05_Environment

เปิดรับข้อเสนอโครงการ การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ และภาพวาดจินตนาการอนาคต

เปิดรับข้อเสนอโครงการ การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ และภาพวาดจินตนาการอนาคต ภายใต้หัวข้อ Inventions for Sustainable Development Project
ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 ม.ค. 2564 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://obecyounginventor.innoobec-project.com/

การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการนำร่องศึกษาดูงานสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ และการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2563

วันที่ 28 ตุลาคม 2563  เวลา 10.00 – 12.00 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด และบุคลากร กลุ่ม คพศ. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการนำร่องศึกษาดูงานสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ และการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2563 ผ่านระบบปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ซูม Zoom

 

ประชุมหารือกับเลขานุการ รมว.ศธ (นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร) เรื่องการทำงานภายใต้กิจกรรมโครงการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

 

วันที่ 14 ตุลาคม 2563 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และ ดร.ธัญนันท์  แก้วเกิด และบุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับเลขานุการ รมว.ศธ (นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร) เรื่องการทำงานภายใต้กิจกรรมโครงการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมวชิราวุธ อาคารราชวัลลภ

 

 

สพฐ. จัดอบรมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำสิ่งแวดล้อมศึกษา การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ สพฐ. รุ่นที่ 1

เมื่อวันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริเวอร์ไซต์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการอบรมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education Officer) : การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ สพฐ. (OBEC Zero Waste School) รุ่นที่ 1 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย รุ่นที่  คือ นักวิชาการศึกษาและศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานสิ่งแวดล้อมศึกษาและสภานักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 40 คน จากเขตตรวจราชการ 19 เขต

สืบเนื่องจากรัฐบาลเห็นความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศที่นับวันจะมีความรุนแรง มากยิ่งขึ้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางระเบียบ กฎหมาย และมาตรการการบริหารจัดการขยะ อาทิ กระทรวงมหาดไทยจัดทำพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559 – 2564) ซึ่งหนึ่งในมาตรการของแผนแม่บทฯ คือ มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้  สร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้กับเยาวชน ส่งเสริมให้สถานศึกษาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยในการเรียนการสอนทุกระดับ    กอปรกับการที่สภานักเรียนระดับประเทศ ได้เสนอเจตนารมณ์ เรื่อง การส่งเสริมให้นักเรียนไทย เลิกใช้ถุงพลาสติก ผ่านโครงการ Thailand Student Council : TSC ต่อนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563  ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ โดยการประสานพลังความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมมือกันวางแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ของประเทศใน ประเด็น ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน 3) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน  ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักสูตรในการอบรมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร สนับสนุนเอกสารและสื่อ การเรียนรู้ รวมทั้งคณะวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้แก่  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ  Chula Zero Waste  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  PPP Plastic  สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)   Less Plastic  สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนเกาะกลาง คลองเตย และวัดจากแดง สมุทรปราการ

การจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากร สพฐ. ให้เป็นวิทยากรแกนนำที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)   เพิ่มทักษะในการวิเคราะห์ การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปัญหาขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม  สร้างเครือข่ายการเรียนรูกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ   และสนับสนุนให้มีการขยายผลการจัดการขยะในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน 

สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ทาง http://trainthetrainer.eesdobec.com/

 

 

วิดีโอบรรยากาศกิจกรรมการอบรม

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่ม ๑ พัทลุง

ในวันที่ ๒๘ – ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ จังหวัดพัทลุง (พัทลุง สงขลา) ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ พัทลุง เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา พร้อมภาคีเครือข่ายจาก บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสงขลา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย บุคลากรศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวป่าเขียวจังหวัดพัทลุง และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (สพป.สงขลา เขต ๑ และ ๒ และ สพป.พัทลุง เขต ๑) โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมถอดรหัสลับขยับกาย (Coding) กิจกรรม Nature Game กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม ตามรอยแม่ กิจกรรม brainstoming workshop “ปั้นครูให้เป็นยูทูบเบอร์” กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (๓ รัก) เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร” ได้ที่  https://web.facebook.com/rakpongpraiobec/

