02_Administratior

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

ในวันที่ 25 มกราคม 2563 ดร.จักพงษ์ วงค์อ้าย เป็นตัวแทนเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ณ โรงแรมเวสต์เกต เรสซิเดนซ์ จ.นนทบุรี โดยมีตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงมหาดไทย และ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รวมถึง ตัวแทนศึกษานิเทศน์ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จำนวน 35 ท่าน เพื่อร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

ขอเชิญโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 2 ร่วมทำแบบแบบสำรวจความต้องการจำเป็นรายการปรับปรุ่งซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดการเสนอขอตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 2 ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการดังนี้

1. ตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนประชารัฐที่จะเสนอขอรับงบประมาณ ในรายชื่อโรงเรียนประชารัฐรุ่น 2
2. มอบกลุ่มนโยบายและแผน ประสานกับโรงเรียนในการดำเนินการวิเคราะห์ความขาดแคลนจำเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน

และจัดทำคำของบประมาณรายการที่ดินและสิ่งก่อสร้าง งบลงทุน ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยให้พิจารณาจากข้อมูลความต้องการจำเป็นบนความขาดแคลนของโรงเรียนเป็นหลัก และไม่ซ้ำซ้อนกับการเสนอตั้งงบประมาณปี พ.ศ. 2564 ทาง http://pracharaths.inno.obec.go.th ภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 และขอให้จัดส่งเอกสารตามแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง (ฉบับจริง) มายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในวันที่ 15 พฤษจิกายน พ.ศ. 2562 เพื่อที่จะนำข้อมูลและเอกสารดังกล่าว ไปประกอบการพิจารณาการเสนอขอรับงบประมาณ รายการครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โทร 02281 7853

ขอเชิญโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 ร่วมทำแบบสอบถามของงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำกรอบงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษากระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการโรงเรียนประชารัฐ และเพื่อเสนอแนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จ มีจำนวน 2 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 ถอดบทเรียนความร่วมมือระหว่างรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่ประสบความสำเร็จโครงการโรงเรียนประชารัฐ เรื่องที่ 2 วิจัยผลการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ รุ่นที่ 1 โดยจะมีการเก็บข้อมูลประกอบงานวิจัยในหลายลักษณะ

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 ดำเนินการตอบแบบสอบถามของงานวิจัยเรื่องที่ 2 ผ่านลิงค์ http://bit.ly/2BNtw5B ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 พฤจิกายน 2562 พร้อมกำกับติดตามการดำเนินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดดังที่ส่งมาด้วย

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โทร 02281 7853

โรงเรียนประชารัฐ

โครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) “สานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ” ร่วมกับภาคประชาสังคม และภาคเอกชนกว่า 25 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ เพื่อยกระดับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดรับสมัครโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (ระดับประถมศึกษา-ขยายโอกาส นักเรียน 80-600 คน, ระดับมัธยมศึกษา นักเรียน 120-600 คน) เข้าร่วมพัฒนาตามโครงการ ซึ่งมีโรงเรียนสนใจสมัครกว่า 10,000 โรงเรียน และมีโรงเรียนผ่านการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบโครงการโรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 1 จำนวน 3,342 โรงเรียน ที่จะได้รับการพัฒนาตามโครงการภายใต้การดูแลและให้ความช่วยเหลือของ School Partners จากภาคเอกชน 1,000 คน และมี School Sponsor จากภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนต่อไปด้วย

สิ่งที่จะได้รับจากการเป็นต้นแบบโรงเรียนประชารัฐ มีหลายประการ คือ 1) ครู ได้รับความรู้และประสบการณ์จากกระบวนการจัดการ ตลอดจนได้รับการพัฒนา-การเรียนรู้ต่างๆ 2) โรงเรียน ได้รับการเติมเต็มจากภาคเอกชน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียนการสอน ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น 3) ผู้บริหาร ได้รับการพัฒนาคุณสมบัติและสมรรถนะความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ 4) ผู้ปกครอง ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น

ที่มา https://data.bopp-obec.info/emis/news/news_view.php?ID_New=32363

โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) มุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมีโรงเรียนศูนย์กลางของชุมชนเป็นต้นแบบ สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ นำไปสู่การร่วมกันจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่

1) มีโรงเรียนประจำตำบล อย่างน้อยตำบลละ 1 โรงเรียน ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย ให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

2) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งสมรรถนะและศักยภาพในการบริหารจัดการ ตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอน

3) นักเรียนทุกคนในตำบล ได้รับโอกาสและเข้าถึงการบริการและสวัสดิการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นชนบท

4) นักเรียนได้รับการพัฒนา ทั้งด้านสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ทัศนคติ และพัฒนาการด้านร่างกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย ควบคู่กับการปฏิบัติตามค่านิยม 12 ประการ

ในส่วนของการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้ให้การสนับสนุน 3 ด้าน ดังนี้

1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ โรงอาหาร โรงพลศึกษา สนามฟุตบอล ระบบคมนาคม ระบบไฟฟ้าและระบบพลังงานทางเลือก ระบบประปาน้ำดื่ม ระบบบำบัดน้ำเสีย เครือข่ายโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ระบบบำบัดขยะ ด้านโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือผู้มีความต้องการเป็นพิเศษ

2) ด้านการส่งเสริมการศึกษา ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิชาการ ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีน รวมทั้งสร้างสื่อและนวัตกรรมให้เป็นคลังความรู้ในโรงเรียน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างการเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ องค์ความรู้ด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนการพัฒนาเพิ่มทักษะของผู้บริหารให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมสนับสนุนค่าวัสดุรายหัวของนักเรียนด้วย

3) ด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม โดยเน้นให้หน่วยงานในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายการพัฒนา สนับสนุนความร่วมมือระหว่างศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และชุมชน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานในท้องถิ่นด้วย ในส่วนของผู้บริหารและครู จะส่งเสริมทักษะการสื่อสารและความร่วมมือเพื่อต่อยอดการพัฒนาอย่างเต็มที่ พร้อม ๆ กับการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อร่วมพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลต่อไป

สพฐ. ลงนามบันทึกข้อตกลง รร.คุณภาพประจำตำบล เพิ่มเติม 3 องค์กร พร้อมประชุมสรุปผลการเตรียมความพร้อม ระยะที่ 2

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในการประชุมปฏิบัติการสรุปผลการเตรียมความพร้อมโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระยะที่ 2 พร้อมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เพิ่มเติม ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

โดยมี พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารของ สพฐ. และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จ.ปทุมธานี
โครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบลเป็นโครงการที่เกิดขึ้นตามนโยบาย “1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” เป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจําตําบล ภายใต้แนวคิด “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบผ่านกระบวนการประชาคม 3 ระดับ คือ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 6,843 โรงเรียน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีความพร้อมเข้ารับการพัฒนา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคมและการสื่อสารสะดวก มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอนาคต ตลอดจนมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุน เพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและการบริหารการจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบผ่านกระบวนการประชาคมระดับอำเภอและรายงานระดับจังหวัด มีจำนวนทั้งสิ้น 1,140 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นมีโรงเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 7,983 โรงเรียน
ในอนาคตโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลจะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ได้รับความรู้กระบวนการและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ในส่วนของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ก็จะมีความพร้อมทั้งสมรรถนะ ศักยภาพ และความสามารถในการบริหาร การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนจะกลายเป็นต้นแบบโรงเรียนคุณภาพที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน และเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ทุกภาคส่วนให้การยอมรับ เชื่อมั่น และศรัทธาต่อคุณภาพของโรงเรียน ทั้งหมดนี้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตลอดจนมีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทยให้มีความมั่นคงที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้าน พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. ได้กล่าวว่า สำหรับภาพอนาคตของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบลที่เราจะพัฒนาร่วมกัน คือ เป็นโรงเรียนที่ให้โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีความเข้มแข็งด้านวิชาการ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬา ศิลปะ และจิตสาธารณะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพร้อมทางด้านกายภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุครุภัณฑ์ มีความสะอาดร่มรื่นปลอดภัย เป็นโรงเรียนที่เน้นการพัฒนาพื้นฐานด้านอาชีพ และการเป็นโรงเรียนของชุมชนที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นในการให้บริการโรงเรียนเครือข่ายและชุมชนอย่างเข้มแข็ง

สำหรับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้การดำเนินโครงการบรรลุตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายและการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากเดิม 7 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันนี้ได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพิ่มขึ้น 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยแต่ละหน่วยงานจะมีบทบาทหน้าที่ตามภารกิจและความรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งล้วนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการให้เกิดความเข้มแข็งและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์“เนื่องจากโรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงมีความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท โรงเรียนที่ได้รับ

การคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลจึงเปรียบเสมือนการได้รับโอกาสการยกย่องเชิดชูเกียรติยศและความรุ่งโรจน์ ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในระดับตำบลมีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษาตามนโยบาย 1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

โดยจะได้รับการส่งเสริมความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารการจัดการสถานศึกษาของภาคีเครือข่าย ที่เปรียบเสมือนดาว 5 ดวงซึ่งเป็นตัวแทนของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทยให้มีความมั่นคงเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป” รมช.ศธ. กล่าว

ภาพ/ข่าว : อัจฉรา ปชส.สพฐ.

“สพฐ. เดินหน้าโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เชิญ ผอ.สพป. ร่วมระดมความคิด”

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.)
เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

          สืบเนื่องจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ภายใต้แนวคิด “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีความพร้อมเข้าร่วมการพัฒนา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคม และการสื่อสารสะดวก มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอนาคต รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และผ่านการพิจารณาคัดเลือก กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบ ผ่านกระบวนการประชาคม 3 ระดับ คือ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ตามลำดับ โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 7,255 โรงเรียน นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอทุกอำเภอ และโรงเรียนพื้นที่พิเศษ (STAND ALONE) ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาการศึกษาไทยในเชิงระบบอย่างแท้จริง

             เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นต้องระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ให้ครอบคลุมตามความต้องการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ และมีการดำเนินงานโครงการไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้เพื่อกำหนดแนวทางในการเตรียมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2562 ในวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ โรงแรมเอวาน่า บางนา กรุงเทพมหานคร

 

เว็บไซต์โครงการ :  http://www.1tambon1school.go.th/

Line โครงการ : 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

ติดต่อสอบถาม สแกน QR CODE

ส่งรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

คำชี้แจง : เรียนผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ขอความอนุเคราะห์ดำเนินการดังนี้

1. ขอให้ สพป. ดำเนินการส่งรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ก่อนวันที่ 26 ธันวาคม 2561

2. หากการพิจารณาของคณะกรรมการ ระดับจังหวัด ไม่สามารถพิจารณาแล้วเสร็จได้ก่อนวันที่ 26 ธันวาคม 2561 ขอให้ สพป. กรอกข้อมูลโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกที่ผ่านคณะกรรมการ ระดับอำเภอ เข้าสู่ระบบก่อน และเมื่อคณะกรรมการ ระดับจังหวัด พิจารณาและรับรองรายชื่อโรงเรียนแล้ว ให้ Upload เอกสาร (ไฟล์ PDF) ระดับจังหวัด เพิ่มเติมในภายหลัง (โดยใช้ลิงค์ที่ส่งไปที่ E-mail ที่ใช้ในการกรอกข้อมูลครั้งแรก)

3. หากมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกในการพิจารณาของคณะกรรมการ ระดับจังหวัด หลังจากกรอกข้อมูลในระบบไปแล้ว ขอให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบและแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาที่ E-mail : innoobec.qschool@gmail.com

4. หลังจากผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับ ขอให้ สพป. ดำเนินการสรุปรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก เสนอ สพฐ. โดยจัดส่งเอกสาร มายัง โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 เขตดุสิต กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร 10300 (ส่วนเอกสารรับรองโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และเอกสารประกอบการพิจารณาอื่นๆ ให้เก็บเป็นหลักฐานไว้ที่ สพป.)

5. หากมีข้อคำถามสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 โทร 02 288 5878 โทรสาร 02 288 5886 E-mail : innoobec.qschool@gmail.com และ line square โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตาม QR code ด้านล่างนี้

ขั้นตอนการกรอกข้อมูล

1. ดาวน์โหลดไฟล์ EXCEL รายชื่อโรงเรียน จากขั้นตอนที่ 1 ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม หรือในขั้นตอนที่ 2 ส่งข้อมูลออนไลน์

2. ทำการกรองข้อมูลโรงเรียนเฉพาะโรงเรียนในสังกัดที่ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (ขอให้คงรูปแบบ EXCEL ตำแหน่งของคอลัมน์ไว้ จังหวัด>สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา>อำเภอ>ตำบล>รหัสกระทรวง>โรงเรียน)

3. Upload ข้อมูลไฟล์ EXCEL รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก

4. Upload (ไฟล์ PDF) เอกสารรับรองโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด (หากเอกสารระดับจังหวัดยังไม่แล้วเสร็จ สามารถ upload เพิ่มเติมได้ในภายหลัง)

5. กรอกรายละเอียดผู้ให้ข้อมูล แล้วกดส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ

6. หากต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูล ให้ใช้ลิงค์ที่ส่งไปที่ E-mail ที่ใช้ในการกรอกข้อมูลครั้งแรก

 

เข้าสู่ระบบกรอกข้อมูลตามลิงค์ด้านล่างนี้

http://203.159.154.241/qualityschool/?page_id=19

 

แนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)

ตามที่ สพฐ. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) ซึ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง โดยพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล” ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อม ในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยตั้งเป้าหมาย คือ โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นต้นแบบ ที่มีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เป็นการสร้างโรงเรียนให้มีความพร้อมในด้านการจัดการเรียนการสอน มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้บริหารและครูที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้เรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องสร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ โรงเรียนกลายเป็นศูนย์รวม หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน คนในชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของตลอดจนสามารถสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ซึ่งถือเป็นหลักประกันกับชุมชนว่า โรงเรียนคุณภาพเหล่านี้จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้รับความรู้ กระบวนการและทักษะที่จำเป็นต่อการธำรงตน ดำรงชีวิตในการเป็นพลเมืองไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยขั้นตอนแรก สพฐ. ได้การดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ซึ่งได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้ว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 และได้เริ่มให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้    ตามเอกสารที่แนบ ระยะเวลาในดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เริ่มดำเนินการคัดเลือกระหว่างวันที่ 11 – 28 ธันวาคม 2561 และกำหนดส่งรายชื่อโรงเรียนวันสุดท้าย ในวันที่ 28 ธันวาคม 2561

เอกสารดาวน์โหลด

แนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ)

แบบฟอร์มโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

กองทุนโรงเรียนประชารัฐ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอแจ้งให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แจ้งโรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 2: โรงเรียนประชารัฐ (ดีใกล้บ้าน) ดำเนินการเปิดบัญชีเงินฝากบัญชีธนาคาร
ที่รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ ประเภทออมทรัพย์ หรือประเภทประจำ
โดยใช้ชื่อบัญชีฝากว่า “กองทุนโรงเรียนประชารัฐ โรงเรียน…”

โดยจัดส่งรายละเอียดบัญชีกองทุนฯ ผ่าน https://goo.gl/forms/4wfbAIB8Wfw7W4CH3

และจัดส่งสำเนาบัญชีกองทุนฯที่ reportpcr@gmail.com ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2561 ( ขยายไปถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2561 )

รายละเอียดตามหนังสือราชการ รายชื่อโรงเรียน และคู่มือกองทุน ดังต่อไปนี้

https://drive.google.com/drive/folders/1aMKWFEO5p1VsYcjxb5yf9nuW8yLnLsQ2?usp=sharing