06_Student Potential

นักเรียนไทยสุดยอด! คว้า 15 รางวัล 24 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics 2023 (PMWC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 12 ประเทศ 36 ทีม 144 คน ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ประเทศ ไต้หวัน ไทย บัลแกเรีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาเก๊า สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม และฮ่องกง โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 12 คน แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 4 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 15 รางวัล 24 เหรียญ ดังนี้

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 12 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 2 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 5 เหรียญทองแดง ดังนี้
เหรียญทอง 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  2. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา     โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  5. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

เหรียญทองแดง 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  5. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

 ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 4 เหรียญทองแดง และ 4 เหรียญชมเชย ดังนี้
เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  2. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
  4. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร      โรงเรียนแสงทองวิทยา      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล      โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เหรียญชมเชย 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  3. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร      โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

สพฐ. จัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ต่อยอดสู่เวทีระดับนานาชาติ ในงาน Internation Exhibition for Young Inventors World Contest (IEYI – 2023)

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่เป็นกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยมีผลงานที่ส่งมาพิจารณาคัดเลือก รวมทั้งสิ้น 273 ผลงาน คณะกรรมการได้พิจารณากลั่นกรองผลงานผ่านเข้าสู่รอบการประกวดผลงานระดับประเทศ จำนวน 41 ผลงาน เพื่อคัดเลือกและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ไปร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ ในงาน Internation Exhibitional for Young Inventors World Contest (IEYI – 2023) ทางระบบออนไลน์ (Virtual Contest)  ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในต้นเดือนกันยายน 2566 การจัดงานครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จำนวน 170 คน ประกอบด้วยนักเรียน 82 คน ครูที่ปรึกษา 41 คน และคณะกรรมการ คณะทำงาน 42 คน โดยมีผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ที่เข้าร่วมประกวดรวม 41 ผลงาน ใน 8 ประเภท ดังนี้

  1. เทคโนโลยีที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน  7  ผลงาน
  2. อาหารและเกษตรกรรม จำนวน  10  ผลงาน
  3. ความปลอดภัยและสุขภาพ จำนวน  8  ผลงาน
  4. เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ   จำนวน  4  ผลงาน
  5. การจัดการกับภัยพิบัติ จำนวน  4  ผลงาน
  6. การศึกษาและนันทนาการ จำนวน  5  ผลงาน
  7. เทคโนโลยีการบินและอวกาศ จำนวน  1  ผลงาน
  8. ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ จำนวน   2  ผลงาน

ในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศในครั้งนี้ สพฐ. ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายสถาบัน เป็นคณะกรรมการในการตัดสิน วิทยากร ครูที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนานักเรียนจนได้สร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์คว้ารางวัลจากหลายเวทีในระดับนานาชาติ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการนำนวัตกรรมไปใช้พัฒนาธุรกิจ มาเสวนาในหัวข้อ “เทคนิควิธีการก้าวสู่ความสำเร็จ” ให้กับครูและนักเรียน และวิทยากรจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาร่วมจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “STEAM4INNOVATOR” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนไทยสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ต่อไป

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าว “การนำความคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ จัดทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นนั้น อาจเป็นนวัตกรรมใหม่ หรือเป็นการดัดแปลง หรือพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีใช้งานอยู่แล้ว ให้เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ นับว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนให้เป็น “นักประดิษฐ์” ซึ่งจะเป็นทรัพยากรสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน จึงขอชื่นชมในความร่วมมือของทุกฝ่าย ที่ให้มีเวที ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงถึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าคิด กล้าแสดงออกถึงความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการประดิษฐ์ เกิดการเรียนรู้ที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต”

การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary
Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 13 กรกฏาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับคณะผู้แทนนักเรียนไทย และได้รับเกียรติจาก นายกิตติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 17 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการ ระดับนานาชาติ โดยมี นายปราโมทย์ ขจรภัย ที่ปรึกษาโครงการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ได้ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน ให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางการดำเนินการจัดการแข่งขันดังกล่าว

นักเรียนไทยสุดเจ๋ง! คว้า 43 รางวัล 79 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 31 ประเทศ โดยแบ่งทีมการแข่งขันออกเป็น คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย 81 ทีม คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 80 ทีม รวมทั้งสิ้น 161 ทีม ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐบัลแกเรีย และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 32 คน แบ่งเป็นวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน และวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 43 รางวัล 79 เหรียญ ดังนี้

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 15 รางวัล (15 เหรียญ) แบ่งเป็น 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง และ 6 เหรียญชมเชย ดังนี้

เหรียญทอง 3 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายอีตั้น เชน      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ศรีภัทราพันธุ์      โรงเรียนอนุบาลสุธีธร     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

เหรียญเงิน 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน      โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

เหรียญทองแดง 4 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสาธุ มีแก้ว     โรงเรียนสุวรรณวงศ์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม     โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชบุรี เขต 1

เหรียญชมเชย 6 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายภาคิน โอฬารรักษ์ธรรม     โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายปารทัต รักเกื้อ     โรงเรียนบูรณะรำลึก    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายชยพล ตั้งวิไลเสถียร      โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายศย ดำรงสุรสิน     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  1. เด็กชายนัธทวัฒน์ บูรณไมตรี     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายธนวินท์ เจษฏากานต์      โรงเรียนดรุณาราชบุรี     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 4 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญเงิน และ 12 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญเงิน 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

