01_Teacher & Learning

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งพัฒนากลไกเชิงระบบที่เสริมสร้างให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer) เพื่อสร้างห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom) และการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Learning) ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้ เหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา

โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุญยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้มอบหมายให้ ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนัก

พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมและมอบแนวทางการดำเนินงาน นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาของโครงการ ได้บรรยายพิเศษถึงการสร้างนิเวศการเรียนรู้และมอบแนวทางในการดำเนินงานโครงการในปี 2567

เป้าหมายของการประชุมครั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำ (Master) ด้านการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง รวมถึงพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง เพื่อการต่อยอดขยายผลแบบร่วมมือรวมพลังในระดับพื้นที่ การสร้างระบบพี่เลี้ยงที่เข้มแข็งเพื่อขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องการสร้างห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูงต้นแบบ และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเชิงนิเวศการเรียนรู้โดยมีกระบวนการพัฒนาต่อเนื่อง คือ การฝึกปฏิบัติแบบเข้มข้น (Intensive Workshop) การฝึกปฏิบัติไปพร้อมการทำงานจริงในพื้นที่ (On the Job Training) และการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง (Collaborative Learning) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community) ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และคณะทำงาน รวม 60 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 21 มกราคม 2567 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามข่าวเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program)

สพฐ. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program) ระหว่างวันที่ 4 – 9 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมมิโด กรุงเทพมหานคร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) มุ่งสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) จากระดับพื้นที่เป็นฐานการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ให้สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการเรียนรู้ได้ตามบริบท

ซึ่งกิจกรรมหลัก มีดังนี้

1) การพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้
::: ลักษณะกิจกรรม :::
ผู้เข้าอบรม จำนวน 38 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการโรงเรียนของครู TLD (Teacher as a Learning Designer Bootcamp)
เข้าร่วม Workshop กับวิทยากรมากความสามารถ อาทิ เช่น
– ผศ.นพ.พนม  เกตุมาน –> กับหัวข้อ “ทักษะพี่เลี้ยงกับการสร้าง Meaningful Classroom”
– อ.ศศรส  โกวิทพานิชกุล  –> “Growth Mindset กับพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้”
– อ.ดร.ณฐิณี  เจียรกุล –> “Classroom Management and Facilitator”
– อ.ศราวุธ  จอมนำ –> “ทักษะพี่เลี้ยงกับการออกแบบนิเวศการเรียนรู้”
– อ.ศิริวรรณ  บุญอนันต์ –> “ทักษะพี่เลี้ยงกับ Authentic Learning and Assessments”
และทีมกระบวนกร จาก สพฐ. นำโดย
– ดร.สมพร สามทองกล่ำ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
– อ.พรพิมล ทักษะวรบุตร (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
– อ.วงเดือน สุวรรณศิริ (รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
– ดร.วสันต์ สุทธาวาศ (รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน)
– ผอ.สุรวุฒิ เอี่ยวสกุล (ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์ สพป.ภูเก็ต)
– อ.อังคาร อยู่ลือ (ศึกษานิเทศก์ สพป.เชียงราย เขต 3) และ
– อ.ธีรดา อุดมทรัพย์ (ครู โรงเรียนบ้านนาขนวน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4)
2) การพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อการต่อยอดขยายผลแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
3) การถอดบทเรียน ยกร่างวิจัย และจัดทำแนวทางพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้
4) การทดลองนำร่องระบบพี่เลี้ยงเพื่อขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้
5) การพัฒนาแพลตฟอร์ม LC (Learning Community Platform)

ทั้งนี้  การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program) ได้รับเกียรติจาก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล) เป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความสำคัญของชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้และพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้” นอกจากนี้ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง (ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เดินทางมาพบปะผู้เข้าร่วมอบรม MLD และให้กำลังใจคณะทำงานที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง

ทางด้าน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. และเป็นที่ปรึกษาในโครงการนี้ ได้พบปะ พูดคุยกับพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (MLD) พร้อมมอบแนวทางในการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกับครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (TLD) ให้เกิดผลสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ร่วมกันตั้งไว้


ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามภาพเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน อย่างสร้างสรรค์ (Learning Designer Bootcamp)

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

อย่างสร้างสรรค์ (Learning Designer Bootcamp)

ระหว่างวันที่ ๒๖ เมษายน – ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรม ซัมเมอร์ ทรี กรุงเทพมหานคร

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ครูในโครงการโรงเรียนคุณภาพและครูแกนนำในโครงการฯ ที่ได้รับการคัดเลือก
เข้าอบรมใน Bootcamp จำนวน ๖๐ คน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร และคณะทำงาน รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ คน

วัตถุประสงค์

๑) พัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer)

๒) พัฒนาแนวทางการต่อยอดขยายผลในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

๓) ถอดบทเรียนยกร่างวิจัย และจัดทำแนวทางพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) และ

๔) ทดลองนำร่องระบบและกลไกขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Innovative Learning Community)

เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้รับมอบหมายจาก ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ (Learning Designer Bootcamp) และได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. พบปะ พูดคุยกับเหล่า Camper ครูแกนนำนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Teacher as a Learning Designer) รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพตอบโจทย์การพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน

“Learning Designer Bootcamp”

สพฐ. จัดอบรมครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ด้วยหลักสูตรเข้มตลอด ๖ วัน จากวิทยากรมากความสามารถ อาทิ เช่น อ.ศศรส โกวิทพานิชกุล อ.ยงยศ โครตภูธร ผศ.ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ อ.ณฐิณี เจียรกุล รศ.ดร.สิทธิชัย วิชัยดิษฐ  และคณะวิทยากรจาก สพฐ. เพื่อสะท้อนสมรรถนะ ๕ ด้านของครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ Classroom Management, Facilitating & Coaching, Adaptability, Assessment and Change Making และมีเป้าหมายในการขยายผลต่อในระดับพื้นที่ ด้วยการให้ครูแกนนำกลุ่มนี้ไปปฏิบัติงานในห้องเรียน โดยมีโค้ชและพี่เลี้ยง มาสะท้อนผล ๑ ภาคเรียน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามภาพเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

รับสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน ๔๘ ศูนย์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สนใจและสมัครเข้ารับการอบรม โดยแบ่งออกเป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๓ – ๔ เมษายน ๒๕๖๖ จำนวน ๑๐๐ คน และรุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ เมษายน ๒๕๖๖ จำนวน ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๒๐๐ คน เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่  โรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์  จำนวน ๔๘ ศูนย์ และโรงเรียนในสังกัดที่สนใจ สมัครใจเข้าร่วมการอบรม เชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อย มีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ภายในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

ลงทะเบียนที่นี่

สนก. ทดลองใช้การขับเคลื่อนโครงการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเต็มรูปแบบภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและคู่มือการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ระหว่างวันที่ วันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมเดอะพาลาซโซ กรุงเทพมหานคร

โดยผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดำเนินการจัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานทุกภาคส่วนได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู และบุคลากรทางการศึกษาจากทั่วประเทศ เพื่อจัดทำแนวทางและคู่มือการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ที่พัฒนาขึ้นและจะถูกนำไปทดลองใช้ในการขับเคลื่อนโครงการย่อยของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect)
2. โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1”
3. โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Project)
โดยมุ่งเน้นการนำเข้า จัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลโครงการเพื่อใช้ในการประเมินผลสำเร็จ และการวิเคราะห์แนวทางในการขยายผลโครงการในปีงบประมาณต่อไป

ทั้งนี้ สนก. จะขยายผลการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ในการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่สนใจและการให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่ผู้รับผิดชอบโครงการในโครงการอื่นๆ ในอนาคตต่อไป

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งเน้นการเสริมสร้างให้ครูและผู้เกี่ยวข้อง สามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้และเหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา รวมถึงได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เห็นคุณค่าในการเรียนรู้ และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ โดยมีกลไกสำคัญในการสร้างความยั่งยืน คือ การสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เอื้ออำนวยให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ บนฐานการสร้างสรรค์นวัตกรรมและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน ภายใต้ระบบนิเวศทางการเรียนยุคใหม่ที่มีวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ที่หลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล (Personalized Learning) ก้าวสู่การเป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในมิติการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ รวมถึงสร้างพลังแห่งการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างมีพลวัตจากภายในชุมชนผู้ปฏิบัติเอง โดยมีวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ ความสุข เป้าหมายและภารกิจร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นประสิทธิผลและคุณค่าในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิด โดยได้เน้นย้ำถึงรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและบริบทของพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งให้แนวทางและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะทำงานในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญในการดำเนินการขับเคลื่อนงานในภาพรวมของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดศึกษา และให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการสร้างและพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เน้นประโยชน์อันจะเกิดแก่ตัวเด็กเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ มีดังนี้

๑. ขึ้นรูปการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

๒. จัดทำแนวทางการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer)

๓. พัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community)
ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๔. ยกร่างคู่มือการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design)
สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

ติดตามต่อได้ที่ เพจ Learning OBEC

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑) พัฒนาระบบสารสนเทศแบบ Real Time และพื้นที่แลกเปลี่ยนแบ่งปันนวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์

๒) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้และกลไกการต่อยอดขยายผลชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ Learning Community สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๓) สร้างเครื่องมือในการสื่อสารเนื้อหาวิชาการ (Content) ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในรูปแบบที่น่าสนใจและทันสมัยทางสื่อสังคมออนไลน์

๔) ออกแบบงานสัมมนาวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ ๒๑ เชิงสร้างสรรค์ ทันสมัย และมีคุณค่า

