01_Teacher & Learning

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่ม ๑ พัทลุง

ในวันที่ ๒๘ – ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ จังหวัดพัทลุง (พัทลุง สงขลา) ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ พัทลุง เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา พร้อมภาคีเครือข่ายจาก บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสงขลา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย บุคลากรศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวป่าเขียวจังหวัดพัทลุง และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (สพป.สงขลา เขต ๑ และ ๒ และ สพป.พัทลุง เขต ๑) โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมถอดรหัสลับขยับกาย (Coding) กิจกรรม Nature Game กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม ตามรอยแม่ กิจกรรม brainstoming workshop “ปั้นครูให้เป็นยูทูบเบอร์” กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (๓ รัก) เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร” ได้ที่  https://web.facebook.com/rakpongpraiobec/

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์

ในวันที่ ๒๗ – ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต ๑ นายสุรวิทย์ ทับเหล็ก เป็นประธานในพิธีเปิด

ทั้งนี้ นางขนิษฐา จันทโชติ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้กล่าวถึงการจัดประชุมสัมมนาฯในครั้งนี้ว่า “การเกิดเครือข่ายขึ้นเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกัน นักวิจัยและนักวิชาการป่าไม้ เราทำงานกับต้นไม้ทำกับสิ่งที่เรารู้เราจึงเข้าใจในความสำคัญ แต่ในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรามีให้แก่เด็กๆเราจำเป็นต้องพึ่งครูแกนนำรักษ์พงไพรทุกๆคน”

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริประจวบคีรีขันธ์ บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี (สวนผึ้ง) บุคลากรจากสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๙ ฐาน ดังนี้ ๑.เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ๒.พรรณพฤกษา กับ สัตวาภิธาน ๓.การจัดขยะเพื่อโลกสวย ๔.นานาสาระด้วยปุ๋ยหมัก ๖.เรียนรู้พรรณไม้ด้วยเทคโนโลยี ๗.การบัญชีและการสหกรณ์ ๘.ย้อนอดีตดอนยาง ๙.สร้างพลังรักษ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ติดตามข่าวสารของ โครงการค่ายรักษ์พงไพร ได้ทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี

ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และร่วมกันสร้างสรรค์เครือข่ายการต่อยอดขยายผลด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับโรงเรียนและชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ตามวิถีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ (New Normal) ในระดับพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่ม ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาช่อง บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาพระแทว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครศรีธรรมราช และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๖ ฐาน ดังนี้ ๑.นักสื่อความหมายธรรมชาติ ๒.Coding ๓.ป่าไม้ ๔.คุณค่าทรัพยากรป่าไม้ ๕.ห่วงโซ่อาหาร ๖.สัตว์ป่า เป็นต้น

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด)

ในวันที่ 24 – 25 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (เหมืองผาแดง) โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ ๒ จังหวัดตาก ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (แม่สอด) บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด (ปางมะผ้า) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมครูรักษ์พงไพร หัวใจยูทูบเบอร์ กิจกรรมนักสื่อความหมายรักษ์พงไพร และกิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (3 รัก) เป็นต้น

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) ระหว่างวันที่ 19 – 23 กันยายน 2563 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการฯ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการเสริมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับขยายผลในระดับโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 16 และ 17 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตรพัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ ภายใต้โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน (น่าน และเชียงใหม่) โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพรในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ

 

ทั้งนี้การประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ครูวิทยากรรักษ์พงไพรในครั้งนี้ด้วย

ทางด้านศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบศูนย์ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้ให้แนวคิดในการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่ายไว้ว่า แต่ละหน่วยงานมีความรู้ มีความชำนาญในเรื่องที่แตกต่างกัน การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้สามารถนำองค์ความรู้มาบูรณาการและต่อยอดได้ ดังนั้นการทำงานเป็นเครือข่ายจึงเป็นเรื่องที่ดี

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าน่าน (นาน้อย) บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเชียงใหม่ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาน่าน (บ่อเกลือ) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.น่าน เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวจะมีกิจกรรมหลักเป็นการแบ่งกลุ่มระดมพลังสมองเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมและขยายผลในโรงเรียน รวมถึงแนวทางการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่าย และกิจกรรมเรียนรู้ 3 รักษ์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)

จากนั้น ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ น่าน ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย โรงเลี้ยงไหม อุโมงค์หม่อนผลสด และนิทรรศการผ้าไหมไทย เป็นต้น

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด และติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 2 ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก

เมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 2 (นครนายก สระบุรี จันทบุรี และชลบุรี) ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก นายพิเชษฐ์ นนท์พละ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูวิทยากรค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน กล่าวว่า การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย และการใช้สถานที่จริงเป็นแหล่งเรียนรู้นั้น จะทำให้ครูผู้สอน เกิดความเข้าใจ เข้าถึง และสามารถนำสิ่งแวดล้อมเป็นฐานเพื่อไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้

ทางด้านบุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก กล่าวว่า การมีเครือข่ายทำให้สามารถที่จะประสานงานหรือพูดคุยกันได้ เป็นการระดมความคิด ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน เมื่อร่วมกันทำงานย่อมทำให้เกิดการบูรณาการในสิ่งใหม่ๆร่วมกัน

ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 1 และ 2 สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 3 และ สพป.นครนายก (เจ้าภาพ) รวมทั้งสิ้น 70 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรม “Craft From Nature”  กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก” กิจกรรมถอดบทเรียน “เล่าขาน…งานค่าย” สู่แนวปฏิบัติที่ดี และกิจกรรมล่องแก่งเพื่อศึกษาเส้นทางธรรมชาติ รวมถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) เป็นต้น

 

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด ผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

วันที่ 9 – 11 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ที่ดำเนินการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตร “พัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เป็นไปตามพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ครูวิทยากรจาก สพป.กาญจนบุรี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1 และ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2 และสพป.นครสวรรค์ เขต 1 (เจ้าภาพ) รวม 61 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมรับอรุณ (ส่องนกท้องถิ่น) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 จังหวัด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเรื่องเล่าจากพงไพรฯ กิจกรรม 6 ฐาน (ฐานป่าไม้ในเมืองไทย ฐานนักสืบสายน้ำ : สำรวจโลกแห่งลำน้ำ ฐานโซ่อาหาร สายใยอาหารและระบบนิเวศ ฐาน Coding ฐานสร้างภาพจากธรรมชาติ ฐานรอยตีนสัตว์) เป็นต้น

เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย มุ่งพัฒนาจิตสำนึกรักชาติ

“ครูกัลยา” เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย มุ่งพัฒนาจิตสำนึกรักชาติ
—–
วันที่ 3 กันยายน 2563 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ดึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจับมือวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว. สร้างและพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนสื่อร่วมสมัย ใช้เพลงแร็พ แหล่ หมอลำ นำสู่บทเรียน ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย โดยมี นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วม ณ พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
.
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศธ. กล่าวว่า โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ เพื่อมุ่งพัฒนาจิตสำนึกของความรักชาติให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน ตามนโยบายการอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย หนึ่งในนโยบายหลัก ที่ช่วยปฏิรูปการศึกษาไปสู่ผู้เรียนโดยตรง
.
“ประวัติศาสตร์มีหลายมิติ สามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุก ไม่ใช่แค่การท่องจำแบบในอดีต..ดิฉันให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียนการสอนประวัติศาสตร์มาก เพราะจะทำให้ทั้งครูและผู้เรียน เข้าใจพื้นฐานของตนและได้เรียนรู้ความสำเร็จหรือข้อผิดพลาด เป็นการนำบทเรียนในอดีตมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในปัจจุบันตลอดจนก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติความเป็นมาของชาติตน และนำไปสู่การเกิดสำนึกความรักชาติ และมีความภูมิใจในความเป็นชาติไทย” คุณหญิงกัลยา กล่าว
.
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนวัดและประเมินผล เพื่อการทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านทักษะความรู้ ความสามารถ และคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย การอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย จะเป็นการยกระดับการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ให้นักเรียนได้เรียนประวัติศาสตร์ไทยด้วยความสนุก ผ่านรูปแบบสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชน
.
ทั้งนี้นโยบายการอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย จะเน้นให้ครูช่วยกันปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และกระบวนการเรียนการสอนด้วยการมีนวัตกรรมและสื่อการสอนที่ทันสมัยให้นักเรียนเรียนประวัติศาสตร์ไทยด้วยความสนุก ผ่านรูปแบบสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชน ที่สอดคล้องตามบริบทท้องถิ่นของแต่ละแห่ง เช่น เพลงแร็พ แหล่ หมอลำ รวมทั้งการจัดทำคลิปวีดีโอนำเข้าสู่บทเรียนที่มีศิลปินนักแสดงที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กและเยาวชน
.
ด้าน นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมและประเมินคุณภาพผู้เรียน การสอนประวัติศาสตร์แบบสื่อออนไลน์เพื่อตอบสนอง สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 และโลกในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีความเป็นไทย รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงเป็นพลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย มุ่งหวังให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้นในสาระประวัติศาสตร์ ปลูกฝังให้นักเรียนเรียนรู้ในความรักชาติ ผ่านการเรียนรู้ร่วมสมัยด้วยความสุข สนุก เปิดรับการเรียนรู้ด้วยมิติต่าง ๆ ในอดีตสู่ความร่วมสมัยในปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบาย การเรียนรู้ในทักษะศตวรรษที่ 21
.
สำหรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มีความพร้อมทั้งบุคลากร และองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย พร้อมสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้สื่อร่วมสมัย เพื่อให้ครูสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
.
ทั้งนี้จะมีกิจกรรมประกอบด้วย สร้างและพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนสื่อวิดีทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จัดทำคู่มือการใช้สื่อวิดีทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมถึงขับเคลื่อนการใช้สื่อวีดิทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยตามนโยบายการอ่าน การเขียน เรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัยเพื่อใช้ประเมินการคิดวิเคราะห์การอ่าน การเขียนของผู้เรียน ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความร่วมสมัย อาทิ Youtube, Facebook, Tiktok, เพลงแร็พ และเผยแพร่ไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ ภายในกระทรวงศึกษาธิการ เช่น Obec center , OBEC Channel เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย
ที่มา : fb ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0

 

วันนี้ (2 กันยายน 2563) กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านการพัฒนานักคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Creating Innovators) รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงงานขยายผลของโครงการฯ ดังกล่าว เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานนวัตกรรมที่เน้นวิศวกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ อากาศ/ลม) และ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยบอร์ด KidBright ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณด้วย KidBright – IoT และการใช้ Fabrication Lab” จำนวน 40 คน (20 โรงเรียน)

ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ดร.บรรเจอดพร  สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนจากบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด นำโดยคุณอิสตรี ประจญศานต์  ผู้จัดการฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ คุณสันทนา ชาตินักรบ ผู้จัดการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ และคุณธิดารัตน์ วิเศษจินดาวัฒน์    นักโภชนาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนำไปต่อยอดโครงการอบรมครู  หลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โครงการดังกล่าวได้มีตัวแทนครู สังกัด สพป.สมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 30 โรงเรียน เข้าร่วมอบรมเมื่อวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป ได้แก่

1.การประกวดแม่ครัว จาก 30 โรงเรียน ที่มีตัวแทนครูเข้าอบรมหลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’  โดยเกณฑ์ที่จะใช้ในการประกวด คือ อร่อย มีประโยชน์ และน่ากิน ภายใต้เงื่อนไขงบประมาณ 20 บาท/คน/วัน

2.การนำหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน หลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning รหัสหลักสูตร 62092 มาทำเป็นหลักสูตรออนไลน์ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ครู    ทั่วประเทศได้เข้าอบรม ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

3.การประกวดการทำสื่อการสอนเกี่ยวกับการ “กิน เป็น” ซึ่งสื่อที่ทำขึ้นนั้นนักเรียน ชั้น ป.4-6 จะต้องสามารถเรียนรู้ได้ โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ที่จะเข้าร่วมประกวด ได้แก่ นักศึกษา คณะครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จะมีการประชุมอีกครั้งเพื่อกำหนดรายละเอียดของกิจกรรมต่อไป

การประชุมปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรและจัดทำคู่มือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียน สู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs)

วันที่ 22 สิงหาคม 2563 รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรและจัดทำคู่มือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) ณ โรงแรมสีดารีสอร์ท จังหวัดนครนายก พร้อมทั้ง นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง เป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมคือ พัฒนาบุคลากรให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกและมีทักษะการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้และสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อบูรณาการเรื่อง เป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) สู่การขยายผลในระดับภูมิภาคและประยุกต์กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเข้าสู่ชั้นเรียนได้ โดยเนื้อหาสาระหลักในการจัดกิจกรรมเป็นแบบสหวิทยาการในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ และสังคม วัฒนธรรม ตามเป้าหมายของ SDGs ที่เชื่อมโยงท้องถิ่นและสากลตามมิติเวลาการเปลี่ยนแปลงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตสู่การกำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนผ่านเทคนิคและกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ผ่านการสะท้อนคิด ที่กระตุ้นแรงจูงใจพัฒนาพฤติกรรมที่เป็นเชิงทักษะสู่การสร้างเจตคติและบ่มเพาะค่านิยมของการพัฒนาที่ยั่งยืน