02_Administratior

การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔  ณ โรงแรมเจริญธานี  จังหวัดขอนแก่น

วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๔ ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตในปัจจุบัน และแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ คณะทำงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง บุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ระดับภาคและระดับจังหวัด โรงเรียนที่ดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น

การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต จากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงาน ป.ป.ช.  ศึกษานิเทศก์ วิทยากรจากส่วนกลาง (สพฐ.) และ วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการบริษัทสร้างการดี จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๑  นำเสนอนิทรรศการและออกบูธผลิตภัณฑ์


การบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง)

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔  การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ระหว่างวันที่ ๑-๓ มีนาคม ๒๕๖๔   ณ โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในวงการศึกษาไทย

โดยมี ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ
ธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

สพฐ. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพในอนาคต จึงตระหนักถึงความสำคัญ
ของการเตรียมการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถานศึกษา มีการบูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.)  การมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต, ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต,  ผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนและหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา, ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและสร้างความรู้
ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนต่อไป

 

เข้าร่วมรับฟังแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้ อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ

วันอังคารที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่านอัยการสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone)
ท่าน ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รักษาการในตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีคุณภาพ ส่งผลต่อผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด

 

ประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ตามแผนบูรณาการการศึกษาทั่วประเทศ


เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น.ณ ห้องประชุม สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ ท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยท่านอัยการสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมปรึกษาหารือ และชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ของกลุ่มจังหวัดขนาดเล็กกลุ่มจังหวัดขนาดกลาง และกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ประกอบด้วย ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมรับฟังแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายแผนบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ ยกระดับคุณภาพการศึกษา และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เชื่อมโยงกับการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้มีความยั่งยืนต่อไป

 

 

 

ประชุมทางไกล VIDEO CONFERENCE การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชนและโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง

วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 ท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เข้าร่วมประชุมทางไกล ผ่าน VIDEO CONFERENCE การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต โดยมีท่าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประชุม เพื่อชี้แจง แนวทางการจัดทำแผนที่และการส่งแผนที่เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีคุณภาพ โดยมีแนวทางการจัดทำเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดไว้ 3 แนวทาง คือ  1. ทำโรงเรียนให้มีคุณภาพของชุมชน 2. การยกระดับการศึกษา เพิ่มงบลงทุนสำหรับโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง Stand alone และโรงเรียนขนาดกลาง และ 3. การพัฒนาโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง  จากแนวความคิดในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของประเทศให้ดียิ่งขึ้น การกำกับติดตามและประสานงานจากกำหนดระยะเวลาที่ได้ให้เขตพื้นที่ดำเนินการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 นั้น พบปัญหา หลายประการในการดำเนินการ เช่น การจัดทำแผนที่ในการดำเนินงาน การกำหนดสัญลักษณ์ การใช้สีแต่ละจุดในพื้นที่  ซึ่งแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินงานและจัดทำมาไม่เหมือนกัน จึงเป็นปัญหาเมื่อส่งมาที่ส่วนกลาง ทาง สพฐ. จึงมีแนวทางในการจัดทำเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันทุกเขต โดยท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ได้นำเสนอแนวทางการจัดทำแผนที่ แนวทางการจัดทำ ได้กำหนดไว้ 2 รูปแบบ คือ

  1. พื้นที่จังหวัด ซึ่งต้องจัดทำ 77 จังหวัด มีผู้รับผิดชอบคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (จังหวัด) เขต 1 เป็นผู้รวบรวมในนามจังหวัด และ สพม. ใดครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัดให้แยกเป็นจังหวัด
  2. พื้นที่เขตการศึกษา จำนวน 225 เขต ผู้รับผิดชอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

รายละเอียดการจัดทำแผนที่สถานศึกษา โดยให้จัดทำเป็นไฟล์รูปภาพ ใช้ โปรแกรม Adobe Photoshop  ซึ่งเมื่อนำเข้าโรงพิมพ์แล้วจะทำให้ขนาดและความละเอียดไม่แตกและมีความเสถียรกว่า โดยกำหนดขนาดของภาพ ตั้งค่าหน้ากระดาษ แนวนอน ขนาด A1 หรือ 23.4 x 33.1 นิ้ว กำหนดค่าความละเอียด 200 Pixels เมื่อบันทึกภาพ เป็นไฟล์สองรูปแบบซึ่งดูจากตัวอย่างของ สพฐ. ได้แก่ ไฟล์ของจังหวัด และไฟล์ของพื้นที่เขตการศึกษา ต้องใช้สัญลักษณ์หมุดสี
ขนาดเส้นถนน รูปแบบ/ชนิด/ขนาดอักษร ตามที่กำหนดในไฟล์ตัวอย่างเท่านั้น ดูตัวอย่างจาก คิวอาร์โค้ดที่ส่วนกลางกำหนดการบันทึกไฟล์ มีจำนวน 2 นามสกุล ได้แก่ 1.  นามสกุล PSD (*.PSD, *PDD) Adobe photoshop สามารถปรับแก้ไขได้ 2. นามสกุล PNG, (*PNG, *PNS) รูปภาพ สามารถนำเสนอได้และได้กำหนดส่งแผนที่ดังกล่าวในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 เพื่อส่วนกลางจะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ

วันที่ 6 ธันวาคม 2563 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ ณ โรงแรมแคนทารี พระนครศรีอยุธยา

 

 

สพฐ. ขานรับนโยบาย ศธ. เร่งขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก

                 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้มอบนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมุ่งเน้นให้เป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณชน ในคราวประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2563 ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำโดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ.รับนโยบายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 3 – 6 พฤศจิกายน 2563  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร  โดยมอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน สพท. ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบขั้นบันได ที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลา และแนวทางการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา รวมถึงการบริหารอัตรากำลังคนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นให้ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ

 

เทคโนโลยีกับงานการศึกษา (การบริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0)

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัฒกรรมการจัดการศึกษา
รักษาการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ได้บรรยายหัวข้อ เรื่อง เทคโนโลยีกับงานการศึกษา (การบริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0)
ในหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ. (โรงเรียนสุจริต) รุ่นที่ 6 ซึ่งร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า และได้ให้แนวความคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างการบรรยาย    อาทิ เช่น นโยบายจากท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก การทำโรงเรียนให้มีคุณภาพ การใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน มาตรการลดภาระงานครู เป็นต้น

จากข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์กับการนำไปใช้ในการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาต่อไปประสบการณ์ ระหว่างการบรรยาย อาทิ เช่น นโยบาย การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก การทำโรงเรียนให้มีคุณภาพ การใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน มาตรการลดภาระงานครู และ ฯลฯ ซึ่งผู้เข้ารับฟังการบรรยายให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการบรรยายเป็นอย่างดี ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าว จะเป็นประโยชน์กับการนำไปใช้ในการบริหารสำหรับ
ผู้บริหารสถานศึกษา สู่ครูผู้สอน และผู้เรียน ต่อไป

การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10.30 น. ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีคณะทำงานเข้าร่วมประชุม และรับฟังนโยบายผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ณ ห้องประชุมทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการยกระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพต่อไป

เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อจัดข้อเสนอนโยบายทางการศึกษา (OEC Forum) ครั้งที่ 6

ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและนวัตกรรมการบริหาร ได้เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อจัดข้อเสนอนโยบายทางการศึกษา (OEC Forum) ครั้งที่ 6 เรื่อง ยกกำลังสองการจัดการเรียนการสอนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิสาหกิจชุมชน ณ ห้องจามจุรี บอลลูม ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 10 ตุลาคม 2563 เป็นการประชุมที่นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวกับการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษา  (Education Ecosystem)  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา  พร้อมกับการนำเสนอแนวทางให้ชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน และองค์ความรู้ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาคนและการศึกษา ผ่านวิทยากรชั้นนำ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ  ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา  ดร.เตือนใจ ดีเทศน์ ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา  นายพรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และนางสาวปาริสา สัทธินทรีย์ ประธานสภาผู้แทนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น

การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ตามศักยภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลาย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM กับผู้ปฏิบัติงานภายในโรงเรียน จำนวน 2 กลุ่ม คือ ครูและผู้บริหารของโรงเรียน จำนวน 21 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศที่หลากหลายลักษณะ ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษก เป็นต้น และโรงเรียนที่ดำเนินการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ ในการนำร่างคุณลักษณะของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศสู่การปฏิบัติตามสภาพจริง พร้อมสอบถามประเด็นความต้องการเพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอนุชา บูรพชัยศรี) นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานจากสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รับชมเทปการประชุมย่อนหลังได้ คลิกที่นี่ 

สพฐ. ลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศในรูปแบบที่หลากหลาย และ โรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคเครือข่ายในลักษณะต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ ในการนำร่างคุณลักษณะของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศสู่การปฏิบัติตามสภาพจริง พร้อมสอบถามประเด็นความต้องการเพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย ในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนสตรีวิทยา นำทีมโดย เลขานุการ รมว. (นายอนุชา บูรพชัยศรี) รองเลขาธิการ กพฐ. (นายกวินทร์เกียรติ นนท์พละ) นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ สนก. และนักวิชาการจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน