ข่าวประชาสัมพันธ์

ขยายเวลารับสมัครโครงการ T3 Impact Program

📣⚠️ ขยายเวลารับสมัครถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568

📝♻️ โครงการ T3 Impact Program คืออะไร?

โครงการอบรมครูออนไลน์ “T3 Impact Program” เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับที่ปรึกษา บริษัท วี เทค คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกประเภท PET รวมถึงกระบวนการรีไซเคิลและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา แก่ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการพลาสติก PET ภายในสถานศึกษา📚 (ดูรายละเอียดในโพสต์)

🌏💚มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการง่าย ๆ ได้ที่ Link: https://bit.ly/Register_T หรือสแกน QR Code ในภาพ

และติดต่อโครงการได้ที่ Facebook Page : WE Tech Consulting

หรือ นางสาวฐาปนีย์ เจริญสุข

โทรศัพท์: 09-8524-9494

Email: tapanee@wetechconsulting.co

ประชาสัมพันธ์โครงการ T3 Impact Program

📝♻️ ประชาสัมพันธ์โครงการ T3 Impact Program
โครงการอบรมครูออนไลน์ “T3 Impact Program” เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับที่ปรึกษา บริษัท วี เทค คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกประเภท PET รวมถึงกระบวนการรีไซเคิลและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา แก่ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการขยะ/พลาสติก PET ภายในสถานศึกษา📚

📌วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
🔹เพื่อเสริมสร้างความรู้การคัดแยกขยะ และการจัดการขยะ/พลาสติก PET ที่ถูกต้องให้กับครูในโรงเรียน
🔹เพื่อฝึกทักษะการออกแบบโครงการจัดการขยะในโรงเรียนให้ครูในโรงเรียน
🔹เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนและครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

✨สิ่งที่ครูจะได้รับจากโครงการ
🔹ความรู้ ทักษะการคัดแยกขยะและจัดการพลาสติก PET อย่างถูกต้อง
🔹เทคนิคใช้ AI และปรับพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมด้วย Nudge Theory ในการออกแบบการเรียนการสอน
🔹เครื่องมือ เช่น สื่อและคู่มือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม จากบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
🔹เป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายครูผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม
🔹เกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการ

⬇️เงื่อนไขการรับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการ
🔹เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568 ในรูปแบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meetings
🔹เข้าร่วมกิจกรรม PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายครูผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 1 ครั้ง ในรูปแบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meetings

🌏💚มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการง่าย ๆ ได้ที่ Link: https://bit.ly/Register_T หรือสแกน QR Code ในภาพ
และติดต่อโครงการได้ที่ Facebook Page : WE Tech Consulting
หรือ นางสาวฐาปนีย์ เจริญสุข
โทรศัพท์: 09-8524-9494
Email: tapanee@wetechconsulting.co

ศธ.-สพฐ. จับมือ ซีพี ออลล์ฯ สานพลัง “โรงเรียนร่วมพัฒนา” สร้างคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง

วันที่ 4 มีนาคม 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ โครงการ “โรงเรียนร่วมพัฒนา” (Partnership School Project) ระหว่าง สถานศึกษาในจังหวัดลพบุรี กับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดลพบุรี และคณะทำงานบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ณ โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
.
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม “จับมือ” “ร่วมพัฒนา” และ “ขยายผล” จะสามารถยกระดับการศึกษาของประเทศได้ และเป็นต้นแบบที่สำคัญในการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และเป็นพลังนำพาการศึกษาไทยให้ก้าวไปทัดเทียมนานาประเทศได้ ซึ่งจังหวัดลพบุรีนับเป็นจังหวัดที่สองต่อจากจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีการลงนามความร่วมมือในโครงการนี้ โดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จะนำนวัตกรรมของสถาบันปัญญาภิวัฒน์ มาถ่ายทอดและดำเนินการช่วยการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนร่วมพัฒนาเหล่านี้ รวมถึงหากนักเรียนในโครงการนี้ประสงค์ที่จะศึกษาต่อในสถาบันปัญญาภิวัฒน์ ก็พร้อมสนับสนุนทุนการศึกษาตลอดจนจบระดับอุดมศึกษา หรือหากประสงค์จะประกอบธุรกิจ ก็จะมีการต่อยอดองค์ความรู้ด้านธุรกิจต่าง ๆ ให้ด้วยเช่นเดียวกัน
.
นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นความร่วมมือในการจัดทำทวิภาคี หากผู้เรียนประสงค์จะศึกษาต่อก็จะมีการส่งต่อไปที่สถาบันปัญญาภิวัฒน์ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวมีแผนการขับเคลื่อนเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยจะมีการวางแผนการดำเนินงานกับภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมมือในโครงการนี้ และจะสนับสนุนโรงเรียนในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่
.
ด้านนายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางบริษัทฯ เป็นภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนการศึกษามาโดยตลอด เพราะเรามีสถาบันการศึกษาเป็นของตัวเอง ซึ่งขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการ ที่ดึงภาคเอกชนให้เข้ามาช่วยสนับสนุนการศึกษาด้วยการทำโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสู่การพัฒนาประเทศ โดยความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาทำให้ผู้เรียนจบแล้วมีงานทำ มีอนาคตที่ดีต่อไป
.
สำหรับความร่วมมือดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว ด้วยการมีส่วนร่วมจากผู้สนับสนุนทุกภาคส่วน ทั้งนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการทำความร่วมมือโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนามา จำนวน 3 รุ่น และ สพฐ. ได้รับการประสานจาก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียนในโครงการแจ้งความประสงค์ขอสนับสนุนโรงเรียนในโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 22 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 จำนวน 4 โรง โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 7 โรง และโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี จำนวน 11 โรง