เหรียญทองแดง 3 รางวัล (12 เหรียญ) ได้แก่ Team A Team B และ Team D

  1. เด็กชายภาคิน โอฬารรักษ์ธรรม     โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายสาธุ มีแก้ว     โรงเรียนสุวรรณวงศ์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายชนาธิป ดีนวนพะเนา     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายอีตั้น เชน     โรงเรียนธิดาแม่พระ    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม     โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายปารทัต รักเกื้อ     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายชยพล ตั้งวิไลเสถียร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายศย ดำรงสุรสิน     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  1. เด็กชายนัธทวัฒน์ บูรณไมตรี     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น     ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
  1. เด็กชายธนวินท์ เจษฏากานต์     โรงเรียนดรุณาราชบุรี     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชบุรี เขต 1
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

ประเภทบุคคลรวม Group Prize ได้รับรางวัลรวม 1 รางวัล (4 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง ดังนี้

เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 16 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 5 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 7 เหรียญทองแดง และ 2 เหรียญชมเชย ดังนี้

เหรียญทอง 5 รางวัล ได้แก่

  1. นายณฐกร คุ้มมั่น      โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญทองแดง 7 รางวัล ได้แก่

  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายภัทรภณ ธนพิทักษ์     โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
  1. เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส     โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  1. นางสาวมิยูกิ ซาโต้     โรงเรียนสุรนารีวิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

เหรียญชมเชย 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 4 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

เหรียญเงิน 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ Team C และ Team D

  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายภัทรภณ ธนพิทักษ์     โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
  1. เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส     โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  1. นางสาวมิยูกิ ซาโต้     โรงเรียนสุรนารีวิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายณฐกร คุ้มมั่น     โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภทบุคคลรวม Group Prize ได้รางรับวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 8 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญทอง 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ Team B และ Team C

  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายณฐกร คุ้มมั่น     โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 3 กรกฏาคม 2566 เวลา 14.00 น. นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบ ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร พร้อมให้โอวาทแก่คณะผู้แทนนักเรียนไทย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร และเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการ ระดับนานาชาติ ต่อไป

การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับ ปฐมนิเทศ และชี้แจงเกณฑ์แนวทางการแข่งขันแก่คณะผู้แทนนักเรียนไทย การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand : SWP) และ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ร่วมดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการเรียนรู้ด้วยหุ่นยนต์เสมือนจริงและการฝึกอบรมและแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง  มีโรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง  ระดับพื้นฐาน เมื่อวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 137 โรงเรียน โดยโรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์ในการอบรมต่อระดับสูง ในวันที่ 1 – 2 มิถุนายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์

โดยกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง เป็นการแข่งขันในลักษณะการจำลองสนามให้มีอุปสรรคกีดขวางระหว่างทางและหุ่นยนต์จะต้องหาผู้ประสบภัยจำลองได้โดยอัตโนมัติบนระบบออนไลน์ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ การลงมือทำ และการแก้ปัญหาในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ ให้สามารถทำงานหรือใช้ประโยชน์ได้ตรงความต้องการ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี

ในการนี้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ยังได้จัดทำแนวทางการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นยนต์เสมือนจริง เพื่อเป็นแนวทางในการนำร่อง และขยายผลกิจกรรมนี้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 และเป็นเวทีให้ตัวแทนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันที่ทำให้เรียนรู้ในหลายมิติทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และสมรรถนะในการแก้ปัญหา ช่วยในการฝึกคิด วิเคราะห์ ทำให้เกิดการคิดสร้างสรรค์ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งสมรรถนะพื้นฐานของผู้แข่งขัน ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม https://inno.obec.go.th/robosim

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อากาศยาน เครื่องบินร่อนควบคุมด้วยวิทยุบังคับ

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อากาศยาน เครื่องบินร่อน ควบคุมด้วยวิทยุบังคับ

ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้กลุ่มโครงการพิเศษ (คพศ.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อากาศยาน เครื่องบินร่อน ควบคุมด้วยวิทยุบังคับ ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในงานดังกล่าว ได้รับเกียรติจากวิทยากรและคณะกรรมการจัดกิจกรรมนักบินน้อย สจล. และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านอากาศยาน เครื่องบิน และเครื่องร่อนควบคุมด้วยวิทยุบังคับ มาร่วมจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อากาศยาน เครื่องบินร่อนควบคุมด้วยวิทยุบังคับ

A Discus Launch Glider (DLG) เป็นเครื่องบินร่อนควบคุมด้วยวิทยุ ไม่มีต้นกำลังในตัวเอง การเริ่มบินอาศัยกำลังจาก ผู้เล่นเหวี่ยงขึ้นไปในลักษณะคล้ายการขว้างจักร (Discus) โดยผู้เล่นจับที่ปลายปีก แล้วสร้างความเร็วด้วย การหมุนรอบตัวเองพร้อม ๆ กับก้าว (หรือวิ่ง) ไปข้างหน้า แล้วส่งเครื่องบินร่อนออกไป

 

โดยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อากาศยาน เครื่องบินร่อน ควบคุมด้วยวิทยุบังคับเป็นการสร้างทักษะ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นการสืบค้น การวิเคราะห์การได้รับองค์ความรู้ การออกแบบปฏิบัติ การทดลอง การสาธิต การตรวจสอบ ทดสอบ การปรับแต่งคุณภาพการรักษาสภาพอากาศยาน เครื่องบิน เครื่องร่อน ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการบิน เห็นคุณค่าการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของนักเรียน และเป็นประโยชนต่อการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อากาศยาน ให้ครูผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในส่วนของรายวิชาให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย โรงเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามความพร้อมของบุคลากรในโรงเรียน และสามารถนำไปเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปี ในโอกาสต่อ ๆ ไป

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โสพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21ครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2566 ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 จุดที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น การอบรมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ในรูปแบบกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. และ CATS Global Schools ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา ที่มีเครือข่ายโรงเรียนชั้นนำ ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสพฐ. กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยจัดการอบรมฯ ใน 4 ภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 656 คน ให้ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ เติมเต็มกระบวนการคิด และฝึกฝนทักษะด้านการสอนในรายวิชาของตนเอง เพื่อนำไปสู่การยกระดับการจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนที่มีศักยภาพสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า “สพฐ. ในฐานะองค์กรหลักที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนานักเรียนในสังกัดที่มีความเป็นเลิศทางภาษา และมีสมรรถนะที่เป็นเลิศ ให้มีโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมถึงการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมายจากท่านเลขาฯ กพฐ. จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง และจุดเริ่มต้นของโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อม มีทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง”

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาได้มีนักเรียนในสังกัด สพฐ. และสังกัดอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาและต่อยอดสู่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2566 จะเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นต่อไปเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://inno.obec.go.th/

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคเหนือ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

การอบรมฯ ครูภาคเหนือครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 3 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
– โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
– โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
– โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

 

 

 

 

 

 

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ส่งนักเรียนทุนจีน “1+2+1” รุ่นที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) เดินทางไปให้กำลังใจและส่งนักเรียนทุนในโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน รุ่นที่ 1 จำนวน 29 คน เดินทางไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน

ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นักเรียนไทยทั้ง 29 คน ถือเป็นนักเรียนใหม่ ระดับปริญญาตรีกลุ่มแรก ที่ได้เดินทางเข้าสู่มณฑลกวางสี หลังจากที่มีการเปิดประเทศให้นักเรียน นักศึกษาสามารถเดินทางเข้าประเทศได้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ซึ่งกว่าการเดินทางครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องใช้ความพยายามในการประสานงานและการเตรียมความพร้อมนักเรียนอย่างดียิ่งตามข้อกำหนดของสาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่สากลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกนักเรียน ม.ปลาย ที่มีความเป็นเลิศด้านภาษาจีนและมีสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ให้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งรับทุนการศึกษาระหว่างที่ศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า โดยในเดือน มกราคม – เมษายน 2566 สพฐ. จะดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนทุนรุ่นต่อไป

เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมการแข่งขันโครงงาน ในโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมการแข่งขันโครงงาน
ในโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project)
————————————
การแข่งขันโครงงานแบ่งเป็น 4 สาขา ได้แก่
1. การเกษตรและอาหาร
2. สุขภาพและการแพทย์
3. พลังงานและวัสดุ
4. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
————————————-
การแข่งขันของแต่ละสาขาแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ
1.รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค แบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
2.รอบตัดสิน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากตัวแทนภูมิภาคละ 2 ทีมในทุกสาขา
————————————-
เกณฑ์การส่งโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าแข่งขัน มีดังนี้
1. แต่ละโรงเรียนสามารถสมัครได้มากกว่า 1 โครงงาน
2.โครงงานที่ส่งเข้าประกวด ประกอบด้วย นักเรียนที่พัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวนไม่เกิน 3 คนต่อโครงงาน และคุณครูที่ปรึกษา 1 ท่านและอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ (ถ้ามี)
3. นักเรียนที่เป็นผู้พัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถประกวดได้เพียง 1 โครงงานเท่านั้น และ ต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษาปัจจุบัน
4. คุณครู 1 ท่าน สามารถเป็นที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้มากกว่า 1 โครงงาน
5. โครงงานที่ส่งเข้าแข่งขันต้องเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และ/หรือเทคโนโลยีที่ดำเนินการจริง
————————————–
รางวัล!!!
– โล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล
– นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ / รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 / รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ได้รับสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับทุนการศึกษา (ค่าธรรมเนียมการศึกษา) ทั้งนี้นิสิตจะต้องมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตลอดระยะเวลาการศึกษา

*** การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ***

รายละเอียดโครงการ https://drive.google.com/file/d/1MuJX7-6iS7wBZ0Y_XVvjw-KgxKHpTV13/view?usp=sharing

สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ที่ https://forms.gle/YYJWwfope8Ca6ZeW6 หมดเขตส่งผลงานและรับสมัคร วันที่ 15 ตุลาคม 2565