03_Research

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2

          การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นโดย กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เมื่อวันที่ 27 – 30  มิถุนายน  2566  ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการตรวจพิจารณาผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกในรอบที่ 1 โดยมีผลงานวิจัยจำนวน 31 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย 1) ผลงานวิจัยประเภทบุคคล จำนวน 21 เรื่อง และ 2) ผลงานวิจัยประเภทหน่วยงาน จำนวน 10 เรื่อง ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา 1) นางบุญชู ชลัษเฐียร อดีตที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2) นางสาววีณา อัครธรรม อดีตที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิตเกิดทิพย์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2) อาจารย์ ดร.ชวลิต ขอดศิริ อาจารย์คณะครุศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม) และ 3) อาจารย์ ดร. มณเฑียร ชมดอกไม้ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และคณะทำงานจากส่วนกลางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่ผลงานวิจัยผ่านการพิจารณาคัดเลือกได้มานำเสนอในเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยในรอบตัดสินผลการประกวดงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อไป

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 1

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 19- 22 เมษายน 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขต บางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีผลงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 132 เรื่อง จาก 59 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 38 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 21 เขต โดยแบ่งเป็นผลงานวิจัยประเภทบุคคล จำนวน 113 เรื่อง และผลงานวิจัยประเภทหน่วยงาน จำนวน 19 เรื่อง และผลงานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับนโยบายการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความปลอดภัย จำนวน 13 เรื่อง 2) ด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จำนวน 7 เรื่อง 3) ด้านคุณภาพ จำนวน 88 เรื่อง และ 4) ด้านประสิทธิภาพ จำนวน 24 เรื่อง โดยผู้เข้าร่วมการประชุมมีจำนวนทั้งสิ้น 26 คน ประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการบำนาญ ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอข้อมูลผลงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การชี้แจงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยรอบที่ 1 และการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 1 ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการในรอบที่ 1 จะผ่านเข้าสู่การพิจารณาคัดเลือกในรอบที่ 2 ต่อไป

การประชุมปฏิบัติการจัดทำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร โดยมีเป้าหมายเพื่อนำตัวชี้วัดตามเป้าหมายการพัฒนาของโลก (ระหว่างปี 2558 – 2573) ที่ครอบคลุม มิติการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคน การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง การสร้างสันติภาพและความยุติธรรม และการพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือ มาจัดทำเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ และจัดทำคู่มือเพื่อใช้ประกอบการอบรมขยายผลในอนาคตแก่ผู้เข้าอบรมวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี

ทั้งนี้ได้มีคณะทำงานเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 45 คน ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน และนักวิชาการศึกษา โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เข้าร่วมสังเกตและให้คำปรึกษาในการประชุมครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก ดร.ดุริยา อมตวิวัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านความร่วมมือต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมให้ความรู้ในหัวข้อกรอบทิศทางและการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม รวมถึงได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมให้โอวาทเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจแก่คณะทำงาน

การประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเกณฑ์ แบบเครื่องมือ สำหรับการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงานส่วนกลาง สพฐ. และข้าราชการบำนาญผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา จำนวน 18 คน กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอร่างประกาศ เกณฑ์ และแบบเครื่องมือ การระดมความคิดเห็น และการแบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจากประชุมดังกล่าว ทำให้สำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแบบเครื่องมือ และหลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยในการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะดำเนินการประกาศ ประชาสัมพันธ์การรับสมัครผลงานวิจัยเข้าร่วมการประกวดต่อไป

การประชุมเชิงปฎิบัติการ”สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

ช่วงระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วนบ.) และ กลุ่มโครงการพิเศษ (คพศ.) นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก” ซึ่งมีคณะทำงานเข้าร่วมทั้งหมด 60 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย นักวิชาการศึกษา และข้าราชการบำนาญ โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เข้าร่วมสังเกตุและให้คำปรึกษาในการประชุมครั้งนี้

วัตถุประสงค์การประชุมครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภาพความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่อง ดังนี้
1) สรุปผลการดำเนินงานโครงการคอนเน็กซ์อีดี
2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
3)
สรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมศักยภาพ
ในการเป็นพลเมืองอาเซียนและเตรียมสู่การเป็นพลเมืองโลกอย่างยั่งยืนและ
4) สรุปผลการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งจัดทำเล่ม “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 ต่อไป

การอบรมเชิงปฏิบัติการตามระเบียบวิธีวิจัย ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการตามระเบียบวิธีวิจัย ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในสังกัด สพฐ. ด้านระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และแบบผสมผสาน (Mixed – Method Research) ทราบถึงความคืบหน้า เติมเต็มงานวิจัยที่มีคุณภาพและมีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในสังกัดด้านระเบียบวิธีวิจัย 2) คณะทำงานภาคเอกชนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดียืนยันผลการลงเก็บข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัย 3) นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินการวิจัย ทั้ง 17 เรื่อง ต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิและรับการเติมเต็มงานให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน

โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เป็นประธานเปิดการอบรม และมีผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษา นักการศึกษา 2) ผู้แทนจากบริษัท จำนวน 14 บริษัท  3) ผู้ดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 110 คน

การประชุมบรรณาธิการกิจงานวิจัยการบริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการประชุมบรรณาธิการกิจงานวิจัยการบริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรณาธิการกิจเอกสารงานวิจัยภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 การถอดบทเรียนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีให้เป็นรูปธรรม เรื่องที่ 2 จัดทำคู่มือวิทยากรแกนนำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) เรื่องที่ 3 จัดทำคู่มือครูแกนนำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และขยายแนวปฏิบัติที่ดีของความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับทุกภาคส่วน พร้อมทั้งจัดทำคู่มือหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) สำหรับวิทยากรและครูแกนนำ เผยแพร่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมครังนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงส์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการกล่าวเปิดการประชุม และ มีคณะทำงานเข้าร่วมการประชุม ได้แก่ ข้าราชการบำนาญ นักวิชาการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัยและคณะครู จำนวน 35 ท่าน

การประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา ภายใต้โครงการ คอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์เทาว์เวอร์อินท์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 6 สิงหาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำทีมโดย ดร.ธัญญานันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา” ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ เทาว์เวอร์อินท์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา” ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีให้เป็นรูปธรรม และส่งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. จัดทำสรุปงานวิจัยตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 3. จัดทำสรุปงานวิจัยรูปแบบการพัฒนาบริษัทภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย  ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

การอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำกรอบการวิจัยเพื่อการศึกษารูปแบบการยกระดับการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี วันที่ 15 -17 มิ.ย. 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยการดำเนินการของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำกรอบเพื่อนำผลวิจัยการใช้รูปแบบองค์ความรู้ทั้บการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการยกระดับการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี วันที่ 15 -17 มิ.ย. 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมงานวิจัยและถอดบทเรียนองค์ความรู้รูปแบบการพัฒนาของบริษัทภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (Best Practices) จำนวน 17 รูปแบบ มาศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสม และขยายผลให้กับโรงเรียนใน สพฐ. อื่นๆทั่วประเทศ โดยให้มีกำหนดการแล้วเสร็จ 2565 เพื่อนำผลการวิจัยการใช้รูปแบบองค์ความรู้ทั้ง 17 รูปแบบ ไปใช้พัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยต่อไป ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวมีคณะทำงานประกอบไปด้วย ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา คณะผู้แทนจากบริษัทภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี  และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คน โดยมี ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เป็นประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติมาพบปะกับคณะผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ให้คำชี้แนะ และแนะนำแนวทางการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์เพื่อให้การประชุมในครั้งนี้สามารถดำเนินงานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต) ให้เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกต่อไป ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย อดีตที่ปรึกษา สพฐ. นางวีณา อัครธรรม ข้าราชการบำนาญผู้มีความรู้ความเชี่ยวญด้านการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และคณะทำงานส่วนกลาง สพฐ. โดยกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การทบทวนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการ การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการเพื่อให้มีความเหมาะสมของกับการสนับสนุนงบประมาณ และการสรุปผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต)

การประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา (วสศ.) จัดประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ระหว่างวันที่ 18 -20 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง) ให้เกียรติมาเป็นประธานในการเปิดการประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สพฐ. และศึกษานิเทศก์ (Area Team) จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 39 เขต ซึ่งกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในโครงการนำเสนอแผนขับเคลื่อนโครงการในปี พ.ศ. 2565 การนำเสนอแนวคิดการจัดทำวิดีทัศน์โครงการ โดย สพป.ลำปาง เขต 1 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 สพป.สิงห์บุรี และสพป.กระบี่ และการนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงานวิจัยโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดย สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 สพม.แพร่ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการประชุมยังได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความน่าสนใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ SLC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยากร โดย รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา (ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และการเติมเต็มข้อมูลความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดย อดีตที่ปรึกษา สพฐ. (นางสาววีณา อัครธรรม) ดร.ศักดิ์สิน ช่องดารากุล และนางสาววิไลวรรณ เหมือนชาติ ในวันสุดท้ายของการประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า) มาให้แนวคิดเกี่ยวกับการเป็นโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีวิชาการระดับนานาชาติต่อไป

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการกลั่นกรองผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) จัดประชุมปฎิบัติการกลั่นกรองผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 19-22 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ เเก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษาของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก และคัดเลือกผลงาน ก่อนทำการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารอบต่อไป โดยมีคณะทำงานที่เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู นักวิชาการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 35 ท่าน