05_Environment

รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ. ในกิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad

รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ.
ในกิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad และกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference รับฟังบรรยาย อภิปรายและทำกิจกรรมในหัวข้อ Virtual Study Abroad
ในวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ระหว่างเวลา 07.00 – 14.30 น. (เวลาประเทศไทย)

โครงการความร่วมมือ ด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ. กิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad

โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ.
กิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad

รับสมัครนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference รับฟังบรรยาย อภิปรายและทำกิจกรรมในหัวข้อ Virtual Study Abroad

ในวันศุกร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๗.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. (เวลาประเทศไทย)

 

การขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR)

TIPMSE รวมพลังเครือข่ายประกาศเริ่มปฏิบัติการ EPR ภาคสมัครใจ เก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่วงจรรีไซเคิล

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ หนึ่งใน 26 องค์กรที่มาร่วมแสดงเจตจำนงขับเคลื่อน EPR Voluntary เพิ่มเติมในปี 2023 โดยมีบทบาทการทำงานร่วมกันในส่วนของการสื่อสารสร้างความเข้าใจเพื่อสนับสนุนหลักการ EPR ให้กับกลุ่มเยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ผ่านกิจกรรมหลักสูตรอบรมครูประถม-มัธยม และกิจกรรมโต้สาระวาที ซึ่งเป็น 2 กิจกรรมที่จะช่วยให้เยาวชนเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดการบรรจุภัณฑ์ต่อไปอนาคตได้

ภายในงานดังกล่าวมีเวทีสัมมนา “EPR in action: ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ธุรกิจปังอย่างยั่งยืน” โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หรือ TIPMSE จัดเวทีสัมมนา พร้อมแถลงความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรเครือข่าย ได้แก่ PackBack By TIPMSE, PPP Plastics, PRO Thailand Network และ Aluminum Closed Loop Packaging System ที่มีบทบาทในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ทั้งแก้ว กระดาษ พลาสติก กล่องนม และกระป๋องอลูมิเนียม เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยกลไก Extended Producer Responsibility หรือ EPR ซึ่งเป็นกลไกการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ครอบคลุมตลอดทั้งชีวิตวงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนหลังการบริโภค โดยมีนางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อน EPR ร่วมเป็นประธานในพิธี ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ณ ห้องเพลนารีฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

 

พิธีมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ในการมุ่งเน้นปลูกฝังองค์ความรู้ ทัศนคติ และอุปนิสัยที่ดีในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนสีเขียว ในปี 2566 ได้กำหนดจัดกิจกรรมประกวดสำหรับนักเรียนและโรงเรียน จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมโรงเรียนสีเขียวเบอร์ 5 เพื่อยกระดับโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้โรงเรียนบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมกับทุกกิจกรรมของโรงเรียน รวมทั้งเป็นการประเมินและติดตามผลโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. กิจกรรม EGAT Green Learning Academy ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะการผลิตสื่อของเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารและเป็นผู้นำที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม

และในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society ซึ่งเป็น การประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของปี 2565 และปี 2566 ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคาร Impact Exhibition อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี 

        

“คนดี รักษ์โลก”

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้เข้าร่วมงาน “คนดี รักษ์โลก” โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม B1-1 ถึง ห้องประชุม B1 – 6 (ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร) ชั้น B1 อาคารรัฐสภา โดยเป็นการจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ในงาน “พลังแห่งความรัก” และได้เชิญโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 2 โรงเรียนเข้าร่วมจัดนิทรรศการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เป็นเลิศ (Best Practice)

 

     

 

สพฐ. ขอประกาศผลการแข่งขันโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

การประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meetings)

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meetings) ได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับเกียริตบัตรขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้โอนจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียน เพื่อเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน ๒๙ โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินงานสวนพฤกษศษตร์โรงเรียนและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และช่วยให้คำแนะนำกับโรงเรียนที่จะต้องรับการประเมินจากคณะกรรมการของโครงการ อพ.สธ. ซึ่ง สพฐ. มีแผนในการเพิ่มจำนวนสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยการจัดตั้งโรงเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ เป็นศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และได้ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินงานตามภารกิจบทบาท หน้าที่ ของศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนต่อไป

   

ประกาศผล (ฉบับยังไม่ได้ลงนาม) ของการตัดสินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

สพฐ. ขอประกาศผล (ฉบับยังไม่ได้ลงนาม) ของการตัดสินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

  1. เอกสารประกาศฉบับจริงอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อลงนาม และจะส่งไปยัง สพท.ตามระบบหากลงนามเรียบร้อย
  2. เกียรติบัตรการแข่งขัน จะอยู่ในรูปแบบออนไลน์ และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง เนื่องจากเป็นการลงนามของผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเลขาธิการ กพฐ. ต้องใช้เวลาในการดำเนินการขอสำเนาลายมือชื่อ
  3. สพฐ. “งดจัดการแข่งขันระดับภูมิภาค และระดับประเทศ” ดังนั้นเกียรติบัตรการแข่งขันรอบนี้ จึงไม่ระบุ รอบคัดเลือก
  4. ให้ครูและนักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อในประกาศ หากต้องการแก้ไข ให้แจ้ง 1. ประเภทการแข่งขัน 2. ลำดับที่ในประกาศ 3. รายชื่อที่ต้องการแก้ไข ภายในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566

ผลการตัดสินระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) คลิก

ผลการตัดสินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คลิก

สัมมนาแลกเปลี่ยนนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดการสัมมนาแลกเปลี่ยนนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ระหว่างวันที่  5-6 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

โดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมพิธีเปิดการสัมมนาแลกเปลี่ยนนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ดังกล่าว และได้มอบนโยบายการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน เพื่อส่งเสริม และพัฒนาทักษะ เจตคติ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน รวมทั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้กับผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู เน้นการจัดการขยะนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด โมเดลเศรษฐกิจ BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) รวมถึงสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ให้เกิดนวัตกรรมการจัดการขยะที่ต้นทาง พร้อมทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำในสถานศึกษา  การสัมมนาในครั้งนี้กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จากกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสุพรรณบุรี จำนวน 250 คน

โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิด เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดขั้นสูงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เกิดจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ รวมทั้งสร้างเครือข่ายพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอย่างยั่งยืน

โดยมีรายละเอียดการแข่งขัน ดังนี้

ประเภทการแข่งขัน มี ๔ ประเภท ได้แก่
๑) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)
๒) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓  โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)
๓) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษ (สพม.)
๔) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)

การแข่งขัน แบ่งออกเป็น ๓ รอบ
๑) รอบคัดเลือก พิจารณาจากผลงานคลิปวีดิโอ หาผู้ชนะเข้าสู่ระดับภูมิภาค ประเภทละ ๘ ทีม ระหว่างเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม ๒๕๖๖
๒) รอบภูมิภาค กำหนดจัด ๖ ภูมิภาค ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน ๒๕๖๖
๓) ระดับประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๗ รายละเอียดดังแนบ

เพื่อพัฒนาบุคลากร สพฐ. ประกอบด้วย นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันและครูผู้ฝึกสอนให้มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ สามารถนำองค์ความรู้สู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนในสังกัดที่มีความสนใจและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ผ่านทางเว็บไซต์ https://inno.obec.go.th/debate/ 

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ คลิกที่นี่

การจัดทำข้อเสนอคำขออาสาสมัครญี่ปุ่น (สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา)

รับสมัครส่งแบบคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่น!!

ด้วย กระทรวงการต่างประเทศ มีหนังสือแจ้งว่า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย ได้แจ้งเปิดรับข้อเสนอคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่น ประจำปี ๒๕๖๖ ให้แก่ หน่วยงานราชการต่าง ๆ ของไทย โดยในส่วนของ สพฐ. ได้เสนอให้ความร่วมมือด้านอาสาสมัครญี่ปุ่น จำนวน ๔ สาขา คือ การสอนวิทยาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาญี่ปุ่น สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา และสาขาการศึกษาพิเศษ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอเชิญชวนและประชาสัมพันธ์โรงเรียนที่ดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่สนใจขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่น ทั้งนี้ สามารถส่งแบบคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษในสาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา ผ่านระบบออนไลน์ คลิกที่นี่  ตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๖

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ คลิกที่นี่

กิจกรรม“ค่ายการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพริมคลองขนมจีน” ระหว่างวันที่ ๖ – ๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ โรงเรียนสาคลีวิทยา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มูลนิธิดับเบิ้ลยูดับเบิ้ลยูเอฟ ดำเนินโครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำเป็นความร่วมมือกับ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จัดกิจกรรม“ค่ายการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพริมคลองขนมจีน” ระหว่างวันที่ ๖ – ๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ โรงเรียนสาคลีวิทยา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในวันอังคารที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิด “กิจกรรมค่ายการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพริมคลองขนมจีน” และมอบเกียรติบัตรให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำในฐานะโรงเรียนที่มีส่วนขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ จำนวน ๗ โรงเรียน ณ โรงเรียนสาคลีวิทยา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้ง ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ (นางสาวนลินี จีนกูล) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับความสำคัญของน้ำและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