05_Environment

ศึกษาดูงานศูนย์กำจัดมูลฝอย อ่อนนุช กทม.

วันที่ 27 สิงหาคม 2563 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ ได้รับเชิญจาก Chula Zerowaste และเครือข่ายขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานศูนย์กำจัดมูลฝอย อ่อนนุช กทม. เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอย โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดเป็นนโยบายหนึ่งในการขับเคลื่อนกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) อย่างต่อเนื่อง

ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช มีพื้นที่ประมาณ 580 ไร่ เป็นศูนย์ในการจัดการขยะคิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณขยะที่เก็บได้ใน กทม.  โดยมีปริมาณขยะที่เข้ามาประมาณ 3,800 ถึง 4,000 ตันต่อวัน การกำจัดขยะมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่การนำขยะไปเป็นพลังงานไฟฟ้า   นำขยะไปหมักเป็นแก๊สแล้วนำแก๊สไปปั่นเจนเนอเรเตอร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า  การนำขยะไปทำเป็นปุ๋ยส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถนำไปทำอย่างอื่นได้ก็จะนำไปทำเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) และส่วนที่เหลือจากนั้นก็จะทำการฝังกลบ 

ประเด็นที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ คือ ได้พบว่าปลายทางของขยะไปที่ไหน และทำอย่างไรจึงจะมีการจัดการขยะที่ดี ตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้สามารถแปรรูปขยะให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มีประสิทธิภาพ โดยทุกคนควรมองว่า ปัญหาขยะเป็นเรื่องของเราทุกคน หากเราไม่จัดการ จะก็ส่งผลกระทบต่อตัวเราในที่สุด

 

 

 

 

นิเทศ ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา “สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ สพป.นครสวรรค์ เขต 1

ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ และคณะ ร่วมนิเทศ ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา “สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ สพป.นครสวรรค์ เขต 1 ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา

เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย

วันพุธที่ 19 สิงหาคม 2563 ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบกลุ่มโครงการพิเศษ ( คพศ.) เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) ของประเทศไทย ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร

ซึ่งในงานนี้จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดย กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (กลช.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย : การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) เมื่อวันอังคารที่่ 19 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ โดยมี ดร.จิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม นางสาวสุกัญญา วิศาล ผู้อำนวยการกลุ่มการขับเคลื่อนนโยบายและกลไก เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยการจัดประชุมได้มีการนำเสนอร่างรายงานแห่งชาติเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย โดย ผศ.ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ และการเสวนา “บทเรียนและความสำเร็จของการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ” โดย ดร.เพชร มโนประวิตร นักวิชาการอิสระ นายยรรยง ศรีเจริญ WWF ประเทศไทย และ ผู้แทนจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ต่อจากนั้นได้มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย ซึ่งมีผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากหน่วยงานที่กำกับดูแลแรมซาร์ไซต์ และเจ้าหน้าที่ สผ. เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงการมีโครงการ การสร้างความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติ

ที่มา : https://www.facebook.com/onep.gov.th

เทปการประชุมย้อนหลัง https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1955042178136077&id=101073878233473

เว็บไซต์หลัก : http://wetland.onep.go.th/ramsarsites.html และ  https://www.ramsarsitethailand.com

 

Train the trainer SDGs

Train the trainer SDGs … บรรยายพิเศษ SDG Goals สู่สถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้าน วิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ.

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ที่ Obec YoungLeaders SDGs

สพฐ. วางแผน Train the trainer ขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ ในโรงเรียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบ การบริหารจัดการขยะในโรงเรียน (ฝ่ายเผยแพร่ความรู้) เมื่อวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 กระทรวงศึกษาธิการ

การประชุมในครั้งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน มาร่วมกันออกแบบกิจกรรมในการอบรมผู้แทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยกำหนดจัดในปลายเดือนสิงหาคมนี้

 

 

 

 

