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บรรยายพิเศษเรื่อง “การจัดการศึกษาตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รวมถึงผู้รับผิดชอบโรงเรียนในโครงกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรมคุ้มภูคำ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ จึงมุ่งส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา 2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน 3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ 4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ 5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สพฐ. โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนทุรกันดาร (กพด.) จำนวน 190 โรงเรียน ทั่วประเทศ เป็นกลุ่มโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด 6 ด้าน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารดามพระราชดำริฯ ฉบับที่ 5 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และเพื่อให้การดำเนินการโครงการเป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการของ สพฐ. และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มโรงเรียน อีกทั้งเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษา และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้อง จึงได้จัดกิจกรรม ดังนี้

  1. การประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 190 คน และผู้รับผิดชอบโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 47 เขต รวมทั้งสิ้น 237 คน
  2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564
  3. การจัดนิทรรศการของโรงเรียนที่ชนะเลิศแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของ สพฐ. ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564 โดยโรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง สังกัดสำนักงานเขดพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
  4. การเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับผู้บริหารและผู้ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร จำนวน 40คน และผู้เข้าร่วมรับเสด็จ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Zoom Meeting โดยรวมแล้วมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ และร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 370 คน

“ทั้งนี้ ในการประชุมและจัดกิจกรรมครั้งนี้ ยังได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้ทรงความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ มาให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนในโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ของ สพฐ. ซึ่งคาดว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะได้รับความรู้จากวิทยากรและประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ของตนเองต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

https://www.obec.go.th/archives/544133

https://www.facebook.com/obec.pr/posts/1514880155549128

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เริ่มจุดแรกที่ภาคใต้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” จุดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติจาก พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ
ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรยาย เรื่อง แนวทางการปฏิบัติดำเนินการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฏีใหม่แบบชาวบ้านสู่การปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา สู่การศึกษาในโรงเรียน และ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ บรรยายเรื่องแผนปฏิรูปการศึกษาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงคณะวิทยากรประกอบด้วยผู้บริหาร คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย
.
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะองค์กรหลักที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตนั้น โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านการเกษตร อีกทั้ง ได้นำหลักคิดการจัดการเรียนรู้แบบปูทะเลย์มหาวิชชาลัยที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาควบคู่กับคุณธรรม ซึ่งผู้เรียนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ นำมาเป็นหลักคิดการบริหารจัดการโครงการ ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังให้เยาวชนได้ สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายพัฒนาผู้เรียน 4 ข้อ คือเป็นคนดี มีระเบียบวินัยพึ่งพาตนเองได้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และกตัญญูกตเวที จึงได้จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย“โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ซึ่งการประชุมในจุดภาคใต้นี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม และศึกษานิเทศก์หรือผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมดในภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้นกว่า 200 คน
.
ด้านนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. กล่าวว่า นอกจากนี้แล้วยังเป็นการบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับจังหวัดเพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับจังหวัดและการร่วมกิจกรรม Workshop ซึ่งเป็นการถ่ายทอดกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ในครั้งนี้อีกด้วย

ประชุมทางไกล VIDEO CONFERENCE การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชนและโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง

วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 ท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เข้าร่วมประชุมทางไกล ผ่าน VIDEO CONFERENCE การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต โดยมีท่าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประชุม เพื่อชี้แจง แนวทางการจัดทำแผนที่และการส่งแผนที่เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีคุณภาพ โดยมีแนวทางการจัดทำเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดไว้ 3 แนวทาง คือ  1. ทำโรงเรียนให้มีคุณภาพของชุมชน 2. การยกระดับการศึกษา เพิ่มงบลงทุนสำหรับโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง Stand alone และโรงเรียนขนาดกลาง และ 3. การพัฒนาโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง  จากแนวความคิดในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของประเทศให้ดียิ่งขึ้น การกำกับติดตามและประสานงานจากกำหนดระยะเวลาที่ได้ให้เขตพื้นที่ดำเนินการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 นั้น พบปัญหา หลายประการในการดำเนินการ เช่น การจัดทำแผนที่ในการดำเนินงาน การกำหนดสัญลักษณ์ การใช้สีแต่ละจุดในพื้นที่  ซึ่งแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินงานและจัดทำมาไม่เหมือนกัน จึงเป็นปัญหาเมื่อส่งมาที่ส่วนกลาง ทาง สพฐ. จึงมีแนวทางในการจัดทำเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันทุกเขต โดยท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ได้นำเสนอแนวทางการจัดทำแผนที่ แนวทางการจัดทำ ได้กำหนดไว้ 2 รูปแบบ คือ

  1. พื้นที่จังหวัด ซึ่งต้องจัดทำ 77 จังหวัด มีผู้รับผิดชอบคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (จังหวัด) เขต 1 เป็นผู้รวบรวมในนามจังหวัด และ สพม. ใดครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัดให้แยกเป็นจังหวัด
  2. พื้นที่เขตการศึกษา จำนวน 225 เขต ผู้รับผิดชอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

