05_Environment

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกมีสาเหตุใหญ่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)  สภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งจะส่งผลกระทบ
อย่างมาก ต่อทุกประเทศในโลก ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ได้ประสบกับภัยพิบัติ ด้านภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ คลื่นความร้อน และไฟป่าเพิ่มขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้โดยมาก เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของโลก ขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาความแออัดของประชากรต่อหน่วยพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การขาดแคลนพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมถอย จากการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายสมดุลธรรมชาติอันเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจน และยังเป็นตัวช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนของประชากรโลก ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้พลังงานในทุกด้านเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกร้อนมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ และโอกาสที่ภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นในมุมต่างๆ ของโลก ซึ่งปัญหาการปล่อยก๊าซต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการปรากฏการณ์เรือนกระจก
ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศ ทั่วโลกจึงมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) “เพื่อให้ บรรลุถึงการรักษาระดับ
ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ อยู่ในระดับที่ปลอดภัยจากการแทรกแซงของมนุษย์ที่เป็นอันตรายต่อระบบภูมิอากาศ การรักษาระดับดังกล่าว ต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียงพอที่จะให้ระบบนิเวศปรับตัว โดยไม่คุกคามต่อการผลิตอาหารของ มนุษย์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืนและ”การพัฒนาที่ยั่งยืนกลายเป็นวาระหลักของการพัฒนา โดยเฉพาะเมื่อสหประชาชาติได้ประกาศ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”
หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) 17 เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการพัฒนาของโลกระหว่างปี 2016 – 2030 และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ลงนามร่วมกับภาคีสมาชิก ในการรับรองฉันทามติเป้าหมายการพัฒนาและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติถูกผูกโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 65 ที่กำหนดให้ยุทธศาสตร์ต้องมีการบรรจุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีการเชื่อมโยงทั้ง 30 เป้าประสงค์กับยุทธศาสตร์ชาติ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ถึง 8 ยุทธศาสตร์ โดยจะสอดคล้องมาก ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ว่าด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ว่าด้วยการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวคิดของการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนจึงเป็นหลักแนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด ลดปริมาณของเสีย ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและไม่สร้างมลพิษที่จะกลายมาเป็นต้นทุนการผลิตในระยะต่อไปและเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว โดยมีเงื่อนไข คือ กระบวนการผลิตและการบริโภคที่มีประสิทธิภาพ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้น 2 ประการ ดังนี้

การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable consumption and production) เป็นการผลิต และการบริโภคที่สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่สร้างข้อจำกัดต่อกิจกรรมการผลิตและการบริโภคในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสม การขยายตัวทางเศรษฐกิจภายใต้ขีดจำกัด
ของทุนทางธรรมชาติที่จะต้องมีการสงวนรักษาไว้ใช้ ประโยชน์สำหรับคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นอนาคต

การบริโภคที่ยั่งยืน จึงประกอบด้วย รูปแบบการใช้พลังงาน/แร่ธาตุ/การใช้ยานพาหนะ ที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพและประหยัด มีการเลือกใช้สินค้าและบริการโดยกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม วัตถุดิบหรือองค์ประกอบของสินค้าและบริการไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และการลดของเสียหรือกากจากการบริโภค

การผลิตที่ยั่งยืน เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่เป็นกากของเสียที่ทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพและไม่สิ้นเปลืองจากการพัฒนาเทคโนโลยีและ ทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

ในสภาพปัจจุบัน ปัญหาการรับรู้ในด้านการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็น ในเรื่องการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนในภาคประชาชนยังประสบปัญหาความเข้าใจที่ถูกต้องและยังขยาย
องค์ความรู้ที่ชัดเจนในวงที่จำกัด จึงทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งในการขับเคลื่อนเป็นไปได้ช้าและ มีอุปสรรคปัญหา ดังนั้น การให้การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความตระหนักต่อการดำเนินกิจกรรมด้านการผลิตและบริโภคเป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมจะเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อสาธารณชนทั่วไป และเปิดกว้าง การรับรู้ในการพัฒนาสู่การเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ และลดผลกระทบ
ต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีพันธกิจหลักในการสร้างประชากรหรือคนที่มีคุณภาพจากการศึกษาให้กับสังคมจากรุ่นสู่รุ่น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 5 การเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 เพื่อเน้นและให้ความสำคัญในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง สร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่องและส่งเสริม สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการผลิตและบริโภคให้คำนึงถึงทรัพยากรเพื่อคนรุ่นต่อไป เป็นต้นแบบที่มีคุณภาพและมีจิตสาธารณะ สู่ที่บ้านและชุมชนจึงมีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการขับเคลื่อนแผน นโยบายและยุทธศาสตร์ และเป็นแนวทางให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชนคาร์บอนต่ำ และไปสู่สังคมและเมือง ที่ยั่งยืนต่อไป

ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ  โดย ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ และ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา กรรมการและเลขานุการ มีนโยบายให้สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ  
เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและพืชพรรณ รวมถึงเพื่อให้เยาวชนสามารถสัมผัสทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของป่าในเมือง และเพื่อปลูกจิตสำนึกให้เห็นถึงคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติเกิดความรักและหวงแหนร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  
ที่พระราชทานสวนแห่งนี้ให้ประชาชน  ตั้งแต่ปี 2553 มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้จัดตั้งโครงการ ห้องเรียนธรรมชาติในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ” โดยจัดกิจกรรมการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติให้กับโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนมากกว่า 3,000 คน  

ในปี 2558 มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้กำหนดดำเนินโครงการ ห้องเรียนธรรมชาติในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรและธรรมชาติ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาได้ใช้แหล่งเรียนรู้ทางทรัพยากรและธรรมชาติที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 29 แหล่งนี้  อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ 8 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน รวมถึงนโยบายค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการของรัฐบาล  อีกทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพการจัดฝึกอบรมเยาวชนในแหล่งเรียนรู้ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้ให้มีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสถาบันพระมหากษัตริย์  
ที่ทรงห่วงใยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อเยาวชนของไทยสืบไป 

กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมโครงการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ

กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมโครงการลด และคัดแยกมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ
โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ได้มอบแก้วน้ำส่วนตัวให้กับบุคลากรกลุ่มบริหารทั่วไป ตามโครงการลด และคัดแยกมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ

กฟผ. ผนึกกำลัง สพฐ. สร้างโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

กฟผ. ผนึกกำลัง สพฐ. ปลุกสร้างโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 156 โรงเรียนพร้อมเป็นต้นแบบเผยแพร่ขยายผลอย่างต่อเนื่อง

กฟผ. ร่วมกับ สพฐ. ประกาศผลการดำเนินงานของครูและเยาวชนในเครือข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียว หวังปลูกฝังทัศนคติการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้ขยายผลสู่ชุมชนทั่วประเทศ

วันนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2562) นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนางสาวสิริมา หมอนไหม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2018 ให้แก่โรงเรียน เยาวชนและครูต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียว ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานใหญ่ กฟผ.อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

 

**** ติดตามข่าวสาร กด like กด shared กดติดตาม ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ที่ https://www.facebook.com/EESDinThailand

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดการวิจัยและนวัตกรรมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดการวิจัยและนวัตกรรมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพมหานคร โดยมีที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (นางสุกัญญา งามบรรจง) พบปะและให้แนวคิดการขับเคลื่อนกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning” พร้อมกันนี้มีคณะผู้แทนจากภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ นายวัฒนชัย วินิจจะกูล (หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park) นางสาวตติยา สาครพันธ์ (หัวหน้ากองศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.) นางวรรณา อิศรางกูร ณ อยุธยา (ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการแบบ Active Learning) เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายอย่างมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้แทนภาคีเครือข่าย และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดการวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม พัฒนาสื่อนวัตกรรม และสร้างช่องทางการนำเสนอนิทรรศนวัตกรรม Active Learning อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

ขอเชิญรับฟังการประชุมทางไกล (CONFERENCE) เพื่อมอบนโยบายการรณรงค์การจัดการขยะ ในหน่วยงานและสถานศึกษา

ขอเชิญรับฟังการประชุมทางไกล (Conference) เพื่อมอบนโยบายการรณรงค์การจัดการขยะ ในหน่วยงานและสถานศึกษาในวันพุธที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. รับชมทาง OBEC Channel
 
ดาวน์โหลดหนังสือราชการแจ้ง คลิก https://drive.google.com/file/d/1AvIL5PaDxqYsHrUilO1SbVIslmy_i06B/view?usp=sharing

การประกวดนวัตกรรมสีเขียว ประจำปี 2561 YOUTH GREENOVATION AWARDS 2018

การประกวดนวัตกรรมสีเขียว ประจำปี 2561 Youth Greenovation Awards 2018

ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2561

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

การขับเคลื่อนโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ

วันที่ 14 มิ.ย. 61 เวลา 10.00 น.
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี
พร้อมด้วย ผู้บริหารจากกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมประชุมมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ครั้งที่ 2/2561 ณ สวนสมเด็จฯ จตุจักร กทม.

โดยได้นำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาฯ” ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์ที่ดี นักเรียนมีความสุข เป็นไปตามพระราโชบาย และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