สพฐ.วางแผนพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน

นายสนิท  แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อวางแผน และกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการทั้งในส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 140/2563 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน ตามประกาศเจตนารมณ์ของสภานักเรียนระดับประเทศ และคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. 368/2563 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน  โดยได้มีการวางแผนดำเนินงานขับเคลื่อนโรงเรียนปลอดขยะ สพฐ. ได้แก่ การเผยแพร่ความรู้ การจัดกิจกรรม Train the Trainer กิจกรรม Zero waste camp และการจัดการเรียนการสอนผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ ( Digital Education Excellence Platform : DEEP)  และ OBEC Content Center เป็นต้น โดยใช้ผลการประเมินตนเองในการดำเนินงานของ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลด้านการบริหารจัดการและสร้างวินัยในการลดและคัดแยกขยะภายใต้แนวคิดโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) 

แนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2563

 

ด้วย กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยมีกรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จำนวน 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะและการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ โดยใช้หลักการ 3 ช : ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ 3Rs : Reduce Reuse Recycle ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย แจ้งว่าแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงขอความร่วมมือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนปฏิบัติการฯ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดทราบ เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยของประเทศมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564)
จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปีพ.ศ. 2563 ขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการขยะต้นทาง ด้านการจัดการขยะกลางทาง และด้านการจัดการขยะปลายทาง
2. เป้าประสงค์ คือ
2.1 ขยะมูลฝอยมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
2.2 ขยะมูลฝอยตกค้างสะสมได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.3 ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น
2.4 ขยะอันตรายได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น
2.5 ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและความเข้าใจในการจัดการขยะที่ต้นทางเพิ่มขึ้น
2.6 การดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสุขภาวะที่ดีของท้องถิ่นและจังหวัด
3. ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ ได้แก่
3.1 ด้านการจัดการขยะต้นทาง
3.1.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 ออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ
การจัดการขยะมูลฝอย
3.1.2 ครัวเรือน ร้อยละ 100 มีการบริหารจัดการขยะอินทรีย์
3.1.3 ครัวเรือน ร้อยละ 60 เข้าร่วมเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก”
เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอย

3.2 ด้านการจัดการขยะกลางทาง
3.2.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอย
แบบแยกประเภทในที่สาธารณะและหรือสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่ง
3.2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 85 มีการวางระบบการเก็บขน
หรือมีประกาศ เก็บขนขยะมูลฝอยให้สอดคล้องกับพื้นที่
3.2.3 หมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 100 มีการจัดตั้ง “จุดรวบรวมขยะอันตรายชุมชน”
3.3 ด้านการจัดการขยะปลายทาง
3.3.1 ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นและเก็บขนได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ร้อยละ 80 ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.3.2 ขยะมูลฝอยตกค้างได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100
3.3.3 กลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 ในแต่ละจังหวัดมีการจัดทำแผนการจัดการขยะมูลฝอย โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจังหวัด
รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2563
ให้กับโรงเรียนในสังกัดทราบต่อไป

 

โดยสามารถดาวน์โหลด เอกสาร ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

ขยายเวลาการส่งผลงานโครงการประกวดบรรจุภัณฑ์วัสดุทดแทนถุงเพาะชำกล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนถึง 30 ก.ย. 63

กรมป่าไม้ ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดบรรจุภัณฑ์วัสดุทดแทนถุงเพาะชำกล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

หลักเกณฑ์

บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าประกวดต้องระบุรายละเอียดวัสดุที่นํามาใช้ ขั้นตอนและวิธีการผลิต รวมถึงต้นทุนการผลิตอย่างถูกต้องครบถ้วน
วัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องเป็นวัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและบรรจุภัณฑ์ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ในระยะเวลา ประมาณ 1 ถึง 2 ปี
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องมีต้นทุนมูลค่าโดยเฉลี่ยไม่เกิน 0.85 บาท ต่อ 1 หน่วยบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถ รองรับการผลิตจํานวนมาก 1 ล้านชิ้น และกรมป่าไม้สามารถนํามาใช้ในการเพาะชํากล้าไม้ได้จริงในอนาคต
มีการนําเสนอบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สําหรับการทดสอบอย่างน้อย 50 ชิ้น ซึ่งต้องเป็นวัสดุที่ใช้ในการ เพาะชํากล้าไม้ได้จริง และมีปริมาตรการบรรจุวัสดุเพาะชํากล้าไม้ตั้งแต่ 250 ถึง 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร

 