รายละเอียดการจัดทำแผนที่สถานศึกษา โดยให้จัดทำเป็นไฟล์รูปภาพ ใช้ โปรแกรม Adobe Photoshop  ซึ่งเมื่อนำเข้าโรงพิมพ์แล้วจะทำให้ขนาดและความละเอียดไม่แตกและมีความเสถียรกว่า โดยกำหนดขนาดของภาพ ตั้งค่าหน้ากระดาษ แนวนอน ขนาด A1 หรือ 23.4 x 33.1 นิ้ว กำหนดค่าความละเอียด 200 Pixels เมื่อบันทึกภาพ เป็นไฟล์สองรูปแบบซึ่งดูจากตัวอย่างของ สพฐ. ได้แก่ ไฟล์ของจังหวัด และไฟล์ของพื้นที่เขตการศึกษา ต้องใช้สัญลักษณ์หมุดสี
ขนาดเส้นถนน รูปแบบ/ชนิด/ขนาดอักษร ตามที่กำหนดในไฟล์ตัวอย่างเท่านั้น ดูตัวอย่างจาก คิวอาร์โค้ดที่ส่วนกลางกำหนดการบันทึกไฟล์ มีจำนวน 2 นามสกุล ได้แก่ 1.  นามสกุล PSD (*.PSD, *PDD) Adobe photoshop สามารถปรับแก้ไขได้ 2. นามสกุล PNG, (*PNG, *PNS) รูปภาพ สามารถนำเสนอได้และได้กำหนดส่งแผนที่ดังกล่าวในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 เพื่อส่วนกลางจะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” (ระยะที่ 2)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 2 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดสงขลา นำทีมโดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดอุดรธานี นำทีมโดย ดร.วสันต์ สุทธาวาศ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงาน กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 1 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดเชียงรายและพะเยา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา นำทีมโดย ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

จุดที่ 3 ณ จังหวัดนครปฐมและราชบุรี  นำทีมโดย ดร.สมพร  สามทองกล่ำ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

การประชุมชี้แจงเพื่อจัดทำแผนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นประธานในการประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565 ณ อาคาร สพฐ. 5 ห้องประชุม 2 ชั้น 10 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้กลุ่มงานรับทราบถึงวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของงบประมาณตามแผนงาน ในแต่ละโครงการที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รับผิดชอบ และสอดคล้องตามนโยบายของเลขาธิการ กพฐ. โดยมีนักศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา (ภาคพิเศษ) รุ่นที่ ๒๗ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมรับฟังแนวทางด้วย

ประธานได้ทบทวนหลักการเขียนแผน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณางบประมาณ ตามนโยบาย ซึ่งกำหนดโดยสำนักนโยบายและแผนการดำเนินงานต้องสอดคล้องกัน เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย 6 ความ ได้แก่ 1) ความครบถ้วน 2) ความถูกต้อง 3) ความเหมาะสม 4) ความจำเป็น 5) ความเชื่อมโยง และ 6) ความสอดคล้อง

ทั้งนี้ต้องยึดตามนโยบายชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สำหรับแผนฯ สพฐ. ให้ใช้นโยบายและจุดเน้นเดิมไปก่อน หลักการเขียนโครงการให้อธิบายถึงสิ่งจำเป็น
ที่ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ดำเนินการ จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง สามารถอธิบายได้ทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงเรียน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ให้กลุ่มงานเตรียมจัดทำคำขอ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ในขั้นตอนต่อไป

ดร. นิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้บริหารสำนัก ภายใต้การกำกับดูแล

วันที่ 28 สิงหาคม 2563
ดร. นิพนธ์  ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้บริหารสำนัก ภายใต้การกำกับดูแล ประกอบด้วย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักบริหารงานพื้นที่นวักรรม ศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน โดยได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและแผนการดำเนินงานต่อไปของโครงการ ซึ่งท่านได้มอบนโยบาย แนวคิดในการขับเคลื่อนเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคต แนะนำแนวทางในการดำเนินการแต่โครงการให้มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน

การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ตามศักยภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลาย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM กับผู้ปฏิบัติงานภายในโรงเรียน จำนวน 2 กลุ่ม คือ ครูและผู้บริหารของโรงเรียน จำนวน 21 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศที่หลากหลายลักษณะ ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษก เป็นต้น และโรงเรียนที่ดำเนินการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ ในการนำร่างคุณลักษณะของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศสู่การปฏิบัติตามสภาพจริง พร้อมสอบถามประเด็นความต้องการเพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอนุชา บูรพชัยศรี) นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานจากสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รับชมเทปการประชุมย่อนหลังได้ คลิกที่นี่ 

การประชุมชี้แจงเกณฑ์การประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะภาษาไทย กิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และกิจกรรมทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา

การประชุมชี้แจงเกณฑ์การประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะภาษาไทย กิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และกิจกรรมทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. จัดการประชุมชี้แจงเกณฑ์การประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะภาษาไทย กิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และกิจกรรมทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2562 ระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี โดยได้รับเกียรติจากท่านอโณทัย ไทยวรรณศรี เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ พร้อมทั้งได้รับเกียรติจาก นางสาวไพรวัลย์ พิทักษ์สาลี นายชวลิต โพธิ์นคร และนางสาวสิริมา หมอนไหม อดีตผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมชี้แจงเกณฑ์การประกวดแข่งขันกิจกรรมแนวปฏิบัติทีดีรายด้าน และ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ชี้แจงเกณฑ์การประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการ เพื่อให้ศึกษานิเทศก์และผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภูมิภาคต่อไป