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

เชิญส่งผลงานเข้าร่วมประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี ๒๕๖๗

แบนเนอร์ประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา2024

การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand)

ได้เปิดการกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี ๒๕๖๗

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้แนวความคิดและสิ่งประดิษฐ์ ด้านยางพาราจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบุคคลทั่วไป เกษตรกรชาวสวนยาง

นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และอาจาร์ย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านยางพาราขององค์กร และพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับที่1 และรองชนะเลิศอันดับที่2 จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ เงินรางวัล และโล่รางวัลจากการยางแห่งประเทศไทย

สมัครเข้าร่วมโครงการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.raot.co.th

ได้ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๐๐ น. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครเข้าร่วมการประกวดฯ

เกณฑ์การตัดสินผลงาน

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สนก.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ. สนก.

ประชาสัมพันธ์กิจกรรม”โครงการห้องเรียนสีเขียว”


สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (โครงการห้องเรียนสีเขียวและโรงเรียนสีเขียว)”  โดย กฟผ. และ สพฐ. ได้ร่วมจัดกิจกรรมการประกวดโครงการห้องเรียนสีเขียว ซึ่งการประกวดแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมได้แก่

1. กิจกรรม EGAT Young Influencer ประจำปี 2567 (เสริมสร้างพลังเยาวชนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน)

เปิดรับสมัครบัดนี้จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2567

ข่าวสารเพิ่มเติม https://gls.egat.co.th/activities/415

2. กิจกรรมการประกวดจัดทำสื่อการเรียนรู้โครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2567 ประเภท Infographic

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2567

ข่าวสารเพิ่มเติม https://gls.egat.co.th/activities/409

3. กิจกรรมการประกวดจัดทำสื่อการเรียนรู้โครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2567 ประเภท Board Game

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567

ข่าวสารเพิ่มเติม https://gls.egat.co.th/activities/408

 

 

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สนก.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ. สนก.

ประกาศผลการประกวดสปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รอบคัดเลือก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณาตัดสินผลงานการประกวดสปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รอบคัดเลือก เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนที่ได้รับรางวัล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะแจ้งรายละเอียดในการรับเกียรติบัตรอีกครั้ง สำหรับโรงเรียนที่เข้ารอบตัดสินจะได้เผยแพร่ผลงานผ่านเพจเฟซบุ๊ค GREEN OBEC สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 เวล 23.59น. เพื่อตัดสินรางวัล POPULAR VOTE และเข้าประกวดรอบตัดสินภายในเดือนมิถุนายน 2567 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://eesd.obec.go.th หรือ เพจเฟซบุ๊ค GREEN OBEC สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

*เกณฑ์การตัดสินผลงาน

*รางวัลการประกวด

 

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สนก.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ. สนก.

ประกาศรับ อาสาสมัครญี่ปุ่น สาขา City and Local Environment Improvement

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย เปิดรับสมัครคำขอรับาอสาสมัครญี่ปุ่น ประจำปี 2567 ให้แก่หนวยงานราชการต่างๆ ของไทย เพื่อจัดส่งอาสาสมัครญี่ปุ่นในสาขา City and Local Environment Improvement เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานในปี 2567 ยกเว้นพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี

โดยสามารถส่งเอกสารคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ ในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

เอกสารราชการ

ใบสมัครคำขอรับอาสาสมัครญี่ปุ่น

ลิงก์ส่งใบสมัคร

*QR Code

 

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สนก.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ. สนก.

เชิญชวนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วม ประกวดสปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ได้ดำเนินการจัดการประกวด สปอตโทรทัศน์ เพื่อพัฒนานักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “ปลูกต้นกล้าความคิด เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม” พร้อมทั้งชิงโล่รางวัลเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่าร่วมกว่า 39,000 บาท

โดยรายละเอียดการแข่งขันมีดังนี้

หลักเกณฑ์การประกวด

หัวข้อ “ปลูกต้นกล้าความคิด เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประเภทที่ 2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ประเภทที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โดยแต่ละทีมจะมีนักเรียนไม่เกิน 3 และครูผู้ควบคุมทีมไม่เกิน 2 คน

เปิดเริ่มสมัครตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567

เว็บไซต์ https://eesd.obec.go.th/

FACEBOOK

https://www.facebook.com/EESDinThailand/

https://www.facebook.com/profile.php?id=61556129662390

เอกสารราชการ และ โปรเตอร์ประชาสัมพันธ์ 

https://drive.google.com/drive/folders/1vLzxF4fhSQVruslqCMv4oHWdS1_HWQwc?usp=sharing

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้รับเชิญเข้าร่วมงานมหกรรม China Fair 2024

เมื่อวันที่ 3 – 4 ก.พ. 67 สมาคมนักเรียนไทย-จีน จัดงานมหกรรม China Fair 2024 by TCSA : Study – Work -Travel ณ ลาน Fashion Hall ชั้น 1  ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยพิธีเปิดเริ่มขึ้นในเวลา 10.30 น. ของวันที่ 3 ก.พ. 67

ในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นางเฝิง จวิ้นอิง ท่านอัครราชทูตที่ศึกษา สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย, นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์  ดร.ลักษมณ สมานสินธุ์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเข้าร่วมในพิธีเปิดงานในครั้งนี้

ภายในงาน ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ได้นำทีมนักวิชาการศึกษา ได้แก่ นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ และนายฐนปวรรธน์ แตงอ่อน ที่ปรึกษาโครงการ LORD OBEC ภาคเอกชน ร่วมหารือกับนางเฝิง จวิ้นอิง อัคราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัคราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำราชอาณาจักรไทย ในประเด็นความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยท่านได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนการศึกษาในรูปแบบอื่น ๆ ของสาธารณประชาชนจีน พร้อมทั้งยืนยันที่จะให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ สพฐ. เป็นอย่างดีอีกด้วย

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งพัฒนากลไกเชิงระบบที่เสริมสร้างให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer) เพื่อสร้างห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom) และการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Learning) ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้ เหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา

โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุญยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้มอบหมายให้ ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนัก

พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมและมอบแนวทางการดำเนินงาน นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาของโครงการ ได้บรรยายพิเศษถึงการสร้างนิเวศการเรียนรู้และมอบแนวทางในการดำเนินงานโครงการในปี 2567

เป้าหมายของการประชุมครั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำ (Master) ด้านการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง รวมถึงพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง เพื่อการต่อยอดขยายผลแบบร่วมมือรวมพลังในระดับพื้นที่ การสร้างระบบพี่เลี้ยงที่เข้มแข็งเพื่อขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องการสร้างห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูงต้นแบบ และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเชิงนิเวศการเรียนรู้โดยมีกระบวนการพัฒนาต่อเนื่อง คือ การฝึกปฏิบัติแบบเข้มข้น (Intensive Workshop) การฝึกปฏิบัติไปพร้อมการทำงานจริงในพื้นที่ (On the Job Training) และการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง (Collaborative Learning) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community) ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และคณะทำงาน รวม 60 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 21 มกราคม 2567 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามข่าวเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

สพฐ. จับมือ ป.ป.ช. จัดทำคู่มือการประเมิน ITA Online ประจำปี 2567
ยกระดับความโปร่งใสของสำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษา

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจาก สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นายภิญโญยศ ม่วงสมมุข และนายพงษ์พันธ์ โตสกุลไกร เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ บรรยายให้ความรู้ใน เรื่อง“แนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” เพื่อให้คณะทำงานรับฟังเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินก่อนดำเนินการจัดทำคู่มือการประเมิน

ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดทำคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยร่วมกันวิเคราะห์เครื่องมือประเมินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วยแบบสำรวจ 3 แบบ : IIT, EIT และ OIT เพื่อปรับปรุงแก้ไข ตามบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และดำเนินการจัดทำคู่มือแบบสำรวจ IIT, EIT และ OIT ในรูปแบบออนไลน์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา นำเสนอและวิพากษ์ ปรับปรุง แก้ไขคู่มือแบบสำรวจ IIT, EIT และ OIT ในรูปแบบออนไลน์ พร้อมทั้ง จัดทำคลิปวีดีโอ บรรยายรายละเอียดแต่ละตัวชี้วัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

โดย นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้) ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) พบปะให้แนวทางการดำเนินงาน รับฟังแนวคิดจากคณะทำงาน ร่วมเสนอแนวทางการจัดทำเครื่องมือประเมินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินก่อนดำเนินการจัดทำคู่มือการประเมิน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และคณะทำงาน รวม จำนวน 45 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2567 ณ โรงแรม ปริ๊นส์ตั้น กรุงเทพมหานคร

สนก. เดินหน้าพัฒนา “นวัตกรรมโครงงานคุณธรรม: จากครูเป็นโค้ช”

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือ “นวัตกรรมโครงงานคุณธรรม: จากครูเป็นโค้ช” ระหว่างวันที่ 9 – 12 มกราคม 2567 ณ โรงแรมปริ๊นส์ตั้น ดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้นายสพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา นำทีมผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนากระบวนการโครงงานคุณธรรม จัดทำคู่มือ “นวัตกรรมโครงงานคุณธรรม: จากครูเป็นโค้ช”

การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้ครูผู้สอนมีคู่มือไว้ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการของโครงงานคุณธรรมและสามารถอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยใช้หลักคุณธรรม รวมถึงครูผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง และบูรณาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างกระแสในการขันเคลื่อนนวัตกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป