04_Moral

สนก. เดินหน้าพัฒนา “นวัตกรรมโครงงานคุณธรรม: จากครูเป็นโค้ช”

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือ “นวัตกรรมโครงงานคุณธรรม: จากครูเป็นโค้ช” ระหว่างวันที่ 9 – 12 มกราคม 2567 ณ โรงแรมปริ๊นส์ตั้น ดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้นายสพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา นำทีมผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนากระบวนการโครงงานคุณธรรม จัดทำคู่มือ “นวัตกรรมโครงงานคุณธรรม: จากครูเป็นโค้ช”

การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้ครูผู้สอนมีคู่มือไว้ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการของโครงงานคุณธรรมและสามารถอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยใช้หลักคุณธรรม รวมถึงครูผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง และบูรณาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างกระแสในการขันเคลื่อนนวัตกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ศธ. บูรณาการต้านทุจริต จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการโรงเรียนสุจริต ระดับประเทศ

วันที่ 6 ธันวาคม 2566 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระดับประเทศ และกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (9 ธันวาคม) ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร โดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายทวิชาติ นิลกาญจน์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นายสมพงษ์ ตะโกพ่วง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและติดตาม ต้านทุจริตศึกษา 2 สำนักต้านทุจริตศึกษา (สำนักงาน ป.ป.ช.) นายศุภสิน ภูศรีโสม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ (ด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้) รวมถึงข้าราชการและบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี

 

นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดําเนินการในทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะภาคการศึกษา ที่มีบทบาทหน้าที่ในการให้ความรู้และปลูกฝังเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติในอนาคต โดยดําเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่กําหนดเป้าหมายหลักให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ โดยให้ความสําคัญกับการปรับและหล่อหลอมพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสํานึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต

 

ทั้งนี้ การพัฒนาผู้เรียน นอกจากมุ่งเน้นการพัฒนาด้านความรู้ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการแล้ว ควรต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ โดยเสริมสร้างผู้เรียนให้มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง เป็นพลเมืองดีของชาติ และพลเมืองโลกที่มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย และรักษาศีลธรรม ซึ่งการศึกษานั้นถือเป็นเรื่องของคนทุกคน ดังนั้น ความคาดหวังต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงเพราะการดำเนินการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องดำเนินการด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อสร้างคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้พลวัตรการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ เราต้องร่วมกันพัฒนาประเทศเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาปัจจุบัน ร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เจริญรุดหน้า ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ด้วยแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต

 

“เวทีแห่งนี้ถือเป็นเวทีนำเสนอผลงานที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ผ่านการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริต ภายใต้สถานการณ์ความท้าทายของสังคมไทยในปัจจุบัน กับการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น ผมขอให้ทุกท่านใช้ประโยชน์จากเวทีแห่งนี้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนไปสู่การขับเคลื่อนโครงการที่มีเป้าหมายใหญ่ร่วมกันในอนาคต คือ การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตครับ” รมช.ศธ. กล่าว

 

ทางด้าน นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาของ สพฐ. ให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ โดยดำเนินการตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด สพฐ. (ITA Online) และการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 

ทั้งนี้ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในครั้งนี้มีกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพฯ โดยมีกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ 1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประกวดแข่งขัน จำนวน 7 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) นวัตกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 4) นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู 5) นวัตกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตของศึกษานิเทศก์ 6) นวัตกรรมการขับเคลื่อนโครงการของผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต 7) กิจกรรมการใช้และประเมินผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต กิจกรรมผลงานหนังสือเล่มเล็กจากผลการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต) กิจกรรมออกแบบบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมการต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption Board Game) และมีการจัดแสดงนิทรรศการ อาทิ นิทรรศการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต แสดงผลการดำเนินงาน และภาพความสำเร็จของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) รวมถึงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง (Virtual Anti-Corruption Museum) ที่แสดงแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต วิวัฒนาการจากอดีต ปัจจุบัน เชื่อมไปสู่อนาคต และกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล เป็นต้น

 

ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคใต้ ณ โรงแรมไดมอนด์ สุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจากนายสำรวย ภักดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

โดยการอบรมฯ ครูภาคใต้ครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 2 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

สนก. เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digitral Platfrom) เพื่อการขยายเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

วันที่ 17 มกราคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
มอบหมายให้ นายฐาปณัฐ อุดมศรี และ นายวิทยา ศรีพันชาติ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) การบริหารจัดการโครงการพัฒนาองค์กร
แห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 17 – 20 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเดอะพรรณราย จังหวัดอุดรธานี

การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการข้อมูลดิจิทัล และพัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษ ที่ 21 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ตามเป้าหมายของโครงการย่อย ซึ่งประกอบด้วย

  1. โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships)
  2. โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” สำหรับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน
  3. โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Projects)
  4. โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (E-SPORTS)

ภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง สนก. ได้กำหนดแผนการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น ไปสู่การปฏิบัติภายในไตรมาสที่ 2 ต่อไป

 

 

 

 

 

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบ ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนครั้งนี้ และนางอังคณา เหว่าวิทย์ รองผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดประเด็น และชี้แจงความเป็นมาของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผน เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและภารกิจที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดประชุมสัมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่สามารถดำเนินการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป

สนก. ขยายเครือข่ายนวัตกรรมการต่อยอดเยาวชนไทยสู่สากล ร่วมกับสถานฑูตอังกฤษ และ NCUK Thailand

วันที่ 11 มกราคม 2566 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มอบหมาย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เข้าร่วมการประชุมกับผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และ ผู้แทนจาก Northern Consortium of UK Universities (NCUK) ประเทศไทย ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในการต่อยอดผู้เรียนจากระบบการศึกษาไทยสู่ระบบการศึกษาที่มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการสร้างโอกาส และช่องทางการศึกษาที่หลากหลายให้แก่เยาวชน เพื่อเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนอย่างแท้จริงในอนาคต

สพฐ. จับมือ ม.เกษตร พัฒนาเทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project)

วันที่ 2 ตุลาคม 2565 เวลา 08.00 – 12.00 น. สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมการสัมมนาปิดหลักสูตรการอบรมออนไลน์ “เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมทั้งกิจกรรมการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากร ดังนี้

หัวข้อ “การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project) โดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สพฐ.

หัวข้อ “การบูรณาการ STEAMs กับโครงงานวิทยาศาสตร์” โดย ดร.ศริญญา ไพศาลสมบัติ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจกรรมพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หัวข้อ “Arts ในโครงงานวิทยาศาสตร์” โดย ดร.กรอร วงษ์กําแหง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หัวข้อ “บทบาทของครูที่ปรึกษาต่อโครงงานวิทยาศาสตร์” โดย รศ.ดร.เอกพันธ์ ไกรจักร หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

การสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุป สังเคราะห์และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของผู้เข้ารับการอบรม โดยมีครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สมัครเข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ จำนวนเกือบ 1,000 คน และได้รับการพิจารณาเข้ารับการอบรม จำนวน 500 คน โดยผู้เข้ารับการอบรมจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบ KU-LEARN เพื่อเรียนรู้และวัดผล จำนวน 6 โมดูล ภายในระยะเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมการสัมมนา จำนวน 1 ครั้ง จึงจะได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้นลง สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อัพโหลดเนื้อหา ทั้ง 6 โมดูล ในการอบรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ ผ่านหน้าเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงานต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564 “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564  “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ระหว่างวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร โดยรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย มอบนโยบายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. และดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS: Express Moral Service) ประมินผลการรายงานผลโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การประกาศผลเพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติต่อไป

 

งาน“มหาจุฬา สมัชชาวิถีพุทธ” ครั้งที่ 3

เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าร่วมจัดงาน“มหาจุฬา สมัชชาวิถีพุทธ” ครั้งที่ 3 ซึ่งได้จัดการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 5 (5th MCU Contest) และมีพิธีมอบโล่เกียรติคุณสำหรับนักเรียนและโรงเรียนที่ได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ จากทั่วประเทศ กว่า 300 โรงเรียน โดยมีพระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร.อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร ) เป็นประธานในพิธี และได้รับเกียรติจากนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวและเป็นผู้มอบโล่พระราชทาน โล่ประทาน สำหรับโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 5 (5th MCU Contest) พร้อมด้วยนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าร่วมในพิธีและมอบประกาศเกียรติคุณให้กับโรงเรียนที่ชนะการประกวดในระดับต่าง ๆ นอกจากนี้ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร ) กับ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน น้อมนำเอาหลักพุทธรรมเข้าไปบูรณาการกับหลักสูตรการเรียนการสอน และสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเป้าหมายการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ในส่วนของการกิจกรรมการประกวดในปีนี้ สํานักงานพระสอนศีลธรรม และ สํานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ร่วมกันดําเนินการคัดเลือก และประเมินโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
เพื่อยกย่องประกาศเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนํารุ่นที่ 12 และโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่นที่ 4 โดยมีโรงเรียนวิถีพุทธผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนํารุ่นที่ 12 จํานวน 243 โรงเรียน และเป็นโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทานรุ่นที่ 4 จํานวน 43 โรงเรียน ซึ่งเป็นแนวทางที่จะสามารถส่งเสริมจริยธรรมคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและผู้บริหารโรงเรียน ภายใต้การบูรณาการหลักธรรมสู่การจัดการเรียนการสอนให้เกิดการพัฒนาเพิ่มขึ้นต่อไปได้ในอนาคต

ประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ”เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง” ปีที่ 16 ระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2564

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา(วคส.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ”เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง” ปีที่ 16 ระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 ระหว่างวันที่ 25-29 มีนาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท กรุงเทพมหานคร มีโรงเรียนผ่านการคัดเลือกจากเขตพื้นที่จำนวน 185 โรงเรียนและมีโรงเรียนเข้าสู่การพิจารณาคัดเลือกในระดับประเทศ จำนวน 78 โรงเรียน จากทั่วประเทศ โดยการคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) นักเรียนนำเสนอโครงงานคุณธรรมต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน ทั้งนี้จากการประกวดโครงงานคุณธรรมฯระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 นักเรียนจะได้รับรางวัลซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ รางวัลโครงงานคุณธรรมระดับดีเยี่ยม ,โครงงานคุณธรรมระดับดี และ โครงงานคุณธรรมระดับชมเชย

ขอเชิญชวนสมัครรับทุนการศึกษาโครงการ “เด็กดีของสังคม” ประจำปี 2565

ขอเชิญชวนสมัครรับทุนการศึกษาโครงการ “เด็กดีของสังคม” ประจำปี 2565
🔰จำนวน 200 ทุน ทุนละ 5,000 บาท
📍เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 31 มกราคม 2565

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

“คุณธรรม นำใจ ในโลกกว้าง ส่องสว่าง ทางใส ใจไม่หมอง พาพบมิ่งสิ่งดีมีทำนอง ใจสมปอง ครองสุข ค่อยปลุกเร้า” (Cr:fb.บทกลอนสอนใจ)

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2564

ณ โรงแรมอิงธาร รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.  และมอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมอิงธาร รีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดย ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และ ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ชี้แจงวัตถุประสงค์และภาพรวมการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุม ในครั้งนี้ ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะทำงานส่วนกลาง ทั้งนี้ มีการบรรยายแนวทางการขับเคลื่อนโครงการและรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม โดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการประชุมในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จำนวน 12 กิจกรรม  เพื่อให้โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย

  1. มาตรฐานและตัวชี้วัดโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  2. แนวทางการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคุณธรรม (องค์กรคุณธรรม)
  3. แนวทางหลักสูตรและการอบรม โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  4. แนวทางกิจกรรมส่งเสริมโครงงานคุณธรรม โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  5. แนวทางกิจกรรมคุณธรรมสู่ห้องเรียน โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  6. แนวทางการนิเทศ กำกับ ติดตาม โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  7. แนวทางการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีต้องมีที่ยืน โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  8. แนวทางการจัดกิจกรรมคุรุชนคนคุณธรรม โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  9. แนวทางการจัดกิจกรรมนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
  10. การจัดทำภาพยนตร์สั้นคุณธรรม สพฐ. และสปอตโฆษณาส่งเสริมคุณธรรม
  11. แนวทางการจัดกิจกรรมครอบครัวคุณธรรม
  12. แนวทางการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2565 นับเป็นจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาในปีนี้อีกด้วย