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์

ในวันที่ ๒๗ – ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต ๑ นายสุรวิทย์ ทับเหล็ก เป็นประธานในพิธีเปิด

ทั้งนี้ นางขนิษฐา จันทโชติ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้กล่าวถึงการจัดประชุมสัมมนาฯในครั้งนี้ว่า “การเกิดเครือข่ายขึ้นเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกัน นักวิจัยและนักวิชาการป่าไม้ เราทำงานกับต้นไม้ทำกับสิ่งที่เรารู้เราจึงเข้าใจในความสำคัญ แต่ในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรามีให้แก่เด็กๆเราจำเป็นต้องพึ่งครูแกนนำรักษ์พงไพรทุกๆคน”

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริประจวบคีรีขันธ์ บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี (สวนผึ้ง) บุคลากรจากสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๙ ฐาน ดังนี้ ๑.เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ๒.พรรณพฤกษา กับ สัตวาภิธาน ๓.การจัดขยะเพื่อโลกสวย ๔.นานาสาระด้วยปุ๋ยหมัก ๖.เรียนรู้พรรณไม้ด้วยเทคโนโลยี ๗.การบัญชีและการสหกรณ์ ๘.ย้อนอดีตดอนยาง ๙.สร้างพลังรักษ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ติดตามข่าวสารของ โครงการค่ายรักษ์พงไพร ได้ทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี

ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และร่วมกันสร้างสรรค์เครือข่ายการต่อยอดขยายผลด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับโรงเรียนและชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ตามวิถีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ (New Normal) ในระดับพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่ม ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาช่อง บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาพระแทว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครศรีธรรมราช และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๖ ฐาน ดังนี้ ๑.นักสื่อความหมายธรรมชาติ ๒.Coding ๓.ป่าไม้ ๔.คุณค่าทรัพยากรป่าไม้ ๕.ห่วงโซ่อาหาร ๖.สัตว์ป่า เป็นต้น

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 16 และ 17 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตรพัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ ภายใต้โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน (น่าน และเชียงใหม่) โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพรในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ

 

ทั้งนี้การประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ครูวิทยากรรักษ์พงไพรในครั้งนี้ด้วย

ทางด้านศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบศูนย์ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้ให้แนวคิดในการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่ายไว้ว่า แต่ละหน่วยงานมีความรู้ มีความชำนาญในเรื่องที่แตกต่างกัน การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้สามารถนำองค์ความรู้มาบูรณาการและต่อยอดได้ ดังนั้นการทำงานเป็นเครือข่ายจึงเป็นเรื่องที่ดี

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าน่าน (นาน้อย) บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเชียงใหม่ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาน่าน (บ่อเกลือ) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.น่าน เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวจะมีกิจกรรมหลักเป็นการแบ่งกลุ่มระดมพลังสมองเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมและขยายผลในโรงเรียน รวมถึงแนวทางการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่าย และกิจกรรมเรียนรู้ 3 รักษ์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)

จากนั้น ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ น่าน ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย โรงเลี้ยงไหม อุโมงค์หม่อนผลสด และนิทรรศการผ้าไหมไทย เป็นต้น

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด และติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ  โดยการประชุมดังกล่าว จัดขึ้น เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนท์ ถนนกำแพงเพชร 6 กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ และนายสราวุธ ชีวะประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุมและมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากส่วนราชการ รัฐวิสหกิจ สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาล และกิจกรรมสุขภาพ และผู้สังเกตการณ์ กว่า 100 คน

ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามมาตราการประหยัดน้ำภาครัฐตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 โดยต้องรายงานผลให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ และ สทนช. ได้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ สทนช. จัดเก็บข้อมูลการใช้น้ำภาคราชการให้เป็นปัจจุบันตามประเภทและขนาดของหน่วยงาน ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำ ที่จะนำไปสู่การกำหนดมาตรการ วิธีการและแนวทางในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน (Road Map) ขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค กลยุทธ์ที่ 1.4 การประหยัดน้ำทุกภาคส่วน ให้กำหนดอัตราการใช้น้ำในภาคราชการ และพื้นที่ชุมชน ทั้งชุมชนเมือง ชนบท และแหล่งท่องเที่ยว และการส่งเสริมการประหยัดน้ำภาครัฐ ในเบื้องต้น สทนช. โดยกองนโยบายและแผนแม่บทได้ดำเนินการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์การใช้น้ำสำหรับภาคราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับฟังการชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และร่วมกันกำหนดมาตรการและแนวทางการประหยัดน้ำภาครัฐ เพื่อที่ สทนช.จะได้นำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดเป็นมาตรการบังคับใช้ต่อไป นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการรายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 ตามตัวชี้วัด SDGs 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการใช้น้ำทุกช่วงเวลา สำหรับรายงาน UN-WATER ในปี 2020 ที่กำหนดให้จัดทำข้อมูลตามศักยภาพของประเทศ ซึ่งการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำภาคบริการตามมาตรฐานอุตสาหกรรมสากลของ UNDP ในกลุ่มส่วนราชการ (O) สถานศึกษา (P) และโรงพยาบาล สถานพยาบาล และกิจกรรมสุขภาพ (Q) ต่อไป
ขอขอบคุณภาพและข่าวจาก https://www.facebook.com/onwrnews

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 2 ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก

เมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 2 (นครนายก สระบุรี จันทบุรี และชลบุรี) ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก นายพิเชษฐ์ นนท์พละ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูวิทยากรค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน กล่าวว่า การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย และการใช้สถานที่จริงเป็นแหล่งเรียนรู้นั้น จะทำให้ครูผู้สอน เกิดความเข้าใจ เข้าถึง และสามารถนำสิ่งแวดล้อมเป็นฐานเพื่อไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้

ทางด้านบุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก กล่าวว่า การมีเครือข่ายทำให้สามารถที่จะประสานงานหรือพูดคุยกันได้ เป็นการระดมความคิด ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน เมื่อร่วมกันทำงานย่อมทำให้เกิดการบูรณาการในสิ่งใหม่ๆร่วมกัน

ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 1 และ 2 สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 3 และ สพป.นครนายก (เจ้าภาพ) รวมทั้งสิ้น 70 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรม “Craft From Nature”  กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก” กิจกรรมถอดบทเรียน “เล่าขาน…งานค่าย” สู่แนวปฏิบัติที่ดี และกิจกรรมล่องแก่งเพื่อศึกษาเส้นทางธรรมชาติ รวมถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) เป็นต้น

 

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด ผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

วันที่ 9 – 11 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ที่ดำเนินการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตร “พัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เป็นไปตามพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ครูวิทยากรจาก สพป.กาญจนบุรี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1 และ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2 และสพป.นครสวรรค์ เขต 1 (เจ้าภาพ) รวม 61 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมรับอรุณ (ส่องนกท้องถิ่น) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 จังหวัด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเรื่องเล่าจากพงไพรฯ กิจกรรม 6 ฐาน (ฐานป่าไม้ในเมืองไทย ฐานนักสืบสายน้ำ : สำรวจโลกแห่งลำน้ำ ฐานโซ่อาหาร สายใยอาหารและระบบนิเวศ ฐาน Coding ฐานสร้างภาพจากธรรมชาติ ฐานรอยตีนสัตว์) เป็นต้น

เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน”

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายให้บุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรดิน โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ในเรื่องทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งร่วมผลักดันเรื่องวันดินโลก ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาคมดินโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยได้มีการจัดงานวันดินโลกในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับในปี 2563 สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้กำหนดหัวข้อการจัดงานวันดินโลก “Keep Soil Alive, Protect Soil Biodiversity : รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ระหว่างวันที่ 4 – 7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นหัวข้อที่ให้ความสำคัญของนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพในดินของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่