ส่งใบสมัครพร้อมผลงาน

ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 30 กันยายน 2563
ส่งที่ ส่วนผลิตกล้าไม้ สานักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้
เลขที่ 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900
(วงเล็บมุมซองโครงการประกวดบรรจุภัณฑ์วัสดุทดแทนถุงเพาะชากล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
รางวัลการประกวด
รางวัลแบ่งตามผู้เข้าประกวดเป็น 3 ประเภท คือ ระดับมัธยมศึกษา หรืออาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป ซึ่งแต่ละประเภทจะได้รับการมอบรางวัลจากอธิบดีกรมป่าไม้ ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมเงินรางวัล มูลค่า 50,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โล่รางวัลจากปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมเงินรางวัล มูลค่า 20,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โล่รางวัลจากอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมเงินรางวัล มูลค่า 10,000 บาท
รางวัลชมเชย จํานวน 3 รางวัล แต่ละรางวัลจะได้รับเกียรติบัตร จากกรมป่าไม้และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท
ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายพัฒนากล้าไม้ ส่วนผลิตกล้าไม้ สานักส่งเสริมการปลูกป่า
โทรศัพท์ : 0 2561 4292-3 ต่อ 5517/5520

การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน ตามประกาศเจตนารมณ์ของสภานักเรียน ระดับประเทศ ครั้งที่ 1/2563

                         จันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามประกาศเจตนารมณ์ของสภานักเรียน ระดับประเทศ โดยมีผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาคเอกชนหลายองค์กร มาร่วมระดมความคิด วางแผนการดำเนินงาน และผลักดันการขับเคลื่อนการดำเนินการลดขยะในโรงเรียนทั่วประเทศให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนและชุมชน 

 

 

สพฐ.สร้างองค์ความรู้ตามแนวทางการดำเนินการตามาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ และการจัดการขยะและบุรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในสำนักงาน

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563  ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมและประชุมชี้แจงสร้างองค์ความรู้ตามแนวทางการดำเนินการตามมาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ  และการจัดการขยะและบุรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในสำนักงาน  ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ

ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำพลาสติกและโฟมมาใช้ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งพลาสติกและโฟมเหล่านี้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากเมื่อไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก และทางทะเล รวมทั้งปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก

ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินงานพร้อมกันทั่วประเทศในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 กิจกรรมภายใต้โครงการ “ทำความดีด้วยหัวใจ  ลดภัยสิ่งแวดล้อม” โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล็งเห็นความสำคัญในปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งควรสร้างความตระหนักตั้งแต่เยาวชนของชาติจนถึงข้าราชการและบุคลากรในส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อให้สำนักในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ในสังกัด มีการดำเนินงานด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในอาคารและพื้นที่ ของหน่วยงาน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแต่ภาคเอกชนและประชาชนในการมีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ขยะพลาสติก และโฟม ในภาพรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางและมาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน ดังนี้

1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด คัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำไปสู่วินัยในการลดใช้ถุงพลาสติก และโฟม

2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเป็นหน่วยงานต้นแบบ ในการลด คัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และโฟม

3) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะสร้างความตระหนักและส่งเสริมบทบาทของหน่วยงานในสังกัด ในการร่วมลด คัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และโฟม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม

4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะกระทำเป็นตัวอย่างในการลดเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว โฟม และพลาสติกอื่น ๆ เพื่อลดขยะอย่างจริงจัง รวมทั้งจะใช้หลักการ 3R คือ ใช้น้อยหรือลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) ในการจัดการขยะที่เกิดขึ้น ประธานในพิธีกล่าว

โดยมีบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนแม่บ้านทำความสะอาดประจำสำนักงาน สพฐ. เพื่อสร้างความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการตามาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานของรัฐต่อไป โดยมีเป้าหมาย ผู้เข้ารับการอบรมฯ ครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคลากรส่วนกลาง จำนวน 85 คน แม่บ้านทำความสะอาด 25 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน  รวมทั้งสิ้น 120 คน

ที่มา : http://zerowaste.eesdobec.com/?p=337

 

แนวทางการดำเนินงานตามข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.30 – 11.30 น. ณ ห้องประชุมก่อ สวัสดิพาณิชย์ ชั้น 8 อาคารรัชมังคลาภิเษก สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โดยในที่ประชุม ได้มีการอภิปราย ใน 2 ประเด็น ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการเสริมสร้างพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การดำเนินงานตามข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน