05_Environment

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรและขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2565

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร

และขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2565

ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

จำนวน 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย

– มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ

– องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

– กรมพัฒนาที่ดิน

– กรมส่งเสริมการเกษตร

– กรมป่าไม้

– กรมส่งเสริมสหกรณ์

– กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

– กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

– กรมหม่อนไหม

– สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

– เครือเจริญโภคภัณฑ์

– บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น

และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จุดประสงค์หลักการประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันทบทวนและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงบูรณาการการจัดการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยวันที่ 30 มีนาคม 2565 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ
ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดและได้มอบแนวทางในการต่อยอดขยายผลโครงการในระยะต่อไป

 

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณหญิงปราณี วรรธนะกุล กรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พร้อมคณะ ประชุมร่วมกัน โดยบรรยากาศในการประชุมนั้นอบอุ่นและเป็นกันเอง จากนั้นภาคีเครือข่าย 13 หน่วยงาน ได้นำเสนอแนวคิดและแนวทางในการดำเนินงานของตนเอง รวมถึงทำปฏิทินกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบูรณาการความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็งและมีความยั่งยืน

 

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมรับฟังบรรยายในหัวข้อ “การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ Active Learning” จากวิทยากรผู้มีความรู้ พร้อมทั้งได้ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ถือว่าเป็นกิจกรรมที่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ที่ต้องการให้การจัดกิจกรรมค่ายใช้กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนั้นได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก

 

และในวันสุดท้ายของการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรฯ คณะทำงานมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด ทั้งยังได้กล่าวขอบคุณและส่งมอบกำลังใจจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ส่งถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ช่วยกันขับเคลื่อนสร้างการรับรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนได้รับรู้และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
เข้าใจคุณค่าและประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันระหว่างคน ป่าไม้และสัตว์ป่า การเกษตรและสหกรณ์
นอกจากนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อไปอย่างต่อเนื่องและพัฒนาให้เด็กและเยาวชนช่วยกันเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ส่งเสริมให้เป็นคนดี คนเก่ง คนกล้าและจิตอาสาเพื่อสังคม

 

 

ติดตามข่าวสารโครงการค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร ได้ที่ เพจ : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

 

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ สพฐ. ประจำปี พ.ศ. 2565

           สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ สพฐ. ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ่ รัชดา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 12 แห่งทั่วประเทศ

           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนา  ศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนงบประมาณปี พ.ศ. 2564 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 12 แห่ง ทั่วประเทศ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การลดใช้พลังงาน การจัดการขยะ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นโยบายการจัดการศึกษาด้านการลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสการเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นพลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู และผู้บริหารภายในโรงเรียนกับชุมชน

โดยกิจกรรมภายในการอบรม มีกิจกรรมสำคัญได้แก่

  • การบรรยาย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายโลก 17 ข้อ สู่การบูรณาการ โครงการสำคัญของ สพฐ. โดย ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ.
  • การนำเสนอผลงานปฏิบัติงานของศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 12 แห่ง ทั่วประเทศ
  • การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ กับการบริการจัดการ โครงการอารยเกษตร  สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย   “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” โดย อ.กิตยาภรณ์  ประยูรพรหม นักวิชาการศึกษาชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
  • การจัดทำเกณฑ์การประเมินตนเอง ศูนย์โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การจัดทำแผนงานโครงการประกอบการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565

 

แบบประเมินมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนพัฒนาไปสู่โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้โรงเรียนมีการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักมีเจตคติมีความรู้ มีทักษะและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตนต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเติบดตขึ้นเป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำเกณฑ์การประเมินมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นสำหรับให้โรงเรียนนำแนวทางของเกณฑ์การประเมินไปใช้ประยุกต์ใช้ โดยเทียบเทียบเคียงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความมุ่งมั่นที่พัฒนาไปสู่โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนตามวัตถุประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา อันจะส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้และดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้มีเหลือไว้ใช้สำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคตด้วย โดยกำหนดโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้

  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจกับผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการประเมินโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. โรงเรียนดำเนินการพัฒนาโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  3. โรงเรียนประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเทียบเคียง ผลการประเมินกับเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

  4. นำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

จึงขอเชิญชวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ร่วมทำแบบประเมินตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ https://inno.obec.go.th/eesd/eneva/ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 29 เมษายน 2565

ดาวน์โหลดเกียรติบัตร คณะวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในประเด็นของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

 

ขั้นตอนการดาวน์โหลดเกียรติบัตร

1. ดาวน์โหลดเกียรติบัตรออนไลน์ได้ที่ https://inno.obec.go.th/cert/download.php?id=52

2. หากตรวจสอบรายชื่อไม่พบ สามารถกรอกข้อมูลทำเนียบผู้วิจัย

ได้ที่ https://inno.obec.go.th/eesd/?page_id=8513

3. กลุ่มไลน์ติดต่อเรื่องเกียรติบัตร

 

ประชาสัมพันธ์โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ปี 2565

เชิญชวนสถานศึกษาเข้าร่วม โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุนโรงเรียนให้มีการเรียนการสอน และกิจกรรมการจัดการขยะที่ต้นทาง

การรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
– ศึกษาเอกสารรายละเอียดโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ปี 2565 (เกณฑ์การตัดสิน, รูปแบบเล่มผลงานโรงเรียนปลอดขยะ, สื่อในโครงการ) ได้ทางเว็บไซต์ www.deqp.go.th และเพจ Facebook : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School
– จัดทำเล่มผลงานโรงเรียนปลอดขยะเพื่อพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนผ่านเข้ารอบที่ 1
– จัดส่งที่ กลุ่มสื่อสิ่งแวดล้อมและกิจการพิเศษ ชั้น 2 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 49 พระราม 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 (ส่งเล่มผลงาน = การสมัครสมบูรณ์)
– สมัครวันนี้ ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 (ยึดตามวันที่ประทับตราส่งเอกสาร)
– ติดตามประกาศรายชื่อผู้สมัครสมบูรณ์ได้ที่ เพจ Facebook : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School
– รอพิจารณาผลการคัดเลือกโรงเรียนผ่านเข้ารอบที่ 1
ติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มสื่อสิ่งแวดล้อมและกิจการพิเศษ โทรศัพท์ : 0 2298 5608, 0 2278 8400-9 ต่อ 1293 และ 1298
เพจ Facebook : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School เพื่อรับข้อมูลข่าวสารตอบข้อสงสัย

กฟผ. – สพฐ. มอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2020 ประกาศเกียรติคุณโรงเรียนทั่วประเทศที่ร่วมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโครงการห้องเรียนสีเขียว

กฟผ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2020 ให้กับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนสีเขียว อาคารเบอร์ 5 ในสถานศึกษา โรงเรียนคาร์บอนต่ำ และโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชน เพื่อประกาศเกียรติคุณและสร้างกำลังใจให้แก่โรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีและมีผลงานโดดเด่นในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียวปี 2563

 

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 นายสุทธิพงษ์  เฉลิมเกียรติ ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน(ชยย.) และว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2020 เพื่อประกาศเกียรติคุณและสร้างกำลังใจให้แก่โรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีและมีผลงานโดดเด่นในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียวในปี 2563 ภายใต้แนวคิด EGAT for ALL กฟผ. เป็นของทุกคน และเพื่อทุกคน ในมิติของการดูแลสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านระบบ Zoom Meeting และถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊ก “ห้องเรียนสีเขียว กฟผ. Page”

นายสุทธิพงษ์  เฉลิมเกียรติ ชยย. กล่าวว่า กฟผ. ได้ดำเนินโครงการห้องเรียนสีเขียวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นปลูกฝังให้เยาวชนมีองค์ความรู้ ทัศนคติที่ดี และมีพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงสนับสนุนให้เยาวชนเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายพลังงาน เกิดเป็นพลังเยาวชนที่เข้มแข็ง สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมหรือนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม และขยายผลจากโรงเรียนสู่ครัวเรือนตลอดจนชุมชนในบริเวณพื้นที่รอบโรงเรียน นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียวที่มีการแบ่งปันองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการนี้จะช่วยลดการใช้พลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แก่ประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกในเรื่อง Carbon Neutrality

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ สพฐ. กล่าวว่า ขอขอบคุณ กฟผ. ที่สร้างสรรค์โครงการห้องเรียนสีเขียวซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดย สพฐ. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นภาพความสำเร็จของทุกโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจและร่วมมือกันอย่างแท้จริงที่จะพัฒนาให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน และสร้าง “สังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียว” หรือ Green Learning Society โดยมุ่งหวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศไทยต่อไป

สำหรับในปี 2563 มีโรงเรียนที่ได้ร่วมดำเนินกิจกรรมและประสบความสำเร็จใน 4 กิจกรรม ดังนี้

1)โรงเรียนสีเขียว ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 13

โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี โรงเรียนบ้านทำนบ (เลิศสินอนุสรณ์) โรงเรียนแม่แตง โรงเรียนตราษตระการคุณ โรงเรียนอนุบาลวัดสระแก้ว โรงเรียนบ้านโจดหนองแกหนองสิม โรงเรียนบ้านหนองแวง โรงเรียนบ้านหนองถ่ม (คุรุราษฎร์อนุสรณ์) และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง

2) อาคารเบอร์ 5 ในสถานศึกษา เป็นอาคารที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนที่มีการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จำนวน 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (อาคาร 1919) โรงเรียนราชวินิตประถมบางแค (อาคารเทพรัตน์สิริปภา) โรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฏร์ศึกษาลัย) (อาคาร 8) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (อาคาร 8) โรงเรียนอนุบาลสิงห์บุรี (อาคาร MEP) โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) (อาคาร 7) โรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ (อาคารวิทิตธรรมคุณ) โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย (อาคารธรรมลังกา) โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม (อาคารเกษตรศิลป์) โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม (อาคารปัญญาวิวัตร) และโรงเรียนสุขานารี (อาคาร 8)

3) โรงเรียนคาร์บอนต่ำ ลดการใช้ไฟฟ้าที่โรงเรียน มีรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านลำทับ โรงเรียนบ้านโจดหนองแกหนองสิม โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) โรงเรียนอนุบาลวัดสระแก้ว โรงเรียนวัดควนวิเศษ โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์) โรงเรียนบางละมุง โรงเรียนตราษตระการคุณ โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา โรงเรียนนครสวรรค์ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

4) โรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชน ลดการใช้ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน โดยในปี 2563 โรงเรียนและบ้านของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 5 ล้านหน่วย ลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า 25 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 3 พันตัน โดยมีรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) โรงเรียนวัดน้ำคบ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม โรงเรียนอนุบาลชัยนาท โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนอนุบาลพะเยา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนบางละมุง โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์โรงเรียนพิริยาลัย โรงเรียนนครสวรรค์ และโรงเรียนกันทรลักษณ์วิทยา

 

ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์เต็มรูปแบบ EGAT GREEN LEARNING SOCIETY

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ EGAT GREEN LEARNING SOCIETY ในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 9 -19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00 – 15.00 น. ผ่านทาง   Facebook Live : ห้องเรียนสีเขียว กฟผ.

การประชุมชี้แจงการใช้คู่มือเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน รร.สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
จัดทำคู่มือเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อเผยแพรให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 245 แห่ง

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. ใช้เป็นแนวทางพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ใช้เป็นหลักเทียบเคียง สำหรับส่งเสริม กำกับติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากทุกภาคส่วนเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน ได้แก่

ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมศึกษา

ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา

ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา และ

ด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน

ประกอบด้วย 13 มาตรฐาน และ 31 ตัวชี้วัดโดยมีเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมศึกษาสู่ความยั่งยืน ที่เกิดจากผู้บริหาร ครู นักเรียน บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน เป็นโรงเรียน ชุมชนท้องถิ่น สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการจัดทำคู่มือเล่มนี้ เป็นการทำงานจากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ครู และผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา นอกจากนี้ เพื่อให้คู่มือเล่มนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงได้นำไปทดลองใช้ในระดับภูมิภาคใน 6 ภูมิภาค จำนวน 2 ครั้งทั้งโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกขนาด และนำผลมาวิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาเกณฑ์ฯ ให้เหมาะสมและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน โดยมีเป้าหมายสูงสุดของเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนานักเรียนให้เติบโตขึ้นเป็น “พลเมือง” ที่ใช้ชีวิตอย่าง “พอเพียง” เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ “ยั่งยืน”

โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดจัดประชุมชี้แจงการใช้คู่มือเกณฑ์การประเมินมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 22-23 และ 24 กันยายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ โดยสามารถติดตามรับชมได้ทาง Facebook กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 

ร่วมเป็นเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ  เข้าร่วมเป็นเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ได้ร่วมสมทบทุนกองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา และจัดสวัสดิการให้กับบุคลากรของกรมส่งเสริมคุณภาพแวดล้อมด้วย

ส่งมอบโต๊ะภายใต้โครงการ “กล่องนมรักษ์โลก”

วันที่ 18 มีนาคม 2564  ดร.ธัญนันท์  แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  และคณะ ได้ร่วมส่งมอบโต๊ะภายใต้โครงการ “กล่องนมรักษ์โลก”  ซึ่งได้แปรรูปมาจากกล่องนมใช้แล้ว ให้กับโรงเรียนบางพลีใหญ่ใน  จ.สมุทรปราการ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 จ.ปทุมธานี

โต๊ะอาหารเป็นโต๊ะที่แปรรูปมาจากกล่องนมใช้แล้ว  โดยกิจกรรมดังกล่าว เป็นผลการดำเนินงานของ โครงการกล่องนมรักษ์โลก โดยผลิตภัณฑ์ไมโล บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมกับบริษัท เต้ดตร้า แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมจัดการกล่องยูเอชทีใช้แล้วในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนและครูเพื่อให้เกิดการจัดการกล่องยุเอชทีใช้แล้ว ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (Closed Loop Packaging) ภายใต้โครงการเรียนรู้นอกห้องเรียน “กล่องนมรักษ์โลก”  มีกิจกรรมเก็บกล่องยูเอชทีและการแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียน เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและแปรรูปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โต๊ะทานข้าวในโรงอาหาร โต๊ะ-เก้าอี้นักเรียน เป็นต้น ทั้งนี้โครงการเตรียมขยายผลสู่ 60 โรงเรียนในปี 2564 ต่อไป

 

 

 

 

โครงการนำร่องศึกษาดูงานสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ และการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2564

วันที่ 12 มกราคม 2564  เวลา 14.00 – 15.00 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด และบุคลากร กลุ่ม คพศ. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการนำร่องศึกษาดูงานสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ และการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2564 ผ่านระบบออนไลน์ มีวาระในการพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานและรูปแบบการดำเนินโครงการฯ เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19  โดยจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ พื้นที่ศึกษาได้แก่

  • ภาคเหนือ ชุมชนเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมชนป่าภูถ้ำ – ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น
  • ภาคใต้ เครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมินิเวศลุ่มน้ำคลองยัน จ.สุราษฏร์ธานี

การพิจารณาเยาวชนเข้าร่วมโครงการ :
1. เยาวชนอายุระหว่าง 12-25 ปี
2. เป็นเยาวชนในพื้นที่ ระดับอ าเภอ โดยจัดกิจกรรมกลุ่มขนาดเล็กไม่เกิน 20 คน
3. เยาวชนที่มีความถนัดหรือสนใจด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรืออื่นๆ
4. มีประสบการณ์ในการท างานเพื่อสังคม มีจิตอาสา (ได้รับการรับรอง)
5. มีความสนใจ เรียนรู้ พัฒนา เพื่อเป็นเครือข่ายเยาวชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)