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อนันต์  พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองบริบทเชิงพื้นที่ ภายใต้จุดเน้น สพฐ.” โดยได้กล่าวถึงประเด็นการจัดการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จว่า ครูคือบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษา สพฐ. เล็งเห็นว่าการสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับครู เป็นการสร้างพื้นที่ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงแสดงศักยภาพ ครูได้นำสิ่งที่ได้จากประสบการณ์มาร่วมแบ่งปันซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี  และเมื่อกล่าวถึงเรื่องนวัตกรรมการศึกษา ดร.อนันต์ พันนึก ได้ยกแนวคิดของ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเชิงบริบทของพื้นที่ สพฐ. ไม่สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองทุกความแตกต่างของพื้นที่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนจึงต้องมาจากวิธีการที่แตกต่างกันและเหมาะสมตามบริบทพื้นที่นั้น ดังนั้น สพฐ. จึงดำเนินโครงการนี้ เพื่อเป็นเวทีให้คนเก่งที่มาจากบริบทที่ต่างกัน ได้มา Learn Care Share Shine เพื่อดึงครูที่มีศักยภาพมาขายความคิด และให้เพื่อนครูได้เสริมเติมต่อสิ่งดีๆ จากรุ่นสู่รุ่นต่อไป

FACEBOOK : OBEC Active Learning
FACEBOOK : Learning OBEC

การอบรมเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : International Mathematics And Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

ในวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. ได้รับเกียรติจาก
ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 :  International Mathematics And Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia ระหว่างวันที่ 26 – 29 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างเต็ม ตามศักยภาพโดยได้รับคำแนะนำ และสนับสนุนจากท่านผู้เชี่ยวชาญ ดังต่อไปนี้

  1. นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
  2. นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  3. นายปราโมทย์ ขจรภัย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  4. นายกำจัด คงหนู ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
  5. นายวิทยา ศรีพันชาติ นักวิขาการศึกษาชำนาญการ

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์รางวัลคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์รางวัลคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 1 – 3 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้มอบหมายให้ ดร. ฐาปณัฐ  อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน โดยมีนายวิทยา ศรีพันชาติ นักวิชาการศึกษา พร้อมทั้งบุคลากรส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมกันสรุปผลและสังเคราะห์รางวัลคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีที่มีความโดดเด่น รวมถึงจัดทำคลังความรู้คุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย เดินทางมาเข้าพบผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงนโยบายและสร้างขวัญกำลังใจให้คณะกรรมการประเมินทุกภูมิภาค

 

ทีม “AL Hero” เข้าร่วมการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022

การแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 การหานวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
(Learning Loss)

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
นำทัพทีม AL Hero เข้าร่วมการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 เพื่อเฟ้นหา สร้างสรรค์ นวัตกรรม
เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2565
ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งงานครั้งนี้จัดขึ้นโดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
เรียกได้ว่าเป็นการจัดแข่งขันในรูปแบบใหม่ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ในวันแรกของการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022
ได้รับเกียรติจาก ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการแข่งขัน
ซึ่งได้กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการจัดแข่งขันครั้งนี้ว่า
“นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยนักเรียน
ที่เกิดปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หรือ Learning Loss
จากการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงมีนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จับมือกับเครือข่ายครูรุ่นใหม่
และภาคเอกชนที่ให้ความ สำคัญเรื่องการศึกษา รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech)
เพื่อเฟ้นหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss
ที่สามารถนำไปขยายผลการทำงานร่วมกันในอนาคต”
โดยการใช้วิธีการ Hackathon ที่เป็นการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน
ที่จะทำให้ได้คำตอบของปัญหาอย่างรวดเร็ว
นั่นคือ วิธีการแก้ปัญหาและการนำวิธีการแก้ปัญหาไปขยายผลสู่ความสำเร็จต่อไป

 

 

นอกจากนี้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รู้จักและเข้าใจปัญหา Learning Loss โดยใช้กระบวนการ Brainstorm เพื่อระดมความคิด การคิดอย่างสร้างสรรค์ ฝึกฝนการนำเสนอผลงาน  และการได้รับฟังไอเดียจากทีม Show case ทั้ง 12 ทีม รวมไปถึงได้รับชี้แนะจาก Mentor ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมของกลุ่มตนเองได้ และในการแข่งขัน Mini Hackathon 2022 มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 9 ทีม แบ่งย่อยเป็นประเด็นที่จะมาร่วมกัน Hack ดังนี้

  1. Family Engagement Track
  2. Knowledge Track
  3. Social-Emotional/Well Being Track

 

 

เมื่อเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 9 ทีม
ได้ใช้เทคนิคการ Pitching ในการนำเสนอนวัตกรรมของตนเอง
หลังจากการ Pitching จบลง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ซักถามผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีม
พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการต่อยอดไอเดียเพื่อสร้างนวัตกรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

ทั้งนี้ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินและเป็นผู้มอบเงินรางวัลให้ทีมชนะเลิศ
รวมถึงกล่าวปิดการแข่งขัน “MOE Mini Hackathon 2022
การหานวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss” ในครั้งนี้

 

 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : OBEC Active Learning

12 เดือน Webinar เปิดโลกนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต

 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้กำหนด จัดกิจกรรม 12 เดือน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคตสู่ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ครูได้สร้างแนวคิดปรับเปลี่ยนวิธีการสอน หรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมจัดการเรียนการสอน ที่สามารถบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายบูรณาการ และสร้างแนวทางการสนับสนุนโรงเรียน สำหรับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามบริบท เชื่อมต่อความรู้ของครูสู่ชุมชน